ดอกลำดวน หรือที่ชาวเหนือเรียกหอมนวล มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Melodorum fruticosum Lour.ชื่อวงศ์ Annonaceae เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูงราว 8-12 เมตร ลำต้นหยัดตรง เปลือกสีน้ำตาลอมเทา
ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปหอกแกมขอบขนาน หน้าใบสีเขียวเข้ม หลังใบสีนวล ดอกสีเหลืองครีม
มีทั้งหมด 6 กลีบ กลีบชั้นนอก 3 กลีบแผ่ออกจากกัน
ขณะที่เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียจะซ่อนอยู่หลังกลีบชั้นในซึ่งมี 3 กลีบหุบเข้าหากัน ปัจจุบันพบดอกลำดวนสีแดงบ้าง
เพราะเกิดจากการกลายพันธุ์
เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร มหากวีของไทย
ทรงกล่าวถึงลำดวนในกาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศกว่า
ลำดวนเจ้าเคยร้อย กรองเป็นสร้อยลำดวนถวาย
เรียมชมดมสบาย พี่เอาสร้อยห้อยคอนางฯ
ลำดวนปลิดกิ่งก้าน สนสาย
กรองสร้อยลำดวนถวาย ค่ำเช้า
ชูชมดมกลิ่นสบาย ใจพี่
เอาสร้อยห้อยคอเจ้า แนบหน้าชมโฉมฯ
จึงได้รู้ว่าคนโบราณใช้ดอกลำดวนร้อยเป็นมาลัยคล้องคอเหมือนกัน ลำดวนเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ
ในเดือนมีนาคมซึ่งดอกลำดวนกว่า 50,000 ต้นภายในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์อันเป็นแหล่งที่มีต้นลำดวนมากที่สุดในประเทศไทย
เริ่มเบ่งบานส่งกลิ่นหอมอบอวลไปทั่วบริเวณ จะมีการจัดงานเทศกาลดอกลำดวนบาน
โดยภายในงานมีกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม และการแสดงมหรสพต่างๆ
ดอกลำดวนถือเป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุด้วย
เล่ากันว่าครั้งหนึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราฯ บรมราชชนนี หรือสมเด็จย่าของชาวไทย
เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชาวศรีสะเกษ
เมื่อทรงทอดพระเนตรเห็นดอกลำดวนบานสะพรั่งส่งกลิ่นหอมโชยชื่น
ก็ทรงพอพระราชหฤทัยมาก
ดอกลำดวนจึงกลายเป็นเครื่องหมายของคนสูงอายุนับแต่นั้น
ดอกลำดวนมีความสำคัญทางวัฒนธรรมในประเทศเพื่อนบ้านของเราอย่างกัมพูชาด้วย
ถือเป็นดอกไม้ประจำชาติที่ปลูกแพร่หลาย
กวีมักเปรียบเทียบความงามของหญิงสาวกับกลิ่นหอมที่ฟุ้งขจรของดอกลำดวน
ดังที่ปรากฏในบทเจรียงกันตรึมหรือบทร้องของชาวเขมรและชาวอีสานใต้เชื้อสายกัมพูชา
ซึ่งมักใช้ในพิธีมงคลต่างๆวิธีปลูกที่ถูกต้อง ต้องปลูกไว้ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน
ที่สำคัญต้องปลูกในวันพุธ ด้วยนะ
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย: ดอกลำดวน จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้ง 9 “พิกัดเนาวเกสร” ประกอบด้วย เกสรดอกบัวหลวง ดอกพิกุล ดอกสารภี ดอกบุนนาค ดอกมะลิ ดอกจำปา ดอกกระดังงา ดอกลำเจียก และดอกลำดวน มีสรรพคุณ แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ลม บำรุงหัวใจ ชูกำลัง แก้อ่อนเพลีย แก้พิษโลหิต โดยมักใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาหอม ดอกแห้ง เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต แก้ลมวิงเวียน แก้ไอ แก้ไข้ เกสร เป็นยาชูกำลัง บำรุงหัวใจ นำมาผสมกับสมุนไพรอื่นเป็นยาบำรุงเลือด บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ และแก้ลม
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี: ใช้ เนื้อไม้และดอกแห้ง ต้มน้ำดื่ม ช่วยบำรุงหัวใจ แก้ลม วิงเวียน บำรุงโลหิต บำรุงกำลัง แก้ไข้
ตำรายาไทย: ดอกลำดวน จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้ง 9 “พิกัดเนาวเกสร” ประกอบด้วย เกสรดอกบัวหลวง ดอกพิกุล ดอกสารภี ดอกบุนนาค ดอกมะลิ ดอกจำปา ดอกกระดังงา ดอกลำเจียก และดอกลำดวน มีสรรพคุณ แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ลม บำรุงหัวใจ ชูกำลัง แก้อ่อนเพลีย แก้พิษโลหิต โดยมักใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาหอม ดอกแห้ง เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต แก้ลมวิงเวียน แก้ไอ แก้ไข้ เกสร เป็นยาชูกำลัง บำรุงหัวใจ นำมาผสมกับสมุนไพรอื่นเป็นยาบำรุงเลือด บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ และแก้ลม
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี: ใช้ เนื้อไม้และดอกแห้ง ต้มน้ำดื่ม ช่วยบำรุงหัวใจ แก้ลม วิงเวียน บำรุงโลหิต บำรุงกำลัง แก้ไข้
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
ดอกสีเหลืองนวล รูปไข่ป้อมถึงรูปเกือบกลม โคนกลีบกว้าง ปลายกลีบแหลม กลีบดอก 6 กลีบ หนาแข็ง แยกเป็น 2 วง ชั้นนอกมี 3 กลีบ แผ่แบนรูปสามเหลี่ยม มีขนาดใหญ่กว่ากลีบดอกวงใน โคนกลีบกว้าง ปลายกลีบแหลม กว้างราว 1 เซนติเมตร ยาวราว 1.2 เซนติเมตร กลีบดอกชั้นในงุ้มเข้าหากันเป็นรูปโดม ขนาดเล็กกว่า แต่หนาและโค้งกว่า กว้างราว 0.6 เซนติเมตร ยาวราว 0.9 เซนติเมตร ดอกบานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-2.5 เซนติเมตร เกสรเพศผู้มีขนาดเล็ก เกสรเพศผู้และรังไข่มีจำนวนมากอยู่บนฐานสั้นๆ ดอกมีกลิ่นหอมแรง รสเย็น
ดอกสีเหลืองนวล รูปไข่ป้อมถึงรูปเกือบกลม โคนกลีบกว้าง ปลายกลีบแหลม กลีบดอก 6 กลีบ หนาแข็ง แยกเป็น 2 วง ชั้นนอกมี 3 กลีบ แผ่แบนรูปสามเหลี่ยม มีขนาดใหญ่กว่ากลีบดอกวงใน โคนกลีบกว้าง ปลายกลีบแหลม กว้างราว 1 เซนติเมตร ยาวราว 1.2 เซนติเมตร กลีบดอกชั้นในงุ้มเข้าหากันเป็นรูปโดม ขนาดเล็กกว่า แต่หนาและโค้งกว่า กว้างราว 0.6 เซนติเมตร ยาวราว 0.9 เซนติเมตร ดอกบานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-2.5 เซนติเมตร เกสรเพศผู้มีขนาดเล็ก เกสรเพศผู้และรังไข่มีจำนวนมากอยู่บนฐานสั้นๆ ดอกมีกลิ่นหอมแรง รสเย็น
ประโยชน์ทางการแพทย์ ดอกลำดวนตากแห้งมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของหัวใจและกระตุ้นการผลิตเซลล์เม็ดเลือด
รวมทั้งช่วยกระชับกล้ามเนื้ออีกด้วย ถือว่ามีสรรพคุณในทางบำรุงกำลัง
เป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้ร่างกายสดชื่นอ่อนเยาว์อยู่เสมอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น