วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สรุปคัมภีร์มัญชุสาระวิเชียร


คัมภีร์มัญชุสาระวิเชียร กล่าวถึงลมเป็นก้อนเป็นดาน ๑๐ ประการ ที่ทำให้เกิดโรค ตั้งอยู่ในตำแหน่งต่างๆของร่างกาย และโรคมูตร ๒๐ ประการ
ลมเป็นก้อนเป็นดาน (ลมคุละมะ)
กล่าวถึง ลม ๑๐ ประการ บังเกิดในลำดับโรคอื่น ก็มี บังเกิดแต่ก่อนไข้ทั้งปวงก็มี ลม ๑๐ ประการ ซึ่งมีลักษณะอาการเป็นก้อนเป็นดานนั้น คือ
๑. ลมทักษิณะคุละมะ เป็นก้อนดานตั้งอยู่เบื้องขวา มีนาภีเป็นที่สุด
๒. ลมวามะกะคุละมะ เป็นก้อนดานตั้งอยู่เบื้องซ้าย มีนาภีเป็นที่สุด
๓. ลมโลหะคุละมะ เป็นก้อนดานตั้งอยู่ในเบื้องต่ำแห่งนาภี
๔. ลมกูปะคุละมะ เป็นก้อนดานตั้งอยู่ในเบื้องบนแห่งนาภี
๕. ลมเสลศะมะกะคุละมะเป็นก้อนดานตั้งอยู่ในอุระประเทศ
๖. ลมกฤตคุละมะ เป็นก้อนดานตั้งอยู่ในไส้มีนาภีเป็นเบื้องต่ำ มีเสมหะกระจายออกเป็นอันมาก
๗. ลมปิตตะคุละมะ เป็นก้อนดานตั้งอยู่ในอุระมีดีซึมอยู่เป็นอันมาก
๘. ลมรัตตะคุละมะ เป็นก้อนดานตั้งอยู่หน้าขา มีโลหิตแตกออกมา 
๙. ลมทัษฐะคุละมะ เป็นก้อนดานตั้งแอบก้อนลมวามะกะคุละมะอยู่
๑๐.ลมประวาตะคุละมะ เป็นก้อนดานตั้งแอบก้อนลมทักษิณะคุละมะอยู่
อันว่า ลมก้อน , ดาน , เถา อันใดอันตั้งอยู่ในอกและตั้งอยู่บนยอดไส้เกี่ยวผ่านลงไปอยู่ในนาภี นั้นตั้งอยู่ได้เดือนหนึ่ง อย่าพึงรักษาเลย นอกจากลม ๑๐ ประการนี้ แพทย์พอจะเยียวยารักษาหาย
ลมปิตตะคุละมะ แพทย์มิพึงรักษา แต่ถ้าแพทย์จะรักษาให้ เผาเหล็กให้แดง เอานาบลงบนสรรพยา เพื่อให้ที่เผานั้นพองขึ้น ทำทั้งนี้เพื่อมิให้พยาธิจำเริญขึ้นมาได้
ภาพลมที่เป็นก้อนเป็นดานตามตำแหน่งต่างๆของร่างกาย


ยารักษา
- ยานาบลมปิตตะคุละมะ ขมิ้นอ้อย ว่านน้ำ เปราะหอม เมล็ดพรรณผักกาด เมล็ดงาดำ เทียนดำ สิ่งละ ๖ ส่วน ตำให้แหลก เคล้าน้ำมันสุกร แล้ววางลงที่เจ็บนั้น แล้วเอาเหล็กแดงนาบลงแก้ลมก้อน} ดาน, เถา นั้นหาย
- ยาจิตระกาทิคุณ ผักแพวแดง รากหัวลิง รากละหุ่งแดง ขิงแห้ง มหาหิงคุ์ ผลโมกมัน เกลือสินเธาว์ สิ่งละ ๗ ส่วน ทำเป็นจุล ละลายน้ำร้อนกิน แก้ลมคุละมะให้เสียดแทงหาย
- ยาขิปะปะกะโอสถ รากสะค้าน เกลือสินเธาว์ เปลือกมะขามป้อม ขิงแห้ง สิ่งละ 4 ส่วน บดเป็นผง ละลายน้ำร้อนกิน แก้ลมเสียดแทง แก้ลมคุละมะทั้งปวง หาย
- ยาพะระหะตาทิคุณ รากมะแว้งเครือ รากจุกโรหินี รากกำจาย เปราะหอม โหรามฤขสิงขลี โกฐจุฬาลัมพา รากบัวบก รากสัก ผลกระดอม ข่าลิง สิ่งละ ๑๐ ส่วน ทำเป็นจุลละลายน้ำผึ้งให้เหลวพึงดื่ม กิน แก้ลมปิตตะคุละมะ อันเสียดแทง แก้ไข้สันนิบาตหาย แก้ไอผอมแห้ง เหลือง และหมองใจ ให้บวม แก้หืด และหิดเปื่อย พุพองหนองไหล อันพึงเกลียดก็หาย
- ยาปัตโตลาทิกะวาต ผลกระดอม สมอไทย สมอพิเภก ผลมะขามป้อม ใบสะเดา สิ่งละ ๕ ส่วน ต้มกิน แก้ลมอยู่เบื้องซ้าย แก้ไข้เพื่อดี ตัวเหลืองและเสมหะ มักให้ราก แก้ลมเสียดให้ร้อนเป็นกำลัง
- ยาวิไสยโอสถ ขิงแห้ง ละหุ่งแดงทั้งใบ , ราก เทียนเยาวภาณี รากไผ่สีสุก สารส้ม มหาหิงคุ์ เกลือเทศ เกลือสินเธาว์ เกลือกะตัง รากจุกโรหินี สิ่งละ ๑๑ ส่วน ทำเป็นจุลละลายน้ำร้อนกิน แก้ลมก้อน , ดาน , เถา ให้เสียดแทงหาย 
- ยาสรรพโอสถ ตรีกฏุก ยางสน เกลือสินเธาว์ โคกกระสุน กระถินป่า รากมะเขือขื่น รากกรรณิกา รากคนทีสอ รากคนทีเขมา รากมะแว้งทั้ง ๒ รากอ้ายเหนียว รากมะเขือคางแพะ หัสคุณทั้ง ๒ มหาหิงคุ์ กำลังหนุมาน หัวเอื้องเพชรม้า หัวหอม สิ่งละ ๑๒ ส่วน ทำเป็นจุล ละลายน้ำร้อนกิน แก้ลมก้อนเพื่อ เสมหะ ให้เสียดแทงหาย
- ยาพระโยสาธิคุณ ตรีกฏุก กำลังหนุมาน เหง้าอุบล ผลช้าพลู สะค้าน ผักแพวแดง เทียนเยาวภาณี จันทน์เทศ สิ่งละ ๑๐ ส่วน ทำเป็นจุลละลายน้ำนมโคกินให้ใจชื่น แก้โรคบังเกิด แต่ดีเสมหะ ให้ร้อนและ ให้ผูก แก้โรคผอมเหลือง แก้เสมหะและเจ็บอกหาย
- ยาตรีผลา ตรีผลา ผลผักชี ขิง สะค้าน ผักแพวแดง สิ่งละ ๗ ส่วน ทำเป็นจุล บดด้วยเถาวัลย์เปรียง ต้มละลายกินด้วย น้ำเถาวัลย์เปรียง ตัดยางสนลง แก้ลมก้อนและลมเสียดแทงหาย


โรคมูตร   20   ประการ 
ปัสสาวะสีต่างๆ
๑.เป็นโลหิต   ๒เหลืองดังน้ำขมิ้น   .๓.ดังน้ำนมโค   ๔.ดังน้ำข้าวเช็ด
 ๕.ดังใบไม้เน่า    ๖.เป็นดังน้ำหนอง   ๗.ดังน้ำล้างเนื้อ             
ปัสสาวะขัด
๘.เพราะดีให้โทษ      ๙.เกิดแต่ความเพียรกล้า   ๑๐. เกิดแต่ไข้ตรีโทษ ๑๑เพราะโรคปะระเมหะให้โทษ   
 ๑๒.เพราะเป็นนิ่ว    ๑๓.เพราะเสมหะให้โทษ     ๑๔.เพราะลมให้โทษ   ๑๕ น้ำปัสสาวะออกมาขัด                                                 
อื่นๆ
๑๖.ไปปัสสาวะบ่อยๆ   ๑๗. ไปปัสสาวะ   วันละ  ๗ เวลา    ๑๘ไปปัสสาวะวันละ   ๑๐ เวลา 
๑๙.น้ำปัสสาวะร้อน       ๒๐. น้ำปัสสาวะไหลซึมไป        
 ยารักษา
ยาอัพยาธิคุณ สมอออัพยา ๕ เหลี่ยม ผลมะขามป้อม แฝกหอม แห้วหมูเก็บมาประมวลเข้าให้เท่ากันต้มแล้วตัดน้ำผึ้งลงดื่มกิน แก้มูตรพิการหาย
ยาติกกธิคุณ เครือเขายอดด้วน ผักขวาง พญารากเดียว บอระเพ็ด สิ่งละ ๔ ส่วน ต้มไว้ ให้เย็นแล้วพึงดื่มกิน แก้มูตรขาวหายยาอุทระโอสถ รากจิงจ้อน้อย รากโคกกระสุน รากรกฟ้า หญ้าหมอน้อย หญ้าแพรก จันทน์ทั้ง ๒ รากพิลังกาสา สิ่งละ ๘ ส่วน ต้มไว้ให้เย็นเอาน้ำผึ้งตัดลงแล้ว กินแก้เบาขัดเพื่อดีหาย
ยาปะระสะกันพะโอสถ รากยอ รากแคฝอย รากหญ้าแพรก สิ่งละ ๓ ส่วน ต้มแล้วคั้นเอาน้ำ แล้วเอาข้าวตอกกับน้ำผึ้งระคนปนลงในน้ำยา ต้มเอาไว้ให้เย็น แล้วจึงกิน แก้ลม แก้ดี แก้ร้อนอก แก้ร้อนกาย แก้กระหาย แก้เสียดแทงถึงสลบ แก้ราก สะค้านและวิงเวียน แก้เบาเหลืองเป็นเพื่อดี แก้เบาเป็นบุพโพ แก้ลงเบา และเบาเป็นป่วงดังลมพัดหายสิ้น

หมายเหตุ ในการอ่านสรุปคัมภีร์ ควรอ่านเนื้อหาในหนังสือทั้งหมดก่อนอย่างน้อย ๑ รอบ แล้วมาอ่านสรุปจะทำให้เข้าใจ ภาพรวมทั้งหมดยิ่งขึ้น
ตัวอย่างข้อสอบในคัมภีร์นี้

ข้อ 1.   คัมภีร์มัญชุสาระวิเชียร ลมเป็นก้อนดานตั้งอยู่ในอุระ มีดีซึมอยู่เป็นอันมาก เรียกชื่อว่าอะไร
                1.   ทักษณะคุละมะ                2.   ปิตตะคุละมะ
                3.   โลหิตคุละมะ                   4.   รัตตะคุละมะ
ข้อ 2.   คัมภีร์มัญชุสาระวิเชียรกล่าวถึงเรื่องอะไร
                1.   กล่าวถึงว่าด้วยโรคลมทั่วๆไป           2.   กล่าวว่าด้วยลมเป็นก้อนเป็นดานที่ทำให้เกิดโรคอยู่ตามตำแหน่งต่างๆ
                3.   กล่าวว่าด้วยลมพิษและลมร้าย           4.   ไม่มีข้อใดถูก
ข้อ 3. 
โรคมูตร ตามคัมภีร์มัญชุสาระวิเชียร มีกี่ประการ  
                1.    10 ประการ                                        2.   12 ประการ
                3.   18 ประการ                                         4.   20 ประการ



5.   คัมภีร์มัญชุสาระวิเชียรกล่าวถึงเรื่องอะไร

    ก.   กล่าวถึงว่าด้วยโรคลมทั่วๆไป                   ข.  กล่าวว่าด้วยลมที่ทำให้เกิดโรคและมีอาการต่างๆ

    ค.   กล่าวว่าด้วยลมพิษและลมร้าย                    ง.   ไม่มีข้อใดถูก

6. ลมทีบังเกิดให้เนื้อตัวบวม เรียกว่าลมอะไร?

                ก.   ลมกำเดา                                       ข.   ลมผูกธาตุ

                ค.   ลมปถวีกำเริบ                               ง.   ลมกระษัยจุกอก

8.คลำบริเวณท้องน้อย ลองใช้มือกดดู พบว่ามีอาการบวมนูนที่ท้องน้อย มีอาการปวดเจ็บเสียวซ่านตามหัวเหน่า แสบร้อน เมื่อจะปัสสาวะให้ปวดที่กระเพาะดังจะแตก ปัสสาวะร้อนและแดงจัด บางคราวแดงคล้ำเหมือนเลือด ปวดมาก จะนั่งลุกก็ไม่สะดวก ในมูตร20ประการ ท่านคิดว่าเป็น อวัยวะใด

ก. กระเพาะปัสสาวะบวม                                       ข.ม้ามบวม

ค.ไตบวม                                                                 ง. ลำไส้ใหญ่อักเสบ

9.ลมเป็นก้อนเป็นดานตั้งอยู่หน้าขา มีโลหิตแตกออกมา เป็นอาการ ใดในคัมภีร์มัญชุสาระ วิเชียร

ก.วามะกะคุละมะ                                                   ข.ปิตตะคุละมะ

ค.รัตตะคุละมะ                                                        ง.ทัษฐะคุละมะ

10.  ขมิ้นอ้อย ว่านน้ำ เปราะหอม เมล็ดพันธ์ผักกาด งาดำ เทียนดำ ตำให้แหลก เคล้าด้วยน้ำมันสุกร เป็นยารักษาโรคลมชนิดใด

ก. โลหะคุละมะ                                                       ข. วามะกะคุละมะ

ค. ปิตตะคุละมะ                                                       ง. รัตตะคุละมะ

11.  ข้อใดจัดอยู่ในโรคมูตร 20 ประการ

ก.น้ำปัสสาวะเป็นโลหิต                                         ข. น้ำปัสสาวะร้อน

ค.น้ำปัสสาวะออกมาขัด                                          ง. ถูกทุกข้อ

12.  สมุนไพรในข้อใด ไม่ใช่ส่วนประกอบในตำรับยาอัพยาธิคุณ

ก. มะขามป้อม                                                         ข. สมออัพยา

ค. สมอเทศ                                                               ง. แห้วหมู

13. ลมที่กล่าวในมัญชุสาระกล่าวถึงลมใด

ก. ดานลมที่คั่งอยู่ตามร่างกาย                                  ข.ดานที่เป็นก้อนแข็งคล้ายซีสต์ทั่วกาย

ค. ดานเลือดในท้อง                                                 ง.ไม่มีข้อใดถูก

14.  ข้อใดไม่จัดอยู่ในโรคมูตร 20 ประการ

ก. น้ำปัสสาวะเป็นโลหิต                                         ข. น้ำปัสสาวะร้อน

ค. น้ำปัสสาวะออกมาขัดเกิดแต่ความเพียรกล้า       ง. ไปปัสสาวะวันละ 8 เวลา




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น