คำว่า “กิมิชาติ” หรือ “ พยาธิ ” ในที่นี้ออกเสียงว่า พะ – ยาด หรือหนอน หมายถึงสิ่งมีชีวิตประเภทปาราสิต ( parasite ) ที่ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยการแย่งและดูดซึมสารอาหารจากร่างกาย และสืบพันธุ์ในร่างกายของคนและสัตว์ บ้างก็ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อร่างกายที่มันอาศัยอยู่ เพียงขอแบ่งปันอาหารเท่านั้น และอาหารที่เรากินเข้าไปนั้น 3 คำแรกนำไปเลี้ยงพยาธิในตัวเรานั่นเอง แต่ก็มีบางชนิดหรือบางกรณีที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ ซึ่งอาจรุนแรงถึงชีวิตได้ ถ้าไม่รักษา ความหมายในพจนานุกรม น.
ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังซึ่งอย่างน้อยในระยะหนึ่งของชีวิตจะเป็นปรสิตอยู่ในมนุษย์และสัตว์
ชนิดตัวแบน เช่น พยาธิใบไม้ พยาธิตัวตืด ชนิดตัวกลมหรือหนอนพยาธิ เช่น
พยาธิไส้เดือน พยาธิเส้นด้าย พยาธิแส้ม้า
กิมิชาติ (กิมิชาติ์) ๘๐ จำพวก มีชื่อเรียกต่างๆ กันดังนี้
ความหมายอื่นของคำว่า พยาธิ
อ่านว่า [พะยาทิ] น. ความเจ็บไข้ เช่น โรคาพยาธิ ชาติชราพยาธิ. (ป. พฺยาธิ, วฺยาธิ; ส. วฺยาธิ)
กิมิชาติประจำกาย
กุมารกุมารีอายุ 5-6 ขวบขึ้นไป
พ้นตานซางเจ้าเรือนและซางจรแล้ว จึงบังเกิดเป็นลักษณะตานโจร
ด้วยการบริโภคอาหารต่างๆที่ไม่เคย ทำให้บังเกิดโรคต่างๆ
บังเกิดหมู่กิมิชาติ 80 จำพวก
และหมู่หนอน อาศัยกินอยู่ภายในกายกุมารกุมารี
แลสัตว์ทั้งหลายทุกตัวสัตว์มิได้เว้นครั้นว่ากิมิชาติทั้งหลายเหล่านี้เจริญ
ขึ้นเมื่อใดแล้ว
ก็ย่อมกระทำเบียดเบียนสัตว์แลมนุษย์ให้บังเกิดโรคแปรปรวนเป็นประการต่าง ๆ
(๑) กิมิชาติอาศัยเกาะกินอยู่ภายในกระเพาะอาหาร มี ๗ ชนิดคือ กะตะ โอตะกะ คันทุปา ตาลหิระ สุจิมุขะ ปวัตนันคุ และสุกะตะ
(๒) กิมิชาติอาศัยเกาะกินอยู่ในสมอง กระดูก มี ๒ ชนิดคือ ยาวะ และ โสภา
(๓) กิมิชาติอาศัยเกาะกินอยู่ที่ม้าม มี ๒ ชนิดคือ กะตะ และ ราตวัตถา
(๔) กิมิชาติอาศัยเกาะกินอยู่ในหัวใจ มี ๔ ชนิดคือ ทะนันตะ มหาทะนันตะ โลหิตะ และ มหาโลหิตะ
(๕) กิมิชาติเอาศัยเกาะกินอยู่ในปิตตังและเสมหัง มี ๓ ชนิดคือ นิละกะ อุปวะ และลามุขุ
(๖) กิมิชาติอาศัยเกาะกินอยู่ในกระบอกตา มี ๓ ชนิดคือ มาณะ ตะกา และ ณะวะ
(๗) กิมิชาติอาศัยเกาะกินอยู่ในบุพโพ (น้ำเหลือง) มี ๓ ชนิดคือ มัญชุ มุขะ และมิกขะละ
(๘) กิมิชาติอาศัยเกาะกินอยู่ในตับ มี ๓ ชนิดคือ วระณะ ตะณะ และสวะระ
(๙) กิมิชาติอาศัยเกาะกินอยู่ในพุง มี ๖ ชนิดคือ อวิชา อะธิวิชา วัตธา สิธา ทสะหะ และมุนขะ
(๑๐) กิมิชาติอาศัยเกาะกินอยู่ในมันเหลว มี ๒ ชนิดคือ พิมันชา และเลมขะ
(๑๑) กิมะชาติอาศัยเกาะกินอยู่ในทวารเบื้องต่ำ (ทวารหนัก เบา) มี ๓ ชนิดคือ กิททา ภะยะ และปาลาตะ
(๑๒) กิมิชาติอาศัยเกาะกินอยู่กลางลำตัว มี ๔ ชนิดคือ โลหะมุขะ มหาโลหะมุขะ มุนะชา และมหามุนะชา
(๑๓) กิมิชาติอาศัยเกาะกินอยู่ในปอด มี ๖ ชนิดคือ เสตะ โลหิตะ จะวะกาล สิวาจา อัคคะ และมหาอัคคะ
(๑๔) กิมิชาติอาศัยเกาะกินอยู่ในลำไส้น้อยและลำไส้ใหญ่ มี ๖ ชนิดคือ วะระสิมหา วะระนะตา มหาวะระนะตา สิบปา มหาสิบปา และสันตะอันตา
(๑๕) กิมิชาติอาศัยเกาะกินอยู่ในมันข้น มี ๓ ชนิดคือ สุธาชะ สิเนหะชา และมหาสิเนหะชา
(๑๖) กิมิชาติอาศัยเกาะกินอยู่ในบริเวณส่วนครึ่งล่างของร่างกาย ตั้งแต่สะดือถึงปลายเท้าเรียกว่า เบื้องต่ำอโธคะทวาร มี ๕ ชนิดคือ วิสรรหา สิวาระ เตชันตะ สิวะรา และมหาสิวะรา
(๑๗) กิมิชาติอาศัยเกาะกินอยู่ในผม มี ๒ ชนิดคือ พะละวา และมหาพะละวา
(๑๘) กิมิชาติอาศัยเกาะกินน้ำมูกอยู่ในจมูก (ฆานะ) มี ๓ ชนิดคือ ณะหาปัตระ ฉละมุคะ และสัตมุคะ
(๑๙) กิมิชาติอาศัยเกาะกินอยู่ในลิ้น (ชิวหา) มี ๓ ชนิดคือ กาละ มุกขา และมันนะเปละ
(๒๐) กิมิชาติอาศัยเกาะกินอยู่ใต้เล็บมือเล็บเท้า มี ๓ ชนิดคือ เลหะ ราคะ และอะวัณณะ
(๒๑) กิมิชาติอาศัยเกาะกินอยู่ในเนื้อและเส้นเอ็น มี ๓ ชนิดคือ กันนะ รัชชะกะ และโลหิตะ
(๒๒) กิมิชาติอาศัยเกาะกินอยู่ในคอ มี ๒ ชนิดคือ รัมมะหา และมหารัมมะหา
นอกจาก พยาธิ ๘๐ จำพวกนี้แล้วยังมี พยาธิที่เกิดขึ้นในกุมารและกุมารีอีกซึ่งจะกล่าวในตอนต่อไป มีผลต่อสุขภาพรวมถึงวิธีป้องกันและการรักษา
กิมิชาติประจำกาย
กุมารกุมารีอายุ 5-6 ขวบขึ้นไป
พ้นตานซางเจ้าเรือนและซางจรแล้ว จึงบังเกิดเป็นลักษณะตานโจร
ด้วยการบริโภคอาหารต่างๆที่ไม่เคย ทำให้บังเกิดโรคต่างๆ
บังเกิดหมู่กิมิชาต 80 จำพวก
และหมู่หนอน อาศัยกินอยู่ภายในกายกุมารกุมารี แลสัตว์ทั้งหลายทุกตัวสัตว์มิได้เว้นครั้นว่ากิมิชาติทั้งหลายเหล่านี้เจริญขึ้นเมื่อใดแล้ว
ก็ย่อมกระทำเบียดเบียนสัตว์แลมนุษย์ให้บังเกิดโรคแปรปรวนเป็นประการต่าง ๆนอกจาก พยาธิ ๘๐ จำพวกนี้แล้วยังมี พยาธิที่เกิดขึ้นในกุมารและกุมารีอีกซึ่งจะกล่าวในตอนต่อไป มีผลต่อสุขภาพรวมถึงวิธีป้องกันและการรักษา
กิมิชาตินี้ กล่าวถึงในคัมภีร์อะไรครับ จะได้ไปค้นรายละเอียดต่อ
ตอบลบ