วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ว่าด้วยเรื่องธาตุไฟ


จตุกาลเตโช(ธาตุไฟ ๔ กอง )แผนโบราณ.
เตโชธาตุ ๔ ประการ( ปิตตะ ไฟ)
.
๑.สันตัปปัคคี คือไฟสำหรับอุ่นกายควบคุมทุกส่วนในกายให้ขับเคลื่อนไปกับลม ซึ่งทำให้ตัวเราอบอุ่นเป็นปกติอยู่ มี ดี๑ส่วน,อาหาร(อพัทธะ)๓ ส่วน อยู่ในเส้นโลหิตดำ อาศัยอยู่กับ อพัทธะปิตตะ(ยังไม่แยกดีออก)ทำหน้าที่อบอุ่นโลหิตดำไม่ให้แข็ง โลหิตจึงแล่นไปตามเส้นร่างกายได้ปกติ ช่วยปรับอุณหภูมิให้คงที่ไม่สูงตามอากาศภายนอก พิการ แตกเมื่อใดแก้ไม่ได้ตายแล (เมื่อขาดไปการขาดพลังงานที่จะทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ ภายในร่างกายก็จะเย็นลงทุกขณะโดยเริ่มเย็นตั้งแต่ปลายเท้าซึ่งเป็นส่วนปลายสุด ให้กายเย็นชืดเกิดมากไปทำให้ไข้สูง) เริ่มใหม่ๆคือตีนมือชา,ให้เป็นเหน็บ
.
๒.ปริทัยหัคคี คือไฟสำหรับร้อนระส่ำระสาย กำหนดกำเริบเมื่ออายุ๑๒ปี(รอบเดือน)อยู่รอบหัวใจและเส้นโลหิตแดง(รัตตโลหิต) ทำหน้าที่อบอุ่นหัวใจให้มีกำลังสูบฉีดโลหิตและรักษาหัวใจไม่ให้แห้ง ไม่ให้เน่าให้ความร้อนกาย และเป็นไฟซึ่งทำให้เราต้องอาบน้ำและพัดวี คือความร้อนที่มาระบายออกที่ผิวหนัง และทำหน้าที่ให้ความร้อนใจเป็นไฟแห่งราคะให้เร่าร้อน รวมทั้งอารมณ์ทางเพศ(ฮอร์โมนในหนุ่มสาว)เป็นสายฮอร์โมนก่อเกิดเพื่อสืบดำรง เผ่าพันธุ์ พิการ จับมือเท้าเย็นชีพจรเดินไม่สะดวก ชีพจรขาด๑หรือ๒ หลักก็ดี ทำให้ร้อนภายใน เย็นภายนอกมือเท้า บางทีให้เย็นแต่เหงื่อตกมากใหญ่เท่าเม็ดข้าวโพด (โลหิตไม่ไหลเวียนมาสู่ผิวหนัง ทำให้ตัวเย็นซึ่งอาจเกิดจากการไหลเวียนล้ม ในขณะเดียวกันต่อมเหงื่อถูกกระตุ้น เหงื่อก็จะออกมากเป็นเม็ดโตๆคนไข้ตัวเย็นแต่รู้สึกร้อนภายในเพราะความร้อนยังไม่ถูกระบายออก เกิดมากไปทำให้ตัวร้อนจัด เกิดน้อยไปทำให้ตัวเย็น)
.
๓.ชิรณัคคิ คือไฟสำหรับเผาให้แก่คร่ำคร่า เป็นไฟประจำอยู่ตามเนื้อทั่วไปในกาย,ให้ความอบอุ่น,รักษาเนื้อไม่ให้เปื่อย เมื่อพิการกำเริบซึ่งทำให้ร่างกายเราเหี่ยวแห้ง ทรุดโทรม ชราภาพ มีหน้าที่ทำให้เนื้อเยื่อเสื่อมสลายทุกขณะ จะกำเริบเมื่ออายุ๓๐ ปี พิการ ทำให้กายไม่รู้สึกสัมผัส ลิ้นไม่รู้รส ,จมูกกลับมาได้กลิ่น,หูตึงอยู่กลับได้ยิน,ให้เดิมหน้าผากตึง นัยน์ตาดูไม่รู้จักอะไรมองไม่เห็นกลับเห็นอาการเปลี่ยนไปมาได้ เป็นสัญญาณว่าพระยายมราชมาหลอกล่อประเล้าประโลมสัตว์โลกทั้งหลา(แพทย์พึงรู้อาการใกล้ตาย) เกิดมากไปทำให้แก่ก่อนวัย บางอวัยวะเสื่อมเร็ว จากไตพิการมาก่อน เกิดน้อยไปทำให้เนื้อเยื่อบางส่วนไม่ถูกสลายไปตามปกติทำให้อวัยวะหนาขึ้นเช่นผิวหนัง
.
๔. ปริณามัคคี คือไฟสำหรับย่อยอาหาร แยกน้ำดีที่มีรสขมคาวออกจากโลหิตปิตตะแล้ว (ไฟในถุงของดี)และอยู่ในกระเพาะอาหาร ทำหน้าที่ย่อยอาหารให้สุกไม่บูดเน่าและรักษากระเพาะให้อบอุ่นเสมอ และทำให้อาหารที่เรากลืนลงไปนั้น แหลกละเอียดและย่อยอาหารให้สุก คอยควบคุมอาหารไม่ให้บูดเน่า และคอยรักษาอุณหภูมิภายในลำไส้ตลอดจนถึงช่วงของทวารทั้งหมด พิการ กำเริบให้ร้อนในอก,ร้อนในใจไอมองคร่อ จากไฟไปกระทบน้ำดีในฝักตรงขั้วให้เดือดพลุ่งไประคนกับลมเบื้องบนในประสาททำให้เกิดโรคเส้นเลือดในสมองแตก(สังเกตอาการไข้กาฬ ครั่นเนื้อครั่นตัว,คอแห้กระหายน้ำ,ปวดหัวบ้าง) อาหารไม่ย่อยท้องอืดลมดันขึ้นทำให้แน่นหน้าอก ถ้าร่างกายขาดอาหารอยู่นานๆอาจทำให้เป็นโรคเหน็บชา เท้าบวมได้ ให้ขัดข้อมือข้อเท้า เป็นมองคร่อ(ปอดเป็นหวัด) ไอ ปวดฝ่ามือฝ่าเท้า อาการท้องแข็งผะอืดผะอม เกิดมากไปทำให้อาหารย่อยเร็ว หิวบ่อย เกิดน้อยไปทำให้อาหารย่อยช้า ท้องอืดผะอืดผะอม
เพราะตัวธาตุ ๔ ขยายออกมาเป็นการทำงานตามหน้าที่ตนที่ปกติคนเรา และสิ่งมีชีวิต ต้องมีทุกคน ซึ่งตัวธาตุยังมีตัวที่ทำงานให้ธาตุอีก แต่แท้จริงแล้วยังมีการทำงานของธาตุภายใน ที่เราเรียกตรีธาตุ อีก ๓ ประการ ในส่วนของตรีธาตุก็คืออุปทายรูปแปรว่ารูปอาศัยที่เป็นตัวขับเคลื่อนกลจักรสิ่งมีชีวิต
@ อ. ปณิตา ถนอมวงษ์ จาก อ.นิต
ระบบเลือด ที่มีปิตตัง และเสมหัง ร่วม จนเป็นที่มาของ อุณหังเตโช และสีตังเตโชเพราะ....น้ำดี มี ๒ ชนิด คือ
แบบฝัก และแบบเอิบอาบภายในตลอดร่างคือปรากฏการณ์ตอน วิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป...ภาษาปัจจุบันคือ "จิต สังเคราะห์ ร่าง(กาย)"(ที่เกิดพร้อมกับ กายสังเคราะห์จิต)น้ำดีตามการค้นพบของพระโยคาจารผู้สำเร็จ
ท่านบรรยายว่า....
"ดีที่ไม่เป็นฝักย่อมซึมซาบไปทั่วสรีระที่เหลือตั้งอยู่....ฯลฯ ดุจหยดน้ำมันซ่านไปทั่ว"ที่เป็นฝัก(ถุง) แนบเนื้อตับระหว่างหัวใจและปอดแสดงว่า...ไวต่อปฏิกิริยาของจิตเพราะเมื่อกำเริบทำให้สัตว์บ้า ทิ้งหิริโอตตัปปะ หมายถึง น้ำดี..คือ พลช่วยรบแผนกส่งเสบียงฉุกเฉิน ประกอบด้วย อากาศจากปอด และอาหารจากตับ รับข้อมูลบัญชาการจาก มโนธาตุ/มโนวิญญาณธาตุ แก่เม็ดเลือดในการสังเคราะห์ธาตุคาร์บอนให้เป็นอินทรียสาร ส่งอากาศให้ไม่เพียงพอ มีแต่อาหารมากไป สัตว์คลั่ง ไร้หิริโอตตัปปะทันที(จึงถูกเรียกเป็นภาวะ "อุณหังเตโช")
ปล. แหล่งกำเนิดไฟธาตุคือ ตับเรียกไฟกองใหญ่
.
โดย อ. ปณิตา ถนอมวงษ์