วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ไข้หัวลม


เป็นไข้หัวลม กินแกงส้มดอกแค

ช่วงปลายฝนต้นหนาวแบบนี้ ถ้าเป็นไข้ขึ้นมา บ้านนอกเรียกว่า "ไข้หัวลม" เพราะร่างกายเคยชินกับอากาศร้อน เจออากาศหนาวแรก ก็ปรับตัวไม่ทัน คนบ้านนอก รู้กันว่าต้องแก้ด้วย "แกงส้มดอกแค" ตามบ้านไร่ท้องนา ทั่วไปจะมีต้นแคปลูกไว้ เหมือนธรรมชาติจะรู้วาคนต้องการดอกแคไปแก้ไข้หัวลม ต้นแคจะออกดอกให้ใน ช่วงนี้พอดี
อาการโดยทั่วไปจะเริ่มต้นด้วยระวิงระไวไอจาม ครั่นเนื้อครั่นตัว เพลีย เหนื่อยวัดไข้แล้วมักจะไม่เกิน 38.5 องศาเซลเซียส เกิดจากการเปลี่ยนอากาศ ถ้าเป็นช่วงนี้ จากฝนเป็นหนาว ตามแพทย์แผนไทยบอกว่าร่างกายมีไอความร้อนค้างอยู่ตอนหน้าฝน พออากาศเย็นลงอย่างรวดเร็ว ปรับตัวไม่ทัน เกิดภาวะธาตุไฟพิการ ก็เลยป่วยได้ ในคนที่มีภูมิต้านทานดีก็จะไม่มีอาการใด ๆ แต่ในคนที่ภูมิต้านทานไม่ค่อยดี ช่วงนี้ถือว่าเป็นจุดอ่อน จะป่วยง่ายมาก คนโบราณเลยมีวิธีป้องกัน
ก่อนที่จะป่วยล้มหมอนนอนเสื่อกันเสียก่อนโดยเริ่มจากอาหารการกินง่าย ๆ ก่อนจะไปถึงยา
เช่น ดอกแค มะเขือพวง พริกไทย กระชาย กะเพรา กระเทียม สะเดา ขี้เหล็ก ชะมวง ผักชี หอม
น้ำสมุนไพร น้ำผึ้งผสมมะนาว น้ำขิง น้ำส้ม
ของหวาน ให้เลือกเมนูถั่วเป็นหลัก
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง สำหรับหน้านี้ คืออาหารเย็นไม่ว่าจะเป็นอาหารเย็นทางกายภาพ เช่น น้ำแข็ง หวานเย็น ไอศกรีม ผลไม้ แตงโม แอบเปิ้ล หรือผลไม้ที่อยู่นอกฤดูกาล
สรุปแล้วหนาวนี้ ใช้อาหารเป็นยา กันก่อนเกิดโรค ส่งเสริมสุขภาพแล้ว อย่าลืม การพักผ่อนที่เพียงพอ นอนแต่หัวค่ำ โดยเฉพาะเด็ก ๆ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็จะรอดพ้นจากไข้หัวลมได้อย่างน่าภาคภูมิใจค่ะ

สรรพคุณของแกงส้มดอกแค ทางแพทย์แผนไทย ถือเป็นยาแก้ไข้หัวลม ได้เป็นอย่างดี
เครื่องปรุงสำหรับทำแกงส้มดอกแคมีดังนี้ค่ะ
- น้ำพริกแกงส้ม (ส่วนผสมของ พริกแห้ง หัวหอมแดง และข่า) มีสรรพคุณ ช่วยขับลมในกระเพราะ

- ดอกแค ช่วยช่วยปรับสมดุลในร่างกาย ให้ไข้สร่าง
- มะขามเปียก มีสรรพคุณ ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ ลดความร้อน ในร่างกาย
อันโบราณ ภูมิปัญญาไทย เป็นไข้หวัดก็แก้ได้ ด้วยอาหารพื้นบ้านอย่าง แกงส้มดอกแค นี่แหละ

ล้างดอกแคให้สะอาด พักไว้ให้สะเด็ดน้ำ ตั้งหม้อน้ำให้เดือด เพื่อต้มปลาช่อน
เมื่อปลาสุกแล้วแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกสำหรับโขลกกับน้ำพริกแกงเพื่อให้น้ำแกงข้น
อีกส่วนเก็บเอาไว้ใส่เมื่อแกงสุก โขลกเครื่องปรุงน้ำพริกแกง..พริก เกลือ หัวหอม กระชาย กะปิให้ละเอียด

แล้วใส่ปลาต้มลงในครก โขลกกับน้ำพริกแกงให้ละเอียด
ต้มให้เดือด แล้วเติมน้ำปลา น้ำมะขามเปียก และน้ำตาล ชิมให้ได้รสเปรี้ยวนำ หวาน เค็ม ตามใจชอบ


น้ำแกงที่ปรุงแล้ว ถ้าทิ้งไว้ให้เย็น แล้วเก็บในตู้เย็นได้หลายวัน เมื่อจะทานจึงใส่ผัก จะได้ไม่ต้องเหนื่อยบ่อยๆค่ะ
รอให้เดือดอีกครั้งใส่ดอกแคลงในหม้อแกง ต้มต่อจนน้ำแกงเข้าเนื้อดอกแค มีเคล็ดลับนิดหนึ่งค่ะคือ
ถ้าเราบีบน้ำมะนาวใส่ลงไปนิดหนึ่ง แกงจะเปรี้ยวและหอมอย่างสดชื่น น่ารับประทานขึ้นอย่างอัศจรรย์ค่ะ
ตักแกงใส่ถ้วยใส่ปลาต้มเสิร์ฟร้อนๆค่ะ
การที่เราต้มเนื้อปลาให้สุกแยกไว้ เนื้อปลาจะไม่เละและก้างปลาจะไม่ปนในน้ำแกง อันเป็นสาเหตุให้ก้างขวางคอค่ะ


ขอบคุณ ที่มาของข้อมูลดีๆ คอลัมน์ "หิวหรืออิ่ม ก็ยิ้มพอกัน" หนังสือพิมพ์ มติชนรายวัน

วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การดูแลสุขภาพในฤดูฝน


การดูแลรักษาสุขภาพในฤดูฝน (วสันตฤดู)
วสันตฤดู หรือฤดูฝน เริ่มนับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ (วันเข้าพรรษา) ถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ (วันลอยกระทง) รวมเวลา ๔ เดือน ปีนี้เริ่มตั้งแต่วันที่ ๒๓ ก.ค. ๕๖ ๑๗ พ.ย. ๕๖ เป็นช่วงที่มีอากาศร้อนอบอ้าว มีความชื้นสูง บางครั้งมีความหนาวเย็นผสมด้วย ทำให้ร่างกายมีความร้อนและความชื้นสะสมสูงขึ้น อากาศถูกแทรกด้วยไอน้ำมากขึ้น การหมุนเวียนของเลือดลมในร่างกายไม่เป็นปกติ ทำให้สมุฏฐานวาโย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พิกัดกุจฉิสยาวาตา (ลมพัดในท้องแต่อยู่นอกลำไส้) พลอยหวั่นไหวกำเริบขึ้น การเกิดโรคมักเกิดเนื่องจากวาโยธาตุกำเริบหรือพิการ จากการกินอาหารผิดสำแดง จำพวกเปียกชื้นชุ่มมัน(อาหารหวานและมันจัด) ดังนั้น การป้องกันรักษาสุขภาพในหน้าฝนจึงควรหลีกเลี่ยงสาเหตุต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดโรคได้ เช่น
๑. หลีกเลี่ยงมูลเหตุที่ทำให้เกิดโรค ๘ ประการได้แก่ 

๑.๑ อาหาร เช่น กินมากหรือน้อยเกินไป อาหารบูดเสีย รสแปลก ไม่ตรงเวลา เป็นต้น 
๑.๒ อิริยาบถ  ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ้าง
๑.๓ ความร้อนและเย็น มากเกินไป                                                                                                                     

๑.๔ อดนอน อดข้าว อดน้ำ 
๑.๕ กลั้นอุจจาระ ปัสสาวะ 
๑.๖ ทำงานเกินกำลัง 
๑.๗ ความเศร้าโศกเสียใจ 
๑.๘ มีโทสะเป็นนิจ  
๒.   ไม่ควรกรำแดดกรำฝน ให้หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่อับชื้น ที่มีละอองฝน ที่มีอากาศถ่ายเทไม่สะดวก
๓. เมื่อร่างกายเปียกชื้น ควรอาบน้ำเช็ดตัวให้แห้ง อย่าสวมเสื้อผ้าเปียกชื้น หรือชุ่มเหงื่อ
๔. ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีรสแสลงกับโรคลม เช่น รสเย็น รสเมาเบื่อ รสขม รสหอมเย็น และอาหารที่ย่อยยาก เป็นต้น
๕.   ควรรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดร้อน และควรนำรสอาหารและยาตามอายุสมุฏฐานมาร่วมพิจารณาด้วย ดังนี้
๕.๑ ปฐมวัย (แรกเกิด 16 ปี) สมุฏฐานเสมหะ  ควรให้อาหารรสเปรี้ยว ขม หวาน และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสมัน มีแป้งมาก หรืออาหารที่ย่อยยาก สำหรับอาหารรสหวานนั้น ถ้ามากเกินไปก็ทำให้เกิดลมได้ จึงควรให้พอประมาณ
๕.๒ มัชฌิมวัย ( 16-32 ปี) สมุฏฐานดีและโลหิต ควรให้อาหารรสเผ็ดร้อน ขม เปรี้ยว ฝาด เค็ม ทั้งนี้ในวัยกลางคนเป็นวัยที่มีความร้อนสูง การใช้อาหารรสเผ็ดร้อน จึงไม่เหมาะสำหรับมื้อกลางวัน ในฤดูฝนอาจให้ในมื้อเช้าและในมื้อเย็น 
๕.๓ ปัจฉิมวัย ( 32 ปีขึ้นไป) สมุฏฐานลมกำเริบเสมหะและเหงื่อแทรก ควรให้อาหารรสเผ็ดร้อน หอมเย็น ขม เค็ม ฝาด ทั้งนี้ในผู้สูงอายุ อาหารหลักเกือบทุกมื้อในหน้าฝน ควรมีรสเผ็ด หอมร้อน ขม ร่วมด้วยเสมอ เพื่อช่วยการย่อยอาหารและการขับถ่าย (ในมื้อเย็นไม่ควรกินอาหารพวกแป้งและไขมัน อาหารย่อยยาก อาหารที่มีรสเย็น หรือผลไม้บางชนิด เช่น กล้วยหอม ทุเรียน มะม่วง เป็นต้น) ส่วนอาหารรสหอมร้อน เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ใบกะเพรา ฯลฯ เป็นอาหารจำเป็นสำหรับผู้สูงอายุในมื้อเย็น เพื่อช่วยย่อยอาหาร ขับลม บำรุงธาตุ และทำให้เลือดลมเดินสะดวก

อาหารที่เหมาะสำหรับฤดูฝน
พืชผัก ได้แก่ ขิง ข่า ตะไคร้ ใบกะเพรา กระชาย แมงลัก สะระแหน่ ช้าพลู ขมิ้นขาว ขมิ้นชัน ผักชีฝรั่ง ผักชีหอม ผักชีลาว โหระพา หอม กระเทียม ใบมะกรูด พริกไทย พริกหยวก พริกชีฟ้า ผักหูเสือ ผักแพรว หมุย (สมัด) ดอกกะทือ ดอกกระเจียว ใบมะตูม ผักไผ่ หน่อไม้ งา เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เปราะหอม ผักแขยง กุยฉ่าย
ผลไม้ ได้แก่ ทะเรียน ละมุด ลำไย ลิ้นจี่ (ผลไม้ตามฤดูกาล)

การปรุงอาหารควรปรุงให้ครบถ้วน ไม่ควรใช้แต่รสใดรสหนึ่งเท่านั้น เพียงแต่เน้นส่วนปรุงหลักตามฤดูกาล

นอกจากอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศแล้ว ยังมีโรคที่มักระบาดในฤดูฝน เช่น โรคฉี่หนู โรคทางเดินอาหาร ท้องอืด จุกเสียดแน่น โรคไข้เลือดออก โรคไข้มาลาเรีย เป็นต้น


**อธิบายการเกิดโรคทางแพทย์แผนไทย...... จากฤดูกระทบ

ในวสันต์ฤดู ( เดือน ๘ เดือน ๑๒) การเกิดโรคจะเกิดจากวาตะสมุฏฐาน โรคลมกำเริบ จากการกินอาหารผิดสำแดง จำพวกเปียกชื้นชุ่มมัน (อาหารหวานและมันจัด) ทำให้มีอาการผอมเหลือง เป็นไข้ครั่นตัว เมื่อธาตุลมกำเริบ ทำให้ธาตุไฟกำเริบด้วย ทำให้น้ำดีพิการ หายใจสั้น ท้องลั่นโครกคราก แดกขึ้นลง ให้หาวเรอจากลมอุทธังคมาวาตากำเริบ ให้เกิดอาการวิงเวียน ลมขึ้นสู่เบื้องสูง  ทำให้มีอาการลมตีขึ้นสู่เบื้องบน คือ หู จมูก ปาก อาจทำให้มีเลือดออกจากอาเจียนทางปาก หรือเลือดออกทางจมูกและหูได้ จากโทษของลม

ส่วนยารักษาโรคในฤดูนี้ ชื่อยาฤทธิเจริญ มีตัวยาดังนี้ คือ 

แฝกหอม พริกไทย เปราะหอม หัวแห้วหมู ว่านน้ำ ดีปลี เสมอภาค รากกระเทียมหนักเท่ายาทั้งหลาย บดทำผง ใช้น้ำร้อนเป็นกระสายยา
ขอขอบคุณ ภาพจากอินเตอร์เน็ต
 AU Kanchana : Ayurvedic Association of Thailand


วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ใบบัวบก (Gotu Kola)



ใบบัวบก กับสรรพคุณในด้านความงาม

ใบบัวบก หรือ บัวบก (Gotu kola) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Centella asiatica (L.) Urban. และมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อย่างภาคใต้จะเรียกว่า ผักแว่นส่วนภาคเหนือจะเรียกว่า ผักหนอกส่วนชื่ออื่นๆ กะโต่เป็นต้น จัดเป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดในแถบเอเชีย เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก มีกลิ่นฉุน มีรสขมหวานจะมีพืชที่มีลักษณะคล้ายกันเรียก แว่นแก้ว ซึ่งเป็นคนละตัวกันคนมักเข้าใจผิด
สรรพคุณใบบัวบก
ช่วยให้ความจำดี ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ แก้ช้ำใน ร้อนในกระหายน้ำ แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ รักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ลดรอยเหี่ยวย่น ลดการอักเสบ และเป็นยาอายุวัฒนะ

ในการศึกษาทางเภสัชวิทยา พบว่า ใบบัวบกจะให้สารไกลโคไซด์ (Glycosides) หลายชนิดที่ให้ผลต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Antioxidation) ซึ่งส่งผลให้การลดความเสื่อมของเซลล์ อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้ และยังส่งผลในการช่วยเร่งการสร้างสารคอลลาเจน (Collagen) ที่เป็นโครงสร้างของผิวจึงถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการกระตุ้นให้แผลสมานตัวได้เร็ว


สารสำคัญ 
ในบัวบกประกอบด้วยสารสำคัญหลายชนิด และมีสารไตรเตอพีนอยด์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างคอลลาเจน ซึ่งเปรียบเสมือนร่างแหที่ประกอบกันเป็นโครงสร้างหลักของเซลล์ในส่วนต่างๆ ของร่างกาย และยังเป็นผนังที่หุ้มล้อมรอบหลอดเลือดอีกด้วยใบบัวบกจึงสามารถลดความดันเลือดได้เนื่องจากจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่เส้นเลือด ใบ บัวบกมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ช่วยเพิ่มการไหลเวียนผ่านเส้นเลือดฝอย รวมทั้งการแลกเปลี่ยนออกซิเจน ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดการบวม เส้นประสาทเสื่อม เหน็บชา และแขนขาอ่อนแรง ทำ ให้ผิวหนังเต่งตึงและมีความยืดหยุ่นขึ้น ตลอดจนช่วยป้องกันการเกิดแผลเป็น และช่วยในขบวนการหายของแผล เนื่องจากใบบัวบกจะควบคุมไม่ให้เกิดการสร้างคอลลาเจนบริเวณแผลมากจนเกินไป นิยมนำใบบัวบกไปใช้ในการรักษาแผลต่างๆ อาทิเช่น แผลผ่าตัด การปลูกถ่ายผิวหนัง แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลเรื้อรัง หรือแม้แต่แผลจากโรคเรื้อน 

ผู้ที่ควรทานใบบัวบก ได้แก่ ผู้สูงอายุ สตรีวัยทอง ผู้ที่อยู่ในวัยทำงานที่ต้องใช้สมองอย่างมาก และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความทรงจำ ผู้ที่มีความเครียดสูงจากการทำงานหนัก ที่มีความผิดปกติ ทางผิวหนัง และกล้ามเนื้อ โดยมีอาการฟกช้ำ และผิวหนังอักเสบ เป็นสิว หนอง ผู้ป่วยหลังการผ่าตัด เพราะช่วยเร่งการสมานแผลให้เร็วยิ่งขึ้น

ลดรอยตีนกา 
ใบบัวบก ช่วยคืนความอ่อนเยาว์ ย้อนอายุและวัย
ใช้ใบบัวบกสดๆ ล้างให้สะอาด นำไปคั้นให้เป็นน้ำข้นๆ กรองเอาแต่น้ำใช้ สำลีชุบทาทั่วใบหน้า ก่อนนอนหรือจะใช้สำลีแปะไว้ที่ผิวใบหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที ล้างออกด้วยน้ำสะอาดหรือทิ้งไว้ทั้งคืนก็ได้ จะช่วยบำรุงผิวหน้าให้เต่งตึงไร้ริ้วรอย เพราะใบบัวบกมีสารกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน และอิลาสตินให้ทำงานได้ดีขึ้น

ลดการเกิดสิว ลดริ้วรอยแผลเป็นและจุดด่างดำ   ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหน้า เหมาะกับผู้ที่ผิวแห้ง แต่ผิวมันก็
ใช้ได้เหมือนกัน คือ สูตร 3 ทหารเสือพอกหน้า (ใบบัวบก + ขมิ้นชัน + น้ำผึ้ง)
  วิธีทำ ก็เอาน้ำใบบัวบกที่คั้นออกมา ผสมผงขมิ้นชันและน้ำผึ้งลงไปใน อัตราส่วน
o      น้ำใบบัวบก 2 ช้อนโต๊ะ
o      ผงขมิ้นชัน 1 ช้อนชา

o      น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา

คนส่วนผสมทั้ง 3 ให้เข้ากัน จากนั้นก็เอาครีม 3 ทหารเสือที่ได้มาพอกหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 15-20 นาทีแล้วก็ล้างออกด้วยน้ำสะอาด ทำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง จะช่วยให้ริ้วรอยสิวดูจางลง และช่วยลดการเกิดสิวใหม่ ส่วนสิวที่ขึ้นก็จะแห้งเร็วและจะไม่ค่อยอักเสบ 

วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2556

อาหารจากฟักข้าว

 

: ฟักข้าว  (Spiny Bitter Gourd) 
         ชื่อสามัญ : Spring Bitter Cucumber  Momordica Charantia Fruit - Baby Jackfruit, Sweet Gourd, or Cochinchin Gourd, Cochinchinensis, Gac 
         ชื่อวิทยาศาสตร์ : Momordica cochinchinensis Spreng. 
         วงศ์ : CUCURBITACEAE  อยู่ในวงศ์แตงกวาและมะระ
ต้นฟักข้าว  ราก  ถอนพิษไข้· เถา  ยับยั้งฝีหนอง·
ใบ  แก้เริม  งูสวัด· ยอด  บำรุงลำไส้·      
ดอก  สมานแผลในกระเพาะและ ลำไส้·      
ลูกอ่อน เจริญอาหาร·เนื้อในผลสุกบำรุงไขข้อเส้นเอ็น      
เมล็ดใน  คนโบราณถือว่าเป็นเมตตามหานิยม

สรรพคุณของฟักข้าว
ช่วยต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันมะเร็ง
ช่วยบำรุงผิวพรรณ ชะลอความแก่
ช่วยป้องกันภูมิแพ้
ช่วยป้องกันการติดเชื้อ
ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคโลหิตจาง
ช่วยป้องกันและรักษาอาการตับอักเสบ
ช่วยกระตุ้นพัฒนาการและการเติบโตของเด็กให้แข็งแรง
ช่วยป้องกันเยื่อนัยน์ตาแห้งที่มีสาเหตุจากสารสำคัญในเรติน่า
ช่วยป้องกัน และบรรเทาการขาดวิตามิน และสารอาหารต่างๆ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
ช่วยให้อัตราการเผาผลาญพลังงานสม่าเสมอ และเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมอาหารได้ดียิ่งขึ้น
ช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
ช่วยป้องกันและรักษาการติดเชื้อจากการใช้รังสี ได้รับสารพิษจากการที่บริโภคมากเกินไป และสารพิษต่างๆ ที่ปนเปื้อนอยู่ในผัก ผลไม้เนื้อสัตว์ต่างๆ ทั้งนี้ยังช่วยปรับสภาพร่างกายให้ฟื้นฟูโดยเร็ว 

มีประโยชน์เยอะจริงๆ จึงมีคนให้สมญานาม "ฟักข้าว" ว่าเป็น ผลไม้จากสวรรค์ (Fruit of Heaven)


ยำยอดฟักข้าวปลาทูย่าง

นำยอดฟักข้าวไปลวกในน้ำเดือดแล้วนำขึ้นมาแช่ในนำ้เย็นพักไว้ ปลาทูย่างให้หอม แกะเอาแต่เนื้อที่เหลือก็เป็นเครื่องยำ หั่นเตรียมไว้ คลุกเคล้าให้เข้ากันดีปรุงรสตามชอบ


ฟักข้าวผัดไข่
วิธีทำ ปอกเปลือกออก แล้วผ่าให้เป็น สี่ส่วน นำปลายช้อน แคะเนื้อเมล็ดออกมาให้หมด ใช้ปลายมีดนำส่วนที่มีเปลือกเมล็ดออกแล้ว หั่นชิ้นบางๆ
การผัดอาหารด้วยพืชผักๆบางชนิดผัดโดยไม่ต้องใส่สมุนไพรอื่นก็ได้ หรือเพิ่มให้มากขึ้น เพื่อได้ประโยชน์และอร่อยมากขึ้น อย่างเช่น ผัดที่นำมาฝากนี้มี 
1. เนื้อฟักข้าว จากลูกไม่อ่อนไม่แก่
2. เนื้อในเมล็ดฟักข้าว จะมีรสขมนิดเมื่อผัดสุกความขมจะหายไป
3. กระเทียม ตำหรือสับละเอียด
4. หัวหอมใหญ่ มากน้อยแล้วแต่ชอบ ผ่าครึ่งหั่นตามยาวหัวชิ้นเล็กๆ
5. พริกเขียว-แดง เพื่อให้มีรสเผ็ดเล็กน้อย สีอาหารน่าอร่อยมมากขึ้น
6. ไข่ ใส่มากน้อยแล้วแต่ชอบ
7. น้ำมันมะพร้าวเยื้อฟักข้าว หรือใช้น้ำมันอื่นๆได้
8. เครื่องปรุง น้ำปลา ซีอิ้วขาว ซ๊อส น้ำตาลทราย
( ผู้ที่ชอบเนื้อหมู ไก่ กุ้ง ก็จะสับหรือหั่นเป็นชิ้น ใส่ด้วยได้) 
เมนูอาหารจานที่ทำนี้ มีสมุนไพรที่ลดน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยโรคเบาหวาน

กระทะตั้งไฟให้ร้อนพอประมาณ ใส่น้ำมันมากน้อยอยู่ที่ปริมาณเนื้อฟักข้าวที่ผัดให้พอเหมาะ ใส่น้ำมัน ใส่กระเทียมที่ทุบหรือสับไว้ เจียวให้หอม สักนิด แล้วนำเนื้อลูกและเนื้อเมล็ดฟักข้าวลงกระทะ เติมน้ำสักนิด แล้วปรุงรสตามชอบ คนไปมาพอใกล้สุก น้ำที่คลุกคลิกเดือด ตักชิมสักหน่อย หากพอดีอร่อยแล้ว แล้วใส่ไข่ (ควรใส่ตอนน้ำเดือด สีจะไม่ขุ่นเมื่อเสร็จ) ไข่สุกแล้วน้ำจะแห้งหากชอบน้ำคลุกคลิกเพิ่มน้ำได้  ใส่หัวหอมใหญ่ พริก สุกดีแล้วตักขึ้นใส่จาน กรณีถ้าชอบเนื้อฟักข้าวสุกมากให้นิ่มหน่อยก็ผัดนานสักนิด หากชอบกรอบก็ผัดพอสุก 

(หากมีเนื้อสัตว์ เมื่อเจียวกระเทียมหอมดีแล้วก็นำเนื้อสัตว์ที่เตรียมไว้ ผัดให้สุกแล้วถึงใส่ฟักข้าว)



น้ำฟักข้าวผสมเสาวรส

หุงข้าวหรือข้าวเหนียวใส่เยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวจะได้ข้าวสีสวยขึ้นและมีประโยชน์ทางโภชนาการเพิ่มขึ้นด้วย

ผักปลาบ

ผักปลาบ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Commelina diffusa Burm.f.
ชื่ออื่น : ผักปลาบใบแคบ  กินกุ้งน้อย
ชื่อวงศ์ : COMMELINACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
      ต้น  เป็นพืชล้มลุกสามารถเจริญเติบโตอยู่ข้ามปีได้ มีลำต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดินลำต้นกลม เรียบหรือมีขนเล็กน้อยอวบน้ำ จะชูส่วนปลายยอดตั้งขึ้นสูง 10-14 ซม. แตกแขนง บริเวณโคนต้นรากเป็นฝอยแตกออกตามข้อของลำต้น
      ใบ  เป็นใบเดี่ยวออกจากลำต้นแบบสลับ ใบรูปร่างยาวรีรูปหอก ปลายใบแหลมไม่ยาว 4.7 ซม. มีขนบริเวณขอบใบ
       ดอก  ออกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนปลายของต้น บนก้านช่อมีใบประดับดอกสีเขียวคล้ายเป็นใบแผ่นกลม หรือรูปหัวใจห่อหุ้มดอกเอาไว้ ช่อดอกแตกออกเป็น 2 กิ่ง กิ่งบนมีดอกย่อย 1-3 ดอก ก้านดอกยาวกิ่งล่างมีดอกย่อย 2-5 ดอก ก้านดอกสั้น แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ สีเขียวใสกลีบดอก 3 กลีบ สีน้ำเงินหรือม่วงอ่อน กลีบดอกด้านบนใหญ่กว่ากลีบดอกด้านล่าง
       ผล  เป็นชนิดแคปซูล แบ่งเป็น 3 ช่อง มีเมล็ดภายใน 1-5 เมล็ด เมล็ดมีสีน้ำตาลรูปร่างค่อนข้างยาว จะเป็นสันอยู่บนด้านหนึ่งของเมล็ด
แหล่งที่พบ   พบตามที่ชุ่มชื้นตามคลองหนองน้ำหรือในนา
สรรพคุณทางสมุนไพร  ส่วนที่ใช้เป็นยา » ใช้ได้ทั้งต้นไม่ว่าจะเป็นต้น ใบ
ต้นผักปราบ เอามาล้างให้สะอาดปราศจากเศษดิน และผงสกปรก ตากแห้งเก็บเอาไว้ใช้ได้ดี
วิธีการใช้  
นำต้นผักปลาบแห้งหรือสดมาต้มกับน้ำ ใช้ดื่มเวลาคลื่นไส้หรือ อาเจียนจะช่วยได้มาก
ช่วยให้เจริญอาหาร บรรเทาอาการปวดบวมของผิวหนังจากการระคายเคือง รักษาโรคผิวหนัง เช่นกลากเกลื้อน เรื้อน ใช้เป็นยาบรรเทาขณะถ่ายปัสสาวะและเป็นยาระบาย
สารสกัดแอลกอฮอล์จากใบที่ทำให้เป็นกรดมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas aeruginosa, Staphylococcus albus และมีฤทธิ์แรงมากต่อเชื้อ Escherichia coli, Klebsiella pneumoniae, Proteus vulgalis, Salmonella gallinarum และเชื้อยีสต์ Candida albicans
ยอดใช้กินเป็นอาหาร ยอดอ่อน รสหวานเย็นรับประทานได้ทั้งดิบและสุก เป็นผักจิ้มน้ำพริกปลาทู หรือแกงผักรวม

การขยายพันธุ์ : ใช้เมล็ด และแยกแขนง ปลูกได้ง่ายมาก ส่วนใหญ่ขึ้นได้ในดินทุกสภาพ 

วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ยารักษากลุ่มทางเดินอาหาร

  ยารักษากลุ่มทางเดินอาหาร

อาการ
ประสะกะเพรา
ธาตุบรรจบ
ประสะกานพลู
ประสะเจตพังคี
มันท
ธาตุ
มหา
จักรใหญ่
วิสัมพยาใหญ่
ยาธาตุอบเชย
เบญจกูล
อภัยสาลี

กะเพรา
เนื้อสมอไทย โกฐก้านพร้าว
กานพลู
เจตพังคี, ข่า
ขิง, เบญกานี
กระพังโหม, ยาดำ
ดีปลี, ลูกจันทน์, ดอกจันทน์, ผักชี
เปลือกอบเชยเทศ, เปลือกสมุลแว้ง, ลูกกระวาน, ดอกกานพลู
ดอกดีปลี,
รากช้าพลู, เถาสะค้าน, รากเจตมูลเพลิงแดง, เหง้าขิงแห้ง
หัสคุณเทศ, พริกไทยล่อน, เทียน และโกฐ,เนื้อลูกสมอเทศ,เนื้อลูกสมอไทย
ท้องอืด/ท้องเฟ้อ
/
/
/
/
/
/ลมซาง
/
/
/
/
จุกเสียด
/

/



/


/
ขับลม
/
/
/
/
/
/
/
/
/
/
ธาตุไม่ปกติ


/อุจจาระธาตุ
/
/












อาหารไม่ย่อย



/














ระบาย






/



/
กษัยจุกเสียด



/






บำบัดโรคลม









/