หมอชาวบ้านฟื้นตำนานสุขภาพวิถีไทย
กว่า 100
ปีที่ผ่านมาที่การแพทย์แผนตะวันตก เข้ามามีอิทธิพลต่อระบบสุขภาพของคนไทย และเมื่อ
จอมพล ป.พิบูลสงคราม มีนโยบายให้การแพทย์สมัยใหม่แผ่ขยายครอบคลุมไปทั้งประเทศ
ด้วยการโฆษาประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อนานาชนิด
รวมทั้งฝังรากของการแพทย์ตะวันตกเข้าสู่สถาบันการศึกษา หมอ ยา
และองค์ความรู้ของการรักษาแบบตะวันตกรวมกับกระแสทุนนิยมที่เชี่ยวกราก
จึงได้สั่นคลอนความศรัทธา ของ “การแพทย์พื้นบ้าน” ซึ่งเป็นรากเหง้าของ “การแพทย์แผนไทย.” ภูมิปัญญาและองค์ความรู้ของ หมอพื้นบ้าน
ซึ่งเคยเป็นที่พึ่งพาด้านสุขภาพของคนทั้งแผ่นดินมาหลายชั่วอายุคน
ถูกลดทอนให้กลายเป็นเพียง “ภูมิปัญญาเถื่อน ” จากพระราชบัญญัติการแพทย์เพื่อควบคุมการประกอบโรคศิลปะ
ซึ่งประกาศใช้เมื่อปี พศ. 2466 ทำให้หมอพื้นบ้านทั่วแผ่นดิน ต้องกลาย เป็น “หมอเถื่อน” หมอพื้นบ้านต้องหลบซ่อนและปกปิดตัวเอง
และบางคนถึงขั้นเผาตำราทิ้งเพื่อให้พ้นจากการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย
ภูมิปัญญาและองค์ความรู้ด้านการแพทย์พื้นบ้านซึ่งเป็นต้นทุนด้านสุขภาพของชาวไทย ที่เชื่อมร้อยเข้ากับการใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติ
ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมทั้งความสัมพันธ์ใกล้ชิดของคนในชุมชน
กำลังถูกทำลังถูกทำลายล้างด้วยกระแสบริโภคนิยมของระบบการแพทย์เชิงเดี่ยว
การแย่งชิงภูมิปัญญาสมุนไพรไทย และผลประโยชน์ที่ทับซ้อนจากบริษัทยาข้ามชาติ
รวมทั้งระบบนิเวศที่ถูกทำลายทำให้สมุนไพรนับหมื่นชนิดต้องสูญพันธุ์ไปจากผืนป่า
การถ่ายทอดวิชาการแพทย์พื้นบ้านที่คนรุ่นใหม่ตีค่าเป็นเพียง
วิชาที่งมงาย ไม่สามารถสร้างรายได้เป็นเม็ดเงินเต็มไม้เต็มมือ
ทำให้พลเมืองหมอพื้นบ้านที่หลงเหลืออยู่ในประเทศไทยเพียงสามหมื่นกว่าคนในขณะนี้
อาจเป็นหมอพื้นบ้านรุ่นสุดท้าย และองค์ความรู้ของชาติซึ่งเป็นภูมิปัญญาด้านการดูแลรักษาสุขภาพที่ผ่านการพิสูจน์ผลของการรักษามาหลายชั่วอายุคน
ก็กำลังจะตายไปพร้อมกับอายุขัยของหมอพื้นบ้านเหล่านี้
*************************************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น