วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2557

สรุปประวัติการแพทย์แผนไทย


ประวัติการแพทย์แผนโบราณ
เริ่มมีการบันทึกตั้งแต่สมัยพุทธกาล มีชายผู้หนึ่งสนใจวิชาแพทย์ ชื่อ ชีวกโกมารภัจจ์ จึงได้ไปศึกษาวิชาแพทย์ที่สำนักทิศาปาโมกข์ในเมืองตักศิลาจนจบได้อย่างรวดเร็วและสามารถผู้ป่วยครั้งเดียวหาย ครั้งหนึ่งพระเจ้าพิมพิสาร ทรงพระประชวรเป็นโรคพระคันทละ(ริดสีดวง) ทรงโปรดให้หมอชีวกมารภัจจ์ถวายการรักษา ซึ่งรักษาครั้งเดียวหาย พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงโปรดให้เป็นแพทย์หลวง
ประวัติการแพทย์แผนไทย
ประมาณปี พ.ศ. ๑๗๒๕ ๑๗๒๙ - สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงสร้างสถานพยาบาล เรียกว่า อโรคยาศาลา มีผู้ทำหน้าที่ในสถานพยาบาลรวม 92 คน มีพิธีกรรมบวงสรวง พระไภสัชยคุรุไวทูรย์ ด้วยยาและอาหารก่อนแจกจ่ายให้ผู้ป่วย
-ในสมัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงสร้างสวนสมุนไพรบนเขาหลวงหรือ เขาสรรพยา เพื่อให้ประชาชนได้เก็บสมุนไพรไปใช้รักษาโรคยามเจ็บป่วย
-สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีการรวบรวมตำรับยาต่างๆขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกว่า ตำราพระโอสถพระนารายณ์
สมัยต้นรัตนโกสินทร์
สมัยรัชกาลที่ ๑  ทรงให้รวบรวมและจารึกตำรายาและฤาษีดัดตน ตำราการนวดไทยไว้ตาม ศาลาราย มีการจัดตั้งกรมหมอ หมอหลวง หมอราษฎร หรือหมอเชลยศักดิ์
สมัยรัชกาลที่ ๒ ในปี พ.ศ. ๒๓๕๙ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎหมายชื่อว่า ?กฎหมายพนักงานพระโอสถถวาย?
สมัยรัชกาลที่ ๓  ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดตั้ง โรงเรียนวิทยาลัยการแพทย์แผนโบราณวัดโพธิ์ มีการบันทึกตำรับยาต่างๆ บนหินอ่อนประดับไว้ตามผนังโบสถ์ ศาลา บนผนังเสาและกำแพงวิหารคด ทรงให้ปั้นรูปฤๅษีดัดตนในท่าต่างๆ
สมัยรัชกาลที่ ๔  นำการแพทย์แผนตะวันตกมาใช้
สมัยรัชกาลที่ ๕ ปี พ.ศ. ๒๔๓๑ จัดตั้งศิริราชพยาบาล พระยาพิษณะประสาทเวชได้จัดทำตำราชื่อแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม ๑ ๔ 
                   - ปี พ.ศ. ๒๔๓๑ จัดตั้งศิริราชพยาบาล มีการเรียนการสอน การรักษา ทั้งการแพทย์แผนไทยและแผนตะวันตกร่วมกัน
                   - มีการพิมพ์ตำราแพทย์สำหรับใช้ในโรงเรียนแพทย์ เป็นครั้งแรก ในปี?พ.ศ. ๒๔๓๘ ชื่อตำรา แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม ๑ – ๔ เป็นตำราแห่งชาติฉบับแรก
                   - ต่อมาพระยาพิษณุประสาทเวช เห็นว่าตำรานี้ยากแก่ผู้ศึกษา จึงพิมพ์ตำราขึ้นใหม่ ได้แก่ ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับหลวง ๒ เล่ม และตำราแพทย์ศาสตร์สังเขป(เวชศึกษา) ๓ เล่ม
สมัยรัชกาลที่ ๖  สั่งยกเลิกวิชาการแพทย์แผนไทย ประกาศให้ใช้พระราชบัญญัติการแพทย์ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ
สมัยรัชกาลที่ ๗  ตรากฎหมายเสนาบดี การประกอบโรคศิลปะแบ่งออกเป็นแผนปัจจุบันและแผนโบราณ
สมัยรัชกาลที่ ๘  มีการตั้งกระทรวงสาธารณสุข ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๕
สมัยรัชกาลที่   ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ จัดตั้งสมาคมของโรงเรียนแพทย์แผนโบราณที่วัดโพธิ์ ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ก่อตั้งโรงเรียนอายุรเวทวิทยาลัย



****การสรุปเป็นการย่อคัมภีร์ซึ่งมีเนื้อหาจำนวนมาก ให้กระชับใจความ เพื่อง่ายต่อการจดจำและนำไปสอบฉะนั้น ควรอ่านเนื้อหาทั้งหมดในหนังสือก่อน จะทำให้ง่ายต่อการเข้าใจและจดจำ****

หมายเหตุ ในการอ่านสรุป ควรอ่านเนื้อหาในหนังสือทั้งหมดก่อนอย่างน้อย ๑ รอบ แล้วมาอ่านสรุปจะทำให้เข้าใจ ภาพรวมทั้งหมดยิ่งขึ้น
ตัวอย่างข้อสอบประวัติการแพทย์แผนไทย
1.  ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล โดยการสร้างสถานพยาบาล เรียกว่า อโรคยาศาลา และมีผู้ทำ หน้าที่รักษาพยาบาล ได้แก่ หมอ พยาบาล เภสัชกร รวมกี่คน
                1.  90                                       2.  91                                       3.  92                                       4.  93
2.  ผู้ที่ได้ทรงตรากฎหมายเสนาบดี แบ่งการประกอบโรคศิลปะออกเป็นแบบปัจจุบัน และโบราณคือ
                1.  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว          2.  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
                3.  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว        4. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
3.  ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับเหตุการณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ยกเว้น...
1.   มีการจัดตั้งกรมหมอโดยเรียกหมอที่รับราชการว่าหมอหลวง
2.   มีการจัดตั้งวิทยาลัยแพทย์แผนโบราณวัดโพธิ์
3.   นำตำรับยาต่างๆ ที่มีสรรพคุณดีและเชื่อถือได้มาบันทึกไว้บนหินอ่อน ณวัดโพธิ์
4.   ทรงให้ปั้นรูปฤาษีดัดตนในท่าทางต่างๆ เพื่อเป็นนิทรรศการแก่ผู้ประสงค์จะฝึกตนเป็นแพทย์
4.  พระยาพิษณุประสาทเวช เห็นว่าตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 1-4 ยากแก่ผู้ศึกษา  จึงได้พิมพ์ตำราขึ้นใหม่ได้แก่ตำราใดบ้างต่อไปนี้...
1.   ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง 1 เล่ม และตำราแพทย์ศาสตร์สังเขป 3 เล่ม
2.   ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง 2 เล่ม และตำราแพทย์ศาสตร์สังเขป 2 เล่ม
3.   ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง 2 เล่ม และตำราแพทย์ศาสตร์สังเขป 3 เล่ม
4.   ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง 3 เล่ม และตำราแพทย์ศาสตร์สังเขป 1 เล่ม
5.   ข้อใดกล่าวผิด ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมี  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (ยกเว้น)
1.   มีการจัดตั้งศิริราชพยาบาล
2.   มีการจัดพิมพ์ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
3.   มีการสั่งยกเลิกวิชาการแพทย์แผนไทย
4.   มีการตรากฎหมายเสนาบดีเกิดขึ้น
6.  ข้อใดผิดเกี่ยวกับกฎหมายเสนาบดี   ยกเว้น.....
1.  ให้เรียกหมอที่รับราชการว่าหมอหลวง  เรียกหมอที่ไม่ได้รับราชการว่าหมอราษฎร
2.  ตราขึ้นเพื่อควบคุมการประกอบโรคศิลปะในสาขาต่างๆ
3.  เป็นกฎหมายที่แบ่งการประกอบโรคศิลปะออกเป็นแผนปัจจุบันและแผนโบราณ

4  เป็นกฎหมายที่สั่งให้ยกเลิกวิชาการแพทย์แผนไทยในปีพ.ศ.2546
7.   บรมครูชีวกโกมารภัจจ์จึงมีความสนใจในวิชาแพทย์เพราะ
1.  เพราะเป็นศาสตร์ระดับสูงสุดในประเทศอินเดีย             
2.   เพราะเป็นวิชาที่ประกอบอาชีพไม่เบียดเบียนผู้ใด
3.   เพราะมีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับสมุนไพรอยู่ก่อนแล้ว
4.   เพราะเห็นผู้ที่ทุกข์ทรมานจากการเป็นโรคต่างๆ มามาก
8.  ข้อใดกล่าวถูก   เหตุการณ์สำคัญในที่เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่คือ
1. ทรงสร้างสถานพยาบาลที่เรียกว่าอโรคยศาลา              
2.   มีพิธีกรรมบวงสรวงพระไภสัชยคุรุไวทูรย์ด้วยน้ำและยาก่อนแจกจ่ายให้ผู้ป่วย
3.   การแพทย์แผนไทยรุ่งเรืองมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเภสัชกรรมไทย
4.   มีการรวบรวมตำรับยาต่างๆ ขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การแพทย์แผนไทย
9.  ข้อใด  ถูก  เกี่ยวกับเหตุการณ์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ยกเว้น.....
1.   มีการค้นพบหินบดยาสมัยทวาราวดีและหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช           
2.   มีระบบการจัดหายาที่ชัดเจนสำหรับประชาชน
3.   มีการรวบรวมตำรับยาต่างๆ ขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การแพทย์แผนไทย
4.   การแพทย์แผนไทยรุ่งเรืองมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการนวดไทย
10.  ในรัชสมัยรัชการใดที่มีการจารึกตำรายาและภาพ  ฤาษีดัดตน  และตำราการนวดไทยไว้ตามศาลาราย
ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
1.   พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช    
2.  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
3.   พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
4.   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
11.    เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
                1.   โปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎหมายชื่อว่ากฎหมายพนักงานพระโอสถถวาย        
                2.   มีการจัดตั้งกรมหมอ  และเรียกหมอที่รับราชการว่าหมอหลวง
                3.   มีการจัดตั้งวิทยาลัยแพทย์แผนโบราณวัดโพธิ์
                4.   ได้นำการแพทย์แผนตะวันตกมาใช้มากขึ้น

ทาระปานะ Tarpana


เทคนิคบำบัด ทาระปานะ Tarpana


https://www.facebook.com/photo.php?v=836956652999513&set=p.836956652999513&type=2&theater

วันอังคารที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2557

สุขภาพแจ๋ว ตอนที่ 237 "นวดไทยแผนโบราณ" วันที่ 18 มีนาคม 2557

บริโภคอาหารตามคัมภีร์

การบริโภคอาหารไทยตามพระคัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
ตำราแพทย์ศาสตร์สงคราะห์ซึ่งเป็นหลักสำคัญในการศึกษาการแพทย์แผนไทย มีการกล่าวถึงการบริโภคอาหารไว้ในคัมภีร์วรโยคสาร ดังนี้
1. เทหะลักษณะ คือ การบริโภคอาหารตามลักษณะร่างกายของมนุษย์ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น คนอ้วน คนผอม และคนปานกลาง คนปานกลางจะมีสุขภาพแข็งแรงกว่าคนผอมและคนอ้วน คนแต่ละลักษณะสามารถเลือกบริโภคเพื่อช่วยเปลี่ยนแปลงลักษณะของตนได้ เช่น
คนอ้วนที่ต้องการผอมให้เลือกรับประทานยาขนานใดขนานหนึ่งใน 4 ขนาน ซึ่งเป็นยาสำหรับลดความอ้วน และช่วยทำให้ร่างการแข็งแรงและมีกำลัง ได้แก่
ขนานที่ 1 ตรีผลา ประกอบด้วย สมอไทย สมอพิเภก และมะขามป้อม นำมาตำเป็นผง ละลายน้ำผึ้งรับประทาน
ขนานที่ 2 สมอ แห้วหมู บอระเพ็ด ตำเป็นผงละลายน้ำผึ้งรับประทาน หรือใช้กวาดคอก็ได้
ขนานที่ 3 ตรีผลา พิลังกาสา ขิงสด เกลือยะวะกาสา มะขามป้อม นำมาตำเป็นผง ละลายน้ำผึ้ง รับประทาน
ขนานที่ 4 ตรีผลา ประดู่ เจตมูลเพลิง แก่นขี้เหล็ก ขมิ้นชัน นำมาต้มแทรกน้ำผึ้งรับประทาน
คนผอมที่อยากอ้วน ให้รับประทานอาหารคือ
ขนานที่ 1 ให้นำเนื้อสัตว์ต่าง ๆ หลายชนิดมาผสม และต้มรับประทาน
ขนานที่ 2 ใช้ข้าวสารสาลีที่ใช้ต้มให้พระมหากษัตริย์เสวยมาหุงให้รับประทาน จะบำรุงเนื้อหนังให้บริบูรณ์ อวัยวะจะเจริญงอกงาม
2.อันนะปานาวิธีติกิจฉา  อาหารเป็นสิ่งที่เลี้ยงชีวิตของสัตว์โลก อาหารที่สำคัญได้แก่ ข้าวและน้ำ จะมีสรรพคุณที่แตกต่างกันไป เช่น
ข้าวภูเขา มีรสหวานสนิท ให้ระงับลม
ข้าวปลูกในนา มีรสหวาน ให้ระงับลม และปิตตะ
ข้าวใหม่บางชนิด เช่น ข้าวกับแก้ ข้าวเดือย ข้างฟ่างเล็ก สามารถใช้บำรุงตา ระงับปิตตะและเสมหะ
ข้าวยะวะสาลี ระงับปิตตะและเสมหะ
ข้าวโคธุมะสาลี มีรสเย็นหวาน ระงับลม
ถั่วเขียว ระงับปิตตะ
ถั่วดำวานร ระงับปิตตะ ระงับเสมหะ แก้หอบ แก้ไอ แก้สะอึก
งา มีรสหวานขม ทำให้เกิดกำลัง
เมล็ดขนุน รสหวานฝาด บำรุงปัญญา ระงับปิตตะ
เมล็ดมะขาม ช่วยต่อกระดูกที่หักให้ติดกัน
เนื้อปลาช่อน บำรุงธาตุ
ตามหลักแพทย์แผนไทย พฤติกรรมหรือ อิริยาบถที่ซ้ำซากจำเจ ก็จัดเป็นเหตุของการเจ็บป่วย ซึ่งรวมเรียกว่า มูลเหตุของโรค 8 ประการได้แก่
ก.การบริโภคอาหารมากหรือน้อยเกินไป บริโภคอาหารบูดเสีย บริโภคอาหารที่ควรทำให้สุก
ข.อิริยาบถนั่ง ยืน เดิน นอน ถ้าฝืนทำมากเกินไปก็เกิดเจ็บป่วยได้
ค.อากาศร้อนเย็น อยู่กลางแดดร้อนนาน ๆ ก็ทำให้ป่วยได้
ง.การอดข้าว อดน้ำ อดนอน ฝืนนาน ๆ ก็เจ็บป่วยได้
จ.การกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระ ถ้ากลั้นไม่ถ่ายก็จะทำให้เกิดโรค
ฉ.การทำงานเกินกำลัง
ช.ความโศกเศร้าและเสียใจมากเกินไปจนกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ก็ทำให้ป่วยได้

ซ.โทสะมาก โกรธง่ายจนไม่สามารถระงับสติอารมณ์ได้ ทำให้เครียดและละเลยการดูแลสุขภาพของตนเอง หรือบางครั้งอาจถึงกับทำร้ายตนเอง

บริโภคอาหารไทยตามรสยา 9 รส

บริโภคอาหารไทยตามรสยา 9 รส
ในการใช้ยาและสมุนไพรเพื่อรักษาโรค แพทย์แผนไทยจะจัดยาตามรสของยาซึ่งมี 9 รส แต่ละรสมีสรรพคุณเฉพาะตัว ผักพื้นบ้านหรือสมุนไพรไทยต่าง ๆ อาศัยความรู้จากรสยาทั้ง 9 นี้สำหรับแยกแยะสรรพคุณ รสยาทั้ง 9 รสได้แก่

1.1 รสฝาด มีสรรพคุณในการสมานและปิดธาตุ รับประทานมากจะฝืดคอ ทำให้ท้องผูก ผักพื้นบ้านในรสนี้ได้แก่ ยอดมะม่วงหิมพานต์ กระโดน กล้วยดิบ มะตูมอ่อน เป็นต้น
1.2 รสหวาน มีสรรพคุณทำให้ชุ่มชื่น บำรุงกำลัง รับประทานมากทำให้ง่วง เกียจคร้าน ลมกำเริบ ตัวอย่างได้แก่ กระหล่ำปลี ผักกาด ผักหวานป่า มะเขือเครือ บวบ แค เห็ด และย่านาง เป็นต้น
1.3 รสขม สรรพคุณแก้พิษดี และโลหิต ดีพิการ รับประทานมากทำให้กำลังตก อ่อนเพลีย เช่น สะเดา มะระขี้นก ใบยอ ผักโขม ขี้เหล็ก เป็นต้น
1.4 รสเผ็ดร้อน สรรพคุณแก้ลม จุกเสียด แน่นท้อง ปวดท้อง รับประทานมากทำให้อ่อนเพลีย เช่น พริก กระเทียม พริกไทย ดีปลี ขิง ข่า โหระพา และสะระแหน่ เป็นต้น
1.5 รสมัน สรรพคุณแก้เส้นเอ็นกระตุก ขัดยอด ปวดเสียว เช่น ถัวพู ฟักทอง กลอย กระถิน สะตอ และเนียง เป็นต้น 
1.6 รสเปรี้ยว สรรพคุณแก้เสมหะ กัดเสลด ฟอกโลหิต รับประทานมากทำให้ท้องอืด แสลงแผล เช่น ส้ม สมอ มะมาว มะกรูด และมะเฟือง เป็นต้น
1.7  รสเค็ม สรรพคุณซึมซาบตามผิวหนัง แก้ประดง ชา และคัน รับประทานมากจะกระหายน้ำ ได้แก่ เกลือต่าง ๆ
1.8 รสหอมเย็น สรรพคุณทำให้ชื่นใจ ได้แก่ ดอกกุหลาบ ดอกโสน ดอกดาวเรือง
1.9 รสเบื่อเมา สรรพคุณแก้พิษ ไม่เป็นที่นิยมนำมาประกอบอาหารตามปกติ แต่อาจจะมีผู้นำมาใส่เพื่อวัตถุประสงค์อื่นได้แก่ กัญชา ใบกระท่อม

การบริโภคอาหารไทยตามฤดูกาล

การบริโภคอาหารไทยตามฤดูกาล
ในทางแพทย์แผนไทยกำหนดไว้ว่าร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 หากธาตุใดธาตุหนึ่งทำหน้าที่มากเกินไป หรือน้อยเกินไป จะทำให้เสียสมดุลและเกิดการเจ็บป่วยขึ้น สาเหตุที่ทำให้ธาตุทำหน้าที่ผิดปกติเป็นเพราะ ไม่สามารถปรับตัวตามสภาพภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ซึ่งแต่ละครั้งจะมีผลโดยตรงกับธาตุที่เป็นองค์ประกอบในร่างกาย เช่น
ฤดูร้อน (เดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม) ความร้อนของฤดูจะมาทำให้ธาตุไฟกำเริบ และส่งผลให้ไปกระทบธาตุดินและธาตุน้ำ เป็นเหตุให้มีอาการตัวร้อน ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย กระหายน้ำ ควรใช้ยาหรือรับประทานอาหารที่มีรสขม เปรี้ยว และจืดเพื่อรักษาสุขภาพ
ผักพื้นบ้านและผลไม้ที่ควรรับประทานได้แก่ มะระขี้นก ฮ้วนหมู ผักเฮือด ส้มป่อย ผักกูด ผักปลัง ตำลึง ชะอม มะขาม ผักหวาน เป็นต้น ผลไม้ได้แก่ แตงโม ส้ม สัปปะรด เป็นต้น รวมทั้งน้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวและรสเย็น จะช่วยคลายร้อนได้
ผักพื้นบ้านและผลไม้ที่ไม่ควรรับประทานในฤดูร้อน ได้แก่ ผักรสร้อน รสเผ็ดร้อน และรสมัน เพราะจะทำให้ธาตุไฟกำเริบมากยิ่งขึ้น เป็นผลเสียกับสุขภาพ เช่น ลำไย ขนุน ทุเรียน เป็นต้น
ฤดูฝน (เดือนมิถุนายน-กันยายน) เมื่อฝนตกลงมาทำให้อากาศเย็น ส่งผลให้ธาตุลมในร่างกายผิดปกติทำให้เกิดอาการครั่นเนื้อครั่นตัว เป็นหวัด ท้องอืดเฟ้อ และเป็นไข้หวัดได้
ผักพื้นบ้านที่ควรรับประทานควรมีรสเผ็ดร้อนและรสสุขุม ได้แก่ ยอดพริก โหระพา แมงลัก หูเสือ ผักไผ่ พลูคาว ขิง ข่า กระทือ ผักคราด กระเจียว ผักแพว เป็นต้น
ฤดูหนาว (เดือนตุลาคม-มกราคม) ความหนาวเย็นทำให้เกิดผลกระทบกับธาตุน้ำในร่างกาย ทำให้เกิดอาการมึนศีรษะ น้ำมูกไหล ผิวหนังแห้ง ขยับร่างกายไม่สะดวก ท้องอืด
ผักพื้นบ้านที่ควรรับประทานควรมีรสขม เผ็ดร้อนและเปรี้ยว ผักส่วนใหญ่จะมีให้รับประทานคล้ายกับฤดูฝน เช่น ข่าอ่อน กระชาย พริกไทย ยอดพริก ขมิ้นผักไผ่ ผักแพว

ปกติที่กล่าวเป็นตัวอย่างจะมีมากและแตกยอดในฤดูกาลที่กล่าวมาแล้ว จึงเป็นการสะดวกที่จะหามารับประทานได้ง่าย และผักที่เก็บมาสามารถรับประทานได้ทันที เพื่อจะได้มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าผักที่มาค้างไว้

วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2557

อายุรเวท และติกิจฉา คืออะไร?

อายุรเวท มาจากภาษาสันสกฤต คือ อายุส หมายถึง ชีวิต การมีชีวิตหรือช่วงเวลาแห่งการมีชีวิต เวท หมายถึง ศาสตร์แห่งชีวิตที่สืบต่อดังกระแสธารแห่งความรู้  รวมกันจึงเป็น ศาสตร์ของการมีชีวิตที่ยืนยาว
     
       อายุเวท เป็นอิทธิพลที่มาจากศาสนาฮินดู ซึ่งเชื่อว่าร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยธาตุ 5 หรือที่เรียกว่า ปัญจมหาภูตะ ได้แก่ ลม ไฟ น้ำ  ดิน อากาศ 




     
       การเกิดขึ้นของธาตุทั้ง 5 ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู อธิบายว่า       “เอกภาพนั้นประกอบด้วยจิตสำนึกที่ไร้รูป เป็นจุดรวมของจิตสำนึกทั้งมวล จากนั้นคลื่นความสั่นที่ละเอียดมากของเสียงที่ใช้โอมหรืออาค (Aum,Ak) ปรากฏขึ้น จากการสั่นสะเทือนอันนั้นมีความว่างเปล่าเกิดขึ้น คือ อากาศ เป็นสิ่งพื้นฐานลำดับแรก จากนั้นความว่างก็เริ่มเคลื่อนไหวอย่างละเอียดและเพิ่มมากขึ้น เกิดภาวะของลม เป็นพื้นฐานเพิ่มขึ้นอีกลำดับหนึ่ง นั่นก็คือความว่างหรืออากาศ ในขณะที่มีการกระทำจากการเคลื่อนไหวของอากาศ เกิดมีการเสียดสีกันขึ้นทำให้เกิดความร้อน ความร้อนที่เกิดขึ้นแสดงออกมาเป็นไฟ เป็นสิ่งพื้นฐานขึ้นมาอีก จากความร้อนของไฟฟ้าทำให้ส่วนประกอบบางอย่างในอากาศได้ถูกทำลาย และกลายเป็นของเหลวปรากฏเป็นน้ำ เป็นสิ่งพื้นฐานขึ้นมาอีก เมื่อน้ำเกิดมีการเปลี่ยนแปลงคือแข็งตัวขึ้น เกิดเป็นอณูของดิน เป็นสิ่งพื้นฐานขึ้นมาอีก จากพื้นฐานดินและสิ่งมีชีวิตทั้งหลายก็บังเกิดขึ้นเป็นอาณาจักรพืช สัตว์ และมนุษย์ ดินยังมีสิ่งที่ไร้ชีวิตต่างๆ เช่น แร่ธาตุประกอบอยู่มากมาย ฉะนั้นครรภ์ของสิ่งพื้นฐานทั้ง 5 จึงมีอยู่ในสรรพสิ่งในเอกภาพนี้ และเป็นปฐมกำเนิดจากจิตสำนึกแห่งเอกภาพ ฉะนั้นวัตถุและพลังงานเป็นสิ่งเดียวกันนั่นเอง

ติกิจฉา มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลี หมายถึงการเยียวยา การรักษา การบำบัดโรคและเวชกรรม
ในพุทธศาสนา เชื่อว่าร่างกายประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ดังในพระไตรปิฎกทีฆนิกาย มหาวรรค สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า
     
       “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุย่อมพิจารณาการตั้งอยู่ตามที่ตั้งอยู่ตามปกตินี่แล โดยความเป็นธาตุว่า อยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม”                          
       เมื่อธาตุทั้ง 4 มาประชุมกันอย่างถูกสัดส่วนก็เกิดพันธุ์มนุษย์ สัตว์ และต้นไม้ขึ้นมา ธาตุดังกล่าวนั้นมีการเกิดขึ้น การเปลี่ยนแปรและการเสื่อมสลายในที่สุด

ในตำราการแพทย์แผนไทยดั้งเดิมนั้น ไม่มีคำว่าอายุรเวทปรากฏอยู่เลย และกล่าวถึงธาตุว่ามีเพียง 4 ธาตุเท่านั้น ซึ่งตำราแพทย์แผนไทยนำปรัชญาและแนวคิดมาจากพระไตรปิฎกในพุทธศาสนา และพระคัมภีร์วรโยคสารมีกล่าวถึงคำว่า ติกิจฉา เช่น
     
       “...กล่าวมาด้วยสรรพคุณติกิจฉาวิธีหรือ “...ลำดับนี้จะกล่าวด้วยอันนะปานะวิธีติกิจฉา...เป็นต้น
     
       กล่าวได้ว่าพระคัมภีร์วรโยคสาร เป็นบทไขปริศนาปรัชญาการแพทย์แผนไทย ว่ามาจากความเชื่อในพุทธศาสนา และเป็นแนวคิดแบบติกิจฉา ซึ่งมีรายละเอียดจากเรื่องเภสัชชขันธกะ และเรื่องพรรณนาวังติสาการ
ที่มา :ประทีป   ชุมพล

สาเหตุของการเกิดโรค

พุทธศาสตร์กับการแพทย์....ใครไม่อยากป่วยลองอ่าน


ตัวความโลภจะทำให้เกิดธาตุลม(วาตะ)แปรปรวน หรือเสียสมดุลไป

ซึ่งจะไปรบกวนคุณภาพของการนอนพักผ่อน ทำให้ไม่เจริญอาหาร อ่อนไหวหรือหงุดหงิดง่ายอารมณ์แปรปรวน

สิ่งสำคัญ คือ ควรจะให้คนกลุ่มนี้ได้ทานอาหารที่ร้อน ๆ มีประโยชน์ และได้รับการเอาใจใส่หรือนวดด้วยน้ำมันงา จะทำให้กล้ามเนื้อต่าง ๆ ผ่อนคลายระบบประสาทผ่อนคลายลง

***ความโลภ หมายถึงความติดใจ พอใจ ชอบใจในสิ่งใดก็ตาม ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ความติดใจ อยากได้ อยากมีอย่างรุนแรงเป็นสาเหตุร้ายแรงมากที่ทำให้มนุษย์เราต้องตกอยู่กับการ เวียนว่ายตายเกิด ***


--------------------------------------------------------------------------------------------------------


ตัวความโกรธจะทำให้เกิดธาตุไฟ(ปิตะ)แปรปรวน

ทำให้ธาตุไฟอุณหภูมิในตัวจะสูงขึ้นทันที  จะเผาไหม้ทุกสิ่งทุกอย่าง อันดับแรก คือ เผาไหม้คนที่โกรธก่อนนั้นเอง จะทำให้เลือดในตัวพุ่งพ่านไปหมด

ธาตุไฟมีความสัมพันธ์กับเลือด ตับ ถุงน้ำดี ตา และลำไส้เล็ก

นอกจาก นี้คนที่ชอบดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มาก ๆ หรือกินอาการรสเผ็ดร้อน ของทอด ของมันเป็นประจำ หรือมีกิจกรรมทางกายมากเกินไป สามารถทำให้ ปิต ตะเสียสมดุลได้
           บางครั้งจะทำให้ รู้สึกขมในปาก มีอาการปวดศีรษะ อุณหภูมิของร่างกายจะสูงขึ้น ปวดตามตัวช่วงบนตลอดเวลา รับประทานอาหารเข้าไปใหม่ ๆ จะรู้สึกปวดท้องขึ้นมาทันที รู้สึกอยากทานของเย็น ๆ อยู่ตลอดเวลา ควรให้คนกลุ่มนี้อยู่ในร่ม ไม้ หรือใกล้ ๆ แม่น้ำ อาหารที่เหมาะควร คือ อาหารที่มีรสขม เช่น มะระขี้นก ผักต้ม หลีกเลี่ยงการทานเนื้อสัตว์ 1-2 เดือน ไม่ควรให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ออกกำลังหรือไม่ควรใช้การนวด






-------------------------------------------------------------------------------------------------


ผู้ที่มีความหลงหรือโมหะ ทำให้ธาตุน้ำแปรปรวนโมหะ หรือความหลงมัวเมา


ผู้ป่วยกลุ่มนี้เกิดจากทานอาหารที่มีรสหวานมากเกินไป หรืออาหารที่ไม่ได้ปรุงให้สุก ประเภทผักสด ผักสลัด รับประทานอาหารที่เย็น ๆ เป็นเวลา นานการบริโภคอาหารที่เย็น ๆ จะทำให้ความร้อนในการย่อยอาหารอ่อนกำลังลงเรื่อย ๆ จากนั้นจะพัฒนาไปเป็นความเจ็บป่วย

หมายถึงตัวความหลงและจิตใจที่คับแคบ คนที่มีธาตุดินและธาตุน้ำมาก จะคิด ถึง ความสบายชั่วครั้งคราว ไม่คิดถึงเรื่องอื่น ไม่มองออกไปนอกตัว ทำให้รู้สึกขี้เกียจไม่ค่อยทำอะไร ถ้าเป็นบ่อยๆจะรู้สึกถึงความหนักในร่างกาย ถ้าธาตุดินและธาตุน้ำถูกกระทบเราจะมีร่างกายใหญ่ขึ้น มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจะเป็นโรคอ้วน ซึ่งรสหวานเกี่ยวพันกับธาตุดินและธาตุน้ำ ถ้ากินรสหวานมากจะเป็นโรคอ้วนและโรคเบาหวาน ดังนั้นเพื่อช่วยให้เราข้ามความหลงหรือข้ามความคับแคบของจิตใจเรา ให้เรากระตือรือร้นใฝ่หาความรู้มากขึ้น ต้องมีความกระฉับกระเฉงลุกขึ้นมาทำอะไรมากขึ้น

เชื่อว่าการที่เราเก็บอาหารพืชผักผลไม้ที่ประกอบ ด้วยธาตุน้ำและดินมาทานสด ๆ ไม่ใช่สิ่งที่ดี รวมถึงการรับประทานอาหารที่มีไขมันมากเป็นเวลานาน ๆ ในเวลาเย็นเมื่อไม่มีแสงแดดเป็นเวลาที่ร่างกายควรจะได้รับความอบอุ่นควรจะ หลีกเลี่ยงอาหารที่เย็นหรืออาหารที่ไม่ได้ปรุงให้สุก เช่น ผักสด ผักสลัด คนที่ต้องการปรับธาตุน้ำให้สมดุล ตื่นเช้าควรดื่มน้ำต้มสุกหรือน้ำอุ่น ๆ หนึ่งแก้ว เพราะมีคุณสมบัติกระตุ้นความร้อนในร่างกายและช่วยย่อยอาหาร ผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องท้องอืดหรือปวดหลังส่วนล่าง หอบหืด เป็นหวัด ไอควรดื่มน้ำอุ่นส่วนใหญ่ จะตั้งอยู่ที่หน้าอก ลำคอ ปอด ศีรษะ สารอาหาร เนื้อ เนื้อเยื่อ ไขมัน ไขกระดูก ของเหลวสืบพันธุ์ อุจจาระ ปัสสาวะ จมูก ลิ้น และที่สำคัญคือกระเพาะอาหารส่วนบน





---------------------------------------------------------------------------------------------------


ลักษณะทางกายภาพที่สัมพันธ์กับธาตุ

1.อวัยวะตั้งแต่คอถึงศีรษะด้านบน - ธาตุดินและธาตุน้ำมีอิทธิพล ตามธรรม ชาติถ้าธาตุดินกับธาตุน้ำถูกกระทบ ด้วยความหนักจะไหลจากข้างบนลงข้างล่าง จะวิ่งไปที่ตัวกระเพาะอาหาร ถุงน้ำดี ม้าม อวัยวะเพศจะถูกทำลาย ทำให้เมื่อยล้า หนักอึ้ง ไม่มีแรงเคลื่อนกาย

2.อวัยวะตั้งแต่คอถึงท้อง - ธาตุไฟมีอิทธิพล ถ้าธาตุไฟถูกกระทบจะวิ่งขึ้นสู่ที่สูง เกิดอาการปวดหัว ปวดเมื่อยคอ ปวดหลัง ทำให้ถุงน้ำดีและตับมีปัญหา เกิดคอเรสตอรอลสูง

3.อวัยวะจากท้องถึงปลายเท้า - ธาตุลมมีอิทธิพล ถ้าธาตุลมถูกกระทบอวัยวะในช่องท้อง ระบบการขับถ่าย การมีประจำเดือน การหลั่งสารอสุจิ จะถูกกระทบทั้งหมด


-----------------------------------------------------------------------------------------------

การจำแนกประเภทของโรค

1.โรค เกิดจากอำนาจที่รุนแรงของกรรมในอดีตชาติ ชาวพุทธมีความเชื่อเรื่องการเกิดใหม่ คือเชื่อว่ามีอดีตชาติ โรคประเภทนี้จะมีสาเหตุมาจากอกุศลกรรมที่กระทำมาในอดีตชาติ เมื่อกรรมนั้นส่งผลและทำให้โรคแสดงอาการออกมาในชาตินี้ โรคจะรุนแรงมากและอาจถึงตายได้

2.โรคปัจจุบันกรรม ซึ่งมีสาเหตุมาตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ของชีวิต และมาแสดงอาการภายหลังในช่วงชีวิตตามปกติ แล้วจะทำให้ถึงตายได้หากไม่ได้รับการรักษา ยิ่งไปกว่านั้นสำหรับคนไข้บางรายการ ใช้ยาที่เป็นวัตถุเพียงอย่างเดียวอาจยังไม่เพียงพอคนไข้ จะต้องมีการฝึกฝนทางจิตวิญญาณด้วย เช่นการเปิดเผยความผิดในอดีต (การสารภาพบาป) การบรรเทาความรุนแรงของโรคโดยการทำความดี และการตั้งจิตอธิษฐานที่จะละเว้นจากการการกระทำเหล่านี้อีกในอนาคต ในกรณีนี้การกระทำที่บริสุทธิ์และการใช้ยาจะออกฤทธิ์ร่วมกัน

3. โรค ที่เรียกว่าโรคพื้น ๆ นั้น เนื่องจากว่าผู้ที่เป็นโรคนี้สามารถหายเองได้โดยการกินอาหารอย่างถูกต้องและมีพฤติกรรมที่เหมาะสม

-----------------------------------------------------------------------------------------------------


ธาตุดิน ซึ่งมีลักษณะหนัก แข็งแรง มั่นคง ขม 

จะมีฤทธิ์ในการปราบโรคที่เกี่ยวกับลม
ดิน หรือ ซา (Sa) จะมีอิทธิพลมากที่สุดในการสร้างเซลล์กล้ามเนื้อ กระดูก จมูก และประสาทการรับรู้กลิ่น


ธาตุน้ำ ซึ่งสดชื่น ใส หวาน จะมีฤทธิ์ในการหล่อลื่นให้ความชุ่มชื่น


ทำให้ระบบในร่างกายเย็นลง และ  ช่วยปราบโรคที่เกี่ยวกับไฟ 
น้ำ หรือ ชู (chu) จะทำหน้าที่ในการสร้างเลือด ของเหลวในร่างกาย ลิ้น และประสาทการรับรู้รส


ธาตุไฟ ซึ่งกระปรี้กระเปร่า ร้อน สว่าง หยาบ 

จะมีฤทธิ์ให้ความร้อนแก่ร่างกาย ช่วยเพิ่มพลังให้แก่องค์ประกอบทั้งเจ็ดของร่างกาย อันได้แก่ สารอาหาร เนื้อ เลือด ไขมัน กระดูก ไขกระดูก และของเหลวสืบพันธุ์ ช่วยปรับสีผิว และรักษาโรคที่เกี่ยวกับน้ำ
ไฟ หรือ แม (me) ทำหน้าที่เกี่ยวกับอุณหภูมิของร่างกาย ผิวพรรณ ตา และประสาทการรับรู้ทางสายตา


ธาตุลม ซึ่งเบา แปรปรวน เย็น หยาบ จะมีฤทธิ์ในการเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ร่างกาย

ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวคล่องแคล่วขึ้น ช่วยกระจายสารอาหาร และช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับน้ำ ไฟ และอากาศธาตุ ซึ่งมีลักษณะกลวง ว่าง เป็นองค์ประกอบของสมุนไพรและแร่ธาตุต่าง ๆ อยู่แล้ว และมีส่วนช่วยรักษาโรคอันเกิดจากตรีโทษผิดปกติทั้งสิ้น

ลม หรือ ลุง (rLung) (rLung) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการหายใจ ผิวหนัง และประสาทการรับรู้ถึงการจับต้องสัมผัส
ความว่างเปล่า หรือ นำคา (Nam-mkha) ทำหน้าที่เกี่ยวกับช่องว่างในร่างกาย หู และประสาทการรับรู้ทางเสียง


---------------------------------------------------------------------------------------------------

รสของยา หรือสมุนไพรที่เหมาะสมกับโรค

รสหวาน  เกิดจากลักษณะเด่นของธาตุดินและน้ำ ช่วยเยียวยาโรคเกี่ยวกับความผิดปกติของลมและไฟ

รสเปรี้ยว  เกิดจากธาตุดินและไฟเด่น ช่วยเพิ่มความร้อนทำให้น้ำ มีความสมดุลมากขึ้น และช่วยให้ลมหมุนเวียนได้อย่างไม่ติดขัด

รสเผ็ดร้อน  เกิดจากธาตุไฟและลมเด่น ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับน้ำ(ดิน) ผิดปกติ

รสเค็ม  เกิดจากธาตุน้ำและไฟเด่น ช่วยรักษาโรคที่เกิดจากความผิดปกติของลม

รสขม  เกิดจากอากาศธาตุและลมเด่น ช่วยรักษาโรคที่เกิดจากความผิดปกติของไฟและน้ำ(ดิน)

รสฝาด  เกิดจากธาตุดินและลมเด่น ช่วยรักษาโรคที่เกิดจากความผิดปกติของไฟและน้ำ(ดิน)
ที่มาข้อมูล : www.facebook.com/notes/สมุนไพร-สัตว์เลี้ยง



วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2557

รสยา

        
รสของเครื่องยาแต่ละชนิด ตามคัมภีร์
  • รสยา รส (ตามคัมภีร์ธาตุวิภังค์)
  • รสยา รส (ตามคัมภีร์วรโยคสาร)
  • รสา รส (ตามคัมภีร์ธาตุวิวรณ์)
  • รสยา รส (ตามคัมภีร์เวชศึกษา) นิยมใช้รสยา รสเป็นหลัก
รสยา 4 รส ในคัมภีร์ธาตุวิภังค์
รสยาฝาด ชาบไปในผิวเนื้อ และเส้นเอ็น
รสยาเผ็ด ชาบไปในผิวหนังทุกเส้นขน
รสยาเค็ม ชาบไปในที่เส้นเอ็นและกระดูกทั่วสรรพางค์กาย
รสยาเปรี้ยว ชาบไปในเนเอ็นทั่วรรพางค์กาย

รสยา 6 รส (ในคัมภีร์วรโยคสาร)
ฤดู 6 ตามคัมภีร์วรโยคสารนี้เป็นฤดูอันแท้จริงของชาวเอเซียรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งในเมืองยุโรปไม่มี รสของผลไม้พันธุ์พฤษชาตินานาชนิด เมืองฝรั่งไม่มี โรคภัยไข้เจ็บตามฤดูเหล่านี้ก็ไม่มี ดังนั้นวิชาแพทย์อายุรเวทหรือแพทย์แผนโบราณของไทย จึงเป็นวิชาที่ควรศึกษาประการหนึ่ง จะเห็นได้ว่าพริกต่างๆอันเป็นรสเผ็ดเกิดมากในฤดูร้อน รสหวานและอาหารอันโอชาต่างๆเกิดในฤดูหนาว รสต่างๆของสิ่งต่างๆย่อมแปรไปบ้างตามการปรุงแต่งของคน เช่นหน้าแล้งรดน้ำ ร้อนมากใช้เครื่องกันแดด รสและผลไม้ย่อมเกิดรสผิดแผกเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามภูมิประเทศบางแห่ง เช่นในที่แจ้ง ที่ร่ม ที่ดอน ที่ลุ่ม
รสยา ๙ รส
      ในยาไทยนอกจากจะมียา 6 รส ตามฤดู 6 แล้วยังเพิ่มรสเมาเบื่อ รส มัน และรสหอมเย็นอีก 3 รส รวมรสของเครื่องยาตามตำราจึงมี 9 รส และ มีรสจืดอีก 1 รส รวมเป็น 10 รส แต่คณาจารย์ก็ยังนิยมเรียกว่ารสยา 9 รสอยู่เช่นเดิม

1. ยารสเค็ม (ลวณะรส) – ซึมซาบไปตามผิวหนัง
2. ยารสเผ็ดร้อน (กฏุกรส) แก้ลม
3. ยารสฝาด (กษายรส) ชอบสมาน
4. ยารสเปรี้ยว (อัมลรส) กัดเสมหะ ฟอกโลหิต
5. ยารสหวาน (มธุรส) ซึมซาบไปตามเนื้อ
6. ยารสขม (ติกตะรส) แก้ทางดีและโลหิต   
7. ยารสเมาเบื่อ แก้พิษ
8. ยารสมัน - แก้เส้นเอ็น
9. ยารสหอมเย็น - บำรุงหัวใจ

สรรพคุณของรสยา 9 รสและแสลงโรค  (ข้อห้าม)   
    1.ยารสเค็ม เช่น เกลือสินเธาว์  ดินประสิว (Sal Peter)  เบี้ยจั่น ตานดำ มะเกลือป่า เกลือสมุทร (เกลือแกง salt) เหงือกปลาหมอ   มักใช้ในตำรับยาแก้โรคทางผิวหนัง ชำระเมือกมันในลำไส้ ฟอกโลหิต ดับพิษร้อน แก้รำมะนาด แก้เสมหะเหนียว แก้น้ำเหลืองเสีย  -ห้ามใช้กับโรค ไตพิการ อุจจาระพิการ โรคบิดมูกเลือด
   2. ยารสเผ็ดร้อน เช่น  ดีปลี พริกไทย  ขมิ้นชัน  ขิง ข่า ไพล กระวาน กานพลู อบเชย สะค้าน ตะไคร้ กระชาย มีสารพวกเรซิน , น้ำมันหอมระเหย ใช้ในตำรับยาแก้โรคลม ขับระดู ขับเหงื่อ บำรุงไฟธาตุ แก้ปวดท้อง ท้องอืด จุกเสียด ช่วยย่อยอาหาร  -ห้ามใช้กับโรค : โรคไอ ไข้พิษ ไข้เพื่อโลหิต 
   3. ยารสฝาด  เช่น ใบฝรั่ง เปลือกผลมังคุด สีเสียดเทศ เปลือกทับทิม เบญกานี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพืชที่สาร แทนนิน (tannin) มักมีฤทธิ์ Antidiarrhea , Astringent  ส่วนใหญ่พบในตำรับยาที่ใช้รักษาอาการท้องร่วง แก้บิด สมานแผล แผลเปื่อย  -ห้ามใช้ในท้องอาการท้องผูก  
   4. ยารสเปรี้ยว   ฝักส้มป่อย มะขาม สมอไทย มะขามป้อม มะขามแขก ซึ่งเป็นพืชที่ประกอบด้วยกรดต่าง ๆ (organic acid)  มักใช้แก้ทางเสมหะ แก้กระหายน้ำ แก้ไอ กัดเสมหะ ฟอกโลหิตระดู สตรี บำรุงเลือด  -ห้ามใช้กับโรค ท้องเสีย แก้ไข้ต่างๆ
5.ยารสหวาน  เช่น ชะเอมเทศ   ชะเอมไทย   น้ำตาลกรวด  น้ำตาลทรายแดง  หญ้าหวาน อ้อยช้าง  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพืชที่สารกลุ่ม คาร์โบไฮเดรต (น้ำตาลกลูโคส) ส่วนใหญ่พบในตำรับยาบำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย  -ห้ามใช้กับโรค เบาหวาน, น้ำเหลืองเสีย ทำให้แผลชื้น
    6.ยารสขม เช่น   บอระเพ็ด  โกฐกะกลิ้ง ยาดำ ฟ้าทะลายโจร ดีบัว ขี้เหล็ก  ระย่อม บวบขม กะดอม มีสารในกลุ่มของกลัยโคไซด์ และอัลคาลอยด์  มีฤทธิ์Antipyretic มักใช้ในยา แก้ไข้ เจริญอาหาร แก้ร้อนใน บำรุงน้ำดี ช่วยย่อยอาหาร  -ห้ามใช้กับโรค โรคลมในลำไส้ จุกเสียดแน่น โรคหัวใจ

   7. ยารสเมาเบื่อ  เช่น สะแกนา สลอด มะเกลือ หัวข้าวเย็น กลอย ขันทองพยาบาท(มะดูก) หนอนตายอยาก ทองพันชั่ง  ส่วนใหญ่มีสารในกลุ่มของกลัยโคไซด์ และอัลคาลอยด์ ส่วนใหญ่มีฤทธิ์ Antidote , Anticancer, Anthelmentic มักใช้ในยาแก้พิษต่างๆ ขับพยาธิ แก้โรคมะเร็ง  -ห้ามใช้กับโรค ไอ หัวใจพิการ
   8.  ยารสมัน เช่น  เมล็ดบัว แห้วหมู หัวกระเทียม  ผักกะเฉด เมล็ดถั่วเขียว  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพืชที่สาร สารกลุ่ม ไขมัน (Lipid) น้ำมัน (Fixed oil) โปรตีน, กลัยโคไซด์ กลุ่ม saponin และ flavonoid บางชนิด มีฤทธิ์ Tonic มักนำมาใช้ในตำรับยายาบำรุงเส้นเอ็น, บำรุงข้อ เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ปวดเมื่อย  -ห้ามใช้กับโรค หอบ ไอ มีเสมหะ มีไข้ กระหายน้ำ
   9. ยารสหอมเย็น เช่น   มะลิ  สารภี พิกุล 4. บุนนาค เกสรบัวหลวง เปลือกชะลูด เตยหอม ส่วนใหญ่มีสารกลัยโคไซด์ ในกลุ่ม coumarin, cardiac glycosides ส่วนใหญ่มีฤทธิ์ Cardiotonic  มักใช้ในตำรับยาบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต แก้อ่อนเพลีย  -ห้ามใช้กับโรค ธาตุพิการ ลมป่วง ดีซ่าน ร้อนใน กระหายน้ำ
**ในตำรา เวชศึกษาจัดรสยาเพิ่มอีก 1 รส คือ ยารสจืด ใช้สำหรับ แก้ในทางเตโช ขับปัสสาวะ ดับพิษร้อน แก้ไข้

ขอขอบคุณข้อมูล - แพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

กำเนิดรสยา 6 รส

ในการใช้ยารักษาโรคของแพทย์แผนไทยนั้น รสชาติของตัวยาถือเป็นหลักการสำคัญอันดับแรกในการพิจารณาตัวยามาใช้รักษาโรค ต่างๆ 

โดยในทางการแพทย์ของอินเดียหรืออยุรเวทซึ่งความความเกี่ยวโยงกับแพทย์แผนไทย ผ่านพระพุทธศาสนา กล่าวไว้ว่า ทุกสิ่งไม่มีสิ่งใดเป็นธาตุแท้ เป็นธาตุผสมทั้งสิ้น ธาตุทั้ง 4 เราเรียกว่า , มหาภูตรูป 4 (มีอากาศธาตุซึ่งหมายถึงที่ว่างอีกธาตุหนึ่งรวมเป็น 5 ธาตุตามแบบอายุรเวท) มาผสมผูกกันทำให้ทรวยะหรือทรัพย์ มีรสต่างๆกัน 6 รสตามกาลเวลา ซึ่งเป็นอนาล็อก  คือฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว จะมีฤดูที่คาบเกี่ยวกันอีก เช่น ร้อนต่อฝน ฝนต่อหนาว หนาวต่อร้อน  รวมแล้วเป็น 6 ฤดู แต่ละฤดูมีอิทธิพลทำให้ธาตุผูกพันกัน เกิดเป็นรส 6 รสและฤดูกาลของโลกเกิดจากการหมุนเวียนของโลกรอบดวงอาทิตย์และการสถิตของ อาทิตย์ในราศีต่างๆ รสทั้งหลายบริโภคแต่พอดีก็เป็นสุข ถ้าไม่เหมาะสมก็จะเกิดโทษ ในคัมภีร์วรโยคสารได้กล่าวถึงยา 6 รสไว้ด้วย

การเกิดรส 6 อย่าง
        1. อาโป กับ เตโช ผูกพันเกิดเป็นทรัพย์ ลวณะ (รสเค็ม)
        2. เตโช กับวาโย ผูกพันเกิดเป็นทรัพย์ กฏุกรส (รสเผ็ด)
        3. ปัถวี กับอากาศ ผูกพันเกิดเป็นทรัพย์ กษายรส (รสฝาด)

4. ปัถวีธาตุ กับเตโช ผูกพันเกิดเป็นทรัพย์ อัมลรส (รสเปรี้ยว)
 5. ปัถวีธาตุ กับอาโป ผูกพันเกิดเป็นทรัพย์ มธุรส (รสหวาน)
 6. วาโย กับอากาศ ผูกพันเกิดเป็นทรัพย์ ติกตะรส (รสขม)

อธิบายได้ดังนี้
ช่วงฤดูศศิระ(ฤดูหนาว)  ลมหนาวพัดมา นำความแห้งมา เกิดความกดอากาศสูง อากาศแห้ง  ธาตุที่ผูกพันกันคือ วาโยกับอากาศธาตุ เกิดเป็นรสขม เป็นรสเบา 
ช่วงฤดูศารทะ (หนาวต่อร้อน )น้ำระเหยขึ้นไปและไอร้อนเริ่มเข้ามา ธาตุที่เกี่ยวเนื่องกันคือ อาโปกับเตโช เกิดเป็นรสเค็ม 
ช่วงฤดูคิมหันต์ (ฤดูร้อน) ความร้อนเข้ามาไอความร้อนลอยขึ้นสู่ข้างบนลมก็พัดเข้ามาแทนที่ ธาตุที่เกี่ยวเนื่องกันคือ เตโชกับวาโย เกิดเป็น รสเผ็ด 
ช่วงฤดูวสันต์ (ร้อนต่อฝน) ลมพัดความร้อนเข้ามา ความชื้นหายไป ดินเริ่มแห้ง เกิดความฝาด ฝืด ธาตุที่เกี่ยวเนื่องกันคือ ปถวีกับอากาศ  ทำให้เกิดรสฝาดซึ่งเป็นรสแห้งรสฝาดจึงช่วยสมาน เป็นต้น

รส 6 อย่างเกิดขึ้นใน 6 ฤดู (ฤดูละ 60 วัน)
       1.รสเค็ม (ลวณะรส) เกิดเด่นในฤดูเริ่มร้อน, ศารท,ฤดูข้าวใหม่ (มกราคม-มีนาคม แรม1ค่ำเดือน2 - ขึ้น 15 ค่ำเดือน4)
       2.รสเผ็ด (กฏุรส) เกิดเด่นในฤดูร้อน, ครีษมฤดู,คิมหันตฤดู  (มีนาคม-พฤษภาคม แรม1ค่ำเดือน4 - ขึ้น 15 ค่ำเดือน6)
       3.รสฝาด (กษายรส) เกิดเด่นในตอนเริ่มฤดูฝน,วสันตฤดู (พฤษภาคม-กรกฎาคม แรม1ค่ำเดือน6 - ขึ้น 15 ค่ำเดือน8)
       4.รสเปรี้ยว (อัมลรส) เกิดเด่นในฤดูฝน,วรษฤดู,วัสสาน, (กรกฎาคม-กันยายน แรม1ค่ำเดือน8 - ขึ้น 15 ค่ำเดือน10)
       5.รสหวาน (มธุรส) เกิดเด่นในฤดูเริ่มหนาว, เหมันตฤดู (กันยายน-พฤศจิกายน แรม1ค่ำเดือน10 - ขึ้น 15 ค่ำเดือน12)
       6.รสขม (ติกตะรส) เกิดเด่นในฤดูหนาว, ศศิรฤดู (พฤศจิกายน-มกราคม แรม1ค่ำเดือน12 - ขึ้น 15 ค่ำเดือน2)


เมนูอาหารไทย กินอยู่อย่างไทย

สำรับอาหารไทย จากตำรับอาหารเป็นยาได้จริง
บทความโดย นายคมสัน ทินกร ณ อยุธยา (แพทย์แผนไทย)

ตำรับหมอไทย ยามแรก(มื้อเช้า)
ตำรับหมอไทยบอกเข้ายามแรกนับ หกโมงเช้าจนถึงสิบโมงเช้า ระบบเสมหะในกายจะเริ่มทำงาน ขับถ่ายปัสสาวะอุจจาระ โลหิตไหลเวียนไปทั้งกาย ให้กินเปรี้ยวขับเสลดแต่บำรุงโลหิต ให้กินร้อน เพราะร้อนทำให้เกิดลม ไปดันโลหิตให้ไหลเวียนได้ดี อาหารยามแรกจึงต้องออกเปรี้ยวออกร้อน
สำรับอาหารไทยยามแรก
สำรับคาว - แกงส้มเปรี้ยวนำเผ็ดตาม ใส่ผักรสเปรี้ยว แนมกับไข่เป็ดเจียวใส่หอมแดง
- ข้าวต้ม (นำลูกมะขามป้อมไปต้มกับน้ำแล้วกรอง ใส่น้ำตาลกรวดพอปะแล่มๆ) เอาน้ำลูกมะขาม ป้อมนี้ไปทำเป็นข้าวต้ม กินกับยำกุ้งแห้ง เปรี้ยวนำเผ็ดตาม ปลาเค็มทอดบีบมะนาวใส่พริกขี้หนูซอย
- ต้มยำดอกกระเจี้ยบยัดไส้หมูสับ เปรี้ยวนำเผ็ดตาม
สำรับอาหารหวานยามแรก กล้วยไข่เชื่อม ราดน้ำผึ้งบีบมะนาวตาม
สำรับกระสายยาหลังอาหารยามแรก น้ำต้มตรีผลา กับเตยหอม ปรุงรสเปรี้ยวหวาน

ตำรับหมอไทย ยามกลาง(มื้อกลางวัน)
ตำรับหมอไทยบอกเข้ายามกลางนับ สิบโมงเช้าถึงบ่ายสองโมงอากาศเริ่มร้อนอบอ้าว ระบบความร้อนหมาย
กำเดา ไอแห่งความร้อนภายในร่างกายจะกำเริบขึ้น เรียกกำเดาอุ่นกายกำเริบ ให้กินของเย็นหรือขม ปรุงให้ได้รส
กลมกล่อม คือไม่มีรสใดโดดนำหน้ารสอื่น เพื่อผ่อนร้อนภายในร่างกาย
สำรับอาหารไทยยามกลาง
สำรับคาว - แกงจืดตำลึง,ต้มกะทิสายบัว,ผัดผักบุ้งไฟแดง,สะเดาน้ำปลาหวาน,ต้มจืดมะระ,ก๋วยเตี๋ยวไม่ปรุง
รสเพิ่ม,ต้มเลือดหมู,ผักหวานผัดน้ำมันหอย,แกงเขียวหวานฟัก,ผัดแตงกวากับไข่เป็ด
สำรับหวาน - ขนมชั้นใบเตย,ขนมเปียกปูน,ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง,รวมมิตร,ซาหริ่ม
สำรับกระสายยา - น้ำเก็กฮวย,น้ำใบบัวบก,น้ำแตงโมปั่น,น้ำดอกอัญชัญ

ตำรับหมอไทย ยามท้าย (มื้อเย็น)
ตำรับหมอไทยบอกเข้ายามท้ายนับ บ่ายสองโมงจนถึงหกโมงเย็น อากาศร้อนถอยลง พอแดดร่มลมก็ตก
ลมจะกำเริบในกายได้ง่ายเหตุแต่การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ อาหารไทยจึงมักรสเผ็ดร้อน รสจัดด้วยเหตุนี้
ลมร้อนมาเกิดลม ลมฝนมาก็เกิดลม แม้แต่ลมหนาวมามีร้อนฝนแทรก เกิดลมอีกทั้งตาปีตาชาติ ด้วยประเทศ
สมุหฐาน(ที่ตั้งของประเทศ) ภูมิปัญญาแห่งบรรพชน จึงคิดค้นกันแต่อาหารรสจัดเป็นหลัก เพื่อไม่ให้ป่วยจากลม
ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา นับเป็นความชาญฉลาดยิ่ง ทำอาหารให้เป็นยาก็ได้
สำรับอาหารไทยยามท้าย
สำรับคาวมีมากมายมหาศาล อะไรที่รสจัดรสเผ็ดร้อนใช้ได้ทั้งหมด น้ำพริกทุกชนิด,แกงเผ็ดสารพัน,ผัดเผ็ด
ผัดฉ่า,ต้มยำ,ต้มโคล้ง,ต้มข่า
สำรับหวาน ต้มขิงกับถั่วสารพัด,บัวลอยน้ำขิง,ขนมหม้อแกงโรยหอมเจียว
สำรับกระสายยา น้ำต้มใบสะระแหน่,น้ำต้มขิงสด

แต่ทั้งนี้อากาศสำคัญกว่าฤดู/กว่าเวลาอาหาร เพราะอากาศเป็นเช่นไรในแต่ละช่วงเวลา เราก็เป็นเช่นนั้น เข้าหน้าร้อนแต่วันนั้นฝนตกตอนบ่ายโมง แทนที่จะกินอาหารรสเย็น กลับต้องกินรสเผ็ดร้อนแทน เข้าหน้าฝนแต่ครึ้มๆฝนไม่ตกแต่อากาศเย็นแทน จึงไปกินอาหารรสเปรี้ยวร้อน ไม่ใช่รสเผ็ดร้อน หน้าหนาวแต่ลมหนาวไม่มา ต้องกินเผ็ดร้อน
แทนเปรี้ยวร้อน
อาหารยามแรก สำคัญที่สุด เพราะเวลาอาหารจะตรงกับอากาศมากที่สุด (ตามภาวะอากาศปกติ) หากไม่ได้กิน
ยามแรกให้กินเมื่อหิว และกินให้ถูกต้องตามรสในเวลาที่หิวนั้นเสมอ ไม่กินน้ำก่อน ระหว่างและหลังมื้ออาหาร เพื่อ
ไม่ไปรบกวนน้ำย่อยจากระบบการย่อยอาหาร จิบน้ำกระสายยาแต่น้อยหลังมื้ออาหารนั้นๆ
อาหารต้องปรุงด้วยวิธีวิถีไทย ต้ม ยำ ตำ แกง ผัดทอดไม่ใช่วิถีของเรา กินได้แต่ให้น้อย น้ำมันไม่เหมาะกับ
ประเทศสมุหฐานสยาม แต่เหมาะกับประเทศสมุหฐานเย็นหนาวเท่านั้น ชาติตะวันตก จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไม่ว่าเรา
จะเชื้อชาติใด แต่หากอยู่ในสยามประเทศควรทำตามวิธีวิถีไทยจึงถูกต้องที่สุด เพื่อไม่ป่วยไม่เจ็บไม่ไข้

ขอกราบเคารพบูชาพระคุณครูแพทย์แผนไทยทุกท่าน ด้วยบทความนี้
บทความรู้แห่งบรรพชนสยามโดย นายคมสัน ทินกร ณ อยุธยา (แพทย์แผนไทย)

วันอังคารที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2557

หน้าที่ของตรีโทษ

ตารางฟังก์ชั่นของตรีโทษ
หน้าที่ของตรีโทษ
Vata
วาตะ
Pitta
ปิตตะ
Kapha
ศเลษมะ
เกี่ยวข้องกับ
ระบบประสาท
ระบบเลือด
ระบบน้ำเหลือง
การทำงาน
เคลื่อนไหว
การย่อยอาหาร
การหล่อลื่น
ถ้าไม่ขับมละ(ของเสีย)ออก
ทำให้ท้องอืดลม เกิดโทษ
ทำให้ธาตุพิการและดีซ่าน
ทำให้ร่างกายคั่งบวม
มละที่ขับออก
ลมที่ผายออกมา
น้ำดี
เสลดที่ขากออกมา
อาการที่เป็น
อาการเจ็บป่วย
แสบร้อนและอักเสบ
อาการเป็นฝีเป็นหนอง
ไม่ปกติ
มีอาการทางจิตและประสาท
เป็นไข้ ถ้าตัวร้อนมาก หรือมีอาการทารุณ
จะรู้สึกหนักเนื้อหนักตัว และตามเนื้อหนังเปียก
พิการ
เจ็บไข้มีอาการทางสมองและประสาท
เจ็บทางท้อง
เจ็บไข้ทางอวัยวะเครื่องหายใจ
เมื่อปกติ
มีจิตมีใจ ทำให้เกิดความเอาใจใส่ ขยันหมั่นเพียร มีชีวิตจิตใจ
เกิดสติปัญญา ความคิด ความจำ
เกิดกำลัง ความอดทน และกล้าหาญ
เมื่อกำเริบ
มีความเศร้าโศกเสียใจห่วงใย
มีความโกรธ
เมื่อเวลาใจห่อเหี่ยว
การักษาที่ต้นตอ
ให้สูบสวนล้างท้องเอาพิษออก
ให้ยาระบายหรือยาถ่าย
ให้อาเจียน หรือยาที่เกี่ยวกับเสมหะพิการ
"ความสมดุลระหว่าง Tridosha เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพ."

ไข้ใดมีอาการทั้งสามอย่างนี้ คือ ทั้ง วาตะ ปิตตะ และ ศเลษมะ ไข้นั้นเป็นสันนิปาตะ (สันนิบาต) คือ ประชุมพร้อมกัน ทั้งตรีโทษ การดูไข้สันนิบาต จะต้องสอบสวนตรวจดูให้รู้ว่าอะไรเป็นโทษต้น หรือประธานิกโทษ (เกิดก่อน Primary) และอะไรเป็นโทษรอง หรือ อนุจรโทษ (เกิดตามที่หลัง Secondary) และโทษไหนรุนแรง ต้องแก้ก่อน โทษไหนอ่อน แก้ทีหลัง ตรีโทษที่เกิดประดังกันเป็น สันนิปาตะ เรียก สันนิปาตะ ชวรา (ไข้สันนิบาต) ซึ่งจำแนกออกไปอีกมาก

ที่กล่าวมาแล้ว ถ้าเปรียบกับวิชาแพทย์แผนปัจจุบัน ทางแผนปัจจุบันมีการเรียนค้นคว้าโรคภัยไข้เจ็บมาก สมุฏฐานของโรคกระจัดกระจายพิสดาร จำแนกแยกแยะออกไปตามที่ค้นใหม่ ไม่สิ้นสุดและการจัดระเบียบหมวดหมู่ของโรคต่างๆก็ยังไม่ยุติ ยังจะต้องจัดและเปลี่ยนแปลงไปอีกเรื่อยๆ แต่ทางแผนโบราณ ยุติลงที่ตรีโทษ คือ ไม่ว่าแผนปัจจุบันจะค้นพบโรคอะไรใหม่ อะไรเก่า โบราณเอาเข้ามาจัดอยู่ที่ตรีโทษทั้งหมด และไม่ว่าโรคใดๆ จะมีอาการอย่างไรก็ตาม หนีไม่พ้น วาตะ ปิตตะ และ ศเลษมะ(เสมหะ)