คัมภีร์ธาตุบรรจบ ผู้แต่ง พระอาจารย์ชีวกโกมารภัจจ์แพทย์
ข้อ 1.
อุจจาระมีกลิ่นหม็นเหมือนหญ้าเน่ามีอาการอย่างไร?
พระคัมภีร์ธาตุบรรจบ ว่าด้วยโรคอุจจาระธาตุและมหาภูตรูปซึ่งเป็นโรคในระบบทางเดินอาหาร
สาเหตุและอาการต่างๆของโรคอุจจาระธาตุ โดยเหตุเบื้องต้นเกิดจาก
+ เป็นไข้ที่มีพิษจัดตกถึงสันนิบาตแล้วเรื้อรังมา
ธาตุแปรปรวนจนอุจจาระไม่เป็นปกติ
+ กินอาหารแปลกหรือเกินกำลังธาตุของตน เช่นเนื้อสัตว์ดิบ คาว ไขมันต่างๆ ของหมักดอง บูดเน่า ทำให้ธาตุแปรปรวน ท้องอืดท้องเฟ้อ เรอเหม็นเปรี้ยว จุกเสียด อุจจาระก็วิปริตไป
+ ธาตุสมุฎฐานมหาภูตรูป ๔ ประชุมกันในกองสมุฎฐาน ปิตตะ วาตะ เสมหะ โทษละสามละสาม กระทำโทษต่อปถวีธาตุสมุฎฐาน ทำให้โรคนั้นรุนแรง เรียกว่าเกิดมหาสันนิบาตหรือสันนิบาตกองใหญ่
+ กินอาหารแปลกหรือเกินกำลังธาตุของตน เช่นเนื้อสัตว์ดิบ คาว ไขมันต่างๆ ของหมักดอง บูดเน่า ทำให้ธาตุแปรปรวน ท้องอืดท้องเฟ้อ เรอเหม็นเปรี้ยว จุกเสียด อุจจาระก็วิปริตไป
+ ธาตุสมุฎฐานมหาภูตรูป ๔ ประชุมกันในกองสมุฎฐาน ปิตตะ วาตะ เสมหะ โทษละสามละสาม กระทำโทษต่อปถวีธาตุสมุฎฐาน ทำให้โรคนั้นรุนแรง เรียกว่าเกิดมหาสันนิบาตหรือสันนิบาตกองใหญ่
มีอาการ ๑๕ อย่างอันเป็นอุจจาระธาตุลามกระคนด้วยมหาสันนิบาต
และระคนไปในธาตุอภิญญาณ(ให้อุจจาระมีสีต่างๆ)
และระคนไปในอสุรินธัญญาณธาตุ(คืออุจจาระธาตุมีกลิ่นต่างกันตามโทษที่กระทำ เอา
ตกเข้าสู่อชินธาตุ รักษายากนักเพราะเป็นโรคเรื้อรัง นานเข้ากลายเป็น
อสาทิยะอุจจาระคันธารธาตุ ให้บังเกิดเป็น ปะระเมหะเมือกมันเปลวไต
เป็นทุรวาสาคือปัสสาวะพิการต่างๆ
พิกัดสมุฏฐานมหาภูตรูป
|
๑.พัทธ อพัทธ
กำเดา พิกัดกองสมุฏฐาน เตโช
๒.หทัย สัตถก
สุมนา พิกัดกองสมุฏฐานวาโย
๓.ศอ อุระ
คูถ พิกัดกองสมุฏฐานอาโป
๔.หทัยวัตถุ อุทริยะ
กรีสะ พิกัดกองสมุฏฐานปถวี
|
ปถวีจะเป็น ชาติ จลนะ ภินนะ เองไม่ได้เมื่อ
เตโช วาโย อาโป กองใดกองหนึ่ง จลนะขึ้นแล้ว ปถวี
จะมีกำลังแรงขึ้น สมุฏฐานทั้งปวงจึงกำเริบแรงกว่าเก่า เหตุว่าปถวีเป็นที่ตั้งแห่งภูมิโรค ค้ำชูอุดหนุนโรคให้จำเริญ เรียก มหาสันนิบาต หรือสันนิบาตกองใหญ่
|
สาเหตุโรคอุจจาระธาตุ
|
เป็นไข้พิษจัดตกถึงสันนิบาต
ธาตุแปรปรวน เรื้อรัง กลายเป็นโรคอุจจาระธาตุ
|
รับประทานอาหารแปลกรส ของหมักดอง
บูดเน่า ธาตุนั้นวิปริตแปร ปรวน กลายเป็นโรคอุจจาระธาตุ
|
พิกัดสมุฏฐานมหาภูตรูป ประชุมกันในกองโทษละ ๓ ละ๓ ธาตุ
กำเริบ หย่อน พิการในทวาทศราศี
|
ลักษณะอุจจาระ
|
๑. สี ดำ,แดง,ขาว,เขียว ๒.หยาบ ละเอียดคล้ายมูลไก่ ,เต่า,แมว
๓.ถ่ายไม่เป็นเวลา ถ่ายทั้งกลาง วัน กลางคืน
วันละ ๒-๘ ครั้ง
|
โทษของโรค อุจจาระ ๑๕ ประการ
|
๑.ปวดท้อง
๒.บริโภคไม่ได้
๓.อาเจียน
๔.นอนไม่หลับ ๕.มึนมัว
๖.ถ่ายไม่สะดวก
๗.แน่นอกคับใจ
๘.เสียวไปทั่วกาย ๙.เมื่อยทุกข้อกระดูก ๑๐.กลุ้มจิต ๑๑.เจรจาพร่ำพรู
๑๒.ร้อนในกระหายน้ำ ๑๓.กายซูบผอม
๑๔.ละอองในปาก
๑๕.เสียดชายโครง
|
โทษของโรค อุจจาระ ๑๕ ประการมี ๖ หมวด
|
๑.อาการมึนเสียวทั่วกายเมื่อยทุกข้อ
อังคะมังคาฯ
|
๒.ปวดท้อง เสียวชายโครง เพราะปัตคาด สัณฑะฆาต รัตตะฆาต
|
๓.บริโภคอาหารมิได้
โทษแห่ง
ปิงคลา
|
๔.กระหายน้ำ,กระวนกระวาย,
เจรจาพร่ำพรู โทษแห่งสุมนา |
๕.นอนไม่หลับ กลุ้ม โทษแห่งอัมพฤกษ์
ถึงสุมนา
|
๖.อุจจาระปัสสาวะไม่สะดวก,คับอกคับใจ โทษ
กุจฉิและโกฏฐา
|
ระดับความผิดปกติ เรียกอุจจาระธาตุลามกระคนด้วยมหาสันนิบาต และระคนไปในธาตุอภิญญาณและอสุรินทัญญาณธาตุ
คือธาตุนั้น สำแดงโทษให้รู้ดุจผีสิง ตกเข้าระหว่างอชินธาตุ เป็นโรค เรื้อรัง ถ้าให้ยาไม่ถูกกับโรคนานเข้า แสดงออกถึงกลิ่นผิดปกติกลายเป็น อสาทิยะอุจจาระคันธารธาตุ บังเกิดเป็นปะระเมหะ เมือกมัน เปลวไต
ทุลาวสา(ปัสสาวะพิการต่างๆ) |
||||
ลักษณะอุจจาระธาตุ
|
เสียด้วยลมโกฏฐาสยาวาตา มิได้พัดชำระ ประเมหะ ,เมือกมัน ให้ เป็นตะกรันติดคราบลำไส้ระคนด้วย
อุจจาระ ครั้นเข้าสู่ช่วงทวาร ก็ลำลาบแตกออกเป็นโลหิต บังเกิดเป็น ปะระเมหะ เมือกมัน เปลวไต
ทุลาวสา บางทีเรียก ลามกอติสาร
|
|||
อุจจาระธาตุ
เรียกลามกอติสาร (สีต่างๆ)
|
ปถวีธาตุ ให้เสมหะเน่า ท้องขึ้น เป็นอัมพฤกษ์ กษัย ป้าง ถ้าพิการ
อจุจาระสีดำ(กลิ่นซากศพ)
|
อาโปธาตุ ให้ลงท้องเจ็บอก
เป็นกล่อน อุจจาระปัสสาวะ ไม่ออก ขัดสีข้าง อุจจาระสีแดง(กลิ่นปลาเน่า)
|
วาโยธาตุ เมื่อยมือ เท้า
เป็นตะคริว เมื่อยสองเกลียวข้าง สมมุติว่าฝีเส้น ขัดอก ,เข่า อุจจาระสีขาว(กลิ่นข้าวบูด)
|
เตโชธาตุ ร้อนปลายมือ เท้า บวมสันหลัง
ผื่นขึ้นดังผด ให้ตกบุพโพโลหิตอุจจาระสีเขียว (กลิ่นหญ้าเน่า)
|
อสาทิยสมุฏฐาน
(ให้ยายากนัก)
๑.
อสาทิยโบราณชวร แปรตามสมุฏฐานแห่งอายุเข้าสู่ความชรา
๒. อสาทิยมรณันติกชวร
คือโรคอุบัติเหตุ ตกจากที่สูง ต้องอาญา อหิวาตกโรค พิษต่าง
๓. อสาทิยอชินชวร
คือโรคเก่า เรื้อรัง รักษาไม่หายขาด
๓.๑ อชินธาตุ
คือบริโภคอาหารไม่ถูกกับธาตุหรือแสลงกับธาตุนั้น
๓.๒ อชินโรค
คือให้ยาไม่ถูกกับโรค อาการทรุด
๓.๓ อชินโทษ
คือบริโภคอาหารไม่ถูกกับธาตุและให้ยาไม่ถูกกับโรค
|
ลักษณะอุจจาระธาตุลามกระคนในอสุรินธัญญาณธาตุ(ว่าด้วยอสาทิยะอุจจาระคันธารธาตุ)
|
|||
ปถวีธาตุสมุฎฐาน อุจจาระมีกลิ่นดังซากศพเน่าโทรม
ระคนด้วยวัฒฑอชินะ ให้โทษ ๓ คือ เจ็บอก เจ็บในท้อง บวมมือเท้า
บางทีบวมทั่วร่างกาย
|
อาโปธาตุสมุฎฐาน อุจจาระมีกลิ่นดังปลาเน่า
ระคนด้วยอามะอชินะ ให้โทษ ๓ คืออุจจาระปัสสาวะไม่สะดวก เจ็บอก น้ำลายไหล
|
วาโยธาตุสมุฎฐาน
อุจจาระมีกลิ่นดังข้าวบูด ระคนด้วยวิวัฒฑอชินะ ให้โทษ ๕ ประการคือ เสียดแทง เจ็บคอ
คันจมูก เมื่อยทั่วร่างกาย
ตะครั่นตะครอ
|
เตโช ธาตุสมุฎฐาน อุจจาระมีกลิ่นดังหญ้าเน่า
ระคนด้วยมลอชินะ อาการให้โทษ ๕ ประการ ให้ปากแห้ง คอแห้ง หนักตัว วิงเวียน
อุจจาระปัสสาวะไม่สะดวก เหงื่อไหลหยดย้อย
|
ประเภทอชิน ๔ อย่างมี | |||
๑ เสมหะอชิน กระทำให้ลงเวลาเช้า คอแห้ง อกแห้ง อุจขาว ปวดคูถเป็นกำลัง แก้มิฟังพ้น ๑๒ วันเข้าอมุลธาตุอติสาร เป็นปฐมอติสารชวร | ๒ ปิตตะอชิน ทำให้ลงกลางวัน ตัวร้อน ร้อนใน หาแรงมิได้ ปากแห้ง คอแห้ง อาเจียน กินไม่ได้ ไม่รู้รส พ้น ๗ วันเข้ารัตตะธาตุอติสาร เป็นทุติยะอติสารชวร | ๓ วาตะอชิน ให้ลงเวลาพลบค่ำ ท้องขึ้น แน่นอก อาเจียนลมเปล่า กินไม่ได้ อุจดำ กลิ่นเหม็นเปรี้ยว พ้น ๑๐ วันเข้าปัจฉันธาตุอติสาร เป็นตติยะอติสารชวร |
๔ สันนิปาตะอชิน ให้ลงเวลากลางคืน แน่นอก สะบัดร้อนหนาว มือเท้าเย็น อุจเหลือง กลิ่นเหม็นดั่งซากศพ พ้น ๒๙ วันจะเข้ามุสกายธาตุระคนด้วยกาฬธาตุอติสารเป็นจตุถะอติสารชวร |
ยารักษาโรคอุจาระธาตุ มี 4 ขนาน | |||
1. ยาพรหมภักตร์ แก้ท้องเสีย แก้ปวดท้อง ขับลม มียางสลัดไดประสะ 20 ส่วน บดเป็นผง ละลายน้ำเปลือกมะรุมต้ม เป็นกระสาย หรือบดเป็นเม็ดไว้ กินครั้งละ 1 เม็ด ก่อนอาหาร 3 เวลา | 2 ยามหาพรหมภักตร์ แก้อุจจาระธาตุไม่ปกติ มียางสลัดไดประสะ 24 ส่วน บดเป็นผง เอาน้ำโสฬสเบญจกูลเป็นกระสาย บดเป็นเม็ดไว้กินตามกำลัง | 3 ยามหิทธิมหาพรหมภักตร์ แก้ท้องเสีย และแก้โรคธาตุผิดปกติ มียางสลัดไดประสะ32ส่วนบดเป็นผง ใช้พิกัดเบญจกูลเป็น กระสายยา ทำเป็นเม็ด หรือใช้น้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนกะได ทาน 1 เม็ด 3 เวลาก่อนอาหาร | 4 ยาอัศฎาธิวัค (รักษาริดสีดวงได้ และขนานนี้เป็นยาน้ำขนานเดียวใน 4 ขนาน) ไม่มียางสลัดได แก้จุกเสียด แก้อาเจียน บริโภคอาหารไม่ได้ แก้เปวดท้อง ท้องเสีย และโรคริดสีดวงทวาร ใช้กะเพราทั้ง 5 ฝักราชพฤกษ์ 10 ฝัก ขยำเอาน้ำเป็นกระสายยาต้ม 3 เอา 1 กิน 1 ถ้วยกาแฟ ก่อนอาหาร 2 เวลา เช้า-เย็น |
หมายเหตุ ในการอ่านสรุปคัมภีร์ ควรอ่านเนื้อหาในหนังสือทั้งหมดก่อนอย่างน้อย ๑ รอบ แล้วมาอ่านสรุปจะทำให้เข้าใจ ภาพรวมทั้งหมดดียิ่งขึ้น
ตัวอย่างข้อสอบคัมภีร์ธาตุบรรจบ
ข้อ 1.
อุจจาระมีกลิ่นหม็นเหมือนหญ้าเน่ามีอาการอย่างไร?
1. เจ็บหน้าอก น้ำลายไหล ตาแดง 2. เจ็บคอ คัดจมูก เมื่อยตัว
3. เจ็บหน้าอก เจ็บในท้อง เจ็บในกระดูก
4. ปากแห้ง คอแห้ง วิงเวียน ข้อ 2. กลิ่นอุจจาระเหม็นดังข้าวบูด เกิดเพราะกองสมุฎฐานใดเป็นเหตุ
1. ปถวี
2. อาโป 3. วาโย
4. เตโชข้อ
ข้อ3. ท่านเห็นว่ากองมหาภูตรูปใดผิด
1. กองมหาภูติรูปดิน 20 2. กองมหาภูตรูปอากาศ 10 3. กองมหาภูตรูปอาโป 12 4. กองมหาภูตรูปวาโย 6
ข้อ 4. โทษ 15 ประการ ในโรคอุจจาระธาตุ ข้อใดที่ไม่ถูกต้อง
1. ให้แน่นในอกคับใจ 2. ให้คันไปทั่วร่างกาย
3. ให้ร้อนกระหายน้ำ 4. ให้เจรจาพร่ำพรู
ข้อ 5. ธาตุสมุฎฐานทั้ง 4 นั้น มีธาตุอะไรเป็นที่ตั้งแห่งภูมิโรคทั้งหลาย?
1. ปถวีธาตุ 2. อาโปธาตุ
3. วาโยธาตุ 4. เตโชธาตุ
ข้อ 6. ในคัมภีร์อุทรโรค ท่านหมายเอาโรคอะไร
1. โรคกระเพาะอาหาร 2. โรคท้องมาน
3. โรคกระษัย 4. โรคชรา
ข้อ 7. อาโปธาตุพิการ ลักษณะของอุจจาระธาตุมีสีอะไร?
1. ดำ 2. ขาว
3. เขียว 4. แดง
1. ให้แน่นในอกคับใจ 2. ให้คันไปทั่วร่างกาย
3. ให้ร้อนกระหายน้ำ 4. ให้เจรจาพร่ำพรู
ข้อ 5. ธาตุสมุฎฐานทั้ง 4 นั้น มีธาตุอะไรเป็นที่ตั้งแห่งภูมิโรคทั้งหลาย?
1. ปถวีธาตุ 2. อาโปธาตุ
3. วาโยธาตุ 4. เตโชธาตุ
ข้อ 6. ในคัมภีร์อุทรโรค ท่านหมายเอาโรคอะไร
1. โรคกระเพาะอาหาร 2. โรคท้องมาน
3. โรคกระษัย 4. โรคชรา
ข้อ 7. อาโปธาตุพิการ ลักษณะของอุจจาระธาตุมีสีอะไร?
1. ดำ 2. ขาว
3. เขียว 4. แดง
8. ข้อใดมิใช่สาเหตุของโรคอุจจาระธาตุตามคัมภีร์ธาตุบรรจบ
ก. รับประทานอาหารแปลกหรือรับประทานอาหารมากเกินกำลังธาตุ
ข. ธาตุสมุฏฐานมหาภูตรูป 4 ประชุมกันในกองสมุฏฐาน
ทำให้ธาตุกำเริบ หย่อน พิการ
ค. อุจจาระธาตุเป็นเมือกมัน เปลวไต
หยาบก็มี ละเอียดก็มี ดังมูลแมว มูลไก่ มูลเต่า
ง. ไข้ที่มีพิษจัดตกถึงสันนิบาต
แล้วเรื้อรังมา ธาตุนั้นแปรปรวน วิปริต
9. จากกองพิกัดสมุฏฐานมหาภูตรูป
4 สมุฏฐานกองใดได้นามว่า “มหาสันนิบาต หรือ สันนิบาตกองใหญ่”
ก. กองสมุฏฐานเตโช
ข. กองสมุฏฐานวาโย
ค. กองสมุฏฐานปถวี
ง. กองสมุฏฐานอากาศ
10. ผู้ป่วยชายไทยคู่
อายุ 48 ปี มาพบท่านด้วยอาการลงท้อง เจ็บหน้าอก อุจจาระปัสสาวะไม่ออก นอนไม่หลับ
ขัดหัวเข่า ปวดท้องเป็นพรรดึก ท่านจะวินิจฉัยว่าอุจจาระธาตุเกิดจากธาตุใด
ก. ปถวีธาตุ
ข. อาโปธาตุ
ค. เตโชธาตุ
ง. อากาศธาตุ
11. หญิงไทยคู่ อายุ 37 ปี
มีอาการปากแห้ง คอแห้ง หนักตัว วิงเวียน อุจจาระปัสสาวะไม่สะดวก เหงื่อไหลหยดย้อย อุจจาระกลิ่นดังหญ้าเน่า
เกิดจากอสาทิยะอุจจาระคันธารธาตุระคนด้วยสิ่งใด
ก. มลอชินะ (เตโชธาตุสมุฏฐาน)
ข. วิวัฒฑอชินะ (วาโยธาตุสมุฏฐาน)
ค. อามาอชินะ (อาโปธาตุสมุฏฐาน)
ง. วัฒฑะอชินะ (ปถวีธาตุสมุฏฐาน)
12. “โรคบังเกิดเป็นโอปักกะมิกโรค
คือตกลงมาจากที่สูงหรือต้องทุบถองโบยตี ต้องราชอาญา อหิวาตกโรค
และโรคที่เกิดเป็นพิษขึ้นต่างๆ มีพิษดี พิษโลหิต และพิษเสมหะ เป็นต้น
จัดเป็นมัชฌิมะอสาทิยะพิกัดสมุฏฐานหนึ่ง จะให้ยานั้นยากนัก” หมายถึงข้อใด
ก. อสาทิยะโบราณชวร
ข. อสาทิยะจะละนะ
ค. อสาทิยะมรณันติกชวร
ง. อสาทิยะอชินชวร
13. ข้อใดมิใช่ชื่อยารักษา
โรคอุจจาระธาตุ
ก. ยาพรหมภักตร์
ข. ยามหาพรหมภักตร์
ค. ยาอัศฎาธิวัค
ง. ยามหาอัศฎาธิวัค
14. ข้อใดผิด
ก. อุจจาระมีสีดำ แดง เป็นเมือกมัน
มักเป็นด้วยไข้รากสาด บิด ไข้พิษ ไข้กาฬ อติสารธาตุหย่อน
ข. อุจจาระสีเทา เป็นมูลโค
เนื่องจากธาตุหย่อน โรคซางเด็ก โรคไข้กาฬ
ค. ปัสสาวะสีเหลืองแก่
เนื่องจากไข้เพื่อดีและโลหิต เช่น ไข้ป่า ไข้ป้าง
ง.ปัสสาวะสีขุ่นมัน สีชาแก่
เนื่องจากไตพิการในโรคไตพิการ ไข้รากสาด ไข้พิษ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น