วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ดูแลตับแบบแผนไทย



วิธีบำรุงและดูแลตับ
บทความโดย นายคมสัน ทินกร ณ อยุธยา (แพทย์แผนไทย)

พัทธะปิตตะ หรือระบบตับ หมอไทยกล่าวว่ามีหน้าที่ รุ/ล้าง/สร้าง/เสริม/เก็บ หลายสิ่งหลายอย่างเพื่อให้ชีวิตดำเนินอยู่ได้โดยปกติ  หากกำเริบ(มากไป) หย่อน(น้อยไป) พิการ(ป่วย) ย่อมส่งผลให้เกิดภาวะสันนิบาต คือเข้าใกล้ถึงชีวิตได้ 
ตับร้อน/ตับแลบ/ตับติดเชื้อ/ตับอ่อน/ตับแข็ง/มะเร็งตับ/ไขมันพอกตับ หากดูแลให้ดีก็จะไม่เกิด สามารถทำได้เองดังนี้
1. ตับชอบของขม เช่น พืชผักรสขม เอามาทำเป็นอาหาร หรือยาขมที่มีขายตามร้านยาทั่วไป ใช้ทานเมื่อรู้สึกร้อนภายใน หรือทานสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง เป็นยาหรืออาหารก็ได้
2. ผ่อนร้อนให้ตับบ้าง หมอไทยใช้ยาเขียว หรือ สมุนไพรฟ้าทะลายโจรก็ได้ หรือ น้ำสมุนไพรสีเขียวเช่น น้ำใบบัวบก/น้ำหญ้านาง เป็นต้น แต่ให้ทานเมื่อภายในร้อน หากเย็นแล้วให้หยุด มิฉะนั้นจะส่งผลเสียต่อตับทันที
3. ไม่กินมัน/ไม่กินทอด/ไม่กินอาหารขยะ กินอาหารไทยที่ผ่านกรรมวิธี ต้ม/ยำ/ตำ/แกง เท่านั้น ตับผลิตน้ำมันอยู่แล้ว ไม่ต้องไปเพิ่มให้อีก มากเกินไปน้ำมัน(ไขมัน)จะเข้าไปพอกตับ
4. ทำน้ำกระสายยากล่อมตับดังนี้
ส่วนประกอบ นมผักกระเฉด(ที่เราทิ้งกัน)/ใบบัวบก(แห้ง,สดก็ได้)/รากบัวไทย/ลูกใต้ใบ(มีขายตามห้างทั่วไป)/ใบหญ้านาง/ลูกสมอไทย/ลูกสมอพิเภก/ลูกมะขามป้อม(ตรีผลา)ซึ่งมีขายตามห้าง สัดส่วนมากน้อยแล้วแต่หาได้
วิธีทำ ใส่น้ำมากน้อยแล้วแต่ส่วนประกอบ นำตั้งไฟให้เดือด แล้วลดไฟลง ใส่ส่วนผสมทั้งหมด ต้มต่ออีก30นาที เอากรองแล้วขึ้นไฟใหม่เติมน้ำตาลกรวดพอหวาน เมื่อเย็นเติมน้ำใบเตยสดคั้น และน้ำมะนาว ได้น้ำกระสายยาเขียวหอม รสเปรี้ยวหวานอร่อย
วิธีดื่ม ทานอุ่นวันละ2แก้ว 1 สัปดาห์ แล้วหยุด 1 สัปดาห์ จึงดื่มต่อได้ สลับกันไป
5. เข้ายาม 2 ค่ำ เริ่มสี่ทุ่ม-ตีสอง ตับเริ่มจ่ายกำเดาความร้อนออกมาทำให้เลือดไม่เย็นหนืด จึงเป็นเวลาที่เราควรนอนไม่ใช่ไปทำกิจกรรมอื่นๆ ไม่เช่นนั้นเราจะหิวแทน ตับก็ต้องส่งน้ำดีออกมาย่อยอาหารอีก ระบบย่อยทำงาน และส่งกลับไขมันไปพอกตับต่อ
6. เหล้า ยาเคมี ศัตรูตัวร้ายของตับ ทำให้ตับทำงานหนัก กินเมื่อจำเป็น ผ่อนงานตับบ้าง
ตับดูแลได้โดยเจ้าของตับ ไม่ใช่ไปให้คนอื่นล้างตับให้ แล้วล้างได้จริงหรือ?
********************************************

วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ ( รองช้ำ )

เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ ( รองช้ำ )



เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ ( รองช้ำ )

อาการปวดบริเวณส้นเท้า อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อเท้า กระดูกงอกที่ฝ่าเท้าหรือที่เส้นเอ็นร้อยหวาย กระดูกเท้าบิดผิดรูป โรครูมาตอยด์ โรคเก๊าท์ หรือ กระดูกหัก เป็นต้น 

สาเหตุของการเกิดโรคที่แท้จริงยังไม่ทราบ แต่ เชื่อว่าเป็นเพราะความเสื่อมบริเวณที่เส้นเอ็นฝ่าเท้าเกาะกับกระดูก

พบมาก ในผู้หญิงวัยกลางคน ยืนหรือเดินนาน ๆ น้ำหนักตัวมาก ใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม หรือ เท้าแบน เท้าบิด 

อาการที่พบได้บ่อย คือ หลังจากนอนหรือนั่งสักพักหนึ่ง เมื่อเริ่มเดินลงน้ำหนักจะรู้สึกปวดส้นเท้ามาก แต่ หลังจากที่เดินไปได้สักพัก อาการปวดก็จะทุเลาลง แต่ถ้าเดินนาน ๆ ก็อาจปวดมากขึ้นอีกได้ มักจะปวดมากในช่วงตื่นนอนตอนเช้า และจะดีขึ้นในช่วงตอนสาย หรือ ตอนบ่าย ถ้ากระดกข้อเท้าขึ้นหรือกดที่ส้นเท้า จะปวดมากขึ้น

ผู้สูงอายุประมาณร้อยละ 30-70 ถ้าถ่ายภาพรังสีของเท้า จะพบว่ามีกระดูกงอกที่ไต้ฝ่าเท้าได้ ดังนั้น ถึงแม้ว่าจะพบกระดูกงอกจากภาพรังสี แต่ก็อาจจะไม่เกี่ยวกับอาการปวดส้นเท้า จึงไม่จำเป็นต้องถ่ายภาพรังสีทุกคน

โดยส่วนใหญ่ ผู้ป่วยเส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ รักษาให้หายขาดได้ ด้วยวิธีรักษาแบบไม่ผ่าตัด แต่อาจจะต้องใช้เวลารักษานานหลายเดือน อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น แต่ถ้ารักษาไปแล้ว 6 - 9 เดือน ก็ยังไม่ดีขึ้น อาจจะต้องรักษาด้วยวิธีผ่าตัด 


แนวทางการรักษาด้วยตนเอง

1. ลดกิจกรรมที่ทำให้ปวด หรือ กิจกรรมที่ต้องลงน้ำหนัก เช่น การยืนหรือ เดินนาน ๆ เป็นต้น และควรออกกำลังที่ไม่ต้องมีการลงน้ำหนักที่ฝ่าเท้ามากนัก เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ๆ เป็นต้น

2. บริหาร เพื่อยืดกล้ามเนื้อน่อง และ เส้นเอ็นฝ่าเท้า

3. หลีกเลี่ยงการเดินด้วยเท้าเปล่า และ ใส่รองเท้าที่เหมาะสม ขนาดพอดีไม่หลวมเกินไป มีพื้นรองเท้าที่นุ่ม และมีแผ่นรองรับอุ้งเท้าให้นูนขึ้น อาจใช้แผ่นนุ่มๆ รองที่ส้นเท้า (หนา ½ นิ้ว) ใส่รองเท้าส้นสูงประมาณ 1 – 1.5 นิ้ว หรือ ใช้แผ่นยางสำหรับรองส้นเท้าโดยเฉพาะ เช่น Heel cups , Tuli cups เป็นต้น

4. ประคบด้วยความร้อนหรือความเย็น หรือ ใช้ยานวด นวดฝ่าเท้า หรือ ใช้ผ้าพันที่ฝ่าเท้าและส้นเท้า

5. ลดน้ำหนัก เพราะถ้าน้ำหนักมาก เส้นเอ็นฝ่าเท้าก็ต้องรับน้ำหนักมาก ทำให้ผลการรักษาไม่ดี และ หายช้า


แนวทางการรักษาโดยแพทย์

1. รับประทานยา เช่น ยาแก้ปวดลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ

2. ฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ บริเวณส้นเท้าจุดที่ปวด แต่ไม่ควรฉีดเกิน 2 ครั้งใน 1 เดือน เพราะอาจทำให้เกิดเส้นเอ็นฝ่าเท้าเปื่อยและขาดได้ ก่อนจะฉีดต้องทำความสะอาดที่ผิวหนังอย่างดี เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

ขณะฉีดยาสเตียรอยด์จะรู้สึกปวดแล้วก็จะชา แต่หลังจากยาชาหมดฤทธิ์ ( ประมาณ 1-2 ชั่วโมง ) ก็อาจเกิดอาการปวดซ้ำอีกครั้ง จึงควรรับประทานยา หรือ ประคบด้วยน้ำอุ่น กันไว้ก่อน

3. ทำกายภาพบำบัด เช่น ใช้ความร้อนลึก (อัลตร้าซาวด์) ดัดยืดเส้นเอ็นฝ่าเท้า ใช้ไม้เท้าช่วยเดิน เป็นต้น

4. ใส่เฝือกชั่วคราวให้ข้อเท้ากระดกขึ้น ในตอนกลางคืน หรือ ถ้าเป็นมาก อาจต้องใส่เฝือกตลอดทั้งวัน

5. การผ่าตัด จะทำก็ต่อเมื่อรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผล คือ อาการปวดไม่ดีขึ้นหลังรับการรักษาอย่างเต็มที่ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 6 - 9 เดือน หรือ สาเหตุการปวดเกิดจากเส้นประสาทบริเวณฝ่าเท้าถูกกดทับ 



http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-07-2008&group=5&gblog=33

****************************

หญ้าฝรั่น(Saffron)


Saffron หรือ หญ้าฝรั่น (อ่านว่าฝะ - หรั่น)คือเครื่องเทศสมุนไพรจากต่างประเทศที่มีราคาแพงมากที่สุดในโลก เป็นพืชสมุนไพรที่มีการใช้มาตั้งแต่สมัยกรีกและโรมันโบราณ โดยแหล่งผลิตหญ้าฝรั่นที่มีคุณภาพสูง คือ ประเทศอิหร่าน

หญ้าฝรั่น (saffron) ในภาษาอาหรับเรียก ซะฟะรัน เป็นไม้ดอกสีม่วง เพาะพันธุ์ด้วยหัว เป็นเครื่องเทศยอดนิยมสุดๆ ของคนอินเดีย นำมาปรุงแต่งกลิ่นและสีของอาหารอินเดีย เพราะมีกลิ่นหอมและสีเหลืองสวยอาหารแทบทุกชนิดของอินเดียมักปรุงด้วยหญ้าฝรั่น ตั้งแต่ข้าวสวย ซาโมซ่า ซุปดาล กะบับ  ข้าวบุหรี่ฯลฯ

ส่วนตำราการแพทย์แผนโบราณของไทยนั้น หญ้าฝรั่นถือได้ว่าเป็นของที่สูงค่ามีราคาแพงมาก จัดเป็นตัวยาที่ช่วยในการแก้ลมวิงเวียน บำรุงหัวใจ เป็นตัวยาหลักที่ใช้ในตำรับยาหอมต่างๆ และยังใช้บดเป็นผงให้ละเอียดแล้วละลายในน้ำต้มสุกที่ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วกิน เป็นน้ำกระสายยาคู่กับการกินยาตำรับต่างๆอีกด้วย
หญ้าฝรั่น เป็นพืชล้มลุกมีหัว ตะกูลหญ้า  รสหอมสุขุม บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ แก้สวิงสวาย แก้ไข้ แก้ตับโต แก้ซาง บำรุงโลหิตระดู แก้เส้นกระตุก 
ช่วยป้องกันดวงตาจากแสงแดด และช่วยขัดขวางไม่ให้เป็นโรคจอตาเสื่อมมีสารสีขึ้นหรือโรคจอประสาทตาเสื่อมได้  และช่วยป้องกันโรคตาบอดกลางคืนได้



ปัจจุบันนี้มีการปลูกหญ้าฝรั่นกันมากในสเปน ฝรั่งเศส ซิซิลี อิตาลี อิหร่าน และแคชเมียร์ จะมีการเก็บเกสรตัวเมียดอกละสามอัน นำไปวางแผ่ไว้ในถาด ย่างไฟที่ใช้ถ่านหินเป็น เชื้อเพลิง นำมาแต่งรสชาติและกลิ่นของอาหาร หญ้าฝรั่นแห้งที่ได้ 1 กิโลกรัม เท่ากับผลผลิต 120,000 - 160,000ดอก ดังนั้นจึงต้องเก็บเกสรตัวเมียจากดอกของหญ้าฝรั่นด้วยมือจำนวนมากถึงจะได้ ปริมาณตามที่ต้องการ ทำให้หญ้าฝรั่นจัดเป็นเครื่องเทศที่มีราคาแพงที่สุดในโลกโดยน้ำหนักในบรรดา เครื่องเทศทั้งหลาย ซึ่งโดยเฉลี่ยประมาณกิโลกรัมละ 77,700 บาท หากขายปลีกราคาประมาณกรัมละ 100-170 บาท ทำให้ในปัจจุบันมีการเอาดอกคำฝอย ซึ่งมีลักษณะที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกันมากกับหญ้าฝรั่นแต่มีราคาที่ถูกกว่ามาก มาผสมปนอยู่ด้วย
ภาพเปรียบเทียบดอกคำฝอยกับหญ้าฝรั่น

*************************************