พระคัมภีร์โรคนิทานและพระคัมภีร์ธาตุวิภังค์ แต่งโดยพระอาจารย์ชีวกโกมารภัจแพทย์ โดยแต่งต่อหน้าพระฤาษีสิทธิดาบส เนื้อหาของคัมภีร์ทั้งสองมีลักษณะคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ พระคัมภีร์โรคนิทานเป็นชื่อของพระคัมภีร์ที่ว่าด้วยเหตุและสมุฏฐานของโรค “ โรคนิทาน ” แปลว่า เหตุที่เกิดโรค พระคัมภีร์โรคนิทานนี้ปรากฏชื่ออยู่ใน “ ตำราพระโอสถพระนารายณ์ ” ซึ่งเป็นตำราที่รวบรวมขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ( พ.ศ.2199-2231 ) โดยปรากฏอยู่คู่กับ “ พระคัมภีร์มหาโชตรัต ” ดังนี้
“ ถ้าไข้ในคิมหันต์ โลหิตมีกำลัง วสันต์วาโยมีกำลัง เหมันต์เสมหะมีกำลัง กล่าวไข้ดังนี้พอประมาณ วิตถารแจ้งอยู่ในฤดู 6 พระคัมภีร์มหาโชตรัตและโรคนิทานนั้นแล้ว ”
พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์ ได้ให้ความสำคัญกับธาตุทั้ง 4 และอิทธิพลของฤดูกาล โดยเชื่อว่าธาตุทั้ง 4 จะต้องอยู่ในภาวะสมดุลกับร่างกาย จึงจะไม่เจ็บป่วย โดยธาตุดินอาศัยน้ำทำให้ชุ่มและเต่งตึง อาศัยลมพยุงให้คงรูปและเคลื่อนไหว อาศัยไฟให้พลังอุ่นไว้ไม่ให้เน่า น้ำต้องอาศัยดินเป็นที่เกาะกุมซับไว้ มิให้ไหลเหือดแห้งไปจากที่คงอยู่ อาศัยลมทำน้ำไหลซึมซับทั่วร่างกาย ลมต้องอาศัยน้ำและดินเป็นที่อาศัย นำพาพลังไปในที่ต่าง ๆ ดินปะทะลมทำให้เกิดการเคลื่อนที่แต่พอเหมาะ ในขณะที่ลมสามารถทำให้ไฟลุกโชนเผาผลาญมากขึ้น จะเห็นได้ว่าธาตุทั้ง 4 ต่างอาศัยซึ่งกันและกันจะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้ และหากธาตุใดธาตุหนึ่งแปรปรวนก็จะเสียความสมดุลทันที
จากเนื้อหาของพระคัมภีร์ทั้ง 2 แสดงให้เห็นถึงความคิดพื้นฐานของแพทย์แผนไทยที่ใช้พิจารณาองค์ประกอบของร่างกาย แบ่งเป็นธาตุหลัก 4 ประการ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และในธาตุหลักยังแบ่งย่อยออกไปอีก คือ ธาตุดิน 20 ธาตุน้ำ 12 ธาตุลม 6 ธาตุไฟ 4 และหากธาตุใดธาตุหนึ่งแปรปรวนก็ย่อมส่งผลกระทบต่อธาตุอื่นๆ ด้วย ทำให้เกิดการแปรปรวนกระทบกันมา ส่งผลให้ร่างกายเกิดการเจ็บป่วยได้
โรคนิทาน ว่าด้วยคนจะถึงความมรณะสิ้นอายุ
ธาตุอันใดจะขาด จะหย่อน จะพิการ อันตรธานประการใดก็ดี
มีแจ้งอยู่ในคัมภีร์มรณะญาณสูตรแล้ว
|
ธาตุวิภังค์ กล่าวถึง สาเหตุการเสียชีวิตที่เกิดขึ้นกับแต่ละบุคคล เมื่อธาตุทั้ง ๔ พิการ ,ขาดเหลือ พิการตามฤดู ธาตุทั้ง ๔ แตกและยารักษา
|
|
โรคนิทาน
ความมรณะ แบ่งเป็น ๒ อย่าง
๑. ปัจจุบันโรค ทุบถองโบยตี ราชอาญา(โอปักกะมิกาพาธ)
๒.โบราณโรค กำหนดสิ้นอายุขัย ดิน-หัวใจ ,น้ำ-น้ำลาย ลม-หายใจเข้า-ออก, ไฟ -อุ่นกาย
|
ธาตุวิภังค์
สาเหตุการเสียชีวิต แบ่งเป็น ๒ อย่าง
๑. ปัจจุบันโรค,ปัจจุบันกรรม
๒. โบราณโรค,โบราณกรรม
· ปัจจุบันโรค เกิดโรคร้ายแรง
เช่นอหิวาต์
· ปัจจุบันกรรม อุบัติเหตุทุบถองโบยตี ราชอาญา (โอปักกะมิกาพาธ) · โบราณโรค โรคเรื้อรัง คร่ำคร่า
· โบราณกรรม สิ้นสุดปริโยสาน (ย่างเข้าสู่ความชรา) ดิน-หัวใจ ,น้ำ -ดี(ปิตตัง) ลม -หายใจ ,ไฟ –อุ่นกาย
|
|
ธาตุพิการตามฤดู
|
||
๕-๖-๗ ไฟสันตัป
|
อาหารย่อยง่าย,หิวบ่อยท้องขึ้น เกิดลม ๖ จำพวก อุต/อุทรัน สะดือ-คอ ปัต/อุระ อก-คอ
อัส/อัสสา คัดจมูก ปรา/ปัสสา ขัดอก อนุ ขาดไป ลมจับ มหา/มหสกะ หาวนอน แน่นิ่ง
|
|
๘-๙-๑๐ ลมกุจฉิ
|
เมื่อย,แดก,เวียน,โลหิต,ไม่รู้รส
|
|
๑๑-๑๒-๑ น้ำ
กินผิดสำแดง
|
ดี โกรธ สะดุ้ง, เสมหะ
ไม่รู้รส หนอง หืด, โลหิต คลั่ง เพ้อ ร้อน เหงื่อ ซึม , มันข้น ตัวชา
มันเหลว บวม ผอม น้ำตา ปวดหัว, น้ำลาย ไข้ คอ-ฟันแห้ง น้ำมูก ปวดหัว, ไขข้อ เมื่อย มูตร แดง
|
|
๒-๓-๔
ดิน นอนผิดเวลา/นอนไม่หลับ
|
ผม รังแค ขน เจ็บ
เล็บ ดำช้ำ ฟัน รำมะนาด
หนัง ผื่นผด เนื้อบวม
ประดง เอ็น อัมพฤกษ์ กระดูก เมื่อย
สมองกระดูก ปวดศีรษะ ม้าม-หย่อน หัวใจ-บ้า ตับ-โต พังผืด-จุกเสียด ไต- แดกขึ้นปอด-กระหาย ไส้ใหญ่-หาวเรอ ไส้น้อย -ท้องมาน อาหารใหม่ -ลง/ราก/ป่วง อาหารเก่า-ไม่รู้รส มันสมอง -คลั่ง สันนิบาตต่อลม
|
|
ธาตุทั้ง ๔ แตกในคัมภีร์ธาตุวิภังค์ อาการคล้ายกับ ธาตุทั้ง ๔ พิการในคัมภีร์โรคนิทาน
|
||
เตโชแตก /พิการ
|
สันตับ ตาย ปริหทัย
ร้อนในเย็นนอก ชิร ชราไม่รู้สัมผัส ปริณา
บวม ไอ มองคล่อ
|
|
วาโยแตก/พิการ
|
อุทธัง ขวักไขว่ ทุรนทุราย อโธ ยกไม่ได้ กุจฉิ
แดก ท้องลั่น โกฏฐา เหม็นจนอาเจียน อังค
หิงห้อย อัสสา ตาย
|
|
อาโปแตก/พิการ
|
ดี คลั่ง เสมหะ
ลงเป็นโลหิตเน่า หนอง ผีภายใน โลหิต ไข้พิษไข้กาฬ เหงื่อ ตัวเย็น มันข้น
แตกเป็นน้ำเหลือง มันเหลว
ตัว ตาเหลืองเป็นป่วง น้ำตา เป็นต้อ น้ำลาย มุขโรค น้ำมูก ตามัว ไขข้อ ขัดตึง มูตร เป็นกาฬ,ทุลาวสา
|
|
ปถวีแตก/พิการ
|
ผม ร่วง ขน เจ็บทุกขุมขน เล็บ
หัวเดือนดาว ฟัน
ฝีทันตกุฏฐัง หนัง เรื้อน
เนื้อ ไข้กาฬ เอ็น อัมพาต กระดูก
ปวดเมื่อย สมองกระดูก
ปวดแท่งกระดูกม้าม ป้าง หัวใจ เสียจริตบ้า ตับ กาฬ ลงเป็นโลหิต พังผืด อกแห้ง
ไต(พุง)
ท้องขึ้นท้องพอง ปอด กาฬขึ้นหอบจนโครงลด ไส้ใหญ่ ดานไส้ตีบ
ไส้น้อย
ลงเป็นโลหิต อาหารใหม่ โรคอุจจาระธาตุ อาหารเก่า ริดสีดวงคูถทวาร มันสมอง ลิ้นกระด้าง สันนิบาตลมปะกัง
|
ธาตุทั้ง ๔ พิการในคัมภีร์โรคนิทาน อาการคล้ายกับ ธาตุทั้ง ๔ แตกในคัมภีร์ธาตุวิภังค์คือแบ่งฤดูเป็น ๔ ฤดูละ ๓ เดือน
|
||
ทั้ง ๒ คัมภีร์นี้จะคล้ายๆ กัน ส่วนคัมภีร์ธาตุวิภังค์
จะเพิ่มเติมในเรื่องดังต่อไปนี้
|
||
|
รสยา ๔ รส (ธาตุวิภังค์) จะซาบไปตามส่วนต่างๆของร่างกายดังนี้
หมายเหตุ การสรุปเป็นการย่อคัมภีร์ซึ่งมีเนื้อหาจำนวนมาก
ให้กระชับใจความ เพื่อง่ายต่อการจดจำและนำไปสอบฉะนั้น
ควรอ่านเนื้อหาทั้งหมดในหนังสือก่อน จะทำให้ง่ายต่อการเข้าใจและจดจำ
http://natachato12.siam2web.com//?cid=1602430 ลองเข้าไปทำข้อสอบคัมภีร์โรคนิทาน/ธาตุวิภังค์
หมายเหตุ ในการอ่านสรุปคัมภีร์ ควรอ่านในหนังสือทั้งหมดก่อนอย่างน้อย ๑ รอบ แล้วมาอ่านสรุปจะทำให้เข้าใจ ภาพรวมทั้งหมดมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างข้อสอบคัมภีร์โรคนิทาน/ธาตุวิภังค์
หมายเหตุ ในการอ่านสรุปคัมภีร์ ควรอ่านในหนังสือทั้งหมดก่อนอย่างน้อย ๑ รอบ แล้วมาอ่านสรุปจะทำให้เข้าใจ ภาพรวมทั้งหมดมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างข้อสอบคัมภีร์โรคนิทาน/ธาตุวิภังค์
1.ตามคัมภีร์ธาตุวิภังค์กล่าวถึงธาตุเมื่อจะสิ้นอายุ
ธาตุน้ำขาดไปตามลำดับจนแหลืออยู่ 1 อย่างอะไร
ก.น้ำเลือด
ข. น้ำดี
ค.น้ำมูก
ง. น้ำตา
2.สาเหตุของการตายในประจุบันโรคตามพระคัมภีร์ธาตุวิภังค์
คือข้อใด
ก. อหิวาตกโรค
ข. ธาตุทั้ง 4 ขาดไป
ค. ถูกทุบถองให้บอบช้ำ ง. ถูกราชอาให้ประหารชีวิต
3.ไข้ที่เกิดจากเสมหะมีกำลังกี่วัน
?
ก. 7 วัน
ข. 10 วัน
ค. 12 วัน ง. 15 วัน
4. สาเหตุของการตายโดยโบราณกรรมตามพระคัมภีร์ธาตุวิภังค์
คือข้อใด
1. อหิวาตกโรค
2. ธาตุทั้ง 4 ขาดไป
3.
ถูกทุบถองให้บอบช้ำ 4.
ถูกราชอาญาให้ประหารชีวิต
5. บุคคลจะถึงแก่ความตาย ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด
1. มรณะด้วยโรคและการเจ็บไข้ และมรณะเพราะไม่มีการรักษา
2. มรณะด้วยโบราณโรค โบราณกรรม และมรณะด้วยปัจจุบันโรคหรือปัจจุบันกรรม
3. มรณะด้วยการป่วย และมรณะด้วยอุบัติเหตุ
4. มรณะอาการผิดปกติ และมรณะด้วยอาการปกติ
6. การตายโดยลำดับขันธ์ชวนะ ธาตุทั้ง ๔ ล่วงไปตามลำดับ โดยกำหนดสิ้นอายุปริโยสานเป็นปกติ เมื่อจะอันตรธานนั้นหาสูญไปพร้อมกันไม่ ย่อมขาดไปแต่ละ ๓ สิ่ง ๔ สิ่ง และเมื่อจะสิ้นอายุนั้นยังอยู่ธาตุละสิ่ง ข้อใดผิด
1. ปถวีธาตุ ๒๐ ขาดไป ๑๙ หทยัง ยังอยู่ 2. อาโปธาตุ ๑๒ ขาดไป ๑๑ น้ำลาย ยังอยู่
3. วาโยธาตุ ๖ ขาดไป ๕ ลมที่พัดทั่วสรรพางค์กาย ยังอยู่ 4. เตโชธาตุ ๔ ขาดไป ๓ ไฟสำหรับเผากายให้อุ่น ยังอยู่
7. โอปักกะมิกาพาธ หมายถึงอะไร
1. การป่วยไข้ที่เรื้อรังมานาน 2. การป่วยที่รักษาก็หาย ไม่รักษาก็หาย
3. การป่วยที่รักษาก็ตาย ไม่รักษาก็ตาย 4. การป่วยที่เกิดจากถูกทุบถองโบยตี
8. โรคที่เกิดขึ้น
กำเริบเร็วแล้วตายไป เช่น อหิวาตกโรค หรือโรคอันเป็นพิษ ถือว่าเป็นโรคใด
1. โบราณโรค 2. ปัจจุบันโรค 3. โรคติดต่อร้ายแรง 4. โรคติดต่อที่ต้องแจ้ง
9. อาการ
เมื่อยขบ ขัดทุกข้อทุกกระดูก ยกมือยกเท้าไม่ไหว เจ็บปวดเป็นกำลัง เกิดจากสาเหตุใด
1. กระดูกพิการ 2. เส้นเอ็นพิการ 3. อโธคมาวาตาพิการ 4. ปริทัยหัคคีพิการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น