วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ไข้หัวลม


เป็นไข้หัวลม กินแกงส้มดอกแค

ช่วงปลายฝนต้นหนาวแบบนี้ ถ้าเป็นไข้ขึ้นมา บ้านนอกเรียกว่า "ไข้หัวลม" เพราะร่างกายเคยชินกับอากาศร้อน เจออากาศหนาวแรก ก็ปรับตัวไม่ทัน คนบ้านนอก รู้กันว่าต้องแก้ด้วย "แกงส้มดอกแค" ตามบ้านไร่ท้องนา ทั่วไปจะมีต้นแคปลูกไว้ เหมือนธรรมชาติจะรู้วาคนต้องการดอกแคไปแก้ไข้หัวลม ต้นแคจะออกดอกให้ใน ช่วงนี้พอดี
อาการโดยทั่วไปจะเริ่มต้นด้วยระวิงระไวไอจาม ครั่นเนื้อครั่นตัว เพลีย เหนื่อยวัดไข้แล้วมักจะไม่เกิน 38.5 องศาเซลเซียส เกิดจากการเปลี่ยนอากาศ ถ้าเป็นช่วงนี้ จากฝนเป็นหนาว ตามแพทย์แผนไทยบอกว่าร่างกายมีไอความร้อนค้างอยู่ตอนหน้าฝน พออากาศเย็นลงอย่างรวดเร็ว ปรับตัวไม่ทัน เกิดภาวะธาตุไฟพิการ ก็เลยป่วยได้ ในคนที่มีภูมิต้านทานดีก็จะไม่มีอาการใด ๆ แต่ในคนที่ภูมิต้านทานไม่ค่อยดี ช่วงนี้ถือว่าเป็นจุดอ่อน จะป่วยง่ายมาก คนโบราณเลยมีวิธีป้องกัน
ก่อนที่จะป่วยล้มหมอนนอนเสื่อกันเสียก่อนโดยเริ่มจากอาหารการกินง่าย ๆ ก่อนจะไปถึงยา
เช่น ดอกแค มะเขือพวง พริกไทย กระชาย กะเพรา กระเทียม สะเดา ขี้เหล็ก ชะมวง ผักชี หอม
น้ำสมุนไพร น้ำผึ้งผสมมะนาว น้ำขิง น้ำส้ม
ของหวาน ให้เลือกเมนูถั่วเป็นหลัก
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง สำหรับหน้านี้ คืออาหารเย็นไม่ว่าจะเป็นอาหารเย็นทางกายภาพ เช่น น้ำแข็ง หวานเย็น ไอศกรีม ผลไม้ แตงโม แอบเปิ้ล หรือผลไม้ที่อยู่นอกฤดูกาล
สรุปแล้วหนาวนี้ ใช้อาหารเป็นยา กันก่อนเกิดโรค ส่งเสริมสุขภาพแล้ว อย่าลืม การพักผ่อนที่เพียงพอ นอนแต่หัวค่ำ โดยเฉพาะเด็ก ๆ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็จะรอดพ้นจากไข้หัวลมได้อย่างน่าภาคภูมิใจค่ะ

สรรพคุณของแกงส้มดอกแค ทางแพทย์แผนไทย ถือเป็นยาแก้ไข้หัวลม ได้เป็นอย่างดี
เครื่องปรุงสำหรับทำแกงส้มดอกแคมีดังนี้ค่ะ
- น้ำพริกแกงส้ม (ส่วนผสมของ พริกแห้ง หัวหอมแดง และข่า) มีสรรพคุณ ช่วยขับลมในกระเพราะ

- ดอกแค ช่วยช่วยปรับสมดุลในร่างกาย ให้ไข้สร่าง
- มะขามเปียก มีสรรพคุณ ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ ลดความร้อน ในร่างกาย
อันโบราณ ภูมิปัญญาไทย เป็นไข้หวัดก็แก้ได้ ด้วยอาหารพื้นบ้านอย่าง แกงส้มดอกแค นี่แหละ

ล้างดอกแคให้สะอาด พักไว้ให้สะเด็ดน้ำ ตั้งหม้อน้ำให้เดือด เพื่อต้มปลาช่อน
เมื่อปลาสุกแล้วแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกสำหรับโขลกกับน้ำพริกแกงเพื่อให้น้ำแกงข้น
อีกส่วนเก็บเอาไว้ใส่เมื่อแกงสุก โขลกเครื่องปรุงน้ำพริกแกง..พริก เกลือ หัวหอม กระชาย กะปิให้ละเอียด

แล้วใส่ปลาต้มลงในครก โขลกกับน้ำพริกแกงให้ละเอียด
ต้มให้เดือด แล้วเติมน้ำปลา น้ำมะขามเปียก และน้ำตาล ชิมให้ได้รสเปรี้ยวนำ หวาน เค็ม ตามใจชอบ


น้ำแกงที่ปรุงแล้ว ถ้าทิ้งไว้ให้เย็น แล้วเก็บในตู้เย็นได้หลายวัน เมื่อจะทานจึงใส่ผัก จะได้ไม่ต้องเหนื่อยบ่อยๆค่ะ
รอให้เดือดอีกครั้งใส่ดอกแคลงในหม้อแกง ต้มต่อจนน้ำแกงเข้าเนื้อดอกแค มีเคล็ดลับนิดหนึ่งค่ะคือ
ถ้าเราบีบน้ำมะนาวใส่ลงไปนิดหนึ่ง แกงจะเปรี้ยวและหอมอย่างสดชื่น น่ารับประทานขึ้นอย่างอัศจรรย์ค่ะ
ตักแกงใส่ถ้วยใส่ปลาต้มเสิร์ฟร้อนๆค่ะ
การที่เราต้มเนื้อปลาให้สุกแยกไว้ เนื้อปลาจะไม่เละและก้างปลาจะไม่ปนในน้ำแกง อันเป็นสาเหตุให้ก้างขวางคอค่ะ


ขอบคุณ ที่มาของข้อมูลดีๆ คอลัมน์ "หิวหรืออิ่ม ก็ยิ้มพอกัน" หนังสือพิมพ์ มติชนรายวัน

1 ความคิดเห็น: