วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ว่าด้วยเรื่องธาตุไฟ


จตุกาลเตโช(ธาตุไฟ ๔ กอง )แผนโบราณ.
เตโชธาตุ ๔ ประการ( ปิตตะ ไฟ)
.
๑.สันตัปปัคคี คือไฟสำหรับอุ่นกายควบคุมทุกส่วนในกายให้ขับเคลื่อนไปกับลม ซึ่งทำให้ตัวเราอบอุ่นเป็นปกติอยู่ มี ดี๑ส่วน,อาหาร(อพัทธะ)๓ ส่วน อยู่ในเส้นโลหิตดำ อาศัยอยู่กับ อพัทธะปิตตะ(ยังไม่แยกดีออก)ทำหน้าที่อบอุ่นโลหิตดำไม่ให้แข็ง โลหิตจึงแล่นไปตามเส้นร่างกายได้ปกติ ช่วยปรับอุณหภูมิให้คงที่ไม่สูงตามอากาศภายนอก พิการ แตกเมื่อใดแก้ไม่ได้ตายแล (เมื่อขาดไปการขาดพลังงานที่จะทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ ภายในร่างกายก็จะเย็นลงทุกขณะโดยเริ่มเย็นตั้งแต่ปลายเท้าซึ่งเป็นส่วนปลายสุด ให้กายเย็นชืดเกิดมากไปทำให้ไข้สูง) เริ่มใหม่ๆคือตีนมือชา,ให้เป็นเหน็บ
.
๒.ปริทัยหัคคี คือไฟสำหรับร้อนระส่ำระสาย กำหนดกำเริบเมื่ออายุ๑๒ปี(รอบเดือน)อยู่รอบหัวใจและเส้นโลหิตแดง(รัตตโลหิต) ทำหน้าที่อบอุ่นหัวใจให้มีกำลังสูบฉีดโลหิตและรักษาหัวใจไม่ให้แห้ง ไม่ให้เน่าให้ความร้อนกาย และเป็นไฟซึ่งทำให้เราต้องอาบน้ำและพัดวี คือความร้อนที่มาระบายออกที่ผิวหนัง และทำหน้าที่ให้ความร้อนใจเป็นไฟแห่งราคะให้เร่าร้อน รวมทั้งอารมณ์ทางเพศ(ฮอร์โมนในหนุ่มสาว)เป็นสายฮอร์โมนก่อเกิดเพื่อสืบดำรง เผ่าพันธุ์ พิการ จับมือเท้าเย็นชีพจรเดินไม่สะดวก ชีพจรขาด๑หรือ๒ หลักก็ดี ทำให้ร้อนภายใน เย็นภายนอกมือเท้า บางทีให้เย็นแต่เหงื่อตกมากใหญ่เท่าเม็ดข้าวโพด (โลหิตไม่ไหลเวียนมาสู่ผิวหนัง ทำให้ตัวเย็นซึ่งอาจเกิดจากการไหลเวียนล้ม ในขณะเดียวกันต่อมเหงื่อถูกกระตุ้น เหงื่อก็จะออกมากเป็นเม็ดโตๆคนไข้ตัวเย็นแต่รู้สึกร้อนภายในเพราะความร้อนยังไม่ถูกระบายออก เกิดมากไปทำให้ตัวร้อนจัด เกิดน้อยไปทำให้ตัวเย็น)
.
๓.ชิรณัคคิ คือไฟสำหรับเผาให้แก่คร่ำคร่า เป็นไฟประจำอยู่ตามเนื้อทั่วไปในกาย,ให้ความอบอุ่น,รักษาเนื้อไม่ให้เปื่อย เมื่อพิการกำเริบซึ่งทำให้ร่างกายเราเหี่ยวแห้ง ทรุดโทรม ชราภาพ มีหน้าที่ทำให้เนื้อเยื่อเสื่อมสลายทุกขณะ จะกำเริบเมื่ออายุ๓๐ ปี พิการ ทำให้กายไม่รู้สึกสัมผัส ลิ้นไม่รู้รส ,จมูกกลับมาได้กลิ่น,หูตึงอยู่กลับได้ยิน,ให้เดิมหน้าผากตึง นัยน์ตาดูไม่รู้จักอะไรมองไม่เห็นกลับเห็นอาการเปลี่ยนไปมาได้ เป็นสัญญาณว่าพระยายมราชมาหลอกล่อประเล้าประโลมสัตว์โลกทั้งหลา(แพทย์พึงรู้อาการใกล้ตาย) เกิดมากไปทำให้แก่ก่อนวัย บางอวัยวะเสื่อมเร็ว จากไตพิการมาก่อน เกิดน้อยไปทำให้เนื้อเยื่อบางส่วนไม่ถูกสลายไปตามปกติทำให้อวัยวะหนาขึ้นเช่นผิวหนัง
.
๔. ปริณามัคคี คือไฟสำหรับย่อยอาหาร แยกน้ำดีที่มีรสขมคาวออกจากโลหิตปิตตะแล้ว (ไฟในถุงของดี)และอยู่ในกระเพาะอาหาร ทำหน้าที่ย่อยอาหารให้สุกไม่บูดเน่าและรักษากระเพาะให้อบอุ่นเสมอ และทำให้อาหารที่เรากลืนลงไปนั้น แหลกละเอียดและย่อยอาหารให้สุก คอยควบคุมอาหารไม่ให้บูดเน่า และคอยรักษาอุณหภูมิภายในลำไส้ตลอดจนถึงช่วงของทวารทั้งหมด พิการ กำเริบให้ร้อนในอก,ร้อนในใจไอมองคร่อ จากไฟไปกระทบน้ำดีในฝักตรงขั้วให้เดือดพลุ่งไประคนกับลมเบื้องบนในประสาททำให้เกิดโรคเส้นเลือดในสมองแตก(สังเกตอาการไข้กาฬ ครั่นเนื้อครั่นตัว,คอแห้กระหายน้ำ,ปวดหัวบ้าง) อาหารไม่ย่อยท้องอืดลมดันขึ้นทำให้แน่นหน้าอก ถ้าร่างกายขาดอาหารอยู่นานๆอาจทำให้เป็นโรคเหน็บชา เท้าบวมได้ ให้ขัดข้อมือข้อเท้า เป็นมองคร่อ(ปอดเป็นหวัด) ไอ ปวดฝ่ามือฝ่าเท้า อาการท้องแข็งผะอืดผะอม เกิดมากไปทำให้อาหารย่อยเร็ว หิวบ่อย เกิดน้อยไปทำให้อาหารย่อยช้า ท้องอืดผะอืดผะอม
เพราะตัวธาตุ ๔ ขยายออกมาเป็นการทำงานตามหน้าที่ตนที่ปกติคนเรา และสิ่งมีชีวิต ต้องมีทุกคน ซึ่งตัวธาตุยังมีตัวที่ทำงานให้ธาตุอีก แต่แท้จริงแล้วยังมีการทำงานของธาตุภายใน ที่เราเรียกตรีธาตุ อีก ๓ ประการ ในส่วนของตรีธาตุก็คืออุปทายรูปแปรว่ารูปอาศัยที่เป็นตัวขับเคลื่อนกลจักรสิ่งมีชีวิต
@ อ. ปณิตา ถนอมวงษ์ จาก อ.นิต
ระบบเลือด ที่มีปิตตัง และเสมหัง ร่วม จนเป็นที่มาของ อุณหังเตโช และสีตังเตโชเพราะ....น้ำดี มี ๒ ชนิด คือ
แบบฝัก และแบบเอิบอาบภายในตลอดร่างคือปรากฏการณ์ตอน วิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป...ภาษาปัจจุบันคือ "จิต สังเคราะห์ ร่าง(กาย)"(ที่เกิดพร้อมกับ กายสังเคราะห์จิต)น้ำดีตามการค้นพบของพระโยคาจารผู้สำเร็จ
ท่านบรรยายว่า....
"ดีที่ไม่เป็นฝักย่อมซึมซาบไปทั่วสรีระที่เหลือตั้งอยู่....ฯลฯ ดุจหยดน้ำมันซ่านไปทั่ว"ที่เป็นฝัก(ถุง) แนบเนื้อตับระหว่างหัวใจและปอดแสดงว่า...ไวต่อปฏิกิริยาของจิตเพราะเมื่อกำเริบทำให้สัตว์บ้า ทิ้งหิริโอตตัปปะ หมายถึง น้ำดี..คือ พลช่วยรบแผนกส่งเสบียงฉุกเฉิน ประกอบด้วย อากาศจากปอด และอาหารจากตับ รับข้อมูลบัญชาการจาก มโนธาตุ/มโนวิญญาณธาตุ แก่เม็ดเลือดในการสังเคราะห์ธาตุคาร์บอนให้เป็นอินทรียสาร ส่งอากาศให้ไม่เพียงพอ มีแต่อาหารมากไป สัตว์คลั่ง ไร้หิริโอตตัปปะทันที(จึงถูกเรียกเป็นภาวะ "อุณหังเตโช")
ปล. แหล่งกำเนิดไฟธาตุคือ ตับเรียกไฟกองใหญ่
.
โดย อ. ปณิตา ถนอมวงษ์

วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ดัดตนแก้ลมกล่อน

ภาพดัดตนแก้ลมกล่อน

โคลงบทที่ 67 ดัดตนแก้ลมกล่อน


       สิทธิกรรมนั่งหน่วงเท้าไขว่คอ
หลังขดคู้ตัวงอ งูบง้ำ
ตึงตลอดสอดมือพอ ชโลงเข่า  ไว้แฮ
แก่กร่อนแห้งกร่อนน้ำกร่อนเส้นกร่อนกษัย
ถอดความ     
          พระฤาษีสิทธิกรรม  แสดงบทอาสนะแห่งฤาษีด้วยการ นั่งยกสองเท้าขึ้น ไขว่บนคอ สองมือกดโดนแข้งของสองขา เป็นท่าดัดตนแก้ลมกร่อน

อาการ “กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ผอมแห้งแรงน้อยและเลือดลมเดินไม่ปกติ" คนไทยสมัยก่อนเรียกกันว่า กษัยอาการของกระษัยหรือกษัยโรค ตำราทางการแพทย์แผนไทยอธิบายว่า โรคที่บังเกิดขึ้นแก่มนุษย์ ทำให้มีอาการแห่งความเสื่อมโทรมซูบผอม สุขภาพของร่างกายไม่สมบูรณ์ ทั้งนี้เนื่องจากเป็นโรคหรือไข้เสื่อมโทรมไปทีละน้อยเป็นเวลาต่อเนื่องกันโดยมิได้รับการบำบัดรักษา หรือรักษาแต่ไม่ถูกกับโรคหรือไข้นั้นๆ โดยตรง เนื่องจากไม่มีอาการอะไรรุนแรงให้เห็นได้ชัด มีอาการผอมแห้งแรงน้อย โลหิตจาง ผิวหนังซีดเหลือง
       
       ปวดเมื่อยตามร่างกายและกล้ามเนื้อ บางครั้งก็ไอ บางทีไอเป็นโลหิต ทำให้รู้สึกแน่นและหนักตัว กินไม่ได้นอนไม่หลับ ปัสสาวะเหลือง และปัสสาวะกะปริดกะปรอย ไม่มีกำลังทำให้ชาปลายมือปลายเท้า มีเหงื่อออกตามฝ่ามือฝ่าเท้า และเหงื่อออกตอนกลางคืน ยอกเสียวตามหัวอกและชายโครง บางคนผิวหนังตกกระตามร่างกาย กล้ามเนื้อชักหดและลีบ มีอาการสะท้านร้อนสะท้านหนาวเป็นคราวๆ และท้องผูกเป็นประจำกระษัยชนิดที่เกิดจาก วุฒิกะโรค (วุทธิโรค)คือกษัยกล่อน ๕ ใช้ดัดตนแก้ลมกล่อน 

ที่มา : http://www.sainampeung.ac.th/chalengsak/units/unit4/chapter4/chapter4_3/hermit_exersice/67.html

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ดอกไม้ให้คุณ

ดอกไม้ของพืชจำพวกสมุนไพรเป็นสิ่งที่น่าสนใจ นอกจากความสวยงามแล้วยังทำให้เรารู้จักตัวยาสมุนไพร
 และสรรพตุณ สามารถนำมาใช้ทำยารักษาตนเอง และครอบครัวได้
ที่มา :http://phuketorchid.blogspot.com/2014/03/blog-post.html จัดทำโดย อ. สุชาติ ภูวรัตน์ 

บัวสาย บัวผัน บัวสีชมพู
ดอก รสฝาดหอมเย็น สรรพคุณ บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น บำรุงกำลัง แก้ไข้ตัวร้อน
บัวสาย บัวนิลุบล บัวสีขาบ
ดอก รสฝาดหอมเย็น สรรพคุณ บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น บำรุงกำลัง แก้ไข้ตัวร้อน 

ดอกเสลดพังพอนตัวผู้ 
ทั้งต้น รสจืดเย็น สรรพคุณ  แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้เริม งูสวัด


ดอกคำไทย (คำแสด, คำเงาะ)
ดอก รสหวาน สรรพคุณ บำรุงโลหิต แก้โลหิตจาง สมานแผล แก้บิด แก้โรคไต  

ดอกรางจืดสีม่วง
ใบ ราก เถา รสจืดเย็น สรรพคุณ  ถอนพิษ แก้ไข้ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ประจำเดือนไม่ปกติ

ดอกผักแพรวแดง
ใบ รสร้อน แก้ริดสีดวงแห้ง แก้หืดไอ บำรุงประสาท

ดอกเสลดพังพอนตัวผู้ 
ทั้งต้น รสจืดเย็น สรรพคุณ  แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้เริม งูสวัด

ดอกเสลดพังพอนตัวเมีย (พญายอ)
ทั้งต้น รสจืดเย็น สรรพคุณ  แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้เริม งูสวัด
ดอกประทัดใหญ่ หรือประทัดจีน
ลูก รสขมจัด สรรพคุณ แก้ไข้ทุกชนิด ขับน้ำลาย ช่วยย่อยอาหาร เจริยอาหาร

ดอกคนทีสอ
ดอก รสหอมฝาด สรรพคุณ แก้ไข้ในหญิงมีครรภ์ แก้ไข้ แก้หืดไไอ ฆ่าแม่พยาธิ์
ดอกคำไทย (คำแสด, คำเงาะ)
ดอก รสหวาน สรรพคุณ บำรุงโลหิต แก้โลหิตจาง สมานแผล แก้บิด แก้โรคไต  

ดอกเร่วใหญ่
ดอก รสปร่า สรรพคุณ แก้เม็ดผดผื่นคันตามร่างกาย


ดอกขี้เหล็ก
ดอก รสขม แก้โรคประสาท แก้นอนไม่หลับ แก้หืด แก้รังแค เป็นยาระบาย


ดอกบัวหลวงแดง
ดอก รสฝาดหอม สรรพคุณ บำรุงหัวใจ แก้เสมหะและโลหิต แก้ไข้
บำรุงครรภ์ ทำให้คลอดบุตรง่าย

ดอกผักเสี้ยนผี
ดอก รสขมขื่น สรรพคุณ ฆ่าพยาธิ์ผิวหนัง

ดอกสะเดา
ดอก รสขม สรรพคุณ  แก้พิษโลหิต กำเดา แก้ริดสีดวงในคอ (เม็ดยอดในคอ)

ดอกปีกแมงสาป หรือก้ามปูหลุด
ทั้งต้น รสเย็น  สรรพคุณ แก้กระหายน้ำ พอกฝี แก้บวม ขับปัสสวะ ปัสสาวะเป็นเลือด แก้ร้อนใน
รักษาแผลไฟไหม้ ดุดพิษจากตับ ดับพิาร้อนในกระเพาะอาหารและลำไส้

ดอกเนระพูสีไทย (ค้างคาวดำ)
ทั้งต้น รสสุขุม สรรพคุณ ต้มอาบแก้เม็ดผื่นคันตามร่างกาย

ดอกผักบุ้งทะเล
ทั้งต้น รสขื่นเย็น สรรพคุณ แก้บวม เจริญอาหาร ระบายท้อง ต้มอาบแก้คัน
คั้นน้ำทาแก้พิษแมงกระพรุนไฟ

ดอกจำปา
ดอก รสขมหอม สรรพคุณ ทำให้เลือดเย็น ขับปัสสาวะ ขับลม บำรุงหัวใจ แก้โรคไต
แก้เส้นกระตุก หิด ฝี โรคเรื้อน หนองใน บำรุงน้ำดี บำรุงโลหิต

ดอกโสน
ดอก รสหวานเย็น สรรพคุณ สมานลำไส้

ดอกอัญชัน
เมล็ด รสมัน สรรพคุณ ระบายท้อง

ดอกแคแดง
ดอก รสหวานเย็น แก้ไข้เปลี่ยนฤดุ

ดอกท้าวยายม่อมดอกแดง
ราก รสจืดขื่น สรรพคุณ แก้ไข้เหนือ ไข้พิษ ไข้กาฬ  ไข้เพราะดีพิการ ถอนพิษไข้



ดอกทานตะวัน
ดอก รสเฝื่อน สรรพคุณ แก้หลอดลมอักเสบ ขับลม แก้วิงเวียนศีรษะ

ดอกบัวหลวงขาว
ดอก รสฝาดหอม สรรพคุณ บำรุงหัวใจ แก้เสมหะและโลหิต แก้ไข้
บำรุงครรภ์ ทำให้คลอดบุตรง่าย
ดอกชุมเห็ดไทย
ใช้ทั้ง ๕ รสขมเบื่อ สรรพคุณ  แก้ไข้ ขับพยาธิ์ในท้องเด็ก

ดอกเพชรหึง หรือว่านหางช้าง
ลำต้น สรรพคุณ ฝนน้ำสุราดื่มและพอกบาดแผล แก้พิษงู แก้พิษตะขาบ แมงป่อง
ดอกกะเม็งดอกขาว
ดอก รสเอียน สรรพคุณ แก้ดีซ่าน ตับอักเสบ

ดอกหญ้าหนวดแมว (พยับเมฆ)
ต้น รสจืด สรรพคุณ ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว แก้กระษัย แก้ปวดเมื่อยบั้นเอว
(ใช้มากอันตราย จะกดหัวใจให้หยุดเต้นได้)

ดอกเหงือกปลาหมอทะเล
 .ใช้ทั้ง ๕ รสร้อน แก้ไข้หัว แก้พิษฝี แก้พิษกาฬได้ดีมาก

ดอกทองกวาว
ดอก รสฝาดขม ถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ แก้ตาเจ็บ ตาฟาง

ดอกผักคราดหัวแหวน
ดอก รสเอียนเบื่อ ขับน้ำลาย แก้โรคในคอ แก้ปวดฟัน รักษาแผลในคอ แก้ลิ้นเป็นอัมพาต

ดอกนางแย้ม
ใบ รสเฝื่อน สรรพคุณ ตำพอกแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน
ดอกไมยราบ
ทั้งต้น รสขมเฝื่อน ต้มดื่มแก้ไข้ แก้นอนไม่หลับ แก้ตานขะโมย แก้ตาบวม
แก้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ แก้หัด ผดผื่นคันตามตัว แก้แผลฝี บำรุงน้ำนม
ขับน้ำนม ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ไตพิการ แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ แก้ระดูขาว

ดอกประดู่
เปลือกต้น รสฝาดจัด สรรพคุณ สมานบาดแผล ต้มดื่มแก้ท้องเสีย
ใบ รสฝาด สรรพคุณ พอกบาดแผล แก้ผดผื่นคัน

ดอกกาหลง
ดอก รสสุขุม สรรพคุณ แก้ปวดศีรษะ ลดความดันโลหิต
แก้เสมหะพิการ แก้เลือดออกตามไรฟัน

ดอกเอ็นอ้า โครงเครง พญารากขาว
ราก รสขม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย ชูกำลัง หลังฟื้นไข้
ดอกกระทือ
ดอก รสขมขื่น สรรพคุณ แก้ไข้เรื้อรัง ไข้ตัวเย็น ไข้จับสั่น แก้ผอมเหลือง

บัวสาย บัวสัตตบรรณ
ดอก รสฝาดหอมเย็น สรรพคุณ บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น บำรุงกำลัง แก้ไข้ตัวร้อน

ดอกคำฝอย
ดอก รสหวานร้อน สรรพคุณ ขับระดู บำรุงประสาท บำรุงหัวใจ
ดอกแห้ง รักษาโรคดีพิการ

ดอกบุนนาค
ดอก รสหอมเย็น สรรพคุณ แก้ลมกองละเอียด วิงเวียน หน้ามืด ตาลาย ใจสั่นหวิว
บำรุงดวงจิตให่ชุ่มชื่น บำรุงโลหิต แก้กลิ่นสาปสางในร่างกาย ชูกำลัง แก้ร้อนใน
ดอกกรรณิกา
ดอก รสขมหวาน สรรพคุณ แก้ไข้ แก้ลมวิงเวียน

ดอกเหงือกปลาหมอ
.ใช้ทั้ง ๕ รสร้อน แก้ไข้หัว แก้พิษฝี แก้พิษกาฬได้ดีมาก

ดอกพิกุล
ดอก สฝาดกลิ่นหอม สรรพคุณ แก้ลม บำรุงโลหิต 

ดอกหญ้าฝรั่น
ใช้เกสร รสขมหวาน สรรพคุณ บำรุงธาตุ บำรุงโลหิต ชูกำลัง แก้ไข้ แก้ตับไต
แก้ซางเด็ก แก้โรคเส้นประสาท

ดอกเจตมูลเพลิงแดง
ดอก รสร้อน แก้น้ำดีในฝัก