วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ตำรายาไทย

ตำรายาไทย
          สมัยสมเด็จพระนารายณ์มีการติดต่อค้าขายกับฝรั่งในทวีปยุโรป และมีการบันทึกสูตรยาไว้ใน ตำรับพระโอสถพระนารายณ์ นับเป็นตำรายาเล่มแรก กล่าวถึงยา 81 ตำรับ ไม่เผยแพร่สู่ประชาชน ใช้เฉพาะในราชสำนักเท่านั้น
    




พับ สา เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้บันทึกเรื่องราวต่างๆ เช่นเดียวกับใบลาน พับสาบางคนเรียกว่า พับหนังสา ทำจากกระดาษสา นำมาตัดให้เท่ากันแล้วนำพับซ้อนกันเป็นเล่ม ส่วนปกบางครั้งทำด้วยกระดาษสา หรือแผ่นหนัง พับสาจะนิยมใช้เขียนเรื่องราว หรือบันทึกเรื่องทางโลก เช่น คำโคลงต่าง ๆ คาถา ตำรายา ตำราโหราศาสตร์ ฯลฯ ในขณะที่ใบลานนิยมใช้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับ พุทธศาสนา หรือเรื่องทางธรรม
การบันทึกพับสาจะใช้ปากกาและหมึกบันทึกด้วยอักษรธรรมล้านนา หรือตัวเมืองบางครั้งพับสาอาจจะบันทึกด้วยอักษรฝักขามด้วย



อ้างอิง
·         ภก.วิษณุ ทรัพย์วิบูลย์ชัย , "ตำรายาไทย" , เอกสารประกอบการสอนคณะเภสัชมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ,ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ,สมุทรปราการ ปี2546

 ที่มา : http://job.haii.or.th/vtl/index.php?option=com_content&task=view&id=77&Itemid=42




  • สมัยกรุงศรีอยุธยา จารึก ลงในใบลานและสมุดข่อย เรียก คัมภีร์ยา หรือ ตำรายา กล่าวถึงอาการของโรค วิธีรักษา ส่วนประกอบของยา สรรพคุณยา ถ้าเป็นสมุนไพร เรียก พืชวัตถุ อวัยวะของสัตว์ต่างๆ เรียก สัตว์วัตถุ แร่ธาตุที่นำมาผสมยา เรียก ธาตุวัตถุ
  • สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระ พงศนรินทรราชนิกุล ( พระโอรสของพระเจ้ากรุงธนบุรี ) เป็นผู้รวบรวมตำรายาจากข้าราชการและราษฎร เขียน ตำราในโรงพระโอสถ หรือตำราพระโอสถ เป็นตำรายาเล่มที่ 2 โดยแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นยาที่ใช้กันทั่วไป ตอนที่ 2 เป็นตำรายาที่ประกอบถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีทั้งสิ้น 84 ขนาน
  • สมัยรัชกาลที่ 2 เป็นสมัยแห่งการฟื้นฟูตำรายา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ( ดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ ) ได้ทรงบูรณะวัดจอมทอง รัชกาลที่ 2 จึง พระราชทานนามว่า วัดโอรสาราม หรือ วัดราชโอรส และทรงจารึกตำราในแผ่นหินฝังไว้ในเสาระเบียงที่วิหารพระพุทธไสยาสน์ นับเป็นตำรายาเล่มที่ 3
  • สมัยรัชกลาที่ 4 โปรด เกล้าให้ตั้งโรงเรียน ราชแพทยาลัย ขึ้นในโรงพยาบาลศิริราช และท่านเจ้าคุณประเสริฐธำรง ได้เรียบเรียงตำราเวชศาสตร์วรรณนา เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ ต่อมาได้จัดทำ แพทยศาสตร์สงเคราะห์ขึ้นอีกเล่ม
  • สมัยรัชกาลที่ 5 ทรง โปรดให้มีการรวบรวมและแปลจากภาษาของแล้วคัดลอกลงในสมุดข่อยจัดทำเป็นตำรา แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง เป็นเภสัชแห่งชาติตำรับแรก จัดสร้างใน พ.ศ. 2413 และยังคงใช้เป็นตำราแห่งชาติมาจนทุกวันนี้
         พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงวงษาธิราชสนิท ทรงสนพระทัยศึกษายาฝรั่งที่คณะมิชชันนารีอเมริกัน ซึ่งมีหมอบรัดเลย์ เข้ามาทำการเผยแผ่ศาสนาและรักษาคนไข้ ทรงบันทึกรายการยาฝรั่งไว้ 42 ชนิด พร้อมข้อสรรพคุณยาแผนปัจจุบันเล่มแรก
            ตำรายา หรือ เภสัชตำรับ
         ตำราที่ระบุถึงสารที่ใช้ในการบำบัด บรรเทา ป้องกัน หรือรักษาโรค จัดทำขึ้นโดย นางปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา ซึ่งเป็นผู้อำนวยการกองวิเคราะห์ยา ในปี พ.ศ. 2522 และได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2522
ปัจจุบันตำรายาเล่มแรกของไทยได้พิมพ์เผยแพร่ มีชื่อว่า Thai Pharmacopoeia , first edition , volume 1, part 1 ซี่งรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2531 สำหรับ Part 2 จัดทำเสร็จแล้วเมื่อ พ.ศ. 2535 และประกาศใช้เป็นทางการในปี 2536
วัตถุประสงค์ของการจัดทำตำรายาของประเทศไทย
  1. เพื่อเป็นมาตรฐานที่ใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินคุณภาพของยาที่ผลิต และจำหน่ายในประเทศ
  2. เพื่อปรับปรุงวิธีการวิเคราะห์ให้เหมาะสมกับสภาวะของประเทศไทย และศักยภาพของโรงงานผลิตในประเทศไทย
  3. เพื่อเป็นตำรายาที่เชื่อถือ มีกฎหมายรับรองและยอมรับทั้งในประเมทศและต่างประเทศ
  4. เพื่อเป็นคู่มือสำหรับแพทย์ เภสัชกร ร้านขายยา ผู้ใช้กฎหมาย ตลอดจนผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยาทุกประเภท
ตำรายาอื่นๆที่ทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 9
ตำรายาพิเศษ ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงรวบรวมและ นิพนธ์ ไว้ ซึ่งเคย มีผู้นำมา พิมพ์ แล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2435 ( ร.ศ. 129) กล่าวถึง ยาทั่วๆไป และยาอายุวัฒนะ
หนังสือวิชาแพทย์แผนยาไทย เรียบเรียงโดย พันโท หม่อมเจ้า กำมสิทธิ์ ผู้ช่วยกรมแพทย์ ในปี พ.ศ. 2450 ร.ศ. 126) ซึ่งอธิบายอาการโรค โดยย่อ และรส ของยาที่เหมาะสมกับโรค และกล่าวถึงน้ำกระสายยา
ตำราโรคนิทานคำฉันท์ พระยาวิชายาบดี ( กล่อม) เรียบ เรียง และนายพันโท หม่อมเจ้า กำมสิทธิ์ ทรงรวบรวม ขึ้นเป็นฉบับใบลาน ไว้ได้โดยสมบูรณื ทรงตรวจแก้และ นิพนธ์ แต่งเติม เนื้อความ แล้วพิมพ์ ไว้เมื่อปี พ.ศ. 2456แม้จะ อ่านง่าย แต่เข้าใจยาก ลักษณะ ตำราก็คล้ายกับที่กล่าวมาข้างต้น คือ มีลักษณะโรคและยา ที่ใช้เช่น เดียว กัน
ตำราแพทย์สำหรับบ้าน พ.ศ. 2464 โดย นาย รอด บุตรี ได้คัดเลือกจาก คัมภีร์แพทย์ แต่ไม่บอกว่า จากที่ใดมาพิมพ์ แจกในงานทำศพท่านขุนสุพรรณรัศมี การคัดเลือก ก็มักคัดที่ว่า ดี เช่น ยาขางแท่งทอง ยาหอม ๆลๆ
ตำรายาพฤฒาแถลง ของพระยาเกษตร หิรัญรักษ์ พ.ศ. 2464 เป็นตำราสั้นๆ แต่ว่ามีสิ่งที่น่าสนใจ
ประการหนึ่งก็ คือมีตำรา ยาแก้โรคภาค และสุนัขบ้ากัด ซึ่งได้อธิบายอาการโรคภาค ไว้ว่า เป็นโรคร้ายแรง ตายได้ภายใน 12 ชม. ถึง 7 วัน ยาแก้ โรคภาค ใช้ เปลือกต้นสมอพิเภกตัวเมีย ชนิดที่ถูกสุรา ไม่ดำ เอามา
ตาก แห้ง ทำผงรับประทาน หรือทา ส่วน ยาแก้สุนัขบ้ากัด ใช้ ทองคำเปลว และ น้ำมะนาว ที่ว่าน่าสนใจ นั้นเพราะ ในทางตะวันตก ท่านที่มีความรู้ควรพิจารณา ว่า การรักษา ตามแบบ แผนไทย นั้น จะเป็นไปได้หรือไม่เพียงใด ซึ่งถ้าเป็นไปไม่ได้ อย่างแน่นอน ต้องเตือน ชาวบ้าน ให้รู้ไว้ เพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อชีวิต
หนังสือตำรายาไทย พิมพ์ พ.ศ. 2473 ได้คัดเลือกตำรับยา ต่างๆ รวม 53 ขนาน มาลงไว้ เช่นยากำลังราชสีห์ ยาธาตุบรรจบ และอื่นๆ
ยา ตำรับที่ชื่อเดียวกัน เช่น ยากำลังราชสีห์ ที่ปรากฎในตำรา เล่มต่างๆ เมื่อ เปรียบเทียบ ด้วยยา ในตำรับ พบว่ามี แตกต่างกันบ้าง จะเป็นเพราะมีการปรับปรุงตำรับยาดดย ตัดทอนตัวยาที่ไม่จำเป็นหรือตัวยาที่หายากออก หรือจะเป็นเพราะ การคัดลอก ต่อๆ กัน มา อาจคลาเดลื่อน
หนังสือสุภาษิตวิจิตรยิ่ง และตำรายาประจำบ้าน ที่พระอุตตมมงคล ชยมงคลโล พิมพ์ เป็นที่ระลึก ในการเลื่อน สมณศักดิ์ พ.ศ. 2474 ก็ นำ ตำรายา อายุวัฒนะ ของ สมเด็จ พระบรมวงศ์ เธอ พระยาปวเรศ วริยาลงกรณ์ พระมหาสมณเจ้า ซึ่งได้นนำมาฉันเอง แล้วได้ผลดี จึงนำมาพิมพ์ไว้
ตำนานและสรรพคุณ ของพืชบางชนิด ผู้เรียบเรียง คือท่านเจ้าคุณ สีหศักดิ์สนิทวงษ์ พ.ศ. 2481 เป็นตำราที่รวบรวม ยาเกร็ด ที่น่าสนใจ โดยพลิกแพลงใช้เอง แล้วได้ผล อาศัยที่เป็นหลานตา ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวง วงษาธิราชสนิท และ พระวรวงศ์ เธอพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ จึงได้รับการถ่ายทอด โดยการบอกเล่า ให้ทราบถึงสรรพคุณและตำนานของพืช บางชนิด เช่น เรื่องที่ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ซึ่งเป็นแพทย์ประจำพระองค์ ในรัชกาลที่ 4 เป็นผู้ใช้เปลือก ซินโคนา ก่อนผู้อื่น ในสยาม ในสมัยนั้น มียาฝรั่ง คือควินิน ใช้อยู่ แต่คนไทยไม่นิยมยาฝรั่ง แพทย์ชาวต่างประเทศ จึงทูลแนะนำให้สั่งเปลือก ซินโคนา มาบดเป็นผงแล้วก็ใช้เหมือนยาไทย จึงนับว่าเปลือก ซินโคนา เข้ามาสู่ประเทศสยาม เป็น ครั้งแรก เมื่อปลายรัชกาล ที่ 4 และมีตำนาน ว่า ต้นยูคาลิปตัส และน้ำมันระกำ เข้ามาแพร่หลาย ในประเทศสยาม เมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 การ ใช้ผักโหมจีน รักษาโรคเบาหวาน ของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสานสนิทวงศ์ ตามคำแนะนำ ของจีนผู้หนึ่ง โดยปรุงเป็นอาหารรับประทาน ก็ได้ผลดี ส่วน สรรพคุณ ของพืชบางชนิด เช่น การใช้เนื้อในของว่านหางจรเข้ ต้มน้ำตาลกรวดกิน แทนรังนก ทำให้ชุ่มชื่น และมีกำลังดีกว่ารังนก ใช้ถั่วลิสง เป็นยาแก้ไอ จากหวัดธรรมดา และ แก้พิษกลอย เป็นต้น
  • ตำรายาไทย เป็นอีกเล่มหนึ่งที่พิมพ์อุทิศ ในงาน ฌาปนกิจศพ หมื่นชำนาญแพทยา ( พลอย แพทยานนท์) ในปี พ.ศ. 2482 ได้ คัดเลือก ตำรายา เป็นจำนวนมากมาลงไว้ เช่น ยาเขียวหอม ยาอินทรจักร ( บางเล่มเขียน อินทจักร) บางเล่ม เขียนอินทจักร์) ยาสุขไสยาศน์ ยาแก้ไข้ ยาแก้มูกเลือด ยาดอง และอื่นๆ
    ในปี พ.ศ. 2492 ศาสตราจารย์ นายแพทย์สำราญ วังศพ่าห์ ได้รวบรวม คัดลอกตำรายา จากจารึก บนแผ่นหินอ่อน ตาม ผนัง ศาลาราย ของวัดราชโอรส เว้นบางแผ่นที่ ชำรุด หรือ เลอะเลือน จนไม่สามารถจะอ่านได้ รวมคัดลอกไว้จำนวน 55 แผ่น เรียกว่า " ตำรายาจารึกวัดราชโอรส " เนื้อหา ในเล่มกล่าวถึง ลักษณะ โรคและ บอกยาแก้ซึ่งมีหลายขนาน ให้เลือกใช้ บางขนาน มีชื่อตำรับ เช่นยา สังข์รัศมี ยาสมุทรเกลื่อน ๆลๆ ยาแต่ละขนาน มีตัวยา ตั้งแต่ 4 อย่าง ถึง กว่า 40 อย่าง บางขนาน บอก ปริมาณไว้ด้วย และ บอกวิธีปรุง วิธีใช้ ไว้ทุกขนาน
  • หนังสือ บทความบางเรื่องเกี่ยวกับสมุนไพร ของท่านศาสตราจารย์ นายแพทย์ อวย เกตุสิงห์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ยา กลางบ้าน ที่ท่านเคยใช้เอง และใช้ได้ผลดี โดยแบ่งตามอาการของโรค มี 47 ข้อ รวมมียา 118 ขนาน
    มี บางขนาน ที่ผู้ อื่นบอกให้ ซึ่งชื่อถือได้ เกือบทุกขนาน เป็นยาตัวเดี่ยวๆ ได้แก่ ยาแก้เจ็บคอ ให้ใช้หญ้างวงช้าง หรือไพล หรือเกลือ หรือกำยาน นอกจากความนำ ที่น่าสนใจ แล้ว ยังมี คำเตือน เรื่องอันตราย จากการใช้ยาไทยไว้ ด้วย โดยนายแพทย์ กรุงไกร เจนพาณิชย์ ได้คัดเลือกหรือเพิ่มเติม รวมเป็น เป็น 49 ขนาน พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2522
ตำรา ยากลางบ้าน รวบรวมโดยพระเทพวิมลโมลี ท่านได้เชิญชวนให้ พระสงฆ์ และประชาชนบริจาค ตำรายา กลางบ้าน ที่มีสรรพคุณชงัด ซึ่งทุกขนาน มีนามเจ้าของ ยากำกับไว้ และรับรองสรรพคุณ ด้วยความมั่นใจ เพราะเคยใช้กับ ตนเอง หรือใช้รักษา ได้ผลดี มาแล้ว พร้อมทั้ง บอกข้อแนะนำ ในการใช้ ( ลักษณะาการวบรวมเช่นนี้ เหมือนเมื่อครั้งรรัชกาล ที่ 3 และรัชกาลที่ 5 ที่โปรดๆ ให้รวบรวม พระคัมภีร์) ตำรายากลางบ้านนี้
พิมพ์ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2524 มี 244 ขนาน พิมพ์ ครั้งที่ 2 มี 299 ขนาน โดยได้รวบรวมยา หลายๆขนาน ที่บำบัดโรคเดียวกันไว้ด้วยกัน เช่น ยาแก้โรคบิด มี 8 ขนาน ยาแก้ไข้ ทับระดู มี 1 ขนาน ยาแก้ไข้มาลาเรีย มี 1 ขนาน ๆลๆ การที่มีหลายขนาน เพื่อให้เลือกใช้ ได้เหมาะสม กับท้องถิ่น ใน ตอน ท้ายเล่ม มี นามานุกรมสมุนไพร ( ตำรายากลางบ้าน) โดยบอกชื่อ พืช ที่เรียกกันทั้ง 4 ภาคของไทย

สวัสดีปีใหม่๒๕๕๕


สวัสดีปีใหม่ ส่งใจอวยพร
เขียนเป็นคำกลอน   ให้พรสุขี
ขอให้ทุกท่าน  พ้นผ่านไพรี
อยู่ดีกินดี  โชคดีตลอด
มั่งมีเงินทอง ข้าวของสินสอด
รายได้ตลอด ให้ปลอดโรคภัย
เรื่องเจ็บอย่าป่วย ความซวยห่างไกล
ทุกข์เข็ญจัญไร จงไกลห่างตัว
จงสุขสำราญ  เบิกบานกันทั่ว
ความเลวความชั่ว  ห่างตัวห่างใจ
จงมีแต่สุข   เรื่องทุกข์อย่าใกล้
โชคดีปลอดภัย  มีชัยทุกคน


ปรารถนา เงินทอง กองท่วมฟ้า 
ทำการค้า ร่ำรวย ไปสวยสม 
มียศศักดิ์ รักใคร ใคร่ภิรมย์ 
ขอให้กลม เกลียวกัน และมั่นคง


ขอให้ผู้อ่านทุกท่านโชคดีตลอดปีและตลอดไปนะคะ
ขอบคุณที่ติดตามค่ะ

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การแพทย์แผนไทย


การแพทย์แผนไทย (Thai Traditional Medicine) 

การแพทย์แผนไทย หรือ การแพทย์แผนโบราณ เป็นความพยายามจะอธิบายภาวะต่างๆที่เกี่ยวกับสุขภาพ ทั้งสภาวะปกติ และสภาวะที่ผิดปกติ(เป็นโรค) โดยใช้ทฤษฎีความสมดุลของธาตุต่างๆในร่างกายเข้ามาอธิบาย ผสมผสานองค์ความรู้จากอินเดีย พุทธศาสนา และองค์ความรู้ที่เราพัฒนาขึ้นมาเอง
กระบวนการทางการแพทย์แผนไทย จะเกี่ยวกับการตรวจ วินิจฉัย บำบัด หรือป้องกันโรค หรือการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพของมนุษย์หรือสัตว์ การผดุงครรภ์ การนวดไทย และหมายรวมถึงการเตรียมการผลิตยาแผนไทย ประดิษฐ์อุปกรณ์ และเครื่องมือทางการแพทย์ โดยอาศัยความรู้หรือตำราที่ได้ถ่ายทอดและสืบต่อกันมา
การแพทย์แผนไทยอาจจะไม่มีองค์ความรู้ด้านกลไกการเกิดโรค และเทคนิคทางศัลยกรรมมากนัก แต่ต้องมีองค์ความรู้ด้านกลวิธีทางคลินิก เช่น การซักประวัติ และการรักษาด้วยยา เพียงแต่ขาดหลักฐานเชิงประจักษ์ทางคลินิก (Evidence-based clinical knowledge) ซึ่งก็มาจากกฎข้อบังคับตามใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย ที่ว่า "มิให้แพทย์แผนไทยกระทำการอันเป็นวิทยาศาสตร์ใด ๆ" นั่นเอง ทำให้ไม่สามารถมีการตั้งสมมติฐานและวิจัยได้อย่างเต็มที่
ความหมายการแพทย์แผนไทย
การแพทย์แผนไทย หมายถึง ปรัชญา องค์ความรู้ และวิถีปฏิบัติ เพื่อการดูแลสุขภาพ และการบำบัดรักษาโรค ความเจ็บป่วยของคนไทย แบบดั้งเดิม สอดคล้องกับขนบธรรมเนียบวัฒนธรรมไทย และวิถีชีวิตคนไทย โดยวิธีการปฏิบัติของการแพทย์แผนไทย ประกอบด้วยการใช้สมุนไพร หัตถบำบัด การรักษากระดูกแบบดั้งเดิม การใช้พุทธศาสนา หรือพิธีกรรม เพื่อดูแลรักษาสุขภาพจิต ธรรมชาติบำบัด ซึ่งได้จากการสั่งสม ถ่ายทอดประสบการณ์อย่างเป็นระบบ โดยการบอกเล่า การสังเกต การบันทึก และการศึกษาผ่านสถาบันการศึกษาด้านการแพทย์แผนไทย
ภูมิปัญญาในการแพทย์แผนไทย
การแพทย์แผนไทย เป็นการแพทย์แบบองค์รวม มีองค์ความรู้ ครอบคลุมการบำบัดรักษาโรคอย่างครบถ้วน คือ
·         รู้การเกิดของโรค รู้สาเหตุของโรคจากปัจจัยต่างๆ
·         รู้จักโรค ทราบถึงอาการโรค และชื่อสมมติของโรคตามอาการ
·         รู้จักยารักษาโรค ทราบถึงสรรพคุณและวิธีปรุงยา
·         รู้วิธีรักษาโรค ทราบว่ายาชนิดใด วิธีรักษาแบบใด เหมาะสำหรับโรคใดๆ
ความรู้ทั้ง 4 จึงเป็น หลักปฏิบัติในการวิเคราะห์ และบำบัดรักษาโรคของคนไทย
การบำบัดโรคแผนไทย
การบำบัดโรคตามแพทย์แผนไทย มักใช้วิธีการหลายวิธี เพื่อให้ผลรักษาทั้งทางร่างกาย และจิตใจ เช่น  
·         การใช้สมุนไพร
·         การนวดและการบริหารร่างกาย
·         การใช้พิธีกรรมความเชื่อ
ความแตกต่างระหว่างการแพทย์แผนไทย และการแพทย์แผนไทยประยุกต์
การแพทย์แผนไทย กับ การแพทย์แผนไทยประยุกต์ นั้นมีความแตกต่างกันชัดเจน คือ การแพทย์แผนไทย จะเน้นการวินิจฉัย การรักษา และการจ่ายยา ด้วยหลักการของการแพทย์แผนไทย และจ่ายยาด้วยสมุนไพร แต่มีข้อจำกัดในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์แบบตะวันตก  ส่วนการแพทย์แผนไทยประยุกต์เป็นหลักสูตรที่ต้องร่ำเรียนหลักวิชาการทางการแพทย์แผนตะวันตก สามารถใช้เครื่องมือทางการแพทย์แผนปัจจุบันได้บางอย่าง (ตามที่ข้อกฎหมายกำหนด) รวมถึงวินิจฉัยตามหลักการแพทย์ แต่ขั้นตอนในการรักษาต้องรักษาด้วยยาแผนไทยเท่านั้น  และที่สำคัญการสอบใบประกอบโรคศิลปะจะต้องขึ้นทะเบียนกันคนละสาขากัน

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ปู่ชีวกโกมารภัจจ์





บรมครูชีวกโกมารภัจจ์
ประวัติและความเป็นมา  ของหมอชีวกโกมารภัจจ์

               เกิดที่ประเทศอินเดียในสมัยพุทธกาล เป็นบุตรบุญธรรมของเจ้าชายอภัยราชกุมาร พระราชนัดดาของพระเจ้าพิมพิสาร แห่งแคว้นมคธ ได้ไปเรียนวิชาแพทย์ที่สำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ณ เมืองตักศิลา โดยได้คำนึงว่า วิชาแพทย์เป็นวิชาที่สามารถช่วยเหลือชีวิตเพื่อนมนุษย์ได้ ตามปกติจะต้องใช้เวลาศึกษา 16 ปี จึงจะสำเร็จ แต่ท่านศึกษาอยู่เพียง 7 ปี ก็สำเร็จการศึกษา แล้วจึงกลับกรุงราชคฤห์ ส่วนอาจารย์ของท่านได้เดินทางไปเผยแพร่วิชาแพทย์ที่ประเทศจีนต่อไป
พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงแต่งตั้งให้หมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นแพทย์หลวงและเป็นหมอประจำตัวของพระพุทธเจ้า ท่านได้รักษาโรคให้แก่ผู้คนเป็นจำนวนมาก โดยไม่เลือกชั้นวรรณะทั้งด้วยยาและการผ่าตัด
หมอชีวกโกมารภัจจ์ ได้รจนาตำราวิชาแพทย์ไว้มากมาย อันเป็นคุณต่อชนรุ่นหลังเป็นอันมาก คนไทยนับถือท่าน ชีวกโกมารภัจจ์เป็นครูแพทย์ไทยท่านหนึ่ง ท่านได้รับการยกย่อง เอตทัคคะในบรรดาอุบาสกผู้เลื่อมใสในบุคคล

กำเนิดชีวกโกมารภัจจ์

               ในพระนครราชคฤห์ มีกุมารีชื่อสาลวดีเป็นสตรีทรงโฉมสคราญตาน่าเสน่หา ประกอบด้วยผิวพรรณเฉิดฉายยิ่ง จึงพวกคนมีทรัพย์ชาวพระนครราชคฤห์ ได้คัดเลือกกุมารีสาลวดีเป็นหญิงงามเมือง
ครั้นนางกุมารีสาลวดี(สาสวดี)ได้รับเลือกเป็นหญิงงามเมืองแล้ว ไม่ช้านานเท่าไรนัก ก็ได้เป็นผู้ชำนาญในการฟ้อนรำ ขับร้องบรรเลงเครื่องดนตรี ราคาตัวคืนละ 100 กษาปณ์
ครั้นมิช้ามินาน นางสาลวดีหญิงงามเมืองก็ตั้งครรภ์ นางมีความคิดเห็นว่า ธรรมดาสตรีมีครรภ์ไม่เป็นที่พอใจของพวกบุรุษ ถ้าใครๆ ทราบว่า เรามีครรภ์ ลาภผลของเราจักเสื่อมหมด
หลังจากนั้น อาศัยความแก่แห่งครรภ์นั้น นางได้คลอดบุตรเป็นชาย และสั่งกำชับทาสีว่า แม่สาวใช้จงวางทารกนี้ลงบนกระด้งเก่าๆ แล้วนำออกไปทิ้งที่กองหยากเยื่อ(กองขยะ)
ก็ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า เจ้าชายอภัย กำลังเสด็จเข้าสู่พระราชวัง ได้ทอดพระเนตร เห็นทารกนั้นอันฝูงกาห้อมล้อมอยู่ ครั้นแล้วได้ถามมหาดเล็กว่า พนายนั่นอะไร ฝูงการุมกันตอมมหาดเล็ก.ทารกพ่ะย่ะค่ะเจ้าชายอภัย ยังเป็นอยู่หรือพนายมหาดเล็ก ยังเป็นอยู่พ่ะย่ะค่ะเจ้าชายนำทารกนั้นไปวังและมอบแก่นางนม อาศัยคำว่ายังเป็นอยู่เขาจึงขนานนามทารกนั้นว่า ชีวก (ยังมีชีวิตอยู่) ได้ตั้งนามสกุลว่าโกมารภัจจ์ ต่อมาไม่นานนัก ชีวกโกมารภัจจ์ก็รู้เดียงสา จึงเข้าเฝ้าเจ้าชายอภัย ครั้นแล้วได้ทูลคำนี้แด่เจ้าชายอภัยว่าใครเป็นมารดาของเกล้ากระหม่อม ใครเป็นบิดาของเกล้ากระหม่อม พ่ะย่ะค่ะ
เจ้าชายรับสั่งว่า พ่อชีวก แม้ถึงตัวเราก็ไม่รู้จักมารดาของเจ้า ก็แต่ว่าเราเป็นบิดาของเจ้า เพราะเราได้ให้เลี้ยงเจ้าไว้ชีวกโกมารภัจจ์ มีความคิดเห็นว่า ราชสกุลเหล่านี้แล คนที่ไม่มีศิลปะ จะเข้าพึ่งพระบารมี ทำไม่ได้ง่าย ถ้ากระไร เราควรเรียนวิชาแพทย์ไว้.
เรียนศิลปะทางแพทย์
            ชีวกโกมารภัจจ์พออายุได้ 16 ปี ทราบว่า นายแพทย์ทิศาปาโมกข์ตั้งสำนักอยู่ ณ เมืองตักกสิลา จึงตัดสินใจเดินทางไปเรียนแพทย์กับนายแพทย์ทิศาปาโมกข์ โดยไม่ทูลลาเจ้าชายอภัย ลอบเดินทางไปเมืองตักกสิลา เดินรอนแรมไปโดยลำดับ ถึงเมืองตักกสิลา ครั้งนั้นชีวกโกมารภัจจ์ เรียนได้เร็ว เข้าใจดีด้วย และวิชาที่เรียนได้แล้วก็ไม่ลืม.
ครั้นล่วงมาได้ 7 ปี ชีวกโกมารภัจจ์คิดว่า เรียนมาได้ 7 ปีแล้ว ยังไม่สำเร็จศิลปะนี้ เมื่อไร จักสำเร็จสักที จึงเข้าไปหานายแพทย์ผู้นั้นแล้วได้เรียนถามว่า ท่านอาจารย์ กระผมเรียนวิชาได้มากเรียนได้เร็ว เข้าใจดีด้วย ทั้งวิชาที่เรียนได้แล้วก็ไม่ลืม และกระผมได้เรียนมาเป็นเวลา 7 ปีก็ยังไม่สำเร็จ เมื่อไรจักสำเร็จสักทีเล่า ขอรับ นายแพทย์ตอบว่า พ่อชีวก ถ้าเช่นนั้นเธอจงถือเสียม เที่ยวไปรอบเมืองตักกสิลา ระยะทาง 1 โยชน์ ตรวจดูสิ่งใดไม่ใช่ตัวยา จงขุดสิ่งนั้นมาชีวกโกมารภัจจ์รับคำอาจารย์ ถือเสียมเดินไปรอบเมืองตักกสิลาระยะทาง 1 โยชน์ มิได้เห็นสิ่งใดที่ไม่เป็นตัวยาสักอย่างหนึ่งจึงเดินทางกลับ เข้าไปหานายแพทย์ และได้กราบเรียนคำนี้ต่อนายแพทย์ว่าท่านอาจารย์กระผมเดินไปรอบเมืองตักกสิลาระยะทาง 1 โยชน์แล้ว มิได้เห็นสิ่งที่ไม่เป็นยาสักอย่างหนึ่งนายแพทย์บอกว่า พ่อชีวก เธอศึกษาสำเร็จแล้ว เท่านี้ก็พอที่เธอจะครองชีพได้แล้ว
ถวายการรักษาพระผู้มีพระภาคเจ้า

            สมัยนั้นแล พระกายของพระผู้มีพระภาคหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ จึงพระผู้มีพระภาครับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ กายของตถาคตหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ ตถาคตต้องการจะฉันยาถ่ายพระอานนท์จึงเดินไปหาชีวกโกมารภัจจ์ ท่านชีวก พระกายของพระตถาคตหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ พระตถาคต ต้องการจะเสวยพระโอสถถ่ายชีวกโกมารภัจจ์ ได้เดินทางเข้าเฝ้าทำการรักษา ถวายการรักษาด้วยการอบก้านอุบล 3 ก้านด้วยยาต่างๆ แล้วทูลถวายพระตถาคตพระภาคจงทรงสูดก้านอุบลก้านที่ 1 ทำให้ถ่ายถึง 10 ครั้ง แล้วได้ทูลถวายก้านอุบลก้านที่ 2 และก้านที่ 3 แต่ละครั้งเป็นผลให้ทรงถ่าย รวม 30 ครั้ง ทำให้ของหมกหมมในพระวรกายของพระพุทธเจ้าออกจากพระวรกายจนหมดสิ้นพระองค์ทรงสดชื่นหายจากอาการประชวร
           ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสรงน้ำอุ่น ชีวกโกมารภัจจ์ได้กราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคว่าพระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคไม่ควรเสวยพระกระยาหารที่ปรุงด้วยน้ำต้มผัก ต่างๆ จนกว่าจะมีพระกายเป็นปกติต่อมาไม่นานนัก พระกายของพระผู้มีพระภาคได้เป็นปกติแล้ว.
ในเวลาต่อมา เมื่อชีวกโกมารภัจจ์ ได้ถวายการรักษาพระเจ้าจันทร์ปัทโชติหายจากอาการประชวร พระองค์ได้ส่งผ้าสิไวยกะมาพระราชทานให้แก่หมอชีวกโกมารภัจจ์ ท่านได้นำผ้าไวยกะไปในพุทธสำนัก แล้วถวายบังคม พระผู้มีพระภาค ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่าพระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคและพระสงฆ์ทรงถือผ้าบังสุกุลเป็นปกติอยู่ ผ้าสิไวยกะของข้าพระพุทธเจ้าคู่นี้ พระเจ้าปัชโชติ ทรงส่งมาพระราชทาน เป็นผ้าเนื้อดีเลิศ ประเสริฐมีชื่อเสียงเด่นอุดม และเป็นเยี่ยมกว่าผ้าทั้งหลายเป็นอันมาก ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงพระกรุณาโปรดรับผ้าคู่สิไวยกะของข้าพระพุทธเจ้า และขอจงทรงพระพุทธานุญาตคหบดีจีวรแก่พระสงฆ์ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้าพระผู้มีพระภาคทรงรับผ้าคู่สิไวยกะแล้ว ครั้นแล้วทรงชี้แจงให้ชีวกโกมารภัจจ์ เห็นแจ้ง สมาทาน อาด้วยธรรมีกถา เสร็จแล้ว ชีวกได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณกลับไป.
หมอชีวกบรรลุโสดาบัน
          หมอชีวก ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน และด้วยศรัทธา ในพระพุทธเจ้า ปรารถนาจะไปเฝ้าวันละ 2-3 ครั้ง เห็นว่า พระเวฬุวันไกลเกินไปจึงสร้างวัดถวายในอัมพวันคือ สวนมะม่วงของตน เรียกกันว่า       ชีวกัมพวัน (อัมพวัน ของหมอชีวก) เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรู เริ่มน้อมพระทัยมาทางศาสนา หมอชีวกก็เป็นผู้แนะนำ ให้เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ด้วยเหตุที่หมอชีวกเป็นแพทย์ประจำคณะสงฆ์และเป็นผู้มีศรัทธาเอาใจใส่เกื้อกูลพระสงฆ์มาก

อนุญาตให้สงฆ์รับคหบดีจีวร

          หมอชีวกได้ทูลขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้า อนุญาตให้สงฆ์รับคหบดีจีวรเป็นครั้งแรก. ทูลเสนออนุญาตที่จงกรมและเรือนไฟเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นที่บริหารกายช่วยรักษาสุขภาพของภิกษุทั้งหลาย. ในกาลต่อมา หมอชีวกได้รับพระดำรัสยกย่องเป็น เอตทัคคะ
ในบรรดาอุบาสกผู้เลื่อมใสในบุคคล.



ที่มา : http://www.geocities.ws/ploybuddhist/pages/bestbudd/cheevaka.HTM
--------------------------------------



บรมคุรุแพทย์ ชีวกโกมารภัจจ์
นายแพทย์ประจำพระองค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
คาถาไหว้ครูหมอชีวกโกมารภัจจ์

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

โอมนะโม ชีวะโก สิระสาอะหัง กะรุณิโก สัพพะสัตตานัง โอสะถะ ทิพพะมันตัง ประภาโสสุริยาจันทัง โกมาระภัจโต ปะกาเสสิ วันทามิ บัณฑิโต สุเมธะโส อะโรคา สุมะนาโหมิ

ผู้ใดได้กล่าวสรรเสริญคุณแห่งพระคาถาบทนี้ / ผู้ใดได้เจริญพระคาถาบทนี้ จะบังเกิดมีอานุภาพ ป้องกันสรรพโรคภัยไข้เจ็บ ทั้งหลายทั้งปวง / จะเป็นผู้ไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ / หาได้ยาก และหากยิ่งได้ช่วยเผยแพร่ออกไป จะมีอานิสงส์บุญทำให้ปราศจากโรคร้ายภัยเวรต่างๆ

บทอธิษฐาน

ขอบารมีแห่งบรมครูหมอชีวกโกมารกัจจ์ จงคุ้มครองให้ ข้าพเจ้า ........ (ชื่อ / นามสกุล) ........ พ้นจากโรคร้ายภัยเวร โรคเวร โรคกรรม ขอให้มีอายุมั่นขวัญยืน มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี ขอให้อานิสงส์แห่งแรงอธิษฐานนี้ คุ้มครองข้าพเจ้านับตั้งแต่บัดนี้ ล่วงไปเมื่อหน้าเทอญ ...

คาถาในการรักษา (แบบย่อ)

นะอะนะวะ โรคา พยาธิ วินาสสันติ

อาริยบูชา
ข้าฯขอประณมหัตถ์                พระไตรรัตน์นาภา
ตรีโลกอมรมา                         อภิวาทนาการ
อนึ่งข้าฯอัญชุลี                       พระฤาษีผู้ทรงญาณ
แปดองค์เธอมีฌาน                  โดยรอบรู้ในโรคา
ไหว้คุณอิศวเรศ                       ทั้งพรหมเมศวร์ทุกชั้นฟ้า
สาปสวรรค์ซึ่งว่านยา                 ประทานทั่วโลกธาตรี
ไหว้ครูโกมารภัจจ์                    ผู้เจนจัดในคัมภีร์
เวชศาสตร์บรรดามี                   ให้ทานทั่วแก่นรชน
ไหว้ครูผู้สั่งสอน                       แต่ปางก่อนเจริญผล
ล่วงลุนิพพานดล                      สำเร็จกิจประสิทธิ์พร
คัดจากฉันทศาสตร์ของเจ้าพระยาวิชยาธิบดี(กล่อม)




วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ผงนัว

 ผงนัวมหัศจรรย์แห่งรสแซ่บ

"ผงนัว" (นัว) หมายถึง รสกลมกล่อมของอาหาร เช่น ต้ม แกง ลาบก้อย มีรสกลมกล่อม เรียก นัว) ภูมิปัญญาของชาวอีสาน ที่ใช้พืชผักสมุนไพรทำเครื่องปรุงเพื่อเพิ่มรสชาติให้อาหาร ที่สกลนคร มีเครื่องปรุงรสที่แปลกออกไป โดยชาวบ้านใช้ใบของผักพื้นบ้านหลายชนิดตากแดดให้แห้ง แล้วตำให้ละเอียดแล้วผสมกัน เก็บไว้ใส่อาหารเวลาต้มแกง หรือที่เรียกว่า ผงนัว

สำหรับผักที่ใช้ทำผงนัวมีมากกว่า 12 ชนิด เช่น ใบผักหวาน, ใบมะรุม, ใบหม่อน, ใบกระเทียม, ใบหอม, ใบมะขาม, ใบกระเจี๊ยบ, ผักโขมทั้งต้น, ใบส้มป่อย, ใบน้อยหน่า, ใบชะมวง, ใบกุยช่ายเป็นต้น เลือกใบที่ไม่แก่ไม่อ่อนจนเกินไป โดยผสมผักพื้นบ้านในอัตราส่วนที่ต่างกันไป แต่ที่มีอัตราส่วนปริมาณมากคือผักหวานและใบหม่อน รองลงมาเป็นใบมะรุม และที่ใส่ลงไปน้อยสุดคือใบน้อยหน่า เนื่องจากมีการถ่ายทอดมาว่าใบน้อยหน่ามีพิษ ซึ่งคนสมัยโบราณนำใบน้อยหน้ามาฆ่าเหา แต่อะไรก็แล้วแต่ถ้ามีพิษ และมีรสขมหากใส่แต่น้อยถือว่าเป็นยา ขณะเดียวกันชาวบ้านยังใช้ใบน้อยหน่ามาแกงกินได้

ขณะเดียวกัน ก็เพิ่มข้าวเหนียวแช่น้ำ ข้าวกล้องแช่น้ำ และข้าวเหนียวนึ่งสุก ข้าวกล้องหุงสุก และเติมเกลือไอโอดีนลงไป ผ่านการอบแห้งแล้วป่นรวมกัน มีด้วยกัน 2 รส คือ 
รสมันหวาน ใช้สำหรับ ต้ม ผัด หมัก แกงและย่าง และ 
รสเปรี้ยว ใช้กับต้มยำ ยำ ลาบ อ่อม แจ่ว รสนี้เพิ่มผักที่มีรสเปรี้ยวอย่าง ส้มป่อย ใบมะขาม เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ รสชาติของผงนัว จะเพิ่มรสให้อาหารได้นั้น ต้องใส่ในน้ำต้มแกงตอนร้อน แต่ถ้าชิมเปล่าๆ จะไม่มีรสชาติ แต่รู้สึกได้ว่ามีรสปะแล่มๆ คล้ายกับผงชูรสที่ขายตามท้องตลาด

"การทำผงนัวต้องใช้เวลาทั้งปี เพื่อเก็บใบของผักพื้นบ้านให้ครบทุกชนิด เนื่องจากผักแต่ละชนิดจะมีตามฤดูกาล เช่น ใบหอม ใบกระเทียมจะมีตอนฤดูหนาว ผักหวานต้องรอให้ถึงหน้าฝนจึงจะมีใบ"
ผงนัวนอกจากมีคุณสมบัติเป็นเครื่องปรุงรสแล้ว ยังให้ประโยชน์ด้านสมุนไพร โดยเฉพาะตัวผักพื้นบ้านเองมีวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย และจากการศึกษาของสถาบันการแพทย์แผนไทยพบว่า ใบมะขามอ่อน, ยอดส้มป่อย, ผักหวานป่า, ผักหวานบ้าน, ผักโขมและชะมวง อีกทั้งดอกมะรุม มีศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระในระดับที่สูงมาก

นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า กุยช่าย มีฟอสฟอรัสช่วยบำรุงกระดูก ใบหม่อน มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ ระงับประสาท กระเจี๊ยบแดง ช่วยขับเสลดทำให้โลหิตไหลเวียนดี ทั้งนี้ ผักพื้นบ้านยังมีสารลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ช่วยฟอกโลหิต และบำรุงร่างกาย พบว่า โรคร้ายหลายโรคทุเลาลง ในบางโรคหายได้อย่างเหลือเชื่อ โดยเฉพาะเบาหวานสามารถคุมน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี อาการปวด เมื่อย อ่อนเพลีย ซึ่งเป็นอาการของการได้รับสารพิษนั้นก็หายกันเป็นปลิดทิ้ง

วิธีทำ นำวัตถุดิบทุกชนิดทำความสะอาด ตากหรืออบแห้ง พืชผักสมุนไพรพยายามตากลม แดดอ่อนหรืออบด้วยอุณหภูมิไม่สูงมากนักเพราะจะทำให้สูญเสียธาตุอาหารไปแล้วนำไปบดละเอียด นำส่วนประกอบทุกอย่างรวมทั้งเกลือและน้ำตาลกรวดเพื่อเพิ่มรสชาติยกเว้นพืชที่ให้รสเปรี้ยวคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วเก็บใส่ภาชนะก็ได้ผงนัวรสหวานมัน  ส่วนผงนัวรสเปรี้ยวให้นำผงนัวรสหวานมันส่วนหนึ่งมาผสมกับพืชที่ให้รสเปรี้ยวเติมเกลือและน้ำตาลกรวดคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำมาใช้แทนผงชูรส




พืชที่มีศักยภาพในการนำมาผลิตผงนัว

รสมันหวาน
ข้าวเหนียว (เมล็ดสุกตากแห้ง) บำรุงกำลัง กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นกระดูก ให้พลังงาน
มันเทศ (หัว) ถอนพิษ ต้านเชื้อแบคทีเรีย
ฟักทอง (ผล) เป็นยาระบายอย่างอ่อน ป้องกันมะเร็ง ช่วยควบคุมสมดุลในร่างกาย 
มะรุม (ยอดอ่อน) แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ บำรุงกระดูก
ข้าวโพด (หนวด) บำรุงม้าม ขับปัสสาวะ รักษาบวมน้ำ บิด ท้องร่วง
รสเผ็ดร้อน
ข่า (หัวเหง้า) ขับลมแก้ท้องอืดเฟ้อ แก้โรคกระเพาะ ลดไขมันในเลือด แก้หลอดลมอักเสบ
กระเทียม (ใบ) แก้ความดันโลหิตสูง ลดไขมันในเลือด แก้จุกเสียด
กะเพรา (ใบ)ขับลมแก้ปวดท้อง ขับเหงื่อ แก้โรคผิวหนังรสเผ็ดหอม
ผักแพรว/ผักไผ่ (ใบ) ขับลมในกระเพาะ ช่วยเจริญอาหาร
ผักแพรว/ผักไผ่ (ใบ) ขับลมในกระเพาะ ช่วยเจริญอาหาร
รสหอมร้อน
ผักแป้น (ใบ) แก้หวัดบำรุงกระดูก แก้ลมพิษ ปวดแน่นหน้าอก ไอเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด
ตะไคร้ (หัวเหง้า) แก้ท้องอืดเฟื้อ ปัสสาวะพิการ นิ่ว บำรุงไฟธาตุ
ชะอม (ราก เปลือกต้น) ขับลมในกระเพาะ แก้ท้องอืดเฟ้อ ปวดเสียวในท้อง
กระชาย (หัวเหง้า) แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย บำรุงน้ำนม บำรุงสมอง บำรุงไต
หอมป้อม (ต้น) ช่วยขับลม ละลายเสมหะ ขับเหงื่อ แก้หัดผื่น
ขมิ้นชัน (หัวเหง้า) ป้องกันมะเร็งลำไส้ รักษานิ่วในถุงน้ำดี ขับลมในกระเพาะอาหาร แก้อักเสบ ป้องกันสมองเสื่อม
รสหอมเย็น
ผักชีฝรั่ง (ใบ) ให้ แก้ท้องอืด แก้ปวดเมื่อย ระบายท้อง
แมงลัก (ใบ) ให้รสหอมเย็น ขับสารพิษในลำไส้ ขับลมในกระเพาะ บำรุงกระดูก สร้างเม็ดเลือด
รสหอมจืด
โหระพา (ใบ) ให้ แก้ท้องเสีย ปวดข้อ ขับเหงื่อ ขับเสมหะ แผลหนอง
โหระพา (ใบ) ให้ แก้ท้องเสีย ปวดข้อ ขับเหงื่อ ขับเสมหะ แผลหนอง
รสหอมเผ็ดหวาน
ชะพลู (ใบ) บำรุงธาตุ ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้โรคเบาหวาน
ชะพลู (ใบ) บำรุงธาตุ ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้โรคเบาหวาน
รสหอมเย็นหวาน
ผักกาดหัว (หัว ก้าน ใบ) ขับเหงื่อ เป็นยาเย็น ขับลมในกระเพาะอาหารรสหวานเย็น
ผักหวานบ้าน (ยอดอ่อน) บรรเทาความร้อนในร่างกาย
ผักหวานบ้าน (ยอดอ่อน) บรรเทาความร้อนในร่างกาย
รสขมเย็น
ย่านาง (ใบ) ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้อีสุกอีใส แก้บิดรสมันขม
มะกรูด (ใบ) แก้ไอ แก้เจ็บคอ บำรุงเลือด
มะกรูด (ใบ) แก้ไอ แก้เจ็บคอ บำรุงเลือดรสขมเมา
หม่อน (ใบ) ขับเหงื่อ แก้เจ็บคอ แก้ไอ แก้ร้อนใน บำรุงไต ลดน้ำตาลในเลือด
หม่อน (ใบ) ขับเหงื่อ แก้เจ็บคอ แก้ไอ แก้ร้อนใน บำรุงไต ลดน้ำตาลในเลือดรสเบื่อเมา
น้อยหน่า (ยอดอ่อน) ขับพยาธิในลำไส้ แก้ฟกบวม (ใช้ปริมาณเล็กน้อย)
รสขมหวาน
ผักขม (ต้นอ่อนทั้งต้น) ลดไขมันในเลือด มีเส้นใยมาก กำจัดการก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนในน้ำดื่ม ในไส้กรอกได้ดี
รสเปรี้ยว
มะนาว (ใบ) แก้ไอ ขับเสมหะ เจริญอาหาร
ส้มป่อย (ใบ) ฟอกโลหิต ขับเมือกมันในลำไส้
ชะมวง (ใบ) ระบายท้อง แก้ไข้ กัดฟอกเสมหะ ขับเลือด แก้ธาตุพิการ
มะขาม (ใบอ่อน) ระบายท้อง ขับเสมหะ ขับลมในกระเพาะ
กระเจี๊ยบ (ใบ กลีบดอก) ขับปัสสาวะ ลดน้ำตาลในเลือด แก้ร้อนในกระหายน้ำ สมานแผลใน กระเพาะอาหาร บำรุงกระดูกฟัน
ติ้ว (ใบอ่อน) ฟอกเลือด ช่วยระบาย
มะกอก ( เปลือก) แก้ร้อนใน อาเจียน หอบสะอึก
ส้มป่อย (ใบ) ฟอกโลหิต ขับเมือกมันในลำไส้
ชะมวง (ใบ) ระบายท้อง แก้ไข้ กัดฟอกเสมหะ ขับเลือด แก้ธาตุพิการ
มะขาม (ใบอ่อน) ระบายท้อง ขับเสมหะ ขับลมในกระเพาะ
กระเจี๊ยบ (ใบ กลีบดอก) ขับปัสสาวะ ลดน้ำตาลในเลือด แก้ร้อนในกระหายน้ำ สมานแผลใน กระเพาะอาหาร บำรุงกระดูกฟัน
ติ้ว (ใบอ่อน) ฟอกเลือด ช่วยระบาย
มะกอก ( เปลือก) แก้ร้อนใน อาเจียน หอบสะอึก
นี่เป็นตัวอย่างพืชผักที่นำมาทำผงนัวได้ เลือกพืชที่มีทำผงนัวให้เหมาะสมกับความต้องการใช้ รสมันหวาน ใช้สำหรับ ต้ม ผัด หมัก แกงและย่าง และ 
รสเปรี้ยว ใช้กับต้มยำ ยำ ลาบ อ่อม แจ่ว
****สูตรการทำผงนัว(พลิกแพลงได้ตามต้องการหรือตามฤดูของพืชผักที่หาได้)




ที่มา : http://www.koratdailynews.com/