วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สรุปคัมภีร์ชวดาร

คัมภีร์ที่เกี่ยวกับโรคลม        มีอยู่ ๒ คัมภีร์
1. คัมภีร์ชวดาร กล่าวเกี่ยวกับโรคลมอันมีพิษ ซึ่งอธิบายโดยทฤษฎีการแพทย์แผนไทย
2. คัมภีร์มัญชุสาระวิเชียร กล่าวถึงลมที่ทำให้เกิดโรค และมีอาการต่างๆ ตามลักษณะที่ตั้งของลม 10 ประการ 

คัมภีร์ชวดาร นี้ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งกล่าวถึง ลมที่บังเกิดโทษแก่มนุษย์ เพราะโลหิตและลมเป็นเหตุ เมื่อลมระคนกันทำให้โลหิตถูกพัดให้ร้อนเป็นฟอง จนธาตุทั้ง ๓๒ แปรไป เพราะกำลังของโลหิตที่เกิดแต่ลม มิใช่จากพิษของโลหิตนั้น

ในคัมภีร์นี้ยังกล่าวถึงอาการและการใช้ยารักษาโทษจากลมนั้นๆ

มนุษย์ทั้งหลายจะเกิดสรรพโรคต่างๆ  ตั้งแต่คลอด-หมดอายุขัยต้องอาศัย   โลหิต และ ลม
ลมที่ให้โทษถึงพินาศคือ ลมอุทธังคมาวาตา  และลมอโธคมาวาตา พัดผิดปกติย้อนไปกระทบกับลมอื่น ระคนกันทำให้เตโชกำเริบ โลหิตถูกพัดเป็นฟองและร้อนเป็นไฟจนเกิดลมมีพิษ
สาเหตุ จากบริโภคอาหารมิได้เสมอ     ทานอาหาร ที่ไม่เคยบริโภคคือ มาก-น้อยเกินไป   ดิบ เน่า บูด หยาบ ผิดเวลา อยากเนื้อสัตว์มากเกิน(โทษ๘ประการ) ต้องร้อนต้องเย็นยิ่งนัก   เกิดได้วันละ ๑๐๐ วันละ ๑๐๐๐ หน ลมนี้รักษายาก  เพราะเกิดขึ้นในน้ำเลี้ยงหัวใจ  ชื่อลมหทัยวาตะ
ลมอัมพฤกษ์อัมพาต   เกิดแต่ปลายแม่เท้าตราบเท่าเบื้องบน เป็นที่ตั้งแห่งลมทั้งหลาย ทำให้หวาดหวั่นไหว ทั่วกายไปกระทบกับ ลมหทัยวาตะ คือน้ำเลี้ยงหัวใจ ให้บุคคลถึงแก่ชีวิต 
โลหิตกระทำพิษให้โทษแก่หญิงคลอดบุตร หรือผู้มีบาดแผล ถึงแก่พินาศเป็นอันมาก เพราะกำลังลม พัดเอาโลหิตขึ้นไป  บังเกิดลมสัตถกวาต ลมหทัยวาตกำเริบ
ยารักษาลมที่สำคัญ   ยาจิตรารมณ์   ยากล่อมอารมณ์    ยาวาตาพินาศ   ยาเขียวประทานพิษ ยาชุมนุมวาโย
ยานัตถุ์ธนูกากะ
ลมที่พัดย้อนทางไปกระทบกับลมอื่น ให้กำลังของโลหิตแปรไปจนเกิดโทษ (เป็นลมมีพิษมาก ๖ และลมมีพิษ ๖ จำพวก) อันได้แก่ลมอุทธังคมาวาตา และลมอโธคมาวาตา

ส่วนลมในทิศเบื้องต่ำ คือลมอัมพฤกษ์และลมอัมพาต เกิดแต่ปลายเท้าถึงเบื้องบน เป็นที่ตั้งแห่งฐานลมทั้งหลาย เมื่อระคนกันก็ให้หวาดหวั่นไปทั่ว มีลักษณะดุจปืน  เป็นที่ตั้งแห่งดินประสิว  ลูกกระสุน  เพลิงจึงแล่นออกจากลำกล้อง  ประหารชีวิตสรรพสัตว์ทั้งปวง
เมื่อลมระคนกันให้กำลังโลหิตแปรไป อาการที่ปรากฎจึงเป็นอาการทางระบบประสาท  ให้จุกแน่น ชักมือกำ เท้างอ ดิ้นไป ให้ลิ้นกระด้างคางแข็ง ขากรรไกรแข็ง เจรจาไม่ได้ บ้างสิ้นสติ หรือลมนั้นมีกำลังขับโลหิต ให้คั่งเป็นวงเป็นสีตามร่างกาย (ลมมีพิษ ๖ จำพวก)
ลมมีพิษมาก
๖ พวก
ลมกาฬสิงคลี  ให้จับหน้าเขียว ผุดเป็นวงเขียว เหลือง(๓วัน)เท่าใบพุทรา เท่าแว่นน้ำอ้อยงบ บางทีใจสั่น หรือถอนใจ บ้างดิ้นดังปลาถูกตี
.ลมชิวหาสดมภ์ ให้หาวเรอ อยากอาเจียนขากรรไกรแข็ง หุบไม่ลง แน่นิ่ง(-๗วัน)
.ลมมหาสดมภ์  ให้หาวนอน หวั่นไหวในใจ นอนแน่นิ่งไป
.ลมทักขินโรธ เกิดจากเป็นไข้ใดๆก่อนจับให้มือเท้าเย็น ตามัว ดิ้นรนไม่หยุด ลิ้นกระด้างคางแข็ง   (ห้ามวางยาผาย)
.ลมตติยาวิโรธ ให้เป็นลูกกลิ้งอยู่ในท้อง สัตว์ตอดกัด จุกท้อง ปวดแต่แม่เท้าขึ้นหัวใจ แน่นิ่ง
.ลมอีงุ้มอีแอ่น ให้งุ้ม ให้แอ่นถ้าลั่นเสียงดังเผาะ ตาย
 ลมทั้ง๖ ประการนี้เกิดเพราะเส้นอัษฎากาศ พิการ
ลมมีพิษ(ลมร้าย)อีก
๖ พวก

.ลมอินทรธนู  ให้จับเหมือนไข้รากสาด ล้อมสะดือ เท่าวงน้ำอ้อย ชายโครงถึงหน้า ผาก หญิงซ้าย ชายขวา
.ลมกุมภัณฑ์ยักษ์ ให้ชักมือกำเท้างอ (๑๑วัน)ไม่รู้สึกตัว
.ลมอัศมุขี เป็นทั้งเด็กและผู้ใหญ่ให้ดิ้นชักแน่นิ่ง
.ลมราทยักษ์ให้ชักมือกำเท้ากำ(๑๑วัน)ลิ้นกระด้าง
.ลมบาดทะจิต จับให้ละเมอเพ้อพก(๑๑วัน)ดุจผีสิง
.ลมพุทยักษ์ ให้ปากเบี้ยว ตาแหก แยกแข้งขา  
ให้ดูทวารหนัก ยังอุ่นอยู่ ให้แก้ต่อไป  ลมทั้ง๖ ประการนี้เพราะเส้นสุมนาพิการ เมื่อเอานิ้วกดเนื้อ เขียวซีดหาโลหิตไม่ได้ เป็นอาการตัด
ลมพิเศษ(ลม
ทั่วไป)
๑๐ จำพวก
.ลมปถวีธาตุกำเริบ  ให้บวมทุกสถาน
.ลมพัดในลำไส้ ให้เป็นลูกกลิ้งในท้อง
.ลมเข้าในลำไส้ใหญ่,ลำไส้น้อย ให้เป็นตะคริว
.ลมบาทาทึบ ทั้งสลบ ทั้งลง ทั้งอาเจียนสองคลองเหมือนป่วง
.ลมพานไส้ เป็นถึง ๗ เดือนเป็นตัวเสียดชายโครง
.ลมสูบพิษในลำไส้ ให้เวียนหัวอาเจียน
จุกอก
.ลมตุลาราก เกิดที่คอหอย  เสียตาแล้วจึงหาย(๕เดือน)
.ลมกษัยจุกอก มักกลายเป็นบิด ลงเป็นโลหิตเสมหะ
.ลมกำเดา ให้หนักศีรษะ วิงเวียน เจ็บตาฝ้าขาว ลาย เจ็บศรีษะ
๑๐.ลมผูกธาตุให้เป็นพรรดึก  ให้กลายเป็นหอบ ไอ
ถ้าลมเกิดในเส้น  ชอบนวดและประคบ กินยาแก้ลมในเส้น จึงหาย     
ถ้าลมเกิดในโลหิต  ให้ปล่อยหมอน้อยกอกศีรษะ กินยาในทางลมทางโลหิต จึงหาย   
ถ้าลมเกิดในผิวหนัง  ชอบ ยาทาแลรม แลกลอกลม กินยาในทางลมแลรักษาผิวหนังให้บริบูรณ์ จึงหาย 
มีคำกล่าวว่า

.......สิทธิการิยะ อาจารย์กล่าวไว้ว่า มนุษย์ทั้งหลายจะเกิดสรรพโรคต่าง ๆ ตั้งแต่คลอดจากครรภ์มารดาตราบเท่าจนอายุขัยอาศรัยโลหิตแลลม.....
“ ลม ” หมายถึง ธาตุอย่างหนึ่งในธาตุทั้ง 4 และ “ ลม ” ยังใช้แทนคำว่าโรคได้ “ ลม ” ยังหมายถึงทิศทางการเคลื่อนไหว เคร่งตึง ระบบไหลเวียนของโลหิต ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท ส่วน “ เลือด ” ก็เช่นกัน ใช้ในความหมายอื่นๆ ด้วยคือ ใช้เรียกอาการไม่ปรกติของร่างกาย 
เลือดลมไม่ปรกติ ก็ทำให้ร่างกายไม่ปรกติไปด้วย
หมายเหตุ ในการอ่านสรุปคัมภีร์ ควรอ่านในหนังสือทั้งหมดก่อนอย่างน้อย ๑ รอบ แล้วมาอ่านสรุปจะทำให้เข้าใจ ภาพรวมทั้งหมด
ข้อสอบในคัมภีร์ชวดาร
1.ในคัมภีร์ชวดาร  กล่าวไว้ว่า  มนุษย์ทั้งหลายจะเกิดโรคต่างๆ ได้  ตั้งแต่คลอดจนอายุขัย  นั้นอาศัยสิ่งใด
                ก. อาศัยโลหิต                           ข.อาศัยลม
                ค. อาศัยโลหิตและลม                    ง.ผิดทุกข้อ
2. ลมที่เกิดในทิศเบื้องต่ำ   คือลมชนิดใด
                ก. ลมอุทธังคมาวาตา                    ข. ลมอโธคมาวาตา
                ค. ลมโกฏฐาสยาวาตา                   ง. ลมอัมพฤกษ์  อัมพาต
3.สาเหตุที่ทำให้ลมอุทธังคมาวาตา และลมอโธคมาวาตา  ระคนกันแล้วบังเกิดโทษแก่มนุษย์นั้น  คือข้อใด
                ก.บริโภคอาหารมากหรือน้อยเกินไป     ข. บริโภคอาหารผิดเวลา
                ค.ต้องร้อน  ต้องเย็น  ยิ่งนัก             ง. ถูกทุกข้อ
4.ลมในข้อใดเป็นฐานที่ตั้งแห่งลมทั้งหลาย  มีลักษณะดุจปืน  เป็นที่ตั้งแห่งดินประสิว  ลูกกระสุน  เพลิงจึงแล่นออกจากลำกล้อง  ประหารชีวิตสรรพสัตว์ทั้งปวง
                ก. ลมกุจฉิสยาวาตา                         ข. ลมโกฏฐาสยาวาตา
                ค. ลมอุทรวาต                              ง. ลมอัมพฤกษ์  อัมพาต
5. ลมมีพิษ 6 จำพวกแรก  คือข้อใด
                ก.ลมราธยักษ์                              ข. ลมชิวหาสดมภ์
                ค.ลมพุทธยักษ์                             ง. ลมบาดทะจิต
6.ลมมีพิษ 6 จำพวกหลัง  คือข้อใด
                ก.  ลมทักขิณโรธ                          ข.   ลมตะติยาวิโรธ
                ค.  ลมกาฬสิงคลี                           ง.  ลมกุมภัณฑ์ยักษ์
7.ลมในข้อใด  ที่มีลักษณะอาการท้องเดิน  อาเจียน  สลบ  ไม่รู้ก็ว่าเป็นสันนิบาตสองคลอง  มือเท้าเขียว  ทำให้ชัก  ไม่รู้ก็ว่าป่วง  กำหนด 3 วัน
                ก. ลมพานไส้                            ข. ลมพัดในไส้
                ค. ลมบาทาทึก                            ง. ลมสูบพิษขึ้นในลำไส้
8. ลมในข้อใด  มีลักษณะอาการ  ให้เหม็นคาวคอ  ถ่มน้ำลายบ่อยๆ  หายใจขัดอก   ถ้าเกิดแก่ผู้ใด  ได้ 5 เดือน  เสียจักษุจึงหาย
                ก. ลมปัถวีธาตุกำเริบ                      ข. ลมบาทาทึก
                ค. ลมตุลาราก                             ง. ลมพัดในลำไส้
9.  ลักษณะอาการ ให้มือเท้าเย็น  เป็นลูกกลิ้งอยู่ในท้อง  ให้จุกร้องดังสัตว์ตอดกัด  ปวดแต่หัวแม่เท้าขึ้นมาถึงหัวใจ  แน่นิ่งไป  ดุจดังพิษงูเห่า  คือลมในข้อใด
                ก. ลมทักขิณโรธ                           ข. ลมตติยาวิโรธ
                ค. อินทรธนู                               ง. ลมอัศมุขี
10. ข้อใดคือลักษณะอาการของลมอินทรธนู
ก. ลักษณะเหมือนไข้รากสาด                                              ข.จับให้ดิ้นร้อง แล้วแน่นิ่งไป
ค. เป็นวงล้อมสะดือ สีดำ  แดง  เขียว  เหลือง  เท่าวงน้ำอ้อยงบ            ง. ข้อ ก. และ ข้อ ค. ถูก

สรุปคัมภีร์มัญชุสาระวิเชียร


คัมภีร์มัญชุสาระวิเชียร กล่าวถึงลมเป็นก้อนเป็นดาน ๑๐ ประการ ที่ทำให้เกิดโรค ตั้งอยู่ในตำแหน่งต่างๆของร่างกาย และโรคมูตร ๒๐ ประการ
ลมเป็นก้อนเป็นดาน (ลมคุละมะ)
กล่าวถึง ลม ๑๐ ประการ บังเกิดในลำดับโรคอื่น ก็มี บังเกิดแต่ก่อนไข้ทั้งปวงก็มี ลม ๑๐ ประการ ซึ่งมีลักษณะอาการเป็นก้อนเป็นดานนั้น คือ
๑. ลมทักษิณะคุละมะ เป็นก้อนดานตั้งอยู่เบื้องขวา มีนาภีเป็นที่สุด
๒. ลมวามะกะคุละมะ เป็นก้อนดานตั้งอยู่เบื้องซ้าย มีนาภีเป็นที่สุด
๓. ลมโลหะคุละมะ เป็นก้อนดานตั้งอยู่ในเบื้องต่ำแห่งนาภี
๔. ลมกูปะคุละมะ เป็นก้อนดานตั้งอยู่ในเบื้องบนแห่งนาภี
๕. ลมเสลศะมะกะคุละมะเป็นก้อนดานตั้งอยู่ในอุระประเทศ
๖. ลมกฤตคุละมะ เป็นก้อนดานตั้งอยู่ในไส้มีนาภีเป็นเบื้องต่ำ มีเสมหะกระจายออกเป็นอันมาก
๗. ลมปิตตะคุละมะ เป็นก้อนดานตั้งอยู่ในอุระมีดีซึมอยู่เป็นอันมาก
๘. ลมรัตตะคุละมะ เป็นก้อนดานตั้งอยู่หน้าขา มีโลหิตแตกออกมา 
๙. ลมทัษฐะคุละมะ เป็นก้อนดานตั้งแอบก้อนลมวามะกะคุละมะอยู่
๑๐.ลมประวาตะคุละมะ เป็นก้อนดานตั้งแอบก้อนลมทักษิณะคุละมะอยู่
อันว่า ลมก้อน , ดาน , เถา อันใดอันตั้งอยู่ในอกและตั้งอยู่บนยอดไส้เกี่ยวผ่านลงไปอยู่ในนาภี นั้นตั้งอยู่ได้เดือนหนึ่ง อย่าพึงรักษาเลย นอกจากลม ๑๐ ประการนี้ แพทย์พอจะเยียวยารักษาหาย
ลมปิตตะคุละมะ แพทย์มิพึงรักษา แต่ถ้าแพทย์จะรักษาให้ เผาเหล็กให้แดง เอานาบลงบนสรรพยา เพื่อให้ที่เผานั้นพองขึ้น ทำทั้งนี้เพื่อมิให้พยาธิจำเริญขึ้นมาได้
ภาพลมที่เป็นก้อนเป็นดานตามตำแหน่งต่างๆของร่างกาย


ยารักษา
- ยานาบลมปิตตะคุละมะ ขมิ้นอ้อย ว่านน้ำ เปราะหอม เมล็ดพรรณผักกาด เมล็ดงาดำ เทียนดำ สิ่งละ ๖ ส่วน ตำให้แหลก เคล้าน้ำมันสุกร แล้ววางลงที่เจ็บนั้น แล้วเอาเหล็กแดงนาบลงแก้ลมก้อน} ดาน, เถา นั้นหาย
- ยาจิตระกาทิคุณ ผักแพวแดง รากหัวลิง รากละหุ่งแดง ขิงแห้ง มหาหิงคุ์ ผลโมกมัน เกลือสินเธาว์ สิ่งละ ๗ ส่วน ทำเป็นจุล ละลายน้ำร้อนกิน แก้ลมคุละมะให้เสียดแทงหาย
- ยาขิปะปะกะโอสถ รากสะค้าน เกลือสินเธาว์ เปลือกมะขามป้อม ขิงแห้ง สิ่งละ 4 ส่วน บดเป็นผง ละลายน้ำร้อนกิน แก้ลมเสียดแทง แก้ลมคุละมะทั้งปวง หาย
- ยาพะระหะตาทิคุณ รากมะแว้งเครือ รากจุกโรหินี รากกำจาย เปราะหอม โหรามฤขสิงขลี โกฐจุฬาลัมพา รากบัวบก รากสัก ผลกระดอม ข่าลิง สิ่งละ ๑๐ ส่วน ทำเป็นจุลละลายน้ำผึ้งให้เหลวพึงดื่ม กิน แก้ลมปิตตะคุละมะ อันเสียดแทง แก้ไข้สันนิบาตหาย แก้ไอผอมแห้ง เหลือง และหมองใจ ให้บวม แก้หืด และหิดเปื่อย พุพองหนองไหล อันพึงเกลียดก็หาย
- ยาปัตโตลาทิกะวาต ผลกระดอม สมอไทย สมอพิเภก ผลมะขามป้อม ใบสะเดา สิ่งละ ๕ ส่วน ต้มกิน แก้ลมอยู่เบื้องซ้าย แก้ไข้เพื่อดี ตัวเหลืองและเสมหะ มักให้ราก แก้ลมเสียดให้ร้อนเป็นกำลัง
- ยาวิไสยโอสถ ขิงแห้ง ละหุ่งแดงทั้งใบ , ราก เทียนเยาวภาณี รากไผ่สีสุก สารส้ม มหาหิงคุ์ เกลือเทศ เกลือสินเธาว์ เกลือกะตัง รากจุกโรหินี สิ่งละ ๑๑ ส่วน ทำเป็นจุลละลายน้ำร้อนกิน แก้ลมก้อน , ดาน , เถา ให้เสียดแทงหาย 
- ยาสรรพโอสถ ตรีกฏุก ยางสน เกลือสินเธาว์ โคกกระสุน กระถินป่า รากมะเขือขื่น รากกรรณิกา รากคนทีสอ รากคนทีเขมา รากมะแว้งทั้ง ๒ รากอ้ายเหนียว รากมะเขือคางแพะ หัสคุณทั้ง ๒ มหาหิงคุ์ กำลังหนุมาน หัวเอื้องเพชรม้า หัวหอม สิ่งละ ๑๒ ส่วน ทำเป็นจุล ละลายน้ำร้อนกิน แก้ลมก้อนเพื่อ เสมหะ ให้เสียดแทงหาย
- ยาพระโยสาธิคุณ ตรีกฏุก กำลังหนุมาน เหง้าอุบล ผลช้าพลู สะค้าน ผักแพวแดง เทียนเยาวภาณี จันทน์เทศ สิ่งละ ๑๐ ส่วน ทำเป็นจุลละลายน้ำนมโคกินให้ใจชื่น แก้โรคบังเกิด แต่ดีเสมหะ ให้ร้อนและ ให้ผูก แก้โรคผอมเหลือง แก้เสมหะและเจ็บอกหาย
- ยาตรีผลา ตรีผลา ผลผักชี ขิง สะค้าน ผักแพวแดง สิ่งละ ๗ ส่วน ทำเป็นจุล บดด้วยเถาวัลย์เปรียง ต้มละลายกินด้วย น้ำเถาวัลย์เปรียง ตัดยางสนลง แก้ลมก้อนและลมเสียดแทงหาย


โรคมูตร   20   ประการ 
ปัสสาวะสีต่างๆ
๑.เป็นโลหิต   ๒เหลืองดังน้ำขมิ้น   .๓.ดังน้ำนมโค   ๔.ดังน้ำข้าวเช็ด
 ๕.ดังใบไม้เน่า    ๖.เป็นดังน้ำหนอง   ๗.ดังน้ำล้างเนื้อ             
ปัสสาวะขัด
๘.เพราะดีให้โทษ      ๙.เกิดแต่ความเพียรกล้า   ๑๐. เกิดแต่ไข้ตรีโทษ ๑๑เพราะโรคปะระเมหะให้โทษ   
 ๑๒.เพราะเป็นนิ่ว    ๑๓.เพราะเสมหะให้โทษ     ๑๔.เพราะลมให้โทษ   ๑๕ น้ำปัสสาวะออกมาขัด                                                 
อื่นๆ
๑๖.ไปปัสสาวะบ่อยๆ   ๑๗. ไปปัสสาวะ   วันละ  ๗ เวลา    ๑๘ไปปัสสาวะวันละ   ๑๐ เวลา 
๑๙.น้ำปัสสาวะร้อน       ๒๐. น้ำปัสสาวะไหลซึมไป        
 ยารักษา
ยาอัพยาธิคุณ สมอออัพยา ๕ เหลี่ยม ผลมะขามป้อม แฝกหอม แห้วหมูเก็บมาประมวลเข้าให้เท่ากันต้มแล้วตัดน้ำผึ้งลงดื่มกิน แก้มูตรพิการหาย
ยาติกกธิคุณ เครือเขายอดด้วน ผักขวาง พญารากเดียว บอระเพ็ด สิ่งละ ๔ ส่วน ต้มไว้ ให้เย็นแล้วพึงดื่มกิน แก้มูตรขาวหายยาอุทระโอสถ รากจิงจ้อน้อย รากโคกกระสุน รากรกฟ้า หญ้าหมอน้อย หญ้าแพรก จันทน์ทั้ง ๒ รากพิลังกาสา สิ่งละ ๘ ส่วน ต้มไว้ให้เย็นเอาน้ำผึ้งตัดลงแล้ว กินแก้เบาขัดเพื่อดีหาย
ยาปะระสะกันพะโอสถ รากยอ รากแคฝอย รากหญ้าแพรก สิ่งละ ๓ ส่วน ต้มแล้วคั้นเอาน้ำ แล้วเอาข้าวตอกกับน้ำผึ้งระคนปนลงในน้ำยา ต้มเอาไว้ให้เย็น แล้วจึงกิน แก้ลม แก้ดี แก้ร้อนอก แก้ร้อนกาย แก้กระหาย แก้เสียดแทงถึงสลบ แก้ราก สะค้านและวิงเวียน แก้เบาเหลืองเป็นเพื่อดี แก้เบาเป็นบุพโพ แก้ลงเบา และเบาเป็นป่วงดังลมพัดหายสิ้น

หมายเหตุ ในการอ่านสรุปคัมภีร์ ควรอ่านเนื้อหาในหนังสือทั้งหมดก่อนอย่างน้อย ๑ รอบ แล้วมาอ่านสรุปจะทำให้เข้าใจ ภาพรวมทั้งหมดยิ่งขึ้น
ตัวอย่างข้อสอบในคัมภีร์นี้

ข้อ 1.   คัมภีร์มัญชุสาระวิเชียร ลมเป็นก้อนดานตั้งอยู่ในอุระ มีดีซึมอยู่เป็นอันมาก เรียกชื่อว่าอะไร
                1.   ทักษณะคุละมะ                2.   ปิตตะคุละมะ
                3.   โลหิตคุละมะ                   4.   รัตตะคุละมะ
ข้อ 2.   คัมภีร์มัญชุสาระวิเชียรกล่าวถึงเรื่องอะไร
                1.   กล่าวถึงว่าด้วยโรคลมทั่วๆไป           2.   กล่าวว่าด้วยลมเป็นก้อนเป็นดานที่ทำให้เกิดโรคอยู่ตามตำแหน่งต่างๆ
                3.   กล่าวว่าด้วยลมพิษและลมร้าย           4.   ไม่มีข้อใดถูก
ข้อ 3. 
โรคมูตร ตามคัมภีร์มัญชุสาระวิเชียร มีกี่ประการ  
                1.    10 ประการ                                        2.   12 ประการ
                3.   18 ประการ                                         4.   20 ประการ



5.   คัมภีร์มัญชุสาระวิเชียรกล่าวถึงเรื่องอะไร

    ก.   กล่าวถึงว่าด้วยโรคลมทั่วๆไป                   ข.  กล่าวว่าด้วยลมที่ทำให้เกิดโรคและมีอาการต่างๆ

    ค.   กล่าวว่าด้วยลมพิษและลมร้าย                    ง.   ไม่มีข้อใดถูก

6. ลมทีบังเกิดให้เนื้อตัวบวม เรียกว่าลมอะไร?

                ก.   ลมกำเดา                                       ข.   ลมผูกธาตุ

                ค.   ลมปถวีกำเริบ                               ง.   ลมกระษัยจุกอก

8.คลำบริเวณท้องน้อย ลองใช้มือกดดู พบว่ามีอาการบวมนูนที่ท้องน้อย มีอาการปวดเจ็บเสียวซ่านตามหัวเหน่า แสบร้อน เมื่อจะปัสสาวะให้ปวดที่กระเพาะดังจะแตก ปัสสาวะร้อนและแดงจัด บางคราวแดงคล้ำเหมือนเลือด ปวดมาก จะนั่งลุกก็ไม่สะดวก ในมูตร20ประการ ท่านคิดว่าเป็น อวัยวะใด

ก. กระเพาะปัสสาวะบวม                                       ข.ม้ามบวม

ค.ไตบวม                                                                 ง. ลำไส้ใหญ่อักเสบ

9.ลมเป็นก้อนเป็นดานตั้งอยู่หน้าขา มีโลหิตแตกออกมา เป็นอาการ ใดในคัมภีร์มัญชุสาระ วิเชียร

ก.วามะกะคุละมะ                                                   ข.ปิตตะคุละมะ

ค.รัตตะคุละมะ                                                        ง.ทัษฐะคุละมะ

10.  ขมิ้นอ้อย ว่านน้ำ เปราะหอม เมล็ดพันธ์ผักกาด งาดำ เทียนดำ ตำให้แหลก เคล้าด้วยน้ำมันสุกร เป็นยารักษาโรคลมชนิดใด

ก. โลหะคุละมะ                                                       ข. วามะกะคุละมะ

ค. ปิตตะคุละมะ                                                       ง. รัตตะคุละมะ

11.  ข้อใดจัดอยู่ในโรคมูตร 20 ประการ

ก.น้ำปัสสาวะเป็นโลหิต                                         ข. น้ำปัสสาวะร้อน

ค.น้ำปัสสาวะออกมาขัด                                          ง. ถูกทุกข้อ

12.  สมุนไพรในข้อใด ไม่ใช่ส่วนประกอบในตำรับยาอัพยาธิคุณ

ก. มะขามป้อม                                                         ข. สมออัพยา

ค. สมอเทศ                                                               ง. แห้วหมู

13. ลมที่กล่าวในมัญชุสาระกล่าวถึงลมใด

ก. ดานลมที่คั่งอยู่ตามร่างกาย                                  ข.ดานที่เป็นก้อนแข็งคล้ายซีสต์ทั่วกาย

ค. ดานเลือดในท้อง                                                 ง.ไม่มีข้อใดถูก

14.  ข้อใดไม่จัดอยู่ในโรคมูตร 20 ประการ

ก. น้ำปัสสาวะเป็นโลหิต                                         ข. น้ำปัสสาวะร้อน

ค. น้ำปัสสาวะออกมาขัดเกิดแต่ความเพียรกล้า       ง. ไปปัสสาวะวันละ 8 เวลา




วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สรุปคัมภีร์มุจฉาปักขันธิกา

คัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา หมายถึง  ตำราว่าด้วยอาการของโรคบุรุษและโรคสตรี รวมถึงยาสมุนไพรที่ใช้รักษาโรค        มุจฉาปักขันธิกา มาจากสองคำ คือ มุจฉา แปลว่า สลบ สยบ ตัณหา ปักขันธิกา แปลว่า โรคลงแดง บิด ตกเลือด ถ้าแปลตรงตัว แปลว่า การสยบการตกเลือด 
คัมภีร์มุจฉาปักขันธิกา เรียกอีกชื่อว่า คัมภีร์ทุลาวสา ซึ่งกล่าวถึงโรค ๓๒ ประการ แยกเป็น ๘ จำพวก คือ
ทุลาวสา ๔ มุตฆาต ๔  มุตกิด ๔ (เรียกว่าทุลาวสา ๑๒)
สันฑฆาต ๔  องคสูตร ๔ ช้ำรั่ว ๔ อุปทม ๔  ไส้ด้วน ๔ (เรียกว่าปะระเมหะ ๒๐)


สรุปโดยรวมกล่าวถึงโรคระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์

ทุราวสา๑๒จำพวก โรคเกี่ยวกับน้ำปัสสาวะ ประกอบด้วย  ทุราวสา  ๔ จำพวก  มุตกิด  ๔ จำพวก มุตฆาต ๔ จำพวก  
ทุราวสา 
ให้ปวดหัวเหน่าแสบองคชาติ     สะบัดร้อนหนาว   ช.
ทุราวสา ๔
.ปัสสาวะ สีขาวขุ่น เหมือนน้ำข้าวเช็ด 
ปัสสาวะสีเหลืองเหมือนขมิ้น
ปัสสาวะเป็นโลหิตสดๆ
 แดงเหมือนน้ำฝาง 
ปัสสาวะสีดำดุจน้ำคราม
มุตฆาต (เกิดเพราะกระทบชอกช้ำ)  ให้ขัดราวข้างเส้นปัตคาด  เสียดในอก บริโภคไม่ได้   * ให้ปัสสาวะแดงขุ่นข้น *  ญ
มุตฆาต ๔
.ปวดขัดเจ็บเสียวเป็นกำลัง
.เป็นโลหิตช้ำปนโลหิตสด 
.เป็นหนองขุ่นข้น 
.สีดำดุจน้ำคราม(น้ำครำ)
มุตกิด  ๔ จำพวก (เกิดเพราะโลหิตช้ำ) ให้ปวดหัวเหน่า ,ข้อตะโพก  แสบในอก บริโภคอาหารไม่รู้รส
มุตกิด๔
.ปัสสาวะดุจดลหิตช้ำ ดังน้ำปลาเน่า
.ปัสสาวะเป็นโลหิตจาง
ดุจน้ำชานหมาก
.ปัสสาวะเป็นหนองจาง
ดุจน้ำซาวข้าว
.ปัสสาวะเป็นเมือกขัด หยดย้อย
ปะระเมหะ  ๒๐ จำพวก  ช้ำรั่ว๔  องคสูตร ๔   อุปทม(อุปทังสโรค)   ไส้ด้วน    สัณฑะฆาต         
ช้ำรั่ว  (มดลูกอักเสบ)   (เกิดเฉพาะสตรี)   ให้ปวด  แสบ  ร้อน  คัน ช่องคลอด  ทวารเบา ปวดเสียวในมดลูก ขัดปัสสาวะ  ญ.
ช้ำรั่ว ๔
.คลอดบุตรอยู่ไฟไม่ได้ มดลูกไม่เข้าอู่ กลายเป็นหนองและโลหิต
.เพราะเสพเมถุนเกินประมาณชอกช้ำ ภายในเป็นน้ำหนอง  น้ำเหลืองเน่าร้าย
.เพราะเป็นฝีที่มดลูกปัสสาวะเป็น้ำเหลือง  น้ำคาวปลา
.เพราะเสพ เมถุนสำส่อน
เป็นน้ำเหลือง  น้ำหนอง 
ปัสสาวะกะปริดกระปอย
องคสูตร  ๔    (อัณฑะ,องคชาติ อักเสบ เกิดเฉพาะในชาย))    ช.           
.เกิดในคิมหันตฤดู  อัณฑะข้างขวาแดง ปวดเจ็บร้อนเส้นเอ็น เจ็บสองราวข้าง เสียดแทง ท้องผูก
.เกิดในวสันตฤดู (เดือน ๘-๑๐) เจ็บอก ขา บ่า ปลายเท้าให้แสบร้อนในรูองคชาติ อุจจาระเป็นมูกเลือด เกิดแต่ลำไส้ออกมา
.เกิดในเหมันตฤดู ให้ปวดในรูองคชาติ ปัสสาวะหยดย้อย เจ็บเอว กินไม่ได้ นานเข้าไส้ขาดตาย
.เกิดในสันนิปาตฤดู  
ทำให้ผิวอัณฑะดำและบวม
แสบร้อน เจ็บตาและปวดศีรษะข้างหนึ่ง อาาเจียนลมเปล่าปัส/น้ำเหลืองโลหิตออกมาคอแห้งน้ำลายเหนียว เสมหะโลหิตทวารหนัก ดุจเป็นบิด
อุปทม๔(อุปทังสโรค ) การอักเสบ ,เกิดได้ทั้งกับบุรุษและสตรี
.เสพเมถุน กับสตรีที่ยังไม่มีมีประจำเดือน ให้องค์กำเนิด ช้ำ  เดาะ เป็นหนอง 
เสพเมถุนกับสตรีแพศยา  ให้ช่องสังวาส ชอกช้ำ 
.เพราะโทษกษัยกล่อนและกาฬมูตรให้องค์กำเนิดบวม แสบร้อนให้เป็นหนอง เป็นโลหิต (มิได้เกิดจากกามตัณหา)
.เพราะนิ่วบุรุษ เพราะคชราช 
(คุดทะราด)ปลายแล้วลามเข้าไป /
สตรีเพราะดากโลหิตออกมาแต่ทวาร
ครรภ์  ให้เป็นหนอง เป็นโลหิตลิ่มแท่งออกมาปวดหัวเหน่า เรียกอุปทังสโรค
ไส้ด้วน (เป็นหนอง  เกิดจากภายนอกถึงภายใน) ๔ จำพวก ให้ขัดยอก ปวดขัด ปัสสาวะ  ไส้ลาม ให้ผุดเป็นเม็ด 
   ชายหญิงก็เหมือนกัน 
.เสพเมถุนสำส่อน เป็นเม็ดข้างใน ข้างนอก มีหนองออกมา หรือเป็นฝีที่หน้าขา หรือเป็นเม็ดขึ้น ทั่วกาย ให้ ปวดกระดูก ขัดปัสสาวะ
เสพเมถุนกับสตรีมีประจำเดือนให้เป็นเม็ด  เป็นแผลภายใน  ผื่นวงตามร่างกาย  ขัดยอก  ปวดปัสสาวะ
เสพเมถุนรุนแรง ให้กระทบชอกช้ำ เป็นเม็ด  เป็นแผล มีน้ำหนองไหล
เสพเมถุนกับสตรีแพศยา
ลามก เป็นฝีอุปทม ที่ปลายองค์กำเนิดแตกเป็นน้ำเหลือง
น้ำหนอง
สัณฑะฆาต    จำพวก                         
สัณฑฆาต๔ 
จำพวก
.เกิดเพื่อโลหิตแห้ง เป็นก้อนติดกระดูกสันหลัง(หญิงระดูขัด,ชายอุบัติเหตุ)  เป็นอสาทิยโรค
.เกิดเพื่อกาฬขึ้นใน  ดี ,ตับ,ปอด,หัวใจ  
ถ้าโลหิตแตกออกทวารทั้ง ๙ เรียกรัตตปิตตโรค เป็นอติสัยโรค 
.เกิดเพื่อปัตคาด  ให้ท้องผูกเป็นพรรดึก  โลหิตจับเป็นก้อนอยู่ในท้อง ให้ตึงลงทวารเบา 
.เกิดเพื่อกล่อนแห้ง เจ็บ
กระบอกตา เมื่อยทั่วตัวให้เป็น
เม็ดงอกในรูองคชาต
เป็นอสาทิยโรค
โทสัณฑะฆาต     (ลักษณะโลหิตจับเป็นลิ่ม,เป็นก้อนเท่าไข่ติดกระดูกสันหลัง)   (เรียก “สันนิจโลหิตกระทำพิษต่างๆ)เกิดกับสตรี  เป็นเพราะโลหิตระดูแห้ง   เกิดกับบุรุษ เป็นเพราะ กระทบชอกช้ำใน ถ
ตรีสัณฑะฆาต(เกิดกาฬขึ้นในอวัยวะต่างๆ)ขึ้นในดี  ให้คลั่งเพ้อ   ขึ้นที่ตับ   ให้ลงเป็นโลหิต  ขึ้นที่ไส้อ่อน  ให้จุกเสียด,
ท้องขึ้น  ขึ้นในปอด  ให้กระหายน้ำ   ขึ้นในหัวใจ  ให้แน่นิ่งไป

นิ่วศิลาปูน มักเกิดเพื่ออาโปธาตุ แลผู้ใดกินหมากมากนักกลืนน้ำหมากเข้าไปเนืองๆ ก็ตกตะกอนในกะเพาะปัสสาวะ กลมดังเม็ดบัวออกมาจุกช่องทวารปัสสาวะ ให้เจ็บปวดเปนกำลัง แลให้ผอมเหลือง

นิ่วเนื้อด้วยอุปทม บุรุษเกิดด้วยมุตฆาต ให้เปนลำลาบ ขึ้นไปแต่ปลายองคชาต แล้วมักลามเข้าไปสู่ทวารเบาไม่รู้หาย ก็โตออกมาแข็งเข้าเปนดานอยู่ ถ้าสัตรีก็เหมือนกัน มักออกมาแต่ทวารเบาเปนเม็ดที่ซ่วง ถ้าแก่ก็ลามขึ้นถึงหัวเหน่า ให้ตกโลหิตเปนกำลัง เปนลิ่มเปนแท่งออกมาแต่ในกลางที่ปลายซ่วง ขาดออกมาบ้างก็ให้เหม็นเหน้านัก ลางทีเปนบุพโพออกมาบ้าง ให้ปวดหัวเหน่านักแลท้องน้อยดังจะขาดใจตาย ให้แน่นอก มักให้อาเจียรน้ำเขฬะ บางทีให้จุกเสียด ให้ร้อนปลายมือปลายเท้าแล้วให้ปวดสีสะให้ชักมือกำเท้ากำเปนเนืองๆ ถ้าแก้ด้วยามิฟังเมื่อจะใกล้ตายให้ตกโลหิตสดๆ ออกมากลางวันกลางคืน จะกินอาหารสิ่งใดมิได้ จะนอนก็มิหลับ โทษนั้น ๗ วัน ให้หูตึงตาไม่รู้จักหน้าคน ลิ้นไม่รู้จักรสอาหารเปนตรีโทษ ๓ วันตาย

บานทะโรค (ริดสีดวง) อุจจาระนั้นเสียด้วยลมโกฎฐาสยาวาตามิได้พัดชำระปะระเมหะ และเมือกมันในลำไส้ จนตกเป็นคราบตะกรันติดในลำไส้อยู่ เมื่อระคนกับอุจจาระธาตุและเดินลงสู่ช่องทวาร ก็ให้แตกเป็นโลหิต เป็นเม็ดยอดขึ้นตามขอบทวารเป็นริดสีดวงปวดแสบขบ หากเม็ดยอดขึ้นที่ต้นไส้ต่อ (ลำกะรีสบักคือทางเดินอาหารเก่า) ก็มีอาการดุจนิ่ว ไส้ด้วน ไส้ลาม เรียกดานเถามุตตะฆาต นิ่ว ปะระเมหะ กษัยกล่อน และริดสีดวง หรือเรียกลามกอติสารลักษณะเปนซ่วง โลหิตออกเปนดังซ่วงเนื้อ ก็เหมือนกัน แต่ทวารซ่วงโลหิตนั้น มักเหน้าขาดออกมาเปนชิ้นเปนแท่ง เหม็นดังกลิ่นศพ ลางทีมักเปนน้ำเหลืองไหลไปทั้งกลางวันกลางคืน หาแรงมิได้กินอาหารมิได้ ให้อาเจียรเนืองๆ ให้ลมจับบ่อยๆ ถ้าจะแก้ให้ทำยาแช่ซ่วงให้หดเสียก่อน
กษัยกร่อนให้ดูในกษัยกล่อน เช่นนิ่วในถุงน้ำดีเป็นต้น

สันนิจโลหิต คือ หากเป็นหญิงเกิดจากโลหิตระดูแห้งเป็นก้อนเท่าไข่ไก่ ถ้ากินเผ็ดร้อนลงไปโลหิตก็จะแห้งเข้าติดกระดูกสันหลังข้างใน ถ้าเป็นชายเกิดจากตกต้นไม้ ถูกทุบถองโบยตี เป็นโรคอันถึงพิฆาต โลหิตนั้นคุมเป็นก้อนเจ็บร้อนเสียดแทงในอก เสียดสันหลัง หากวางยาผิดโลหิตนั้นกระจายเข้าตามกระดูกสันหลัง
ลักปิด คือ บุคคลใดเป็นตรีสัณฑะฆาตมาได้ ๗-๘ วัน โลหิตแตกซ่านไปในทวารทั้ง ๙ เรียก ลักปิด

หมายเหตุ ในการอ่านสรุปคัมภีร์ ควรอ่านเนื้อหาในหนังสือทั้งหมดก่อนอย่างน้อย ๑ รอบ แล้วมาอ่านสรุปจะทำให้เข้าใจ ภาพรวมทั้งหมดยิ่งขึ้น
ตัวอย่างข้อสอบคัมภีร์มุจฉาปักขันธิกา

1.ข้อใดจัดอยู่ในทุราวสา 32 

                ก. ทุรวสา 20  ประเมหะ 12                    ข. ทุรวสา 12  ประเมหะ 20

                ค. ทุรวสา 16 ประเมหะ 16                     ง. ผิดทุกข้อ

2. ข้อใดจัดอยู่ในทุราวสา 12 

                ก. อุปทม 4                                              ข. มุตฆาต 4

                ค.สัณฑฆาต 4                                          ง. ถูกทุกข้อ

3. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะปัสสาวะในมุตกิด 4 จำพวก

ก. ปัสสาวะดุจโลหิตช้ำ ดังน้ำปลาเน่า                     ข. ปัสสาวะเป็นหนองจางๆ  ดุจน้ำซาวข้าว

ค. ปัสสาวะเป็นโลหิตจาง  ดุจน้ำชานหมาก            ง. ปัสสาวะเป็นสีดำ  ดุจน้ำครำ

4. อาการ ให้ปวดหัวเหน่า  ให้แสบองคชาต  ให้สะบัดร้อนสะบัดหนาว   เป็นอาการของโรคใด

                ก. ทุราวสา 4                                            ข. มุตกิต 4

                ค. มุตฆาต 4                                             ง. ถูกทุกข้อ

5.  กระทำให้ปัสสาวะหยดย้อย  ให้ปวดแสบในองคชาต  เจ็บบั้นเอวเป็นกำลัง  ครั้นแก่เข้าทำให้ไส้ขาดออกมา  รักษาไม่ได้  เกิดเพราะเสมหะ 3 ส่วน  โลหิต 2 ส่วน  เป็นอาการขององคสูตรที่เกิดในฤดูใด

                ก. คิมหันตฤดู                                            ข. วสันตฤดู

                ค. เหมันตฤดู                                              ง. สันนิปาตฤดู

7. อาการปัสสาวะหยดย้อย  ปวดแสบยิ่งนัก  บางทีเป็นน้ำเหลือง  บางทีเป็นน้ำคาวปลาไหลซึม  โทษเกิดเพราะน้ำเหลืองร้าย    จัดเป็นอาการของช้ำรั่ว  ที่มีสาเหตุจากข้อใด

                ก.  ช้ำรั่วเกิดเพราะคลอดบุตร                      ข.   ช้ำรั่วเกิดเพราะเสพเมถุนเกินประมาณ

                ค.  ช้ำรั่วเกิดเพราะเป็นฝีในมดลูก                ง.  ช้ำรั่วเกิดเพราะเสพเมถุนสำส่อน

8. อุปทมในข้อใด  ที่เกิดกับบุคคลผู้บริสุทธิ์  ที่มิได้มักมากในทางกามตัณหา  เช่น  พระภิกษุ  สามเณร  หรือฆราวาส ผู้มีศีลอันบริสุทธิ์  ไม่ได้เสพเมถุนกับมาตุคามเลย

                ก. อุปทมเกิดเพราะนิ่ว                                  ข. อุปทมเกิดเพราะโทษดาน

                ค. อุปทมเกิดเพราะกระษัยกล่อน                  ง. ข้อ ข. และ ข้อ ค. ถูก

9. ลักษณะอาการ  ให้เป็นเม็ดขึ้นมาเท่าเม็ดถั่วดำที่ปลายองคชาต  แล้วแตกเป็นน้ำเหลือง  ทำพิษเจ็บปวดแสบร้อน  เน่าเข้าไปแต่ปลายองคชาต  บางทีกัดองคชาตเน่าเข้าไปทุกวัน จนถึงโคนองคชาตเมื่อใดก็ตายเมื่อนั้น  จัดอยู่ในประเมหะจำพวกใด

                ก. องคสูตร                                    ข. อุปทม

                ค. ไส้ด้วน                                      ง. ไส้ลาม

10.  ข้อใดจัดอยู่ในนิ่ว 4 จำพวก

                ก. นิ่วศิลาปูน                                  ข. กระษัยกล่อน

                ค. บานทะโรค                                 ง. ถูกทุกข้อ

11.  นิ่วในข้อใดเกิดเพราะธาตุทั้ง 4  มีอาการให้ปวดแสบลูกอัณฑะ  เจ็บเสียวเกลียวเองทั้ง 2 ข้าง  ปวดขัดปัสสาวะ

            ก. นิ่วศิลาปูน                                       ข. นิ่วเนื้อ

            ค. กล่อนนิ่ว                                         ง. ผิดทุกข้อ

       ข้อ 12.    ทุราวสามี 4 จำพวก จำพวกใดที่รักษาไม่ได้
                 1.   ปัสสาวะออกมาเป็นสีขาว                            2.   ปัสสาวะออกมาเป็นสีเหลือง
                 3.   ปัสสาวะออกมาเป็นสีโลหิตสดๆ                 4.   ปัสสาวะออกมาเป็นสีดำดังน้ำคราม
ข้อ
 13.    ปัสสาวะออกมาแดงขุ่นข้น เป็นสีดำดุจดั่งน้ำครามคือ
                 1.   มุตฆาต                  2.   มุตกิต
                 3.   ทุราวสา                 4.   ถูกทุกข้อ
ข้อ 14.
     อุจจาระมีกลิ่นหม็นเหมือนหญ้าเน่ามีอาการอย่างไร?
                  1.   เจ็บหน้าอก น้ำลายไหล ตาแดง                  2.   เจ็บคอ ค้ดจมูก เมื่อยตัว
                  3.   เจ็บหน้าอก เจ็บในท้อง เจ็บในกระดูก       4.   ปากแห้ง คอแห้ง วิงเวียน