
นิยาม
๑. “การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย” หมายความว่า การประกอบวิชาชีพที่กระทําหรือ
มุ่งหมายจะกระทําต่อมนุษย์ เกี่ยวกับการแนะนํา การตรวจโรค
การวินิจฉัยโรค การบําบัดโรค การรักษาโรค
การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ
โดยอาศัยองค์ความรู้ด้านเวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย
การผดุงครรภ์ไทย การนวดไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย
และองค์ความรู้ด้านอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด
โดยคําแนะนําของคณะกรรมการ ทั้งนี้
ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทยซึ่งถ่ายทอดหรือพัฒนาสืบต่อกันมา
ตามตําราการแพทย์แผนไทยหรือจากสถานศึกษาที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรอง
๒. “การแพทย์แผนไทย” หมายความว่า กระบวนการทางการแพทย์เกี่ยวกับการตรวจ วินิจฉัย
๒. “การแพทย์แผนไทย” หมายความว่า กระบวนการทางการแพทย์เกี่ยวกับการตรวจ วินิจฉัย
บําบัด รักษา หรือป้องกันโรค
หรือการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพของมนุษย์ การผดุงครรภ์ การนวดไทย
และให้หมายความรวมถึง การเตรียมการผลิตยาแผนไทย
และการประดิษฐ์อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์
ทั้งนี้ โดยอาศัยความรู้หรือตําราที่ได้ถ่ายทอดและพัฒนาสืบต่อกันมา
๓. “เวชกรรมไทย” หมายความว่า
การตรวจ การวินิจฉัย การบําบัด การรักษา การป้องกันโรค
การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ รวมถึงการผดุงครรภ์ไทย เภสัชกรรมไทย
และการนวดไทย ทั้งนี้
ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย
๔. มาตรา ๙ สภาการแพทย์แผนไทย มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาต รับรองปริญญา
ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตร รับรองหลักสูตร รับรองวิทยฐานะของสถาบันที่ทําการฝึกอบรม ออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพเป็นต้น
คณะกรรมการสภาการแพทย์แผนไทย ประกอบด้วย
กรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย
และการแพทย์ทางเลือก อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
และเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
รวมกรรมการทีมา่จากการเลือกตั้งและโดยตำแหน่ง ทั้งหมด 17 คน
- คณะกรรมการ หมายถึง คณะกรรมการการวิชาชีพ
- ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
เป็นนายกสภาแพทย์แผนไทย รัฐมนตรีฯเป็น สภานายกพิเศษ
กรรมการตามมาตรา ๑๕ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปน้ี
- (๑)
เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์
- (๒) เป็นผู้ไม่เคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
- (๓) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
- ผู้แทนหน่วยงานของรัฐ
ไม่มีวาระ (ครบวาระตามตำแหน่งงานหลัก)
กรรมการตามมาตรา ๑๕ พ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(๑) สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๔
(๒) ขาดคณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๙
(๓) ลาออก
มาตรา ๓๑ ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพ
กระทําการประกอบวิชาชีพ เว้นแต่ในกรณี
(๑) การกระทําต่อตนเอง
(๒) การช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยตามหน้าที่
ตามหลักมนุษยธรรมหรือตามธรรมจรรยาโดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน
(๓) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรม
ในความควบคุมของสถาบันการศึกษาวิชาชีพการแพทย์แผนไทย
(๔) บุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม เทศบาล
องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตําบล
กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษอื่นตามที่มีกฎหมายกําหนด
หรือสภากาชาดไทย มอบหมายให้ประกอบวิชาชีพในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ทั้งนี้
ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๕) บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในสถานพยาบาล
ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๖) การประกอบวิชาชีพ ของที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญของทางราชการ
ทั้งนี้ โดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกําหนด
(๗) หมอพื้นบ้าน ซึ่งมีความรู้ความสามารถด้วยภูมิปัญญา
ตามวัฒนธรรมของชุมชนที่สืบทอดกันมานานไม่น้อยกว่าสิบปีเป็นที่นิยม
ยกย่องจากชุมชน
- ม. ๓๒
ห้ามใช้คําหรือข้อความด้วยอักษรไทยหรืออักษรต่างประเทศว่าแพทย์แผนไทย
หรือใช้อักษรย่อของคําดังกล่าว
ซึ่งทําให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ
- มาตรา ๓๕
ผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตต้องสมัครเป็นสมาชิกแห่งสภาการแพทย์แผนไทย
และมีคุณสมบัติตามที่กําหนดไว้ในข้อบังคับเมื่อสมาชิกภาพของผู้ใดสิ้นสุดลงตามมาตรา
๑๔ ให้ใบอนุญาตของผู้นั้นสิ้นสุดลงให้ผู้ซึ่งสมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๔
(๓) และ (๔)
ส่งคืนใบอนุญาตต่อเลขาธิการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบการสิ้นสุด
- มาตรา ๓๖ ผู้ประกอบวิชาชีพต้องรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
- มาตรา ๓๗ บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายเพราะการประพฤติผิดตาม ม. ๓๖
ของผู้ประกอบวิชาชีพมีสิทธิกล่าวหาผู้ก่อให้เกิดความเสียหายนั้น โดยทําเป็นหนังสือยื่นต่อสภาฯ บุคคลอื่นมีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพว่าประพฤติผิดตามมาตรา
๓๖ โดยทําคํากล่าวโทษเป็นหนังสือยื่นต่อสภาฯ กรรมการมีสิทธิกล่าวโทษผ้ประกอบวิชาชีพว่าประพฤติผิดตามมาตรา
๓๖ โดยแจ้งเรื่องต่อสภาฯ
- สิทธิการกล่าวหา
การกล่าวโทษสิ้นสุดลงเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ได้รับความเสียหายหรือผู้กล่าวโทษรู้เรื่องการประพฤติผิด
- ถ้ารู้ตัวผู้ประพฤติผิด
ทั้งนี้ ไม่เกินสามปีนับแต่วันที่มีการประพฤติผิดตามมาตรา ๓๖
- การถอนเรื่องการกล่าวหาหรือการกล่าวโทษที่ได้ยื่นหรือแจ้งไว้แล้วนั้นไม่เป็นเหตุให้ระงับการดําเนินการ
- มาตรา
๓๘ เมื่อสภาฯได้รับเรื่อง ม. ๓๗
ให้เลขาธิการเสนอเรื่องดังกล่าวต่อประธานอนุกรรมการจรรยาบรรณ
- มาตรา
๓๙ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจรรยาบรรณจากสมาชิกประกอบด้วย ประธานคนหนึ่ง
และอนุกรรมการมีจํานวนรวมกันไม่น้อยกว่าสามคน
มีอํานาจหน้าที่สืบสวนหาข้อเท็จจริงแล้วทํารายงานพร้อมทั้งความเห็นเสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณา
- มาตรา
๔๒
ให้อนุกรรมการจรรยาบรรณและอนุกรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มีอํานาจเรียกบุคคลใดๆ มาให้ถ้อยคําและมีหนังสือแจ้งให้บุคคลใดๆ
ส่งเอกสารหรือวัตถุเพื่อประโยชน์แก่การดําเนินงาน
- มาตรา
๔๓ ให้ประธานอนุกรรมการสอบสวนมีหนังสือแจ้งข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษ
พร้อมทั้งส่งสําเนาเรื่องให้ผู้ถูกกล่าวหาหรือกล่าวโทษไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันเริ่มทําการสอบสวน
- คณะกรรมการมีอํานาจวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑)
ยกข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษ
(๒)
ว่ากล่าวตักเตือน
(๓)
ภาคทัณฑ์
(๔)
พักใช้ใบอนุญาตมีกําหนดเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินสองปี
(๕)
เพิกถอนใบอนุญาต
ภายใต้บังคับมาตรา
๓๐ คําวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการตามมาตรานี้
ให้ทําเป็นคําสั่งสภาฯพร้อมด้วยเหตุผลของการวินิจฉัยชี้ขาด และให้ถือเป็นที่สุด
- มาตรา
๔๖ ให้เลขาธิการแจ้งคําสั่งตาม ม. ๔๕
ไปยังผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวโทษเพื่อทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีคําสั่ง
และให้บันทึกข้อความตามคําสั่งนั้นไว้ในทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพพร้อมแจ้งเหตุผลให้ทราบด้วย
- มาตรา ๔๗ ห้ามมิให้ผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้หรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพหรือแสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิประกอบวิชาชีพ
- มาตรา ๔๘ ฝ่าฝืนตามมาตรา ๔๗ และถูกลงโทษจําคุกตามมาตรา ๕๓ โดยคําพิพากษาถึงที่สุด ให้คณะกรรมการสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของผู้นั้นนับแต่วันที่ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุด
- มาตรา ๔๙ ผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตอาจขอรับใบอนุญาตอีกได้เมื่อพ้นสองปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต แต่เมื่อถูกปฏิเสธการออกใบอนุญาตอีก ผู้นั้นจะยื่นคําขอรับใบอนุญาตในครั้งต่อๆ ไปได้อีกต่อเมื่อสิ้นระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่คณะกรรมการปฏิเสธการออกใบอนุญาต
พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๕๐
ในการปฏิบัติหน้าที่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจดังต่อไปนี้
(๑)
เข้าไปในสถานที่ทําการของผู้ประกอบวิชาชีพในเวลาทําการของสถานที่นั้น
เพื่อตรวจสอบหรือควบคุมให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) เข้าไปในสถานที่หรือยานพาหนะใด
ๆ ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า
จะมีการกระทําความผิดในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทําการของสถานที่นั้น
ประกอบกับกรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าหากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้
เอกสารหรือวัตถุดังกล่าวจะถูกยักย้าย ซุกซ่อน ทําลายหรือทําให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม
(๓) ยึดเอกสาร หรือวัตถุใด ๆ
ที่อาจใช้เป็นหลักฐานในการดําเนินคดีการกระทําความผิด
ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง
ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องอํานวยความสะดวกตามสมควร
มาตรา ๕๑ ในการปฏิบัติหน้าที่
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจําตัวบัตรประจําตัวพนักงาน
มาตรา ๕๒ ในการปฏิบัติหน้าที่
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
บทกําหนดโทษ
เมื่อมีคำกล่าวหา กล่าวโทษ
1. สภาการแพทย์แผนไทยรับคำร้องส่งเรื่องให้เลขาธิการ
2. เลขาเสนอเรื่องต่อ ประธานอนุกรรมการจรรยาบรรณ ตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวน (ทุกเรื่อง ก่อนลงโทษ)
3. เลขานุการ เป็นผู้แจ้งผลการพิจารณา ภายใน ๗ วันนับจากมีคำสั่งและบันทึกข้อความในทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพด้วย
1. สภาการแพทย์แผนไทยรับคำร้องส่งเรื่องให้เลขาธิการ
2. เลขาเสนอเรื่องต่อ ประธานอนุกรรมการจรรยาบรรณ ตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวน (ทุกเรื่อง ก่อนลงโทษ)
3. เลขานุการ เป็นผู้แจ้งผลการพิจารณา ภายใน ๗ วันนับจากมีคำสั่งและบันทึกข้อความในทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพด้วย
ผู้ประกอบวิชาชีพขาดคุณสมบัติ ต้องไม่ทำผิดหน้าที่
• ไม่ได้ขึ้นทะเบียน และไม่มีใบอนุญาต
o ทำการประกอบวิชาชีพ ไม่เกิน ( ๓ ปี ๖๐,๐๐๐บาท จำ/ปรับ) ม. ๓๑
o ทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ แต่ไม่ได้กระทำ ไม่เกิน( ๑ปี ๒๐,๐๐๐ บาท จำ/ปรับ) ม.๓๒
o ทำการประกอบวิชาชีพ ไม่เกิน ( ๓ ปี ๖๐,๐๐๐บาท จำ/ปรับ) ม. ๓๑
o ทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ แต่ไม่ได้กระทำ ไม่เกิน( ๑ปี ๒๐,๐๐๐ บาท จำ/ปรับ) ม.๓๒
• ได้ขึ้นทะเบียนและ ได้รับใบอนุญาต
o ทำการประกอบวิชาชีพ ระหว่างถูกสั่งพัก/เพิกถอนใบอนุญาต ไม่เกิน ( ๓ปี ๖๐,๐๐๐ บาท จำ/ปรับ ) ม. ๔๗
o ทำการประกอบวิชาชีพ ระหว่างถูกสั่งพัก/เพิกถอนใบอนุญาต ไม่เกิน ( ๓ปี ๖๐,๐๐๐ บาท จำ/ปรับ ) ม. ๔๗
o ประกอบวิชาชีพ ผิดสาขา ไม่เกิน ( ๓ ปี
๖๐,๐๐๐ บาท จำ/ปรับ )
o ทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่ายังทำการประกอบวิชาชีพฯได้(ถูกพัก/เพิกถอน) ไม่เกิน ( ๑ ปี ๒๐,๐๐๐ บาท จำ/ปรับ ) ม. ๓๓
o ทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่ายังทำการประกอบวิชาชีพฯได้(ถูกพัก/เพิกถอน) ไม่เกิน ( ๑ ปี ๒๐,๐๐๐ บาท จำ/ปรับ ) ม. ๓๓
o มาตรา ๕๕
ผู้ใดฝ่าฝืนไม่อํานวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
o มาตรา ๕๖
ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคําหรือไม่ส่งเอกสารหรือวัตถุใด ๆ
ตามที่เรียกหรือแจ้งโดยไม่มีเหตุอันควร
ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
หรือทั้งจําทั้งปรับ
o มาตรา ๕๗ พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่แสดงบัตรประจำตัว
โดยไม่มีเหตุอันควร ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น