วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

ท่าบริหารมือง่ายๆ


 บริหารอวัยวะภายในร่างกาย
เป็นท่าการบริหารมือ 8 ท่าที่ช่วยให้อวัยวะภายในทำงานได้ดีขึ้น เหมาะสำหรับหนุ่มสาวออฟฟิศ ที่ไม่มีเวลาขยับเขยื้อนร่างกาย เพราะต้องนั่งทำงานทั้งวัน บริหารทุกครั้งที่มีเวลาว่าง เพียงลุกขึ้นยืนแล้วปฎิบัติตามภาพข้างล่าง

ท่าที่ 1 บริหารลำไส้ใหญ่แก้ท้องผูก 
คว่ำมือใช้แนวนิ้วชี้ถึงนิ้วโป้ง โค้งเป็นรูปตัว C ทั้งสองข้าง กระทบกันเบาๆ 36 ครั้ง  



   

ท่าที่ 2 บริหารลำไส้เล็ก 
หงายมือให้แนวนิ้วก้อยถึงสันมือกระทบกันเบา ๆ 36 ครั้ง 

      

ท่าที่ 3 บริหารเหยื่อหุ้มหัวใจ
ตั้งมือทั้งสองข้างขึ้น หงายมืออกเป็นรูปดอกบัวแล้วใช้อุ้งมือตีกันนับ 36 ครั้ง

      

ท่าที่ 4 สร้างภูมิต้านทานโรค 
กางนิ้วมือทั้งสองข้างออกแล้วสอดเข้าหกันให้มีเสียดังฉับ บีบนิ้วมือทั้งสองข้างเล็กน้อยแล้วดึงออก ทำ 36 ครั้ง 

      

ท่าที่ 5 บริหารปอดซ้ายขวา 
กางมือซ้ายออกไม่ต้องเกร็ง แล้วใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือขวาหนีบแล้ว ดึงตรงกลางระหว่างนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือของมือซ้าย นับ36 ครั้งและสลับข้างทำอีก 36 ครั้ง 

      


ท่าที่ 6 บริหารกล้ามเนื้อหัวใจ 
ให้กำมือขวาและกางมือซ้ายออก จากนั้นให้เอาสันหมัดต่อยอุ้งมือซ้าย ไม่ให้มีเสียง นับ 36 ครั้ง และ สลับข้างทำ นับ 36 ครั้งเช่นเดียวกัน 

      

ท่าที่ 7 การบริหารไตขวาและไตซ้าย 
ให้หงายมือขวาขึ้น มือซ้ายคว่ำลง ใช้หลังมือขวาตีบนหลังมือซ้าย ทำ 36 ครั้ง และสลับข้างทำนับ 36 ครั้งเช่นเดียวกัน 

      

ท่าที่ 8 กระตุ้นเส้นลมปราณ (เปิดจุดรับพลังซ้าย-ขวา) 
ให้กางมือซ้ายออก จากนั้นใช้นิ้วหัวแม่มือขวาหมุนตามเข็มนาฬิกา รอบจุดเล่ากง คือบริเวณเหนือกลางฝ่ามือขึ้นไป ค่อนไปทางนิ้วโป้ง นับ 36 รอบ และสลั้บข้างทำ นับ 36 รอบเช่นเดียวกัน 

   


ขอบคุณ :http://saisampan.net/index.php?topic=6845.0 

พิกัดสมุฎฐาน(กาล๓)

เทคนิคการดูแลสุขภาพตามกาลเวลา The health care over time
รูปภาพที่เราเห็นนั้นเป็นการบอกเวลาตั้งแต่เวลา 06.00- 10.00 น พิกัดเสมหะ .
เวลาเช้าอิทธิพลของอากาศเย็น และ เป็นช่วงที่เชื้อไวรัสบางชนิดเติบโตได้ดี ในช่วงเวลาในพิกัดนี้ ดังนั้นคนเรามักป่วยด้วยโรคเสลด เสมหะเหนียว มาติดช่องทางเดินการหายใจ ทำให้เกิดโรคเช่นโรคภูมิแพ้ หวัด โรคปอด เป็นต้น การช่วยปรับสมดุลของร่างกายช่วงนี้คือ รับประทานอาหารที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะนาว มะปราง แกงส้ม ต้มยำเปรี้ยว มะยม ส้ม มะกอก มะขามป้อม ผักคาวตอง ผักผลไม้ที่รสเปรี้ยวเป็นต้น
ควรงดเว้นของหมัก น้ำส้มสายชู สารปรุงรสที่ใช้สารเคมี หรือ อาหารที่ผ่านการหมักดอง สิ่งที่ควรงดต่างๆเหล่านี้ไม่มีสรรพคุณในการปรับสมดุลต่อร่างกาย แต่กลับกันเมื่อได้รับประทานสารอาหารเหล่านี้  ในปริมาณมากเกินกว่าที่ร่างกายจะรับได้จะทำให้เกิดโทษต่อร่างกายอย่างมาก จะเกิดโรคร้ายหลายชนิดตามมา
รูปภาพที่เราเห็นนั้นเป็นการบอกเวลาตั้งแต่เวลา 10.00- 12.00 น พิกัดปิตตะ
ช่วงเวลานี้เป็นช่วงของอิทธิพลของอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป จากอุณหภูมิที่เย็น มาเป็นอบอุ่นจนถึงร้อนมาก ส่งผลทำให้อวัยวะภายในร่างกายอ่อนแอ อ่อนล้า ม้ามเป็นอวัยวะที่ควบคุมไฟธาตุที่เป็นตัวควบคุมร่างกายให้อบอุ่นไม่สามารถควบคุมความร้อนที่สะสมปริมาณมากในร่างกาย ทำให้ขาดความสมดุลได้จึงทำให้ระบบธาตุในร่างกายแปรปรวนไปด้วย และส่งผลทำให้เป็นไข้ ขาดความต้านทานโรค ติดเชื้อต่างๆได้ง่าย การรักษาความสมดุล ให้เกิดผลดีต่อกองธาตุในร่างกาย คือรับประทานยาสมุนไพร หรือ อาหารสมุนไพร ที่แก้ในทางปิตตะ เช่นสมุนไพรที่มีรสจืด ขม เย็น ได้แก่ มะระขี้นก มะระจีน ผักกาดขาว แตงกวา ผักทอดยอด ผักสะระเเหน่ บวบ ฟักเขียว เป็นต้น
 รูปภาพที่เราเห็นนั้นเป็นการบอกเวลาตั้งแต่เวลา 14.00- 18.00 น พิกัดวาตะ
ช่วงนี้เป็นของอิทธิพลของอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงจากร้อน กลับมาเย็นอีกครั้ง แต่ช่วงนี้ผลจากหมักหมมของอาหารในแต่ละวันที่สะสม ตั้งแต่อาหารมื้อเช้า จนถึงอาหารมื้อเย็นทำให้เกิดลมพิษ ( แก๊สที่เกิดจากหมักหมม และการย่อยอาหาร)จะมีลมขังอยู่ในท้องปริมาณมาก ทำให้เกิดอาการของโรคในช่องท้อง ทำให้เกิดแผลในลำไส้ง่าย อาจทำให้ลำไส้แปรปรวน แก๊สพิษ มักมีสภาพเป็นกรด มีผลเสียต่อร่างกายทำให้ เกิดอาการปวดเมื่อยตามข้อได้ง่าย การไหลเวียนของโลหิต ติดขัด
การแก้ปัญหาสุขภาพแบบวิชาแพทย์โบราณ ให้รับประทานยาสมุนไพร หรืออาหารสมุนไพรที่ฤทธิ์ในการขับลม ช่วยกระตุ้นลำไส้ บีบตัว ขับลมพิษ และยังช่วยให้เส้นเลือดขยายตัว โลหิตไหลเวียนดีขึ้น เป็นสมุนไพรที่มีรสเผ็ดร้อน เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ พริกไทย ไพล เป็นต้น
การดูแลสุขภาพตามกาลเวลาด้วยหลักทฤษฎีการแพทย์แผนไทย ช่วยทำให้สุขภาพแข็งแรงอายุยืนยาว ปรับสมดุลย์ของธาตุในร่างกายสามารถนำหลักการนี้มาใช้ในปัจจุบันและอนาคตได้ เป็นอย่างดียิ่ง ผู้ที่สนใจดูแลสุขภาพสามารถนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติได้


วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

กินตามธาตุ

ดูแลตัวเองไม่ให้ป่วยด้วยการกินตามธาตุเจ้าเรือน
แนวคิดกินตามธาตุมาจากทฤษฎีการแพทย์แผนไทยที่เชื่อว่าคนเราเกิดมาในร่างกายที่ประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม และไฟ แต่จะมีเพียง ๑ ธาตุที่แสดงลักษณะเด่นประจำตัว เรียกว่าธาตุเจ้าเรือนซึ่งมี ๒ ลักษณะ คือ ธาตุเจ้าเรือนเกิดที่เป็นไปตามวันเดือนปีเกิด และธาตุเจ้าเรือนปัจจุบันที่สังเกตจากบุคลิกลักษณะ อุปนิสัย กับปัญหาสุขภาพกายกับใจของแต่ละคน หากธาตุทั้ง ๔ ในร่างกายมีความสมดุล จะไม่เจ็บป่วยบ่อย แต่หากขาดความสมดุล ก็มักจะเจ็บป่วยได้ง่าย และเพื่อป้องกันปัญหาโรคภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ เราจึงควรปรับพฤติกรรมการกินโดยใช้รสชาติต่างๆ ของอาหารประจำธาตุ ถ้าพิจารณาในแต่ละธาตุจะพบว่ามีการกินที่แตกต่างกัน เนื่องจากมีปัญหาสุขภาพที่ไม่เหมือนกัน
"วิธีง่ายๆ ในการตรวจสอบธาตุเจ้าเรือนคือ การยึดตามเดือนเกิด ก็สามารถทำนายได้ว่าในอนาคตเราจะป่วยเป็นโรคอะไร หากไม่ดูแลตัวเองอย่างดี หรือไม่กินอาหารตามธาตุเจ้าเรือนเกิด"

ธาตุดิน คือผู้ที่เกิดในเดือนตุลาคม พฤศจิกายน และธันวาคม
ธาตุน้ำ คือผู้ที่เกิดเดือนกรกฎาคม สิงหาคม และกันยายน
ธาตุลม คือผู้ที่เกิดเดือนเมษายน พฤษภาคม และมิถุนายน
ธาตุไฟ คือผู้ที่เกิดเดือนมกราคม กุมภาพันธุ์ และมีนาคม
·                  ธาตุดิน มักจะเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน อาการปวดตามข้อ โรคระบบทางเดินหายใจ และโรคเกี่ยวกับระบบน้ำย่อย ควรกินอาหารรสฝาดเพื่อช่วยสมานปิดธาตุ (แต่ไม่ควรกินมากเกินไป เพราะจะทำให้ฝืดคอ ท้องอืด และท้องผูก) อาหารรสหวาน เพราะมีสรรพคุณซึมซาบตามเนื้อ ทำให้ชุ่มชื่นบำรุงกำลัง (ไม่ควรกินมากเกินเพราะจะทำให้ง่วงนอน และเกียจคร้าน) อาหารรสมันเพื่อแก้เส้นเอ็นพิการ ปวดเสียว ขัดยอก และกระตุก และอาหารรสเค็ม เพราะมีสรรพคุณซึมซาบไปตามเนื้อ ช่วยการดูดซึมอาหาร ป้องกันการเสื่อมของเส้นเอ็น และกระดูก นอกจากนี้ ควรกินอาหารประเภทแป้งขาวให้น้อย เพราะร่างกายจะเผาผลาญได้ไม่หมด และควรออกกำลังเป็นประจำ
·                  ธาตุน้ำ มักมีปัญหาเสมหะเป็นพิษ จึงควรกินอาหารรสเปรี้ยวเพื่อกัดฟอกเสมหะ ส่วนปัญหาสุขภาพอื่นๆ เหมือนธาตุดิน (เนื่องจากเป็นธาตุที่เอื้อกัน) เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ระบบทางเดินหายใจ และโรคอ้วน ในกรณีที่ธาตุน้ำมากจะมีเสมหะและน้ำมูกคล้ายจะเป็นหวัด เพราะร่างกายต้องการขับน้ำออกมา ในช่วงอายุแรกเกิดถึง ๑๖ ปี มักจะมีอาการเป็นหวัด คัดจมูก ตาแฉะ ในฤดูหนาวจะเจ็บป่วยง่ายเพราะธาตุน้ำกำเริบ จึงควรกินอาหารประเภทแป้งขาวให้น้อยเช่นกัน
·                  ธาตุลม ปัญหาด้านสุขภาพของคนธาตุเจ้าเรือนนี้ คือนอนไม่ค่อยหลับ ปวดท้อง จุกเสียด ระบบภายในมีความเป็นกรดมาก และระบบย่อยอาหารไม่ดี เนื่องจากลักษณะนิสัยที่กินไม่ตรงเวลา บางรายอาจมีปัญหาโรคข้อและกระดูก ควรกินอาหารรสเผ็ดร้อนเพื่อแก้ลมจุกเสียด และช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น แต่ไม่ควรกินมากเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียได้ ในช่วงอายุ ๓๒ ปีขึ้นไป มักจะมีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืดเป็นลมง่าย ในฤดูฝนจะเจ็บป่วยง่ายเพราะธาตุลมกำเริบ ควรกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ให้น้อย เพราะระบบการย่อยไม่แข็งแรง
·                  ธาตุไฟ ปัญหาสุขภาพคือ เครียดง่าย โรคกระเพาะอาหาร ผิวหนังแพ้ง่าย ท้องเสียบ่อย ร้อนใน เป็นฝี และมีแผลในปาก ในช่วงอายุ ๑๖-๓๒ ปี มักจะหงุดหงิดง่าย และอารมณ์เสียบ่อย ในฤดูร้อนจะเจ็บป่วยบ่อย อาจเป็นไข้ตัวร้อนได้ง่าย เพราะธาตุไฟกำเริบ ควรกินอาหารรสขมแก้โลหิตเป็นพิษ (หากกินมากไปจะทำให้อ่อนเพลีย) และอาหารรสเย็นเพื่อแก้ไข้ ร้อนใน ไข้พิษ และดับพิษร้อน และควรกินอาหารจำพวกไขมันให้น้อย แม้ว่าร่างกายจะเผาผลาญเนื้อสัตว์ได้ดี แต่หากกินไขมันที่ย่อยยาก จะทำให้มีความร้อนในร่างกายมากเกินไปจนป่วยไข้ได้
กินอาหารให้ครบทั้ง ๔ ธาตุ (และครบทั้ง ๕ หมู่) โดยกินอาหารตามธาตุของตัวเองให้มากที่สุด หากปฏิบัติตัวแบบนี้ไปเรื่อยๆ จะทำให้สุขภาพแข็งแรงขึ้นค่ะ หมั่นดูแลสุขภาพก็จะทำให้ไม่เจ็บ ไม่ป่วย อาหารทุกรสมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ควรทานในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ควรทานจนอิ่มมากเกินไป หรือทานรสชาติเดิมๆซ้ำซากจนเกินไป เพราะจะให้เกิดโทษได้ ควรทานแต่พอดี จะได้ประโยชน์มากที่สุด
*******************************
จากนิตยสารชีวจิตฉบับที่ 226

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

อารมณ์ทั้ง 7


ผลกระทบจากอารมณ์ทั้ง 7  
     การแพทย์แผนตะวันออกเชื่อว่า ร่างกายและจิตใจของคนเรา มืความสัมพันธ์กันอย่างแยกกันไม่ออก เวลาที่จิตใจ ของเรามีความเครียด ความโกรธ หรือ อารมณ์ในทางลบก็จะมีผลต่อร่างกายของเรา ความผิดปกติทางอารมณ์และจิตใจเป็นเหตุของการเจ็บป่วย โดยการแพทย์แผนตะวันออกให้ความสำคัญไปที่ความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ ที่เป็นสาเหตุของโรคมี 7 อย่าง คือ โกรธ, ดีใจ, เศร้าโศกเสียใจ, ซึมเศร้า, วิตกกังวล , ครุ่นคิด, หวาดกลัว และ ตกใจ
     อย่าพึ่งตกใจไปครับ อารมณ์ทั้ง 7 เหล่านี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของทุกคนอยู่แล้ว อารมณ์ที่เกิดขึ้นในระดับปกติ จะไม่ส่งผลกระทบอะไรต่อร่างกาย ของเรา แต่อารมณ์ที่ผิดปกติเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน รุนแรงและติดต่อกันเป็นเวลานาน  จนร่างกายปรับตัวไม่ได้ จะส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของเลือดลม จนขาดความสมดุล จึงจะทำให้เราเจ็บป่วยได้ เช่น อารมณ์ โกรธ หงุดหงิดง่าย ตลอดเวลา จึงจะเป็นผลร้ายต่อร่างกาย
      อารมณ์ทั้ง 7 ทีเกิดขึ้นจะส่งผลต่ออวัยวะภายในต่างๆกันไป  คืออารมณดีใจ - ส่งผลกระทบกับหัวใจ ทำให้เลือดและลมปราณหัวใจไหลเวียนช้าลง ช่วยผ่อนคลาย สบายใจ เลือดลมไหลเวียนดี
* แต่ถ้าดีใจมากเกินไป เลือดและลมปราณจะกระจัดกระจาย ทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย เกียจคร้าน ไม่มีสมาธิ นอนไม่หลับ
* และถ้าอาการดังกล่าวเป็นมาก ก็จะเกิดภาวะใจสั่น กระวนกระวาย อาละวาด

อารมณ์โกรธ - ส่งผลกระทบต่อตับ ทำให้เลือดและลมปราณหรือ (ชี่) ปั่นป่วนแล่นขึ้นสูง เกิดอาการ เวียนศีรษะ หน้าแดง หูมีเสียง อาเจียนเป็นเลือด หมดสติ
* ชี่ตับกระทบม้าม เกิดท้องอืด ท้องเดิน
* ชี่ตับกระทบกระเพาะอาหาร เกิดคลื่นไส้ อาเจียน
* ชี่ตับกระทบไต ทำให้รู้สึกหวาดกลัว ความจำเสื่อม ปวดเมื่อย อ่อนแรงที่เอว

อารมณ์เศร้าโศกเสียใจ - ส่งผลกระทบต่อชี่ของปอด ทำให้ชี่แล่นลงต่ำ ส่งผลกระทบต่ออวัยวะอื่นๆ
* ชี่ของปอดถูกบั่นทอน ชี่ปอดพร่องจะทำให้แน่นหน้าอก หายใจขัด เชื่อมซึม ไม่มีแรง
* กระทบต่อชี่หัวใจ เกิดอาการใจสั่น ใจลอย
* กระทบต่อชี่ม้าม ชี่ในจงเจียวติดขัด จะทำให้อาหารไม่ย่อย ท้องอืด แขนขาอ่อนแรง

อารมณ์ครุ่นคิด - ส่งผลกระทบต่อชี่ของม้าม
* ชี่ม้ามติดขัด จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของม้าม และกระเพาะอาหาร ทำให้เบื่ออาหาร ท้องอืด ท้องเดิน
* ม้ามทำหน้าที่ลำเลียงชี่และเลือดไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อ เมื่อเกิดการติดขัด กล้ามเนื้อจะลีบเล็กลง
* ถ้าครุ่นคิดมาก ทำให้เลือดของหัวใจถูกใช้ไปโดยไม่รู้ตัว ทำให้เลือดหัวใจพร่อง มีอาการใจสั่น นอนไม่หลับ ฝัน ความจำเสื่อม ขี้หลงขี้ลืม

อารมณ์ซึมเศร้าวิตกกังวล - ส่งผลกระทบปอด
* หากวิตกกังวลมากเกินไป ชี่ปอดจะติดขัด เกิดอาการหายใจเบา พูดเสียงต่ำ แน่นหน้าอก แล้วยังมีผลกระทบชี่หัวใจ รวมทั้งตับและม้ามได้

อารมณ์หวาดกลัว - ส่งผลกระทบต่อไต
* ทำให้ชี่ไตตก ไม่มีแรงดูดรั้ง ทำให้ผู้นั้นกลั้นอุจจาระปัสสาวะไม่ได้ ฝันเปียก แขนขาไม่มีแรง ปวดเอว
* ทำให้ไตไม่สามารถส่งสารจำเป็นและชี่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจและปอด เรียกว่า ไฟกับน้ำไม่ปรองดองกัน จะเกิดอาการแน่นหน้าอกและท้องหงุดหงิด นอนไม่หลับ

อารมณ์ตกใจ - ทำให้ชี่หัวใจสับสน
* ชี่และเลือดไม่สมดุล ทำให้เกิดอาการใจสั่น กระวนกระวาย นอนไม่หลับ หายใจขัด
* ถ้าเป็นมาก จะมีอาการของโรคจิตประสาท     ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า อารมณ์มีผลต่อการเกิดโรค  ถ้าอารมณ์ทั้งเจ็ดเกิดขึ้นอย่างฉับพลันรุนแรงหรือติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน ย่อมส่งผลต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย  ถ้าเราไม่อยากป่วยก็ควรมี สติ รู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง อยู่เสมอ
Credit : ข้อมูลบางส่วนจาก หนังสือจีนบำบัด , Nakornthon Hospital

วิตามินเอ

วิตามินเอ สำคัญกับเรามากแค่ไหน? 

ประโยชน์

·       ช่วยให้กระดูก ผม ฟัน และเหงือกแข็งแรง

·       ช่วยบำรุงสายตา และแก้โรคตามัวตอนกลางคืน (Night Blindness)

·       สร้างความต้านทานให้ระบบหายใจ

·       ช่วยสร้างภูมิชีวิตให้ดีขึ้น และทำให้หายป่วยเร็วขึ้น

·       ช่วยในเรื่องผิวพรรณ ลดการอักเสบของสิว และช่วยลบจุดด่างดำ

·       ช่วยบรรเทาโรคเกี่ยวกับไทรอยด์

แหล่งวิตามินเอ

ผักผลไม้ที่ให้วิตามินเอส่วนใหญ่จะมีสีเหลือง ส้ม แดง และเขียวเข้ม เพราะมีเบต้าแคโรทีนและแคโรนอยด์ที่ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอต่อไป เนื่องด้วยวิตามินเอในผักผลไม้มีความไวต่อออกซิเจนมาก ดังนั้นวิธีการต้มที่ป้องกันการสูญเสียวิตามินได้ดีทีสุดคือ ควรปิดฝาภาชนะขณะต้มและใส่น้ำน้อยๆ
ร่ายกายต้องการวิตามินเอในแต่ละวันอยู่ที่วันละ 4,000-5,000 IU
แหล่งวิตามินในธรรมชาติ
จำนวน
ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
ผักตำลึง
น้ำหนัก 100 กรัม
18,608 IU
ยอดชะอม
น้ำหนัก 100 กรัม
10,066 IU
คะน้า
น้ำหนัก 100 กรัม
9,300 IU
แครอท
น้ำหนัก 100 กรัม
9,000 IU
ยอดกระถิน
น้ำหนัก 100 กรัม
7,883 IU
ผักโขม
น้ำหนัก 100 กรัม
7,200 IU
ฟักทอง
น้ำหนัก 100 กรัม
6,300 IU
มะม่วงสุก
1 ผล(โดยเฉลี่ย)
4,000 IU
บรอกโคลี
1 หัว(โดยเฉลี่ย)
3,150 IU
แคนตาลูบ
น้ำหนัก 100 กรัม
3,060 IU
แตงกวา
1 กิโลกรัม
1,750 IU
ผักกาดขาว
น้ำหนัก 100 กรัม
1,700 IU
มะละกอสุก
1 ชิ้นยาว(โดยเฉลี่ย)
1,500 IU
หน่อไม้ฝรั่ง
น้ำหนัก 100 กรัม
810 IU
มะเขือเทศ
น้ำหนัก 100 กรัม
800 IU
พริกหวาน
1 เม็ด(โดยเฉลี่ย)
500-700 IU
แตงโม
1 ชิ้นใหญ่
700-1,000 IU
กระเจี๊ยบเขียว
น้ำหนัก 100 กรัม
470 IU

อันตรายจากการขาดวิตามินเอ

  • โรคผิวหนัง เนื่องจากวิตามินเอมีส่วนสำคัญในการรักษาสภาพเยื่อบุผิวหนัง ขาดวิตามินเอทำให้ผิวพรรณขาดความชุ่มชื้น หยาบกร้าน แห้งแตก โดยเฉพาะผิวหนังบริเวณข้อศอก ตาตุ่มและข้อต่อด่างๆ ซึ่งอาจนำไปสู่โรคผิวหนัง เช่น สิวและโรคติดเชื้ออื่นๆ ได้
  • ตาฟาง หน้าที่ของวิตามินเอคือช่วยในการสร้างสารที่ใช้ในการมองเห็น หากขาดจะทำให้มองเห็นได้ยากในเวลากลางคืนหรือในที่แสงสว่างน้อย และทำให้เยื่อบุตาแห้ง กระจกตาเป็นแผล ในกรณีที่ร่างกายขาดวิตามินเออย่างรุนแรงอาจทำให้ตาบอดได้
  • ความต้านทานโรคต่ำ วิตามินเอเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราทำงานตามปกติ การขาดวิตามินเอจึงทำให้เกิดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้ง่าย อีกทั้งยังทำให้เกิดการอักเสบในโพรงจมูก ช่องปาก คอ และที่ต่อมน้ำลาย

อันตรายจากการได้รับวิตามินเอเกิน

  • แท้งลูกหรือพิการ หญิงมีครรภ์ที่ได้รับวิตามินเอมากเกินไปมีความเสี่ยงต่อภาวะทารกในครรภ์คลอดออกมาพิการหรือแท้งได้ เนื่องจากวิตามินเอมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กในครรภ์ ซึ่งอาจทำให้เด็กมีความผิดปกติที่ทางเดินปัสสาวะ กระดูกผิดรูป หรือมีติ่งปูดออกมาที่บริเวณหู
  • อ่อนเพลีย หากร่างกายได้รับวิตามินเอเกินครั้งละ 15,000 ไมโครกรัม จะมีผลทำให้รู้สึกอ่อนเพลียและอาเจียนได้
  • เจ็บกระดูกและข้อต่อ เบื่ออาหาร เซื่องซึม นอนไม่หลับ กระวนกระวาย ผมร่วง ปวดศีรษะ ท้องผูก ทั้งหมดนี้เป็นโทษในระยะยาวที่เกิดจากการรับประทานวิตามินเอมากเกินไป
  • ในสัตว์กระเพาะเดี่ยวเมื่อได้รับเกินความต้องการ 4-10 เท่า จะทำให้โครงกระดูกผิดปกติ
  • ในสัตว์เคี้ยวเอื้องเมื่อได้รับเกิน 30 เท่า จะเกิดอาการผิดปกติ
หมายเหตุ การรับประทานน้ำ ผัก ผลไม้สด ควรจะมีการเปลี่ยนชนิดไปเรื่อยๆเพื่อจะได้สามารถรับ สารอาหาร และแร่ธาตุที่มีประโยชน์ได้ครบถ้วน

วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

หลักสูตรเภสัชกรรมไทย

สมาคมเภสัชและอายุรเวชโบราณแห่งประเทศไทย เปิดอบรมหลักสูตรแพทย์แผนไทย ๔ สาขา
๑. สาขาเภสัชกรรมไทย
๒. สาขาเวชกรรมไทย
๓. สาขาผดุงครรภ์ไทย
๔. สาขานวดไทย

เภสัชกรรมไทย สำหรับผู้ที่ต้องการเป็นเภสัชกรแผนไทยต้องเรียนรู้ ดังต่อไปนี้
·       รู้จักสมุนไพรทั้ง พืชวัตถุ สัตว์วัตถุ และธาตุวัตถุ เรียกว่า เภสัชวัตถุ 
·       รู้จักรสของ ยา ที่มีสรรพคุณในการรักษาโรค เรียกว่า สรรพคุณเภสัช 
·       รู้จักหมวดหมู่ของตัวยาที่ให้ผลในการรักษา เรียกว่า คณาเภสัช
·       รู้จักการปรุงยา เรียกว่า เภสัชกรรม

หลักสูตรเภสัชกรรมไทย มีรายละเอียดที่ต้องเรียนรู้ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติดังต่อไปนี้
ภาคทฤษฎี
เภสัชวัตถุ                                                                              เภสัชกรรม
 -  พืชวัตถุ                                                                   -  วิธีปรุงยา
 -  สัตว์วัตถุ                                                                 -  การชั่งยา ตวง วัด ตีนกา และระบบเมทริกต่างๆ                
 -  ธาตุวัตถุ                                                                  -  การคัดเลือก, การเก็บยา
 -  การเก็บยา                                                               -  การใช้ยาอันตราย
 -  ตัวยาประจำธาตุ                                                     -  ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ
 -  สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน                 -  การสับยา,การอบยา,การบดยา  การร่อนยา
 -  สมุนไพรที่เป็นพืชเศรษฐกิจ                   
สรรพคุณเภสัช                                                 คณาเภสัช รู้จักหมวดหมู่ของตัวยา ที่เรียกชื่อง่ายและสั้นขึ้น
  -  ยารสประธาน, รสของตัวยา                                   -  จุลพิกัด                           
   -  รสยาประจำธาตุ  รสยาตามคัมภีร์                           -  พิกัด
   -  รสยาแก้ตามวัยตามฤดูตามกาล                            -  มหาพิกัด
ความรู้ทั่วไป                                                    กิจกรรมอื่น(ภาคปฎิบัติ)
-   จรรยาเภสัช                                                            -  ฝึกปรุงยา, สะตุยา, เรียนรู้สมุนไพรแห้งและสด
-  พรบ.การประกอบโรคศิลป พ.ศ.2542                -  ศึกษาดูงานโรงงานผลิตยา
พรบ.ยา พ.ศ.2510                                                   -  เดินป่าศึกษาสมุนไพร, ชมสวนสมุนไพรในสถานที่ต่างๆ
-   พรบ.สถานพยบาล                                                 -  ออกหน่วยแพทย์ให้บริการกับประชาชนทั่วไป
สนใจติดต่อโดยตรงที่สมาคมฯหรือเข้าไปที่เว็ปไซต์

คุณสมบัติของผู้เรียน สาขาเภสัชกรรมไทย ประเภท ก(ของสมาคมฯ)
1.               ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป
2.               สำเร็จการศึกษาอย่างน้อย ม.6 หรือเทียบเท่า
3.               เป็นผู้ประกอบสัมมาชีพสุจริต
                       จะต้องมีทะเบียนบ้านอยู่ในกรุงเทพฯหรือปริมณฑล
                        ต้องสมัครเป็นสมาชิกของสมาคมฯ

หลักสูตรเภสัชกรรมไทยใช้เวลาเรียน 2 ปี(หลังจากมอบตัวศิษย์) ทางสมาคมฯได้จัดครูผู้รับมอบตัวศิษย์(ที่ได้รับการรับรองจากกรรมการวิชาชีพ) เซ็นรับรอง
ค่าใช่จ่าย ในการศึกษา แบ่งเป็นปีละ 2 ภาคการศึกษา ค่าเรียนภาคละ 3,000 บาท
สถานที่เรียน สมาคมเภสัชและอายุรเวชโบราณแห่งประเทศไทย วัดธาตุทอง( เอกมัย )
เวลาเรียน      เรียนวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 9.00 น. 16.00 น.
ตำราเรียน :  ตำราที่ได้รับการพิจารณาจากกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย  กระทรวงสาธารณสุข
                     ตำราของกองการประกอบโรคศิลปะ  กระทรวงสาธารณสุข

                    ๓.  ตำราของสมาคมฯ
การประเมินผลการศึกษา
๑. นักศึกษาต้องมีเวลาเรียนตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า  ร้อยละ  80  ของเวลาเรียนทั้งหมด  
เป็นเวลา ๒ ปีจึงจะมีสิทธิ์ได้รับการประเมินผล(สอบ)  
๒. ภาคทฤษฎี  ประเมินผลด้วยการสอบ มีทั้งข้อสอบอัตนัยและปรนัย  อาจารย์ผู้สอนและฝ่ายวิชาการเป็นผู้รับผิดชอบ
๓. ภาคปฏิบัติ  ประเมินผลด้วยการสอบภาคปฏิบัติและรายงานการฝึกปฏิบัติแต่ละกลุ่ม โดยอาจารย์ผู้สอน
การสำเร็จการศึกษา : นักศึกษาต้องผ่านการสอบภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ  ด้วยคะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 จึงผ่านการสอบ และรับประกาศนียบัตรจากสมาคมฯ
       ***เรียนแล้วสอบรับใบประกาศนียบัตรของสมาคมฯ และสามารถขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะจากกระทรวงสาธารณสุขได้***