สมาคมเภสัชและอายุรเวชโบราณแห่งประเทศไทย ประวัติ เมื่อปีพ.ศ.2495 มีการก่อตั้ง “สมาคมเภสัชกรรมไทยโบราณแห่งประเทศไทย” มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ร้านไทยวัฒนาโอสถ (ข้างโรงไฟฟ้าวัดเลียบ) มีหมอแดง ตันเวชกุล เป็นนายกสมาคมคนแรก ต่อมาปี พ.ศ.2503 ได้ย้ายมาอยู่ที่วัดสามพระยา ปี พ.ศ.2504 ขุนโสภิตบรรณรักษ์ ( ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคม โดยมี ปี พ.ศ.2505 ได้เปลี่ยนชื่อสมาคมเป็น “สมาคมเภสัชและอายุรเวชโบราณแห่งประเทศไทย” ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่ถนนรามอินทรา 39 เมื่อปี พ.ศ.2542
วันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
ไหล่ติด เจ็บไหล่
เจ็บไหล่..ไหล่ติด..ข้อไหล่ติดแข็ง
• อาการข้อไหล่ติด หรือข้อไหล่ติดแข็ง มักพบหลังจากมีการเจ็บของข้อไหล่ ซึ่งอาจเจ็บปวดอยู่นานเป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน เมื่ออาการเจ็บทุเลาลง จะตามมาด้วยการยกแขนได้ไม่ดีเหมือนเดิม ซึ่งจะรบกวนการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่นหยิบของจากหิ้งสูง รูดซิปเสื้อหรือกระโปรงซึ่งอยู่ด้านหลัง หรือดึงกระเป๋าใส่เงินจากกระเป๋าหลังของกางเกง แต่ถ้าท่านได้รู้จักปฏิบัติตนตั้งแต่เริ่มมีอาการเจ็บหัวไหล่ในช่วงแรก โดยไม่ปล่อยปละละเลยจะทำให้อาการไม่ลุกลามจนเป็นมาก และต้องเสียเงินเสียเวลาเพื่อรักษาอาการข้อไหล่ติดแข็ง
• ขั้นตอนของการเกิดข้อไหล่ติดแข็ง
>> ระยะที่หนึ่ง : ระยะเจ็บไหล่มีอาการดังนี้
๑. เจ็บเมื่อมีการเคลื่อนไหวของ แขน
๒. เจ็บทั่วไปบริเวณหัวไหล่ แต่ ไม่มีจุดกดเจ็บที่แน่นอน
๓. มีกล้ามเนื้อเกร็งตัว (muscle spasm)
๔. เจ็บมากขึ้นในเวลากลางคืน หรือเมื่ออยู่นิ่งๆ
>> ระยะที่สอง : ระยะข้อไหล่ติด มีอาการดังนี้
๑. อาการเจ็บไหล่ เจ็บแขนลดลง
๒. เพิ่มอาการติดขัด และจำกัด การเคลื่อนไหวของหัวไหล่
๓. อาการเจ็บตอนกลางคืนและ ตอนอยู่นิ่งๆ ลดลง
๔. รู้สึกเจ็บเมื่อมีการเคลื่อนไหว ช่วงสุดท้ายของแขนข้างนั้น
>> ระยะที่สาม : ระยะฟื้นตัวมีอาการดังนี้
๑. อาการเจ็บลดลงเรื่อยๆ
๒. แขนข้างที่เจ็บจะเคลื่อนไหวได้มากขึ้นอย่างช้าๆ
๓. การฟื้นตัวจะหายเองได้แต่มักจะเคลื่อนไหวแขนได้ไม่สุดเหมือนที่เคยทำได้
• สำหรับวิธีรักษาภาวะไหล่ติดในปัจจุบัน ข้อมูลทางวิชาการระบุไว้ว่า มีวิธีการรักษาภาวะไหล่ติดที่นิยมใช้กันอยู่ 4 วิธี ได้แก่
๑. การทำกายภาพบำบัด นักกายภาพจะพยายามยืดไหล่และหมุนขยับส่วนที่ติด ซึ่งกระบวนการบำบัดจะเจ็บมาก 90% ของผู้ป่วยจะเลิกรักษาเนื่องจากไม่สามารถทนต่ออาการเจ็บระหว่างบำบัด
๒. การบริหารบริเวณหัวไหล่ เช่น ท่าไต่กำแพง มักไม่ค่อยได้ผลเนื่องจากเมื่อผู้ป่วยทำด้วยตัวเองจนถึงตำแหน่งที่หัวไหล่ติด ผู้ป่วยจะไม่ทำต่อเนื่องจากเจ็บมาก
๓. การฉีดยาสเตียรอยด์ที่ข้อไหล่และการรับประทานยาเป็นการบรรเทาปวด และ
๔. การผ่าตัดส่องกล้อง ซึ่งมีค่ารักษาค่อนข้างสูงมาก (ราคาหลักแสนบาท)
• สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดข้อไหล่ติดยังไม่ทราบแน่ชัด การเกิดข้อไหล่ติดมักจะเกี่ยวข้องกับโรคอื่นๆ หลายโรค ที่พบบ่อยคือ ในคนที่มีอาการอัมพาตครึ่งซีก อาการเจ็บข้อไหล่ (ขัดยอกหัวไหล่) ถ้ารีบแก้ไขตั้งแต่แรกเป็นจะไม่ลุกลาม แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้ โดยพยายามหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหว ในทิศทางที่เจ็บ อาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดอาการไหล่ติด ไปจนถึงข้อไหล่ติดแข็งได้ในที่สุด
• การฟื้นตัวจากอาการไหล่ติด ถ้าปฏิบัติตนเองจะต้องทราบและเข้าใจหลักการ คือพยายามยืดเยื่อหุ้มข้อไหล่ และเพิ่มการเคลื่อนไหว ของข้อไหล่ ซึ่งท่าบริหารเหล่านี้จะสามารถยืดได้ด้วยตัวท่านเอง โดยใช้สภาพแวดล้อม เช่น บันได ฝาห้อง คานโหน ช่วยในการทำกายบริหาร จะต้องยืดทีละน้อยและมีอาการเจ็บบ้างเล็กน้อย และควรทำทุกวันในช่วงแรก ถ้าท่านกลัวเจ็บและไม่เข้าใจหลักการในท่าบริหารหัวไหล่ จะใช้เวลานานหลายเดือนที่จะทุเลาจากอาการไหล่ติด แต่ถ้าทำแล้วเจ็บมากติดต่อกันหลายวัน ควรพบแพทย์เพื่อตรวจและวินิจฉัยอย่างละเอียด
ข้อมูล หมอชนาณัติ แสงอรุณ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น