วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สรุปคัมภีร์ฉันทศาสตร์


คัมภีร์ที่กล่าวถึงไข้
   ๑. คัมภีร์ฉันทศาสตร์ กล่าวถึงจรรยาของแพทย์ ทับ ๘ ประการ-โรคทราง-สมุฏฐานแห่งไข้-อติสาร มรณญาณสูตร ป่วง ๘ ประการ ลักษณะน้ำนม สันนิบาต ๒ คลอง         
 ๒. พระคัมภีร์ตักกะศิลา กล่าวถึงเรื่องไข้ต่างๆลักษณะอาการ ไข้พิษ ไข้กาฬ และการรักษา         
 ๓. คัมภีร์สิทธิสารสงเคราะห์ กล่าวถึงเรื่อง ลำบองราหู ทั้ง ๑๒ เดือน สันนิบาตต่างๆ
สรุปคัมภีร์ฉันทศาสตร์
             หมายถึง  ตำราแพทย์โดยรวม สอนความสำคัญของจรรยาแพทย์และการบูชาครู ผู้แต่ง คือพระยาพิศนุประสาทเวท (หมอคง ถาวรเวช) ในร. ๕ เพื่อใช้เรียนแพทย์ โดยใช้คำประพันธ์ชนิดต่างๆ มี ๒เล่ม ๑๔ ตอนดังนี้
1) ทับ 8 ประการ                                                                  2) ว่าด้วยคัมภีร์ตักศิลา
3) ว่าด้วยกำเนิดไข้, ด้วยที่อยู่, ฤดู, อาหาร, และธาตุ       4) ว่าด้วยลักษณะน้ำนมดีและชั่ว 
5) ว่าด้วยลักษณะไข้ที่เข้าเพศและเป็นโทษ 4 อย่าง       6) ว่าด้วยกำเนิดแห่งไข้ (โรค) ต่างๆ
7) ว่าด้วยชีพจร ให้ระวังในการระบายยา                         8) ว่าด้วยลักษณะธาตุ
9) ว่าด้วยป่วง 8 ประการ                                                    10) ตำรายาแก้สันนิบาตสองคลอง อหิวา
11) ว่าด้วยสมุฏฐาน                                                            12) ว่าด้วยอติสาร
13) ว่าด้วยมรณะญาณสูตร                                                14) ว่าด้วยโรคภัยต่างๆแห่งกุมาร
อนึ่งแพทย์มิได้รู้จักกำเนิดแห่งโรคนั้น และวางยาให้ผิดแก่โรค มีดุจพระบาลีกล่าวไว้ ดังนี้ 
วางยาผิดโรคครั้งหนึ่ง ดุจประหารด้วยหอก 
วางยาผิดโรคสองครั้ง ดุจเผาด้วยไฟ 
วางยาผิดโรคสามครั้ง ดุจต้องสายฟ้าฟาด
อันว่า โรคจะกำเริบขึ้นกว่าเก่า ได้ร้อยเท่า พันเท่า แพทย์ผู้นั้น ครั้นกระทำผิดซึ่งกาลกิริยาตายแล้ว ก็จะเอาไปปฎิสนธิในนรก


คัมภีร์ฉันทศาสตร์ กล่าวถึง ลักษณะอาการของการจับไข้ ประเภทและอาการของไข้ต่างๆ
เวลาจับไข้   
ไข้เอกโทษ  
จับ ย่ำรุ่ง - บ่ายสอง
ไข้ทุวันโทษ  
จับ ย่ำรุ่ง - สองทุ่ม
ไข้ตรีโทษ  จับ ย่ำรุ่ง-ตีสองต่อถึงรุ่งเช้า 
กำลังวันที่ไข้กำเริบ
๑ กำเดา  ๔ วัน
.เสมหะ  ๙ วัน  
.โลหิต   ๗ วัน 
.ลม  ๑๓  วัน    
กำลังธาตุ
กำเริบ
ตติย 
แต่เริ่มไข้-๔ วัน
ตรุณ  -๗ 
รวม ๓ วัน
มัธยม ๑๕ 
รวม ๘ วัน
โบราณชวร ๑๖-๑๗ รวม ๒ วัน
.จัตตุนันท  ต่อแต่นี้ไป ไม่กำหนด
ไข้แสดงโทษต่างๆ
ไข้เอกโทษ
   สถาน
กำเดา  ฟุ้งซ่าน ปวดหัว คลุ้มคลั่ง ตัวร้อนจัด นัยน์ตาเหลือง ปัสสาวะแดง ปากขม น้ำลายแห้ง
เสมหะ หนาว แสยงขน ขนลุก ปากหวาน มือเท้าขาวกินไม่ได้ เหม็นอุจจาระปัสสาวะขาว 
โลหิต (ไข้เพื่อโลหิต) ตัวร้อนจัด 
ปัสสาวะเหลือง ตัวแดง ฟันและปากแห้ง น้ำลายเหนียว ปวดหัวกระหายน้ำ
ไข้ทุวันโทษ
๔ สถาน
กำเดา ลม ตัวร้อนจัด วิงเวียน  ปวดหัวมาก หนาวสะท้าน เหงื่อตก
กำเดา เสมหะ   แสยงขน ปวดหัว ตัวร้อน จุกอก หายใจขัด เหงื่อตก
กำเดา  โลหิต นอนไม่หลับ เพ้อ ปวดหัวมาก กระหายน้ำ ไม่กินข้าว
ลม เสมหะ ร้อนๆหนาวๆ วิงเวียนปวดหัว นัยน์ตามัว มีเหงื่อ 
ไข้ตรีโทษ 
  สถาน
กำเดา  เสมหะ   ลม
เจ็บตามข้อ จิตรระส่ำระสาย ง่วงนอน เหงื่อโทรม
กำเดา โลหิต  ลม
ปวดเมื่อยทั้งตัว  ปวดหัวที่สุด หนาวสะท้าน เบื่ออาหาร ง่วงนอน
กำเดาโลหิต  เสมหะ ไม่หลับ
เร่าร้อน กระหายน้ำ อาเจียน
หน้าเหลือง ตาแดงจัดเหงื่อตก
กำเนิด
ไข้รู้จากอาการแสดงให้เห็น
ไข้
สัน
นิบาต
๑)ตัวร้อน กระหายน้ำ หมดแรง ตาแดง  
 ๒)ตัวเย็น ชอบนอน ตาแดงจัด
๓)กระหายน้ำ อุจจาระปัสสาวะไม่ออก  
๔)กลิ่นตัวสาบดังกลิ่นสุนัข แพะ
สันนิบาตโลหิต เจ็บสะดือท้ายทอยกระหม่อม สบัดร้อนสบัดหนาว ท้องอืด
สันนิบาตปะกัง  เม็ดสีแดงผุดทั่วตัวปวดหัวเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น
ไข้
เพื่อลม 
๑)ขมปาก อยากของแสลงเจ็บทั้งตัว จุกเสียด    ๒)บิดขี้เกียจ ยอกเสียดในอก  หนาว  
๓)อาเจียน แสยงขน เจ็บทั่วตัว  ๔)สะอึก หนาวสะท้าน อาเจียน ปากหวาน ร้อนรุ่มกลุ้มใจ  
๕)ไม่มีราศี   เจ็บอก  หายใจขัด ไอ กระหายน้ำ ฝาดปาก
ไข้สัมประชวรเป็นไข้เรื้อรังนานๆรักษาไม่หาย  กายซูบผอม ให้สังเกตที่นัยน์ตา
๑)เพื่อกำเดา  ตาแดงไม่มีน้ำตา   ๒)เพื่อโลหิต  ตาแดง น้ำตาคลอ
๓)เพื่อเสมหะ  ตาเหลืองดังขมิ้น 
๔)เพื่อดี  ตาเขียวเป็นแว่น   ๕)เพื่อลม ตาขุ่นคล้ำและมัว
๖)เพื่ออัมพฤกษ์(ชาย)ปัตคาด(หญิงตาแดงเรื่อๆ



กำเนิดไข้รู้จากอาการแสดงให้เห็น
ไข้ที่เกิดจากโทษเดียว
ไข้เพื่อดี ขมในปาก นอนมาก เจ็บตามตัว
ไข้เพื่อกำเดา  
๑.ปวดหัว เจ็บตา อาเจียน
๒.เจ็บผิวหนัง ปากและคอปัสสาวะเหลือง ร้อนใน ตาแดง
ไข้เพื่อโลหิต เจ็บฝ่าเท้า ร้อนทั้งตัวเจ็บหน้าผากมาก   (ให้เร่งรักษาแต่คืนนั้นจะอันตราย)
ไข้เพื่อเสมหะ
นอนฝันเพ้อ สะบัดร้อน หนาว มือเท้าเย็นยกไม่ขึ้น
ไข้ที่เกิดจากโทษสองอย่างมาทับระคนกัน
ไข้เพื่อลมและเสมหะระคน  หนาว วิงเวียน
ปวดหัวมาก แสยงขน คอน้ำลายแห้ง ลืมตานอน
เสมหะและดีระคน  ปัส-เหลือง หน้าแดง ผิวแห้ง นอนไม่หลับ อาเจียน กระหายน้ำ หมดสติ

เลือดลมและน้ำเหลืองระคน   
ไข้ วิงเวียน  อาเจียนแต่น้ำลาย
ลมและกำเดา  ท้องขึ้น วิงเวียน อาเจียน สะอึก

ไข้ที่เกิดจากโทษสามอย่างมาทับระคนกัน
ไข้ตรีโทษ  ๑)หูอื้อ เพ้อ  พูดไม่ได้ มีลายตามตัว
                   ๒)เจ็บทั่วตัว นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร
เลือด ลมและน้ำเหลือง 
 คลื่นไส้ วิงเวียน อาเจียนแต่น้ำลาย
ลักษณะไข้ในกองธาตุ
ไข้แห่งปถวีธาตุ เป็น ๑-๒วัน  เชื่อมมัว หมดสติ  ไม่ถ่าย  ไม่กินเป็นนานถึง ๑๐๑๑วัน จะตาย
ไข้แห่ง อาโปธาตุ เป็น ๔วันลง,อาเจียน เป็นเสมหะโลหิต    เป็นนานถึง ๘๙วัน จะตาย 
ไข้แห่งวาโยธาตุ เป็น ๓-๔วัน สะดุ้ง หมดสติ  เพ้อ  เรอ อาเจียน    เป็นนานถึง ๙๑๐วัน จะตาย 
ไข้แห่งเตโช เป็น ๓-๔วัน
ร้อนทุรนทุราย ปากคอแห้ง คลั่ง หมดสติ อยากของแสลง(ดุจผีปอบ) เป็นนาน
ถึง ๗๘วัน จะตาย 
ถ้าหากกำเดา เสมหะ โลหิต และลม ๔ ประการนี้รวมกันให้โทษ ๔ อย่าง คือ ตัวแข็ง หายใจขัด ชักคางแข็ง ลิ้นแข็ง ท่านเรียกโทษนี้ว่า มรณชวร หรือตรีทูต 
ไข้ตรีโทษ คือ
ไข้ใดเมื่อพิศดูรูปร่างแล้ว มีลายตามตัว มีอาการเพ้อละเมอไป ผู้อื่นพูดด้วยไม่ได้ยินเสียง(หูอื้อ) เรียกว่า ไข้ตรีโทษ มีโทษ ๓ ประการ คือ เจ็บไปทั่วตัว นอนไม่หลับ และเบื่ออาหาร อาการ ๓ ประการนี้ จะเกิดขึ้นในขณะอยู่ในทุวันโทษ ซึ่งแพทย์พอรักษาได้

 

 

ไข้ เอกโทษ


ทุวันโทษ


ตรีโทษ


 ที่มีอาการ


ทับสลับกัน

 

 

ไข้เอกโทษ 

.ลมเป็นเอกโทษ     เกิดกับคน อายุ ๕๐  ปีขึ้นไป ในวสันตฤดู เริ่มแต่หัวค่ำ  ให้เจ็บไปทุกเส้นเอ็น คลายลง ใน ๔ นาที 

.ดีเป็นเอกโทษ   เกิดกับคน อายุ ๓๐๔๐   ปี ในคิมหันตฤดู  เริ่มแต่เที่ยงวัน ตัวร้อน กระหายมีเสมหะในคอ อุจจาระ,ปัสสาวะเหลืองปนแดง  คลายลง ใน ๕ นาที

.เสมหะเอกโทษ  เกิดกับคน  อายุ  ๑๕  ปี ในเหมันฤดู  เริ่มแต่เช้าตรู่ร้อนในอก หนาวใน  แสยงขน อุจจาระ,ปัสสาวะขาว คลายลง ใน  ๕ นาที

  ไม่คลายถึงเที่ยงคืน เป็น ทุวันโทษ เสมหะลม  ถ้าจับต่อไปถึงย่ำรุ่ง-เที่ยงวัน เป็นสันนิบาตตรีโทษ

  ไม่คลายถึงค่ำ เป็น เป็นทุวันโทษ ลมระคนดี  ถ้าจับต่อไปถึงเที่ยงคืน-รุ่งเช้า เป็นสันนิบาตตรีโทษ

 ไม่คลายถึงเที่ยงวัน,บ่าย เป็น เป็น ทุวันโทษ ดีระคนเสมหะ  ถ้าจับต่อไปถึงเย็นค่ำและต่อไป เป็นสันนิบาตตรีโทษ

ไข้ทุวันโทษ

.เสมหะและดี เกิดกับคนปฐมวัย  ๑๖ ปีในคิมหันตฤดู   เสมหะต้นไข้  ดีระคน ปากคอเป็นเมือก หอบ  ไอ เชื่อมมัว  จับเช้า  คลายตอนบ่าย 

.ดีและลม เกิดกับคนอายุ ๓๐๔๐ ปีในวสันต์ฤดู  ดีเป็นต้นไข้ลมระคนเชื่อมมัวปวดข้อ  หาวอาเจียน ตัวร้อน จับแต่เที่ยง ถึงเย็น ค่ำ

.ลมและเสมหะเกิดกับคนอายุ ๔๐๕๐ ปี ในเหมันตฤดู ลมเป็น  ต้นไข้เสมหะระคน  หนักตัว      ปวดหัว เมื่อยมือเท้า จับค่ำถึง เช้า

ถ้าดีกล้า ให้เชื่อมมัว  อาเจียนเสมหะกล้า เชื่อมมัว  ตัวหนัก ไอ

ถ้าดีกล้า ตัวร้อน  ซวนเซเมื่อยืนนั่ง ลมกล้า  ปวดเมื่อย

ถ้า ลมกล้า ให้ท้องผูก ปวดเมื่อยเสมหะกล้า เป็นหวัด ไอ หนักตัว

 

ตรีโทษ

๑)ถ้าไข้นั้นยังไม่สร่างคลาย  จับเรื่อยตลอดมา เป็นโทษสันนิบาต  ให้สะท้านร้อน หนาว เคืองตา  ปวดข้อกระดูก    มีกลิ่นปาก  ลุกนั่งไม่ไหว   อุจจาระ มีสีต่างๆ  ถ้าบวมที่ หู หรือ ตา  หรือปาก จะตายใน ๗ วัน

๒) สันนิบาตมี ๓ สถาน ดี เสมหะ และลม บวมต้นหูตาย ๗ วัน บวมนัยตา ๕ วัน บวมปาก ๗ วันตาย
ทับ ๘ ประการ 
โรคแทรกซ้อนเกิดกับซาง เกิดกับเด็กอายุน้อยกว่า ๕ ขวบ เกิดอาการหนึ่งก่อนแล้วอีกอาการมาทับ
ป่วง ๘ ประการ
มีป่วงงู ป่วงลิง ป่วงลูกนก ป่วงลม ป่วงน้ำ ป่วงเลือด ป่วงศิลา ป่วงโกฐ ** (ดูในโรคป่วง)  http://ayurvedicassociationofthailand.blogspot.com/2013/06/blog-post_6.html
กาฬธาตุอติสาร ทั้ง ๕
กาฬพิพัธ (กาฬฝีพิษ)
กาฬพิพิธ (กาฬฝีฟก)


กาฬมูตร 


กาฬสูตร (กาฬคูธ)


กาฬสิงคลี  
เกิดขึ้นในขั้วตับ  ทำให้มีเลือดสดๆ ออกทางทวาร ปวดท้อง วิงเวียน อาเจียน สะอึก ผุดเป็นวงเขียวๆ แดงๆ
เกิดขึ้นที่ขั้วหัวใจให้ขุ่นเขียวให้ลงใสดุจน้ำล้างเนื้อ  เมื่อเน่าจะมีกลิ่นเหม็นมาก ให้หอบเป็นกำลัง ไม่ได้สติ
เกิดพิษขึ้นในตับ มีเลือดตก อุจจาระเป็นพิษจับเป็นลิ่มดำ กินปอดให้หอบกระหายน้ำ  กินม้าม คล้ายปีศาจสิง มือเท้าเย็น มีลมอัดในกายถึงลำคอ ทำให้หายใจขัด ตัดลมอัสสาสะ 
ทำให้ถ่ายเป็นสีดำ เขียวคล้ำกลิ่นเหมือนดินปืน กระหายน้ำ กินน้ำแล้วอาเจียน เหงื่อออกมาก กายเย็นผิดปกติ

เกิดที่น้ำดีพิการ ทำให้นัยน์ตาเหลือง อุจจาระ ปัสสาวะเหลือง ตัว ตา และกระดูกเหลือง มีอาการไข้ ทุรนทุราย หายใจหอบและกระหายน้ำ เพ้อ ๓ วันตาย
ไข้เอกโทษเปรียบเทียบ
ไข้

เอกโทษ
พระคัมภีร์ฉันทศาสตร์
พระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์
กำเดาสมุฎฐาน
จิตฟุ้งซ่าน ปวดหัว คลุ้มคลั่ง ตัวร้อนจัด น้ำตาไหล ตาเหลือง ตัวเหลือง อาเจียนเหลือง ผิวหน้าแดงปัสสาวะแดง, ปากขม กระหายน้ำ น้ำลายแห้ง ผิวแห้งแตก กลางคืนนอนไม่หลับ
ให้ร้อนละเมอเพ้อคลั่ง ปวดศีรษะ ปากขม อยากน้ำ ตัวเหลือง หน้าตาเหลือง ปัสสาวะแดง ผิวหนังตึงแตกระแหง ไข้ ฟันแห้ง นอนไม่หลับ
เสมหะสมุฎฐาน
หนาวขนลุกชัน  สะท้านหนาว แสยงขน  อุจจาระ,ปัสสาวะขาว ฝ่ามือฝ่าเท้าขาว  อาเจียน เหม็นเบื่ออาหาร ปากหวาน
หนาวๆร้อนๆ แสยงขน ขนลุก จุกอก ให้หลับไหลกินไม่ได้ อ่อนแรง ฝ่ามือเท้าซีดเผือด ปากหวาน ปัสสาวะขาว ให้ราก
โลหิตสมุฎฐาน
ตัวร้อนจัด ปวดหัว กระหายน้ำ เจ็บตามเนื้อตัว ปัสสาวะเหลือง   ผิวตัวแดง ฟันแห้ง ลิ้นคางแข็ง ปากแห้งน้ำลายเหนียว (ไข้เพื่อโลหิต)
ตัวร้อน ปวดศรีษะมาก หน้าตาแดง หน้าแตกระแหง ฟันแห้ง ปัสสาวะเหลือง
ลมสมุฎฐาน
ไข้เพื่อลม(ชื่อ) ขม ในปาก อยากของแสลง เจ็บเสียวทั้งตัว จุก หนาวสะท้าน ยอกเสียดในอก บิดขี้เกียจ  แสยงขน อาเจียน ปากหวาน ร้อนรุ่มกลุ้มใจ ร่างกายเศร้าดำไม่มีราศี ไอ สะอึก กระหายน้ำ ฝาดปาก เจ็บอกหายใจขัด ในท้องมีก้อนๆ
ขน ลุกชัน หนาวสะท้าน ปวดศรีษะ เวียนหน้าตา โกรธง่าย เสียดแทงในอก ในท้องเป็นก้อน หายใจขัด ไอดังเป็นหวัด  ตา,เล็บเหลือง ปากฝาด เจ็บคาง เมื่อยขากรรไกร ไอแห้ง

(คัมภีร์ฉันทศาสตร์ ไข้เพื่อลมที่กล่าวไว้นั้นเป็นชื่อของไข้ ส่วนคัมภีร์ธาตุวิวรณ์นั้นมีกล่าวเรื่องไข้เพื่อลมเอกโทษไว้ด้วย)
หมายเหตุ ในการอ่านสรุปคัมภีร์ ควรอ่านในหนังสือทั้งหมดก่อนอย่างน้อย ๑ รอบ แล้วมาอ่านสรุปจะทำให้เข้าใจ ภาพรวมทั้งหมด
ข้อสอบในคัมภีร์ฉันทศาสตร์

ข้อ 1.    ลักษณะไข้มีอาการจับหนาวสะท้าน แสยงขน จุกแน่นในอก หายใจขัดไม่สะดวก เหงื่อตก
                 1.   ทุวันโทษลม และเสมหะ                       2.   ทุวันโทษลม และกำเดา
                 3.   ทุวันโทษกำเดา และโลหิต                     4.   ทุวันโทษกำเดา และเสมหะ
ข้อ 2.    การพิเคราะห์ลักษณะประเภทไข้ อาการให้หนาว ให้ร้อน แสยงขน จุกอก ให้หลับไหล กินไม่ได้ อ่อนแรง ฝ่ามือ ฝ่าเท้าซีดเผือด ให้ปากหวาน ให้ราก เป็นไข้ เพื่ออะไร
                 1.   ไข้เพื่อเสมหะเอกโทษ                                       2.   ไข้เพื่อกำเดาเอกโทษ
                 3.   ไข้เพื่อโลหิตเอกโทษ                                         4.   ไข้เพื่อลมเอกโทษ
ข้อ 3. ลักษณะไข้มีอาการจับมีอาการนอนไม่หลับ เพ้อ ปวดหัวมาก ร้อนใน กระหายน้ำ เบื่ออาหาร
                  ก. ทุวันโทษลม และเสมหะ                                   ข.ทุวันโทษลม และกำเดา
                  ค. ทุวันโทษกำเดา และโลหิต                                 ง.ทุวันโทษกำเดา และเสมหะ
ข้อ 4.    สันนิบาตสองคลอง สาเหตุเกิดจากป่วงอะไร
                 1.   ป่วงลิง                                                 2.   ป่วงงู
                 3.   ป่วงลม                                                4.   ป่วงลูกนก
ข้อ 5.    ไข้ใดมีอาการขมในปาก อยากกินแต่ของแสลง เนื้อสั่นระริก และเสียวไปทั้งตัว จุกเสียดบิดขี้เกียจ ยอกเสียดในอก ร้อนรุ่มกลุ้มใจ หายใจขัดเพราะในท้องมีก้อน อาการดังกล่าวนี้เป็นไข้เพื่ออะไร
                  1.   ไข้เพื่อดี                                              2.   ไข้เพื่อลม
                  3.   ไข้เพื่อกำเดา                                       4.   ไข้เพื่อโลหิต
ข้อ 6.    ไข้ที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนแต่น้ำลาย เป็นไข้อะไร
                  1.   ไข้ที่เกิดจาดเลือด
                  2.   ไข้ที่เกิดจากเลือดและลม
                  3.   ไข้ที่เกิดจากเลือดลมและน้ำเหลือง
                  4.   ไข้ที่เกิดจากเลือดลม, น้ำเหลืองและเสมหะ
ข้อ 7.   ไข้มีอาการตัวร้อนจัด ปวดหัว กระหายน้ำ เจ็บตามเนื้อตามตัว ปัสสาวะเหลือง ผิวตัวแดง ฟันแห้ง ลิ้น คางแข็ง ปากแห้ง   น้ำลายหนียว ที่กล่าวมานี้เป็นอาการของไข้อะไร
                  1.   กำเดาสมุฎฐาน                                       2.   เสมหะสมุฎฐาน
                  3.   โลหิตสมุฎฐาน (ไข้เพื่อโลหิต)               4.   ถูกทุกข้อ
ข้อ 8.    ไข้ลำประชวร นัยน์ตาขุ่นคล้ำและมัว เป็นไข้เพื่ออะไร
                  1.   ลม                                   2.   ดี
                  3.   กำเดา                              4.   เสมหะ
ข้อ 9.    ลักษณะของไข้วันเวลาที่ไข้กำเริบมีกำลังวันเท่าใด
                 1.   กำเดากำเริบ 4 วัน, เสมหะกำเริบ 9 วัน, โลหิตกำเริบ 8 วัน,ลมกำเริบ 12 วัน
                 2.   กำเดากำเริบ 4 วัน, เสมหะกำเริบ 8 วัน, โลหิตกำเริบ 9 วัน, ลมกำเริบ 12 วัน
                 3.   กำเดากำเริบ 4 วัน, เสมหะกำเริบ 9 วัน, โลหิตกำเริบ 7 วัน, ลมกำเริบ 13 วัน
                 4.   กำเดากำเริบ 4 วัน, เสมหะกำเริบ 7 วัน, โลหิตกำเริบ 9 วัน, ลมกำเริบ 13 วัน
ข้อ 10.   ลักษณะไข้ ทุวันโทษ มีอาการหนาว ต่อมาจะรู้สึกร้อน(ร้อนๆ หนาวๆ) วิงเวียน เหงื่อไหล ปวดหัว นัยน์ตามัว เบื่ออาหาร               เป็นทุวันโทษ ไข้ประเภทใด ?
                 1.   ลมและกำเดา                             2.   ลมและเสมหะ
                 3.   กำเดาและเสมหะ                      4.   กำเดาและโลหิต
ข้อ 11.   ลักษณะไข้มีอาการเร่าร้อน กระหายน้ำ กลางคืนนอนหลับไม่สนิท จิตใจระส่ำระสาย เหงื่อตก หน้าเหลือง อาเจียนเป็นสีเหลือง   มีโลหิต นัยน์ตาแดงจัด เป็นไข้ตรีโทษอะไร
                 1.   ตรีโทษ โลหิต เสมหะและกำเดา                        2.   ตรีโทษ เสมหะ กำเดาและลม
                 3.   ตรีโทษ กำเดา โลหิตและลม                              4.   ผิดหมดทุกข้อ
ข้อ 12.    การวิเคราะห์ลักษณะประเภทไข้ ไข้เพื่อเสมหะเอกโทษ คืออาการใด
                 1.   ให้หนาว ให้ร้อน ขนลุก แสยงขน จุกอก ให้หลับไหล กินไม่ได้ อ่อนแรง ฝ่ามือ ฝ่าเท้าซีดเผือด ให้ปากหวาน ให้ราก
                 2.   ให้ปากขม ร้อนละเมอเพ้อคลั่ง ปวดศีรษะ อยากน้ำ กายเหลือง หน้าตาเหลือง ปัสสาวะแดง ให้ตึงแตกระแหง เป็นไข้
                 3.   ให้ตัวร้อน ปวดศีรษะมาก หน้าตาแดง ปัสสาวะเหลืองๆ
                 4.   ให้ขนลุก ขนชัน หนาวสะท้าน ปวดศีรษะ เวียนหน้าตา มักโกรธง่าย เสียดแทงในอก กระหายน้ำ ท้องเป็นก้อน
ข้อ 13.    กาลเอกโทษเสมหะ เสมหะกระทำเต็มที่ไม่มีระคน ในข้อใด
                 1.   เวลา 07.00 - 08.00 น.                                2.   เวลา 08.00 - 09.00 น.
                 3.   เวลา 09.00 - 10.00 น.                                4.   เวลา 10.00 - 11.00 น.
ข้อ 14.    ไข้ใดมีอาการปวดหัวมาก ไอ หาวนอน บิดตัวเกียจคร้าน เหงื่อไหล เป็นเพราะถูกลม เสมหะมาทับระคน คนไข้เป็นอะไร
                 1.   ไข้เพื่อลมและเสมหะ                                 2.   ไข้เพื่อเสมหะและกำเดา
                 3.   ไข้เพื่อกำเดาและลม                                   4.   ไข้เพื่อโลหิตและลม
ข้อ 15.    ไข้เพื่อเสมหะ ท่านกำหนดไว้ว่ามีกี่องศา จึงจะเป็นสันนิบาต ?
                 1.   กำหนดไว้ 30 องศา                                    2.   กำหนดไว้ 15 องศา
                 3.   กำหนดไว้ 20 องศา                                    4.   ไม่มีข้อใดถูก
ข้อ 16.    ที่กล่าวว่าใช้สำประชวรให้แพทย ์สังเกตุนัยน์ตาคนไข้นั้น ถ้าคนไข้มีนัยน์ตาแดงดังโลหิตแดงและมีน้ำตาคลอเบ้า เป็นไข้สำประชวร อะไร
                  1.   ไข้เพื่อกำเดา                                     2.   ไข้เพื่อโลหิต
                  3.   ไข้เพื่อดี                                            4.   ไข้เพื่อลม
ข้อ 17.    ในการพิจารณาการรักษาไข้พิษไข้กาฬ มีข้อห้ามไว้อย่างไรบ้าง?
                  1.   ห้ามวางยารสร้อน รสเผ็ด รสเปรี้ยว
                  2.   ห้ามเอาโลหิตออก ห้ามถูกน้ำมัน ห้ามถูกเหล้า ห้ามนวด
                  3.   ห้ามประคบ ห้ามกิน ห้ามอาบน้ำร้อน ห้ามรับประทานส้มมีผิวมีควัน กะทิ น้ำมัน
                  4.   ถูกหมดทุกข้อ
ข้อ 18.    ในคิมหันตฤดู คือ เดือน 5 6 7 8 ท่านกล่าวว่าเป็นไข้เพื่ออะไร
                  1.   ไข้เพื่อลม                                     2.   ไข้เพื่อโลหิต
                  3.   ไข้เพื่อกำเดา                                 4.   ไข้เพื่อเสมหะ

ข้อ 19.    ไข้ประเภทลายตามตัว มีอาการเพ้อละเมอไป ผู้อื่นพูดด้วยได้ยิน(หูอื้อ) จัดเป็นไข้ประเถทใด?
                  1.   ไข้เอกโทษ                                                   2.   ไข้ทุวันโทษ
                  3.   ไข้ตรีโทษ                                                     4.   ไข้สันนิบาต
ข้อ 20.    ไข้ใดมีอาการปวดหัวมาก ไอ หาวนอน บิดตัวเกียจคร้าน เหงื่อไหล เป็นเพราะถูกลม เสมหะมาทับระคน คนไข้เป็นอะไร
                 1.   ไข้เพื่อลมและเสมหะ                                 2.   ไข้เพื่อเสมหะและกำเดา
                 3.   ไข้เพื่อกำเดาและลม                                   4.   ไข้เพื่อโลหิตและลม

ข้อ 21.  กำหนดเวลาจับของไข้ตรีเพศหรือไข้สามสถาน  ถ้า จับตั้งแต่รุ่งเช้าจนค่ำถึงสองทุ่ม  จึงค่อยคลาย”  จัดเป็นไข้สถานใด
                1.  ไข้เอกโทษ                        2.  ไข้ทุวันโทษ                      3.  ไข้ตรีโทษ                         4.  ไข้ตะติยะ
ข้อ 22.  ลักษณะวันที่ไข้เกำเริบ  จากกำเดา  เสมหะ โลหิตและลม  โดยเรียงตามลำดับ ข้อใดถูกต้อง
                1.  4 9 7 และ  13  วัน       2.  4 7 9  และ  13  วัน        3.  4 13 7  และ  9  วัน        4.  4 139  และ  7  วัน
ข้อ 23.  “กำลังของธาตุกำเริบ”  ถ้าเป็นไข้อยู่ในช่วงระหว่างวันที่  8  จนถึงวันที่  15  จัดเป็นสถานใด
                1.  ตรุณชวร                           2.  มัธยมชวร                          ค.  โบราณชวร                      ง.  จัตตุนันทชวร
ข้อ 24.  ลักษณะอาการ  ทำพิษให้ตัวร้อนกล้า  กระหายน้ำ  ปวดศีรษะ เจ็บกายาแทบทำลาย  ปัสสาวะเหลือง  ผิวตัวแดง  ลิ้นคางแข็ง  ฟันแห้ง  ปากแห้ง  น้ำลายเหนียว  ”  จัดเป็นลักษณะไข้ใด
                1.  กำเดาสมุฎฐาน                 2.  เสมหะสมุฎฐาน                   3.  โลหิตสมุฎฐาน                4.  วาตะสมุฎฐาน
ข้อ 25.  ลักษณะอาการ  จับหนาวแล้วกลายเป็นร้อน วิงเวียนหน้า  เหงื่อตก  ปวดศีรษะ  ตามัว  ไม่ยอมกินอาหาร จัดเป็นไข้ใด
                1.  ไข้ทุวันโทษลมและกำเดา                               2.  ไข้ทุวันโทษกำเดาและเสมหะ
                3.  ไข้ทุวันโทษลมและเสมหะ                            4.  ไข้ทุวันโทษกำเดาและโลหิต
ข้อ 26.  ลักษณะอาการ  ให้เมื่อยทั่วทั้งตัว  ปวดหัวมากที่สุด  วิงเวียนไม่สมปฤดี  หนักศีรษะ  หนาว     สะท้าน เหม็นเบื่ออาหาร  กินไม่ได้  ให้เชื่อมมึนง่วง”  จัดเป็นไข้ใด
                1.  ไข้ตรีโทษ เสมหะ กำเดาและลม                                     2.  ไข้ตรีโทษ กำเดา โลหิตและลม
                3.  ไข้ตรีโทษ โลหิต เสมหะและกำเดา                                4.  ไข้ตรีโทษ โลหิต ลมและเสมหะ
ข้อ 27.  ข้อใดจัดเป็นไข้สันนิบาตใน คัมภีร์ฉันทศาสตร์
                1.  ร้อนรนกระหายน้ำ ไม่มีเรี่ยวแรง  ปากไหม้แตกระแหง  จักษุแดง  เจ็บทั่วสรรพางค์กาย พึงใจในที่อันเย็น
                2.  ให้เย็นนัก  มักให้นอน  เบื่ออาหาร  เจ็บคอ เจ็บลูกตา  และตาแดงดังโลหิต  เจ็บหูทั้งสองข้าง เจ็บกระดูกทั่วกาย 
      กลางคืนกระหายน้ำนอนไม่หลับ หายใจไม่สะดวก  ขัดในอกมาก  ให้รากเหลือง
                3.  สะบัดร้อนสะบัดหนาว  ให้ปวดหน้าผาก ปวดศีรษะ และปวดฟัน เจ็บคอและขัดอก กระหายน้ำ ไม่มีเรี่ยวแรง 
     ให้ระทดระทวย  อุจจาระและปัสสาวะขัด
4.        ถูกทุกข้อ
ข้อ 28.  ข้อใดจัดเป็น  “ไข้เพื่อลม
                1.  เวลากินอาหารให้ขมปากมาก  อยากของแสลง  ให้สะท้านเนื้อสั่นระริก จุกเสียด เสียวซ่านและเจ็บทั่วทั้งตัว
                2.  หนาวสะท้าน  บิดคร้าน  ยอกเสียดในอก      3.  ให้สะอึก  อาเจียน  และเร่าร้อนในดวงใจ     4.  ถูกทุกข้อ
ข้อ 29.  ไข้สัมประชวร  เป็นไข้ที่เรื้อรังมานาน  รักษาไม่หาย  ทำให้ร่างกายซูบผอม  ไม่มีแรงเบื่ออาหาร  ถ้าขอบตาเขียว เป็นแว่น  เป็นอาการของไข้ใด
                1.  ไข้เพื่อโลหิตและกำเดา    2.  ไข้เพื่อเสมหะ    3.  ไข้เพื่อดี             4.  ไข้เพื่อลมและเส้น
ข้อ 30.  ไข้สันนิบาต  (ดี  เสมหะ  และลม)  ถ้าเริ่มจับตั้งแต่บ่าย  5  นาที  ตลอดไปจนถึงสามยาม  (ตีสาม) อาการให้  เชื่อมมัว มึนตึงทั่วกาย  จะหลับหรือตื่นไม่รู้สึกตัว  ให้หวาดหวั่นสะดุ้งไปทั่วทั้งตัว  หูตึง  พูดด้วยไม่ได้ยิน”   เพราะอะไรมีกำลังกล้า

                1.  ลม                      2.  เสมหะ               3.  ดี            4.  ดี  เสมหะและลมเสมอกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น