โคลงบทที่ 67 ดัดตนแก้ลมกล่อน
|
ถอดความ | |
พระฤาษีสิทธิกรรม แสดงบทอาสนะแห่งฤาษีด้วยการ นั่งยกสองเท้าขึ้น ไขว่บนคอ สองมือกดโดนแข้งของสองขา เป็นท่าดัดตนแก้ลมกร่อน อาการ “กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ผอมแห้งแรงน้อยและเลือดลมเดินไม่ปกติ" คนไทยสมัยก่อนเรียกกันว่า กษัยอาการของกระษัยหรือกษัยโรค ตำราทางการแพทย์แผนไทยอธิบายว่า โรคที่บังเกิดขึ้นแก่มนุษย์ ทำให้มีอาการแห่งความเสื่อมโทรมซูบผอม สุขภาพของร่างกายไม่สมบูรณ์ ทั้งนี้เนื่องจากเป็นโรคหรือไข้เสื่อมโทรมไปทีละน้อยเป็นเวลาต่อเนื่องกันโดยมิได้รับการบำบัดรักษา หรือรักษาแต่ไม่ถูกกับโรคหรือไข้นั้นๆ โดยตรง เนื่องจากไม่มีอาการอะไรรุนแรงให้เห็นได้ชัด มีอาการผอมแห้งแรงน้อย โลหิตจาง ผิวหนังซีดเหลือง ปวดเมื่อยตามร่างกายและกล้ามเนื้อ บางครั้งก็ไอ บางทีไอเป็นโลหิต ทำให้รู้สึกแน่นและหนักตัว กินไม่ได้นอนไม่หลับ ปัสสาวะเหลือง และปัสสาวะกะปริดกะปรอย ไม่มีกำลังทำให้ชาปลายมือปลายเท้า มีเหงื่อออกตามฝ่ามือฝ่าเท้า และเหงื่อออกตอนกลางคืน ยอกเสียวตามหัวอกและชายโครง บางคนผิวหนังตกกระตามร่างกาย กล้ามเนื้อชักหดและลีบ มีอาการสะท้านร้อนสะท้านหนาวเป็นคราวๆ และท้องผูกเป็นประจำกระษัยชนิดที่เกิดจาก วุฒิกะโรค (วุทธิโรค)คือกษัยกล่อน ๕ ใช้ดัดตนแก้ลมกล่อน |
ที่มา : http://www.sainampeung.ac.th/chalengsak/units/unit4/chapter4/chapter4_3/hermit_exersice/67.html