ธาตุของร่างกายเรียกว่า เทหธาตุ
วิชาที่ว่าด้วย ธาตุของร่างกาย เรียกว่า เทหธาตุวิชญาณัม
ที่ว่า ร่างกายประกอบขึ้นด้วย ตรีธาตุ คือโทษะ ธาตุ และมละ นั้น จำแนกออกไปดังนี้
ตรีธาตุ มี ๓ ประเภท คือ อาหารธาตุ ธารณธาตุ มละธาตุ
ตรีธาตุ มี ๓ ประเภท คือ อาหารธาตุ ธารณธาตุ มละธาตุ
๑. อาหารธาตุ เป็นธาตุหล่อเลี้ยงร่างกาย – ได้แก่อาหารต่างๆที่กินเข้าไปเพื่อเลี้ยงร่างกาย (Nutrient matters) มี ๓ อย่าง คือ
(๑) อันนะ - ได้แก่อาหารแข็ง หรือที่เป็นของเคี้ยว (Solid) เช่น ข้าว ผัก ปลา เนื้อ ฯลฯ
(๒) อุทกะ - ได้แก่อาหารเหลว หรือเป็นน้ำ หรือเครื่องดื่ม (Liquid) เช่น น้ำ
(๓) ปราณะ - ได้แก่อาหารที่เป็นลม เช่น ลมหายใจ (Gas)
๒. ธารณธาตุ เป็นธาตุดำรงร่างกาย - หรือ ภูตธาตุ ได้แก่อาหารที่กินเข้าไปแล้วร่างกายย่อยแล้วเป็นเลือดเนื้อ ฯลฯ เข้าไปเป็นโครงสร้างของร่างกาย เป็นธาตุทรงไว้ซึ่งร่างกาย (Supporting matters) เรียกว่า ธารณธาตุ หรือ ภูตธาตุหรือ สัปตธาตุ มี ๗ อย่าง คือ
(๑) รสะธาตุ - คือ น้ำยอดอาหาร (Chyle) และน้ำเหลือง (Lymph)
(๒) รักตะธาตุ - คือ เลือด (Blood)
(๓) มางสะธาตุ - คือ เนื้อหรือกล้ามเนื้อทั่วไป (Muscle)
(๔) เมทะธาตุ - คือ เนื้อมันหรือไขมัน (Fat)
(๕) อัษถิธาตุ - คือ กระดูก (Bone)
(๖) มัชชธาตุ - คือ ไขกระดูก (Bone Marrow)
(๗) ศุกระธาตุ - คือ น้ำอสุจิ (Sperm)
ทั้ง ๗ ธาตุนี้ เป็นธาตุธารณะ คือ ค้ำจุน หรือประคับประคอง หรือทรงร่างกายอยู่
๓. มละธาตุ เป็นธาตุที่ขับถ่ายออกจากร่างกาย - ได้แก่อาหารที่กินข้าไปแล้ว ย่อยเป็นเลือดเนื้อแล้ว ส่วนที่เป็นกาก ก็ขับออกจากร่างกาย เป็น มละธาตุ
มละธาตุ - ธาตุที่ร่างกายขับถ่ายออก (Debris และ Excerting matters) มี ๓ อย่าง คือ
(๑) คูธ หรือ ขี้ (Faeces)
(๒) มูตร หรือ เยี่ยว (Urine)
(๓) สเวทะ หรือ เสโท หรือ เหงื่อ (Sweat)
มละธาตุ ๓ อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตรีมละ ก็ได้ (มละ หรือ มล แปลว่า ไม่สะอาดหรือสกปรก หรือสิ่งที่ร่างกายขับถ่ายออก ตรงกันข้ามกับ วิมล หรือ วิมาลา ที่แปลว่า บริสุทธิ์)
อาหารธาตุ (ที่กินเข้าไป) เป็น ธารณธาตุ (ทรงร่างกายไว้) แล้วส่วนที่เป็นกากทั้งหยาบและละเอียด เป็น มละธาตุ (ที่ร่างกายขับถ่ายออก) ทั้งสามประการนี้เป็นไปโดยอัคนีกรรม (Digestion และ Metabolism) ของร่างกาย โดยอำนาจของชีโว-รสายนดำเนิน (Bio-chemical processes) อาหารธาตุและธารณธาตุเปรียบทางปัจจุบันได้แก่ Anabolism ส่วนมละธาตุ ได้แก่ Catabolism
อ้างอิงจากหนังสือ อายุรเวทศึกษา (วิชาแพทย์แผนโบราณ) ของ ขุนนิทเทสสุขกิจ [นิทเทส (ถมรัตน์) พุ่มชูศรี]
(๑) อันนะ - ได้แก่อาหารแข็ง หรือที่เป็นของเคี้ยว (Solid) เช่น ข้าว ผัก ปลา เนื้อ ฯลฯ
(๒) อุทกะ - ได้แก่อาหารเหลว หรือเป็นน้ำ หรือเครื่องดื่ม (Liquid) เช่น น้ำ
(๓) ปราณะ - ได้แก่อาหารที่เป็นลม เช่น ลมหายใจ (Gas)
๒. ธารณธาตุ เป็นธาตุดำรงร่างกาย - หรือ ภูตธาตุ ได้แก่อาหารที่กินเข้าไปแล้วร่างกายย่อยแล้วเป็นเลือดเนื้อ ฯลฯ เข้าไปเป็นโครงสร้างของร่างกาย เป็นธาตุทรงไว้ซึ่งร่างกาย (Supporting matters) เรียกว่า ธารณธาตุ หรือ ภูตธาตุหรือ สัปตธาตุ มี ๗ อย่าง คือ
(๑) รสะธาตุ - คือ น้ำยอดอาหาร (Chyle) และน้ำเหลือง (Lymph)
(๒) รักตะธาตุ - คือ เลือด (Blood)
(๓) มางสะธาตุ - คือ เนื้อหรือกล้ามเนื้อทั่วไป (Muscle)
(๔) เมทะธาตุ - คือ เนื้อมันหรือไขมัน (Fat)
(๕) อัษถิธาตุ - คือ กระดูก (Bone)
(๖) มัชชธาตุ - คือ ไขกระดูก (Bone Marrow)
(๗) ศุกระธาตุ - คือ น้ำอสุจิ (Sperm)
ทั้ง ๗ ธาตุนี้ เป็นธาตุธารณะ คือ ค้ำจุน หรือประคับประคอง หรือทรงร่างกายอยู่
๓. มละธาตุ เป็นธาตุที่ขับถ่ายออกจากร่างกาย - ได้แก่อาหารที่กินข้าไปแล้ว ย่อยเป็นเลือดเนื้อแล้ว ส่วนที่เป็นกาก ก็ขับออกจากร่างกาย เป็น มละธาตุ
มละธาตุ - ธาตุที่ร่างกายขับถ่ายออก (Debris และ Excerting matters) มี ๓ อย่าง คือ
(๑) คูธ หรือ ขี้ (Faeces)
(๒) มูตร หรือ เยี่ยว (Urine)
(๓) สเวทะ หรือ เสโท หรือ เหงื่อ (Sweat)
มละธาตุ ๓ อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตรีมละ ก็ได้ (มละ หรือ มล แปลว่า ไม่สะอาดหรือสกปรก หรือสิ่งที่ร่างกายขับถ่ายออก ตรงกันข้ามกับ วิมล หรือ วิมาลา ที่แปลว่า บริสุทธิ์)
อาหารธาตุ (ที่กินเข้าไป) เป็น ธารณธาตุ (ทรงร่างกายไว้) แล้วส่วนที่เป็นกากทั้งหยาบและละเอียด เป็น มละธาตุ (ที่ร่างกายขับถ่ายออก) ทั้งสามประการนี้เป็นไปโดยอัคนีกรรม (Digestion และ Metabolism) ของร่างกาย โดยอำนาจของชีโว-รสายนดำเนิน (Bio-chemical processes) อาหารธาตุและธารณธาตุเปรียบทางปัจจุบันได้แก่ Anabolism ส่วนมละธาตุ ได้แก่ Catabolism
อ้างอิงจากหนังสือ อายุรเวทศึกษา (วิชาแพทย์แผนโบราณ) ของ ขุนนิทเทสสุขกิจ [นิทเทส (ถมรัตน์) พุ่มชูศรี]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น