๓. คณาเภสัช
หมายถึง หมู่ยา กลุ่มยา เป็นภูมิปัญญาทางการแพทย์ของไทย ในการจัดตัวยา หรือเภสัชวัตถุรวมกันไว้เป็นกลุ่มเป็นหมู่เป็นพวก เพื่อสะดวกในการจดจำ หรือสะดวกในการเขียนสูตรยา ตัวยาที่เข้าพวกกันนั้น ต้องมีรสและฤทธิ์ไปในทางเดียวกัน อาจเสริมฤทธิ์กัน ไม่ต้านกัน และใช้ในปริมาณเท่ากัน โดยอาจผูกชื่อเรียกเฉพาะ แต่เป็นที่เข้าใจกัน ในหมู่ผู้ที่ศึกษาวิชาการแพทย์แผนไทย เช่น ตรีผลา หมายถึง สมอไทย สมอพิเภก และมะขามป้อม หรือเรียกเป็นชื่อกลางๆ ของตัวยาที่อยู่ในหมู่นั้น เช่น ตรีสมอ หมายถึง สมอไทย สมอพิเภก และสมอเทศ คณาเภสัชแบ่งออกเป็น ๓ พวกใหญ่ๆ ได้แก่ จุลพิกัด พิกัดยา หรือพิกัดตัวยา และมหาพิกัด
ก. จุลพิกัด
เป็นการจำกัดตัวยาไว้น้อยชนิด โดยมากเป็น ๒ ชนิด แต่ที่เป็น ๑ หรือ ๓ ชนิดก็มี ตัวยาแต่ละอย่างใช้ในน้ำหนักเท่ากัน โดยพิกัดนี้มีชื่อร่วม หรือเหมือนกัน อาจแบ่งได้เป็น ๕ ประเภท คือ
(๑) ประเภทต่างถิ่นที่เกิด
(๒) ประเภทต่างสี
(๓) ประเภทต่างขนาด
(๔) ประเภทต่างเพศ
(๕) ประเภทต่างรส
ข. พิกัดยา หรือ พิกัดตัวยา
เป็นการจำกัดตัวยาไว้โดยใช้ชื่อเดียวกัน ใช้ในขนาดเท่าๆ กัน (เสมอภาค) เพื่อสะดวกแก่ผู้ตั้งตำรา ผู้คัดลอกตำรับยา และแพทย์ผู้ปรุงยา โดยมีชื่อเป็นคำศัพท์บ้าง มีชื่อโดยตรงของตัวยาบ้าง แบ่งเป็น ๗ ประเภท รวม ๘๑ พิกัด ตัวอย่างเช่น พิกัดเทวคันทา พิกัดตรีกฏุก พิกัดจตุวาตผล พิกัดเบญจโลกวิเชียร พิกัดโหราพิเศษ พิกัดโกฐทั้งเจ็ด พิกัดเทียนทั้งเก้า พิกัดเทศกุลาผล
ค. มหาพิกัด
เป็นการจำกัดตัวยาหลายๆ อย่างไว้เป็นหมู่เป็นพวกเดียวกัน แต่กำหนดส่วน หรือปริมาณโดยน้ำหนักของยาไว้มากน้อยต่างกัน ตามสมุฏฐานแห่งโรค โดยที่สัดส่วนของตัวยาทั้งหลาย จะเปลี่ยนไปตามรสประธานที่ต้องการ ซึ่งรสประธานของยานั้น จะขึ้นอยู่กับสมุฏฐานแห่งโรคว่า เกิดจากอะไร
๔. เภสัชกรรม (การปรุงยา หรือการประกอบยา)
หมายถึง การผสมตัวยาหรือเครื่องยาตั้งแต่ ๒ ชนิดขึ้นไปเข้าด้วยกัน ตามที่กำหนดไว้ในตำรับยา โดยในการปรุงยา แพทย์ต้องพิจารณาเรื่องสำคัญ ๓ เรื่อง คือ
ก. พิจารณาลักษณะของตัวยา
ต้องพิจารณาว่า ในตำรับยาให้ใช้ส่วนใดของตัวยา เช่น พืชวัตถุ อาจใช้ส่วนเปลือกต้น ราก หรือดอก สัตววัตถุ อาจใช้กระดูก กระดอง หนัง หรือดี และธาตุวัตถุ อาจดิบ หรือต้องสะตุ (การทำให้เป็นผงบริสุทธิ์ด้วยการใช้ความร้อนจัด) หรือต้องแปรสภาพก่อน นอกจากนี้ ตัวยาในตำรับยาอาจให้ใช้สด หรือแห้ง อ่อนหรือแก่ เนื่องจากสรรพคุณจะแตกต่างกัน เช่น ขิงสด ขิงแห้ง ลูกสมออ่อน ลูกสมอแก่ ตัวยาบางอย่างต้องแปรสภาพก่อน จึงจะใช้ผสมยาได้ เช่น หอยมุก บัลลังก์ศิลา (ปะการังแดง) กระดูก เขี้ยว เขา หากยังไม่แปรสภาพ สรรพคุณจะเป็นอีกอย่างหนึ่ง ตัวยาบางอย่างมีฤทธิ์แรง ก็ต้อง"ฆ่า" ฤทธิ์เสียก่อน เช่น เมล็ดสลอด ยางสลัดได ชะมดเช็ด ทั้งนี้วิธีการแปรสภาพ หรือ "ฆ่า" ตัวยาที่มีฤทธิ์แรงนั้น มีวิธีทำที่แตกต่างกันไป
ข. พิจารณาขนาดของตัวยา
ต้องทราบว่าในตำรับนั้นให้ใช้ตัวยาในปริมาณสิ่งละเท่าใด โดยโบราณกำหนดไว้เป็นมาตราน้ำหนัก ได้แก่ ชั่ง (๑ ชั่ง เท่ากับ ๒๐ ตำลึง คิดเป็นน้ำหนักในมาตราเมตริก ๑,๒๑๖ กรัม) ตำลึง (๑ ตำลึง เท่ากับ ๔ บาท) และบาท (๑ บาท เท่ากับ ๔ สลึง คิดเป็นน้ำหนัก ในมาตราเมตริก ๑๕ กรัม) หรือเป็นมาตราตวง ซึ่งหน่วยที่ใช้มากในตำราพระโอสถพระนารายณ์คือ "ทะนาน" โดยทั่วไปปริมาตร "๑ ทะนาน" เท่ากับปริมาตรของกะโหลก (มะพร้าว) ที่บรรจุเบี้ย (ที่ใช้เป็นเงินตรา) ได้เต็มตามจำนวนที่กำหนด เช่น "ทะนาน ๕๐๐" เป็นปริมาณที่บรรจุเบี้ยได้ ๕๐๐ เบี้ย "ทะนาน ๘๐๐" เป็นปริมาณที่บรรจุเบี้ยได้ ๘๐๐ เบี้ย โดยทั่วไป ปริมาตรที่นิยมใช้กันมาก ในสมัยโบราณ คือ "ทะนาน ๕๐๐" นอกจากนั้นหากในตำรับยาไม่ได้ระบุขนาดของตัวยาแต่ละตัวไว้ ก็ให้ถือว่า ใช้ขนาดเท่ากัน (โบราณเรียก "เสมอภาค")
ค. พิจารณาวิธีการปรุงยา
วิธีการปรุงยาตามแบบแผนไทยโบราณนั้น ตามตำราเวชศึกษา อาจแบ่งเป็นวิธีต่างๆ ได้ ๓ แบบ คือ แบบที่แบ่งเป็น ๒๓ วิธี แบบที่แบ่งเป็น ๒๔ วิธี และแบบที่แบ่งเป็น ๒๕ วิธี
วิธีปรุงยาแบบ ๒๓ วิธี ได้แก่
(๑) ยาตำเป็นผงแล้ว ปั้นเป็นลูกกลอนกิน
(๒) ยาตำเป็นผงแล้ว บดให้ละเอียดละลายน้ำกระสายต่างๆ กิน
(๓) ยาสับเป็นท่อนเป็นชิ้น บรรจุลงในหม้อ เติมน้ำ ต้ม รินแต่น้ำกิน
(๔) ยาดอง แช่ด้วยน้ำท่าหรือน้ำสุรา แล้วรินแต่น้ำกิน
(๕) ยาแช่กัดด้วยเหล้าหรือแอลกอฮอล์ แล้วหยดลงเติมน้ำตามส่วน ดื่มกิน
(๖) ยาเผาให้เป็นด่าง เอาด่างแช่น้ำไว้ แล้วรินแต่น้ำด่างนั้นกิน
(๗) ยาเผาหรือสุมไฟให้ไหม้ตำเป็นผง บดให้ละเอียด ละลายน้ำกิน
(๘) ยากลั่นเอาน้ำเหงื่อ แล้วเอาน้ำเหงื่อนั้นกิน
(๙) ยาประสมแล้ว ห่อผ้าหรือบรรจุลงในกลัก เอาไว้ใช้ดม
(๑๐) ยาประสมแล้ว ตำเป็นผง กวนให้ละเอียด ใส่กล้อง เป่าทางจมูกและในคอ
(๑๑) ยาหุงด้วยน้ำมัน เอาน้ำมันใส่กล้อง เป่าที่บาดแผล
(๑๒) ยาประสมแล้ว ติดไฟ ใช้ควัน ใส่กล้อง เป่าบาดแผลและฐานฝี
(๑๓) ยาประสมแล้วมวนเป็นบุหรี่ หรือยัดกล้องสูบ สูบเอาควัน
(๑๔) ยาประสมแล้ว ต้มเอาน้ำอมหรือบ้วนปาก
(๑๕) ยาประสมแล้ว ต้มเอาน้ำอาบ
(๑๖) ยาประสมแล้ว ต้มเอาน้ำแช่
(๑๗) ยาประสมแล้ว ต้มเอาน้ำชะ
(๑๘) ยาประสมแล้ว ต้มเอาไอรม
(๑๙) ยาประสมแล้ว ใช้เป็นยาสุม
(๒๐) ยาประสมแล้ว ใช้เป็นยาทา
(๒๑) ยาประสมแล้ว ทำเป็นลูกประคบ
(๒๒) ยาประสมแล้ว ใช้เหน็บทวารหนัก
(๒๓) ยาประสมแล้ว ต้มเอาน้ำสวนทวารหนัก
สำหรับวิธีการปรุงยาแบบ ๒๔ วิธีนั้น เพิ่ม "ยาพอก" เข้ามาเป็นวิธีที่ ๒๔ ยาพอกนั้นเตรียมได้โดยการเอาตัวยาต่างๆ มาประสมกัน แล้วตำให้แหลก พอกไว้บริเวณที่ต้องการ ส่วนตำราที่ให้วิธีการปรุงยาแบบโบราณเป็น ๒๕ วิธีนั้น เพิ่ม "ยากวาด" เข้ามาเป็นวิธีที่ ๒๕
โดยสรุปแล้ว แพทย์แผนไทยต้องมีความรู้ในหลักวิชาเภสัชกรรมไทย ซึ่งครอบคลุมความรู้ทั้ง ๔ ด้าน คือ เภสัชวัตถุ สรรพคุณเภสัช คณาเภสัช และเภสัชกรรม จึงจะปรุงยาที่มีคุณภาพดี มีประสิทธิผล และปลอดภัย
ที่มาของข้อมูล -สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
หมายถึง หมู่ยา กลุ่มยา เป็นภูมิปัญญาทางการแพทย์ของไทย ในการจัดตัวยา หรือเภสัชวัตถุรวมกันไว้เป็นกลุ่มเป็นหมู่เป็นพวก เพื่อสะดวกในการจดจำ หรือสะดวกในการเขียนสูตรยา ตัวยาที่เข้าพวกกันนั้น ต้องมีรสและฤทธิ์ไปในทางเดียวกัน อาจเสริมฤทธิ์กัน ไม่ต้านกัน และใช้ในปริมาณเท่ากัน โดยอาจผูกชื่อเรียกเฉพาะ แต่เป็นที่เข้าใจกัน ในหมู่ผู้ที่ศึกษาวิชาการแพทย์แผนไทย เช่น ตรีผลา หมายถึง สมอไทย สมอพิเภก และมะขามป้อม หรือเรียกเป็นชื่อกลางๆ ของตัวยาที่อยู่ในหมู่นั้น เช่น ตรีสมอ หมายถึง สมอไทย สมอพิเภก และสมอเทศ คณาเภสัชแบ่งออกเป็น ๓ พวกใหญ่ๆ ได้แก่ จุลพิกัด พิกัดยา หรือพิกัดตัวยา และมหาพิกัด
ก. จุลพิกัด
เป็นการจำกัดตัวยาไว้น้อยชนิด โดยมากเป็น ๒ ชนิด แต่ที่เป็น ๑ หรือ ๓ ชนิดก็มี ตัวยาแต่ละอย่างใช้ในน้ำหนักเท่ากัน โดยพิกัดนี้มีชื่อร่วม หรือเหมือนกัน อาจแบ่งได้เป็น ๕ ประเภท คือ
(๑) ประเภทต่างถิ่นที่เกิด
(๒) ประเภทต่างสี
(๓) ประเภทต่างขนาด
(๔) ประเภทต่างเพศ
(๕) ประเภทต่างรส
ข. พิกัดยา หรือ พิกัดตัวยา
เป็นการจำกัดตัวยาไว้โดยใช้ชื่อเดียวกัน ใช้ในขนาดเท่าๆ กัน (เสมอภาค) เพื่อสะดวกแก่ผู้ตั้งตำรา ผู้คัดลอกตำรับยา และแพทย์ผู้ปรุงยา โดยมีชื่อเป็นคำศัพท์บ้าง มีชื่อโดยตรงของตัวยาบ้าง แบ่งเป็น ๗ ประเภท รวม ๘๑ พิกัด ตัวอย่างเช่น พิกัดเทวคันทา พิกัดตรีกฏุก พิกัดจตุวาตผล พิกัดเบญจโลกวิเชียร พิกัดโหราพิเศษ พิกัดโกฐทั้งเจ็ด พิกัดเทียนทั้งเก้า พิกัดเทศกุลาผล
ค. มหาพิกัด
เป็นการจำกัดตัวยาหลายๆ อย่างไว้เป็นหมู่เป็นพวกเดียวกัน แต่กำหนดส่วน หรือปริมาณโดยน้ำหนักของยาไว้มากน้อยต่างกัน ตามสมุฏฐานแห่งโรค โดยที่สัดส่วนของตัวยาทั้งหลาย จะเปลี่ยนไปตามรสประธานที่ต้องการ ซึ่งรสประธานของยานั้น จะขึ้นอยู่กับสมุฏฐานแห่งโรคว่า เกิดจากอะไร
๔. เภสัชกรรม (การปรุงยา หรือการประกอบยา)
หมายถึง การผสมตัวยาหรือเครื่องยาตั้งแต่ ๒ ชนิดขึ้นไปเข้าด้วยกัน ตามที่กำหนดไว้ในตำรับยา โดยในการปรุงยา แพทย์ต้องพิจารณาเรื่องสำคัญ ๓ เรื่อง คือ
ก. พิจารณาลักษณะของตัวยา
ต้องพิจารณาว่า ในตำรับยาให้ใช้ส่วนใดของตัวยา เช่น พืชวัตถุ อาจใช้ส่วนเปลือกต้น ราก หรือดอก สัตววัตถุ อาจใช้กระดูก กระดอง หนัง หรือดี และธาตุวัตถุ อาจดิบ หรือต้องสะตุ (การทำให้เป็นผงบริสุทธิ์ด้วยการใช้ความร้อนจัด) หรือต้องแปรสภาพก่อน นอกจากนี้ ตัวยาในตำรับยาอาจให้ใช้สด หรือแห้ง อ่อนหรือแก่ เนื่องจากสรรพคุณจะแตกต่างกัน เช่น ขิงสด ขิงแห้ง ลูกสมออ่อน ลูกสมอแก่ ตัวยาบางอย่างต้องแปรสภาพก่อน จึงจะใช้ผสมยาได้ เช่น หอยมุก บัลลังก์ศิลา (ปะการังแดง) กระดูก เขี้ยว เขา หากยังไม่แปรสภาพ สรรพคุณจะเป็นอีกอย่างหนึ่ง ตัวยาบางอย่างมีฤทธิ์แรง ก็ต้อง"ฆ่า" ฤทธิ์เสียก่อน เช่น เมล็ดสลอด ยางสลัดได ชะมดเช็ด ทั้งนี้วิธีการแปรสภาพ หรือ "ฆ่า" ตัวยาที่มีฤทธิ์แรงนั้น มีวิธีทำที่แตกต่างกันไป
ข. พิจารณาขนาดของตัวยา
ต้องทราบว่าในตำรับนั้นให้ใช้ตัวยาในปริมาณสิ่งละเท่าใด โดยโบราณกำหนดไว้เป็นมาตราน้ำหนัก ได้แก่ ชั่ง (๑ ชั่ง เท่ากับ ๒๐ ตำลึง คิดเป็นน้ำหนักในมาตราเมตริก ๑,๒๑๖ กรัม) ตำลึง (๑ ตำลึง เท่ากับ ๔ บาท) และบาท (๑ บาท เท่ากับ ๔ สลึง คิดเป็นน้ำหนัก ในมาตราเมตริก ๑๕ กรัม) หรือเป็นมาตราตวง ซึ่งหน่วยที่ใช้มากในตำราพระโอสถพระนารายณ์คือ "ทะนาน" โดยทั่วไปปริมาตร "๑ ทะนาน" เท่ากับปริมาตรของกะโหลก (มะพร้าว) ที่บรรจุเบี้ย (ที่ใช้เป็นเงินตรา) ได้เต็มตามจำนวนที่กำหนด เช่น "ทะนาน ๕๐๐" เป็นปริมาณที่บรรจุเบี้ยได้ ๕๐๐ เบี้ย "ทะนาน ๘๐๐" เป็นปริมาณที่บรรจุเบี้ยได้ ๘๐๐ เบี้ย โดยทั่วไป ปริมาตรที่นิยมใช้กันมาก ในสมัยโบราณ คือ "ทะนาน ๕๐๐" นอกจากนั้นหากในตำรับยาไม่ได้ระบุขนาดของตัวยาแต่ละตัวไว้ ก็ให้ถือว่า ใช้ขนาดเท่ากัน (โบราณเรียก "เสมอภาค")
ค. พิจารณาวิธีการปรุงยา
วิธีการปรุงยาตามแบบแผนไทยโบราณนั้น ตามตำราเวชศึกษา อาจแบ่งเป็นวิธีต่างๆ ได้ ๓ แบบ คือ แบบที่แบ่งเป็น ๒๓ วิธี แบบที่แบ่งเป็น ๒๔ วิธี และแบบที่แบ่งเป็น ๒๕ วิธี
วิธีปรุงยาแบบ ๒๓ วิธี ได้แก่
(๑) ยาตำเป็นผงแล้ว ปั้นเป็นลูกกลอนกิน
(๒) ยาตำเป็นผงแล้ว บดให้ละเอียดละลายน้ำกระสายต่างๆ กิน
(๓) ยาสับเป็นท่อนเป็นชิ้น บรรจุลงในหม้อ เติมน้ำ ต้ม รินแต่น้ำกิน
(๔) ยาดอง แช่ด้วยน้ำท่าหรือน้ำสุรา แล้วรินแต่น้ำกิน
(๕) ยาแช่กัดด้วยเหล้าหรือแอลกอฮอล์ แล้วหยดลงเติมน้ำตามส่วน ดื่มกิน
(๖) ยาเผาให้เป็นด่าง เอาด่างแช่น้ำไว้ แล้วรินแต่น้ำด่างนั้นกิน
(๗) ยาเผาหรือสุมไฟให้ไหม้ตำเป็นผง บดให้ละเอียด ละลายน้ำกิน
(๘) ยากลั่นเอาน้ำเหงื่อ แล้วเอาน้ำเหงื่อนั้นกิน
(๙) ยาประสมแล้ว ห่อผ้าหรือบรรจุลงในกลัก เอาไว้ใช้ดม
(๑๐) ยาประสมแล้ว ตำเป็นผง กวนให้ละเอียด ใส่กล้อง เป่าทางจมูกและในคอ
(๑๑) ยาหุงด้วยน้ำมัน เอาน้ำมันใส่กล้อง เป่าที่บาดแผล
(๑๒) ยาประสมแล้ว ติดไฟ ใช้ควัน ใส่กล้อง เป่าบาดแผลและฐานฝี
(๑๓) ยาประสมแล้วมวนเป็นบุหรี่ หรือยัดกล้องสูบ สูบเอาควัน
(๑๔) ยาประสมแล้ว ต้มเอาน้ำอมหรือบ้วนปาก
(๑๕) ยาประสมแล้ว ต้มเอาน้ำอาบ
(๑๖) ยาประสมแล้ว ต้มเอาน้ำแช่
(๑๗) ยาประสมแล้ว ต้มเอาน้ำชะ
(๑๘) ยาประสมแล้ว ต้มเอาไอรม
(๑๙) ยาประสมแล้ว ใช้เป็นยาสุม
(๒๐) ยาประสมแล้ว ใช้เป็นยาทา
(๒๑) ยาประสมแล้ว ทำเป็นลูกประคบ
(๒๒) ยาประสมแล้ว ใช้เหน็บทวารหนัก
(๒๓) ยาประสมแล้ว ต้มเอาน้ำสวนทวารหนัก
สำหรับวิธีการปรุงยาแบบ ๒๔ วิธีนั้น เพิ่ม "ยาพอก" เข้ามาเป็นวิธีที่ ๒๔ ยาพอกนั้นเตรียมได้โดยการเอาตัวยาต่างๆ มาประสมกัน แล้วตำให้แหลก พอกไว้บริเวณที่ต้องการ ส่วนตำราที่ให้วิธีการปรุงยาแบบโบราณเป็น ๒๕ วิธีนั้น เพิ่ม "ยากวาด" เข้ามาเป็นวิธีที่ ๒๕
โดยสรุปแล้ว แพทย์แผนไทยต้องมีความรู้ในหลักวิชาเภสัชกรรมไทย ซึ่งครอบคลุมความรู้ทั้ง ๔ ด้าน คือ เภสัชวัตถุ สรรพคุณเภสัช คณาเภสัช และเภสัชกรรม จึงจะปรุงยาที่มีคุณภาพดี มีประสิทธิผล และปลอดภัย
ที่มาของข้อมูล -สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น