วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2558

กัวซาหน้า

กัวซา ยกกระชับใบหน้า     
     เป็นการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับเซลล์ผิวหนังบริเวณใบหน้าโดยตรง กระตุ้นการหมุนเวียนสูบฉีดของโลหิต ทำให้ได้รับออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเต็มที่ พร้อมกันนั้น ก็เป็นการเร่งให้ร่างกายขับสารพิษออกไปเร็วขึ้น เป็นผลให้ผิวพรรณเต่งตึง เนียนนุ่ม ชุ่มชื้น เป็นประกาย มีเลือดฝาด ลดรอยเหี่ยวย่น และจุดด่างดำ


ประโยชน์ของการ ทำ กัวซา ใบหน้า
ช่วยขับสารพิษบนใบหน้า อันเป็นสาเหตุของสิว ฝ้า หน้าหมองคล้ำ ไม่สดใส
2. ลบเลือนริ้วรอยแห่งวัย  ถุงใต้ตา  หางตา  ร่องแก้ม
3. กระตุ้นเส้นชีพจรบนใบหน้า  เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับเซลล์ผิวหน้า และอวัยวะภายใน
4. ยกกระชับกล้ามเนื้อใบหน้า  หนังตา  แก้ม  ปรับเปลี่ยนรูปหน้า
5. กระตุ้นการหมุนเวียนเลือด  ทำให้ใบหน้าได้รับออกซิเจนและสารอาหารเต็มที่
6. ผิวพรรณสดใส  เต่งตึง

ดูแนวการขูดกันชัดๆ

วิธีการกัวซา กระชับปรับรูปหน้า
ใช้สำลีชุมน้ำเปล่าทำความสะอาด ล้างสิ่งสกปรกตกค้างบนใบหน้า รวมทั้งเครื่องสำอางให้เรียบร้อย หลังจากนั้นจึงเริ่มกระบวนการนวดยกกระชับผิวหน้า โดยจับแผ่นกัวซาทำมุม 45 องศา กับผิวหน้า นวดตามแนวเส้นในรูปแนวละ 10 ครั้ง โดยใช้แผ่นกัวซาจุ่มน้ำเป็นระยะเพื่อให้ลื่น ดังนี้
แนวที่ 1  จากกึ่งกลางหน้าผากไปขมับซ้าย
แนวที่ 2   จากกึ่งกลางหน้าผากไปขมับขวา
แนวที่ 3   จากกึ่งกลางหัวคิ้วขึ้นไปไรผม (หน้าผาก)        
แนวที่ 4   หัวตาซ้าย (ใต้หัวคิ้ว) ออกไปทางหางตา
แนวที่ 5   หัวตาขวา (ใต้หัวคิ้ว) ออกไปทางหางตา
แนวที่ 6   หางตาซ้ายขึ้นไปทางขมับ
แนวที่ 7   หางตาขวาขึ้นไปทางขมับ
แนวที่ 8   ใต้ตาซ้ายโค้งขึ้นไปทางขมับ
แนวที่ 9   ใต้ตาขวาโค้งขึ้นไปทางขมับ
แนวที่ 10  ข้างจมูกซ้ายบนลงมาปลายจมูก
แนวที่ 11  ข้างจมูกขวาบนลงมาปลายจมูก
แนวที่ 12  แก้มซ้ายปาดโค้งขึ้นไปทางขมับ
แนวที่ 13  แก้มขวาปาดโค้งขึ้นไปทางขมับ
แนวที่ 14  จากมุมปากบนซ้าย ปาดโค้งผ่านแก้มไปปลายติ่งหู
แนวที่ 15  จากมุมปากบนขวา ปาดโค้งผ่านแก้มไปปลายติ่งหู
แนวที่ 16  จากกึ่งกลางล่องริมฝีปากบนไปทางซ้ายจนถึงปลายติ่งหู
แนวที่ 17  จากกึ่งกลางล่องริมฝีปากบน ไปทางขวาจนถึงปลายติ่งหู
แนวที่ 18  จากกึ่งกลางคาง ไปทางซ้ายจนถึงปลายติ่งหู
แนวที่ 19  จากกึ่งกลางคางไปทางขวาจนถึงปลายติ่งหู
แนวที่ 20   นวดขึ้นเป็นเส้นตรงไปหาคางให้รอบคอด้านซ้ายและขวา
แนวที่ 21   ใช้พูกันชุบสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับสภาพผิวหน้าทา
               ตามแนวที่นวดให้ทั่วใบหน้า
แนวที่ 22   ระหว่างที่รอให้สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์ฯ แห้งให้ใช้แผ่นกัวซาขูดบนศรีษะให้ทั่ว
แนวที่ 23  ใช่สำลีชุปน้ำเช็ดให้สะอาด ใช่สำลีชุปน้ำเย็นเช็ดใบหน้าเพื่อกระชับรูขุมขน
               ทาแป้งฝุ่น ครบการกัวซาเพื่อยกกระชับ ปรับรูปหน้าค่ะ

วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558

ชาใบหม่อน


ชาใบหม่อน : สรรพคุณ
  • -         มีสารกาบา คุณสมบัติเดียวกับข้าวกล้องงอก สารกาบาตัวนี้ช่วยบำรุงระบบประสาททำให้นอนหลับสบาย และช่วยปรับความดันโลหิต ทั้งผู้เป็นความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตปกติสามารถดื่มชาใบหม่อนแทนน้ำได้ แต่คนที่เป็นความดันต่ำแนะนำอย่าดื่มแทนน้ำ ระยะแรกค่อย ๆ ดื่มทีละแก้วจะช่วยปรับความดันให้เป็นปกติ

  • -          มีสารดีอ็อกซิโนจิริมายซิน (Deoxynojirimycin) ซึ่งสารนี้มีผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • -         มีสาร ฟายโตสเตอรอล  (Phytosterol) ที่มีประสิทธิภาพในการลดความระดับคอเลสเตอรอล
  • -          มีสารโพลีฟีนอลโดยรวม  (polyphenols) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดี
  • -         มีแร่ธาตุ และวิตามิน แคลเซียม โปแตสเซียม โซเดียม แมกนีเซียม เหล็ก  สังกะสี  วิตามินเอ วิตามินบี อีกทั้งยังมี กรดอะมิโน ที่จำเป็นต่อร่างกายครบทุกชนิด

ในใบหม่อนมีสาร เควอซิติน (quercetin) และ เคมเฟอรอล (kaempferol) ซึ่งเป็นสารกลุ่ม  ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ที่มีคุณสมบัติดังนี้
 1.      ป้องกันการดูดซึมของน้ำตาลในลำไส้เล็ก
2.      ทำให้กระแสเลือดหมุนเวียนดี  และหลอดเลือดแข็งแรง
3.      ยับยั้งการเกิดสารก่อมะเร็งเม็ดเลือด  มะเร็งเต้านม  และมะเร็งลำไส้ใหญ่
4.      ลดอาการแพ้ต่าง ๆ และยืดอายุเม็ดเลือดขาว



  การชงชาใบหม่อน ด้วยน้ำร้อน 80 90 องศาเซลเซียส จะรักษาปริมาณสารออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด น้ำร้อนจะทำให้สาระสำคัญละลายออกมาได้ดี ควรชงชาใบหม่อนไว้นานอย่างน้อย 6 นาที ก่อนดื่ม ยิ่งแช่ทิ้งไว้นานยิ่งดี จะได้คุณค่าทางโภชนาการและเภสัชวิทยา  ใบหม่อนไม่มีสารแทนนินที่ทำให้ท้องผูก และไม่มีสารคาเฟอีนเหมือนในใบชาและกาแฟ

วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2558

"ธาตุ" ในอายุรเวท


ธาตุ หรือ dhatu อ่านว่า ธา-ตุ
ทำความเข้าใจกับความหมายของคำว่า dhatu (หรือธาตุ ซึ่งอ่านว่า ธา-ตุ ไม่ใช่ ทาต) ก่อน
เท่าที่ผมพอจะทราบมาบ้าง คำว่า dhatu มีความหมายโดยคร่าวๆ ว่า "สิ่งซึ่งคำจุ้น ยึดเหนี่ยว ธำรง และหล่อเลี้ยง" (มาจากรากศัพท์ว่า dhaaranat/ ธารณาต) ซึ่งสามารถครอบคลุมและตีความไปได้หลากหลาย ตั้งแต่โลหะธาตุ แร่ธาตุ ไปกระทั่งถึงเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย
แต่เมื่อใช้ในบริบทของร่างกายในความหมายแบบรวมๆ ธาตุน่าจะพอแปลแบบเทียบเคียงคร่าวๆ ว่า "เนื้อเยื่อที่ประกอบกันเป็นโครงสร้างของร่างกาย" เพื่อให้ร่างกายมีชีวิต ธำรงคงอยู่ จากการได้รับการหล่อเลี้ยงอันจำเป็น(จากตัวธาตุเอง)
หากเปรียบร่างกายเราเป็นอาคารบ้านเรือน ธาตุก็อาจเปรียบได้กับ พื้น ผนัง หลังคาซึ่งประกอบกันเพื่อรองรับห้องหับต่างๆ ที่สร้างขึ้น กระทั่งท่อประปา(ซึ่งเป็นโครงสร้างที่จะรองและรับน้ำเพื่อนำมาดื่มกินและใช้สอยเพื่อการต่างๆ), ท่อน้ำทิ้ง (เพื่อระบายถ่ายเทน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือน), สายไฟฟ้า (เพื่อรับกระแสไฟฟ้า)
อายุรเวทจำแนกธาตุออกเป็น ๗ ลักษณะตามการทำหน้าที่ของธาตุหรือเนื้อเยื่อที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของร่างกาย ตั้งแต่สารอาหาร(หรือรสะ/ rasa)หลังจากที่อาหารถูกย่อยในกระเพาะและถูกดูดซึมในลำไส้และลำเลียงไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย, เลือด (รักตะ/rakta), เนื้อ (มามสะ/mamsa), มันหรือไขมัน (เมทะ/meda), กระดูก (อัสถิ/asthi), ไขกระดูก (มัชชะ/majja) และของเหลวหรือเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่สืบพันธุ์ (ศุกระ/shukra)
หน้าที่ของแต่ละ dhatu ตามคัมภีร์อายุรเวทว่าไว้อย่างนี้ครับ
๑. rasa dhatu (รสะ ธาตุ) มีหน้าที่ที่เรียกในทางอายุรเวทว่า "ปรีณะนะ" พะเน้าพะนอหรือให้ความอิ่มเอมเปรมปรีดิ์แก่โครงสร้างทั้งหมดของร่างกาย หรือจะพูดง่ายๆ แบบหยาบๆ ว่าปรนเปรอสารอาหารให้แก่โครงสร้างทั้งหมดของร่างกาย
รสะ ธาตุก็น่าจะคือสารอาหารหรือที่ตำราที่แปลจากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาอังกฤษมักใช้คำว่า chyle หรือไม่ก็ พลาสมา ซึ่งผมคิดว่าการจะเทียบเช่นนี้ได้ ต้องแน่ใจว่าคำว่า พลาสมาหรือ chyle ในทางการแพทย์แผนปัจจุบันหรือตะวันตก มีหน้าที่หรือ function แบบเดียวกับรสะในทางอายุรเวท คือนำพาสารอาหารไปหล่อเลี้ยงร่างกายส่วนต่างๆ
๒. rakta dhatu (รักตะ ธาตุ) มีหน้าที่ "ชีวณะ" แปลว่า ธำรงคงไว้ซึ่งความมีชีวิต หรือให้ชีวิต (จนบัดนี้ผมยังตีความหมายลึกๆ และละเอียดชนิดที่โดนใจและถูกใจตัวเองไม่ได้ว่า เมธีอายุรเวทหมายถึงอะไรแน่ แต่เคยอดนึกถึง "ออกซิเจน" ในเลือดไม่ได้ ทั้งๆ ที่เข้าใจและสำเหนียกว่า ชีวณะหรือสิ่งที่ให้ชีวิต(ความหมายคล้ายๆ "ปราณะ" ในทางอายุรเวท ไม่น่าจะเทียบกับออกซิเจนในทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้ชนิดตรงไปตรงมา
๓. mamsa dhatu (มามสะ ธาตุ) ทำหน้าที่ "เลปะ" แปลว่า ห่อหุ้มหรือปกคลุม
ดูรวมๆ แล้วมามสะ ธาตุ ก็น่าจะคือกล้ามเนื้อทั่วร่างกายนะครับ
๔. meda dhatu (เมทะ ธาตุ) มีหน้าที่ที่เรียกว่า "สะเนหะ" แปลว่า หล่อลื่นหรือให้ความมัน ก็น่าจะคือไขมันที่ไปกองสุมอยู่รอบๆ พุง รวมทั้งไขมันทั่วร่างกาย
๕. asthi dhatu (อัสถิ ธาตุ) ทำหน้าที่ "ธารณะ" หรือค้ำจุน ก็คือกระดูกที่ทำให้ร่างกายตั้งอยู่ได้ ไม่เช่นนั้นเราคงลงไปกองเป็นไส้เดือนกันหมด
๖. majaa dhatu (มัชชะ ธาตุ) ทำหน้าที่ "ปูรณะ" หรือเติมเต็ม หมายถึงของเหลวที่เติมเข้าไปในช่องว่างของอัสถิ หรือไขกระดูก หรือแม้แต่สมองในทางอายุรเวทถือว่าเป็น มัชชะ เช่นกัน เพราะมัน(ถูกสร้างขึ้นมา)เติมกะโหลกศีรษะ
และสุดท้าย 
๗. shukra dhatu (ศุกระ ธาตุ) มีหน้าที่ที่เรียกว่า "ครรภะ อุตปาทะ" แปลว่า ให้ชีวิตใหม่ หรือสืบพันธุ์นั่นเอง
ที่ไล่เรียงหน้าที่ของแต่ธาตุก็เพื่อที่จะบอกต่อว่า ครูผมหลายคนมักจะเน้นย้ำว่า มุมมองเชิงสรีรวิทยาและกายวิภาคของอายุรเวทนั้น มีทั้งในระดับที่ gross หรือหยาบๆ กับระดับที่ละเอียดหรือ subtle
นั่นหมายถึงว่า แม้เราจะบอกว่า รักตะ ธาตุ คือเลือดที่ไหลเวียนไปตามร่างกาย ส่วน เนื้อหรือมามสะ ธาตุก็คือกล้ามเนื้อที่ห่อหุ้มห่มคลุมร่างกาย ในขณะที่ ศุกระ ธาตุ หรือเนื้อเยื่อ/ของเหลวสืบพันธุ์คือไข่ในผู้หญิงและอสุจิในผู้ชาย
แต่หากเราศึกษาเซลล์แต่ละเซลล์ เราจะพบว่ากระทั่งในเซลล์หนึ่งเซลล์เองก็มีส่วนประกอบในเซลล์ที่ทำหน้าที่แทบจะครบทั้ง ๗ หน้าที่แบบเดียวกับธาตุในระดับหยาบ คือร่างกายในภาพรวม นั่นก็คือจะมีส่วนของเซลล์ที่ทำหน้าที่ให้เซลล์คงรูปร่างอย่างที่มันควรเป็นได้(ซึ่งเป็นหน้าที่ของธาตุที่เรียกว่า อัสถิ หรือกระดูกไงครับ) บางส่วนของเซลล์ก็ทำหน้าที่ในการสร้างเซลล์ใหม่ (แบบเดียวกับศุกระหรือเนื้อเยื่อสืบพันธุ์)
ที่มา: www.facebook.com/bhaisajyashram/posts/475561622499443