หญิงต่างจากชาย
|
๑.ถันประโธร
|
๒.
จริตกิริยา
|
๓.ที่ประเวณี(ช่องคลอด)
|
๔.
ต่อมโลหิตระดู
|
||||
ปกติโลหิต ด้วยลมทั้ง
๖ พัดให้เดินระหว่างเส้นเอ็นและอวัยวะทั้งหลาย ผู้ใดเคยมีระดู ลมกองใดเคยกำเริบ
ลมนั้นจะกำเริบทุกเดือน/ครั้ง
|
||||||||
โลหิตปกติโทษ
|
๑.เกิดแต่หัวใจ ให้
คลั่งเพ้อ
สะดุ้ง ผวา
|
๒. เกิดแต่ขั้วดี
ให้เป็นไข้
เจรจาด้วยผี
|
๓.เกิดแต่
ผิวเนื้อ ร้อนผิวเนื้อหนัง มีสีแดง
|
๔. เกิดแต่เส้นเอ็นสะบัดร้อน
สะบัดหนาว ปวดหัว
|
๕. เกิดแต่กระดูกให้เมื่อยขบทุกข้อ
ทุกลำ
|
|||
โลหิตทุจริตโทษ เตโชทั้ง ๔ทำให้โลหิตในกายอบอุ่น
ถ้าเตโชกล้ากว่าปกติ โลหิตก็ร้อนทนไม่ได้
ผุดออกมานอกผิวหนัง
เป็นกำเดา รากสาดปานดำปานแดง
กาฬทั้งปวง นั่นคือเหตุของโลหิต
ดี กำเดา ก็คือ เตโช โลหิตเป็นเจ้าสมุฏฐาน
|
๑.โลหิตระดูร้าง ระดูมิได้มาตามปกติ บางทีดำ/เหม็นเน่า จาง/น้ำชานหมากใส/น้ำคาวปลา นานเข้ามักเป็นมานโลหิต
|
๒.โลหิตคลอดบุตร
โลหิตคั่งเดินไม่สะดวก จับเป็นลิ่ม เป็นก้อน ให้คลั่ง ชัก ริมฝีปาก ขอบตา
เล็บ เขียว
|
๓.โลหิตต้องพิฆาต เกิดจากอุบัติเหตุ
ให้โลหิตกระทบช้ำ ระคนกับโลหิตระดู เกิดแห้งกรังเข้าติดกระดูก
สันหลังจับก้อน
|
๔.โลหิตเน่า
เกิดเพราะโลหิต ทุจริตโทษทุกตัว ทำให้เน่า
เป็นใหญ่กว่าลมทั้งหลาย แล่นเข้าหัวใจ ผุดออกเนื้อตัว ดำ แดง ขาว เขียว ทำพิษ ให้ ผุด ให้คัน
|
๕.โลหิตตกหมกช้ำเนื่องจากโลหิตเน่าและใช้ยาขับไม่ถึงกำลัง
ตกช้ำอยู่ในเส้น
หัวเหน่า ให้กลายเป็น
ฝีภายในและมาน
|
||||
โลหิตเกิดจากกองธาตุ
|
||||||||
๑.เกิดแต่กองเตโช ให้ร้อนช่องคลอด
โลหิตเป็นฟอง สีเหลือง ดังน้ำฝางผสมมะนาว
|
๒. เกิดแต่กองวาโยธาตุ ให้จุกเสียด ท้องขึ้นท้องพอง คลื่นเหียน อาเจียนลมเปล่า ระดูไม่ทำงานโลหิตสีน้ำดอกคำจาง
|
๓. เกิดแต่กองอาโปธาตุ ให้ลงวันละ ๕–๖ครั้ง
โลหิตใสหรือเหมือนไข่ขาว
|
๔. เกิดแต่กองปถวีธาตุให้เมื่อยทุกข้อลำกระดูก
โลหิตเหนียวดุจยางมะตูมโลหิตสีดำแดง ขาว เหลือง ระคนออกมา
|
|||||
หญิงระดูมาแล้วแห้งไปเพราะเหตุ ๕ ประการ
|
๑.กามราคะจัด
๒.อาหารเผ็ดร้อน ๓.มีโทสะ/ทำงานหนัก
๔.มีโมหะ/ออกกำลังมาก ๕.กรรมพันธุ์
|
|||||||
ยาพรหมภักต์=ประจุโลหิตร้าย ยากำลังราชสีห์,ยากำลังแสงพระอาทิตย์ = บำรุงโลหิตให้บริบูรณ์
|
||||||||
ริดสีดวงมหากาฬ 4
จำพวก
|
1 เกิดที่คอ
|
2 เกิดในอก
|
3 เกิดในลำไส้
|
4 เกิดในทวาร
|
ลักษณะอาการ - ที่ทรวงอกและลำคอ เป็นเม็ดขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว
เมื่อสุกแตกออกเป็นบุพโพโลหิตออกมา แล้วเลื่อนเข้าไปหากัน บานดังดอกบุก
เป็นบุพโพโลหิตไหล มิรู้ก็ว่าเป็นฝี
ที่ลำไส้ และทวาร
เกิดขึ้นขนาดเมล็ดข้าวโพดที่ทวารเบา ตั้งขึ้นเป็นกองเป็นหมู่ประมาณ 9–10
เม็ด เมื่อสุกแตกออกเป็นบุพโพโลหิตระคนกัน
เลื่อนเข้าหากัน มีสัณฐานบานดังดอกบุก
|
ว่าด้วยยาสำหรับสตรี
ยาบำรุงไฟธาตุ ดอกดีปลี รากช้าพลู เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิง เหง้าขิงแห้ง ผลผักชี ว่านน้ำ หัวแห้วหมู พิลังกาสา บอระเพ็ด ผิวมะกรูด ยาทั้งนี้ หนักสิ่งละ 1 ส่วน เสมอภาถ บดเป็นผง ละลายน้ำส้มซ่า รับประทานครั้งบะ 1 ช้อนกาแฟ 3 เวลา ก่อนอาหาร สรรพคุณ กินบำรุงไฟธาตุให้บริบูรณ์ ยาบำรุงโลหิตเบญจกูล หนักสิ่งละ 1 บาท โกฎทั้ง 5 เทียนทั้ง 5 สิ่งละ 6 สลึง ผลจันทร์ ดอกจันทร์ กระวาน กานพลู หนักสิ่งละ 1 สลึง เลือดแรด ดอกคำไทย สิ่งละ 3 บาท ฝางเสน 2 บาท เกสรบัวหลวง ดอกพิกุล ดอกบุนนาค ดอกสารภค ดอกมะลิ ดอกจำปา ดอกกระดังงา กฤษณา กระลำพัก ขอนดอก ชะลูด อบเชยเทศ จันทน์ทั้ง 2 ขมิ้นเครือ เอาส่วนเท่ากัน สรรพคุณ ต้มรับประทานให้โลหิตงาม |
บางรายที่ก่อนมีสามี ระดูนั้นบริบูรณ์ ครั้นเมื่อมีสามี แล้วไม่นานนัก ระดูก็ค่อยๆ จางลงและขาดไปในที่สุด มีอาการเจ็บหลัง เจ็บเอว เมื่อยไปทุกข้อลำ จุกแดก ท้องขึ้นท้องพอง ผิวเนื้อชา ซีด หน้าตาอิดโรย หิวโหยเป็นกำลัง นอนมิหลับ กินข้าวมิได้ ทั้งนี้เป็นเพราะซ่องเสพด้วยกามคุณมากจากความปรารถนาของตนเอง หรือจากความต้องการของสามีจนตนเองทนทานกำลังของสามีไม่ได้ ก็ให้ยาตามลำดับ ดังนี้
๑. ให้ยาประจุโลหิต (ฟอกเลือด)
๒. ให้ยาบำรุงธาตุ บำรุงกาม
๓. ให้ยาบำรุงโลหิตให้บริบูรณ์ ชื่อว่า ยากำลังราชสีห็ และยาแสงพระอาทิตย์ โลหิตบริบูรณ์แล้วเมื่อไร ก็จะตั้งครรภ์
ระดูผิดปกติ แยกได้เป็นประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้
๑. ระดูไม่มาตามวัยที่กำหนด ชื่อว่า ชาติโทษ
๒. ระดูเดินไม่สะดวก, ระดูขัด อาจเรียกได้ว่า ระดูขาด
๓. ระดูมามากกว่าปกติ ออกปริมาณมาก และนานเกิน ๗ วัน
๔. ระดูขาด, ระดูแห้ง, โลหิตแห้ง, ระดูร้าง
ในกาลก่อน ความรู้เรื่องการติดเชื้อมีน้อยมาก ดังนั้นจึงมักมีการติดเชื้อหลังคลอดบ่อยๆ ซึ่งทำให้กล่าวว่า โลหิตที่ยังคงคั่งค้างอยู่ เป็นโลหิตเน่า เป็นโลหิตเน่า โลหิตร้าย และหากมีกำลังมาก จะตีขึ้นไป ทำให้สิ้นสติ นั่นก็คือ โลหิตเป็นพิษ คนไข้มีอาการไข้สูงหลังคลอด เพราะเชื้อโรคจากมดลูกเข้าสู่กระแสโลหิตทั่วร่างกาย บางรายอาจมีอาการชัก เพราะติดเชื้อบาดทะยัก มือกำเท้ากำ อ้าปากไม่ออกและอาการรุนแรงอื่นๆ มดลูกอาจเน่า และสิ่งที่ไหลออกทางช่องคลอดอาจมีลักษณะเป็นเลือดเน่าปนหนอง มีกลิ่นเหม็นจัดซึ่งถือว่า เป็นโรคอยู่ไฟไม่ได้ หรือ เป็นโรคที่ไม่ได้อยู่ไฟ ดังนั้น นอกจากจะให้หญิงหลังคลอด อยู่ไฟ แล้วจะต้องให้ ยาขับโลหิตเน่าร้าย ออกโดยสิ้นเชิงโดยเร็ว เป็นการป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้ากระแสโลหิต
ที่มา-แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
ระดูปกติโทษ คือ
การมีอาการที่เกิดขึ้นก่อนการมีประจำเดือน และในแต่ละเดือนก็จะเกิดเหมือนๆ กัน
เช่น ปวดท้อง, เวียนหัว, เครียด, ไข้ขึ้น เมื่อยตัว ผื่นขึ้น เป็นอยู่อย่างนี้ตลอด
โบราณให้เหตุผลว่าเป็นอาการที่เกิดจากลมกองใดกองหนึ่งกระทำ ซึ่งก็จะมียารักษาคือ
ยารักษาระดูปกติโทษ เมื่อกินเข้าไปแล้วอาการเหล่านี้ก็จะดีขึ้น
ระดูทุจริตโทษ คือ อาการที่แสดงออกในผู้หญิงก่อนการมีประจำเดือน และอาการเหล่านี้จะมีลักษณะแตกต่างกันในแต่ละเดือน เช่น เดือนนี้ปวดหัว เดือนหน้าปวดท้อง ท้องเสีย หรือปริมาณของประจำเดือนไม่แน่นอน อาจจะมากหรือน้อย ที่เคยมาแล้วก็หายไป ทำให้ร่างกายผอมแห้งแรงน้อย เรียกว่า สันนิจโลหิต คือการที่โลหิตแห้ง โบราณเรียกว่าเลือดไม่งาม ก็จะแสดงออกทางใบหน้า ทำให้หน้าตาหมองคล้ำ มีสิว ฝ้า
ระดูทุจริตโทษ คือ อาการที่แสดงออกในผู้หญิงก่อนการมีประจำเดือน และอาการเหล่านี้จะมีลักษณะแตกต่างกันในแต่ละเดือน เช่น เดือนนี้ปวดหัว เดือนหน้าปวดท้อง ท้องเสีย หรือปริมาณของประจำเดือนไม่แน่นอน อาจจะมากหรือน้อย ที่เคยมาแล้วก็หายไป ทำให้ร่างกายผอมแห้งแรงน้อย เรียกว่า สันนิจโลหิต คือการที่โลหิตแห้ง โบราณเรียกว่าเลือดไม่งาม ก็จะแสดงออกทางใบหน้า ทำให้หน้าตาหมองคล้ำ มีสิว ฝ้า
หมายเหตุ ในการอ่านสรุปคัมภีร์ ควรอ่านในหนังสือทั้งหมดก่อนอย่างน้อย ๑ รอบ แล้วมาอ่านสรุปจะทำให้เข้าใจ ภาพรวมทั้งหมด
ข้อสอบคัมภีร์มหาโชติรัต
ข้อ 1. ที่เกิดโลหิตระดูของสตรีเมื่อจะมีมาให้ดุจไข้จับร้อนๆหนาวๆ
ปวดศีรษะมากข้อใดถูกต้อง
1. โลหิตระดูเกิดเมื่ออายุ 15 ปี 2. โลหิตระดูเกิดเมื่อร้อนตามผิวหน้า
3. โลหิตระดูบังเกิดแต่เส้นเอ็น 4. โลหิตระดูบังเกิดแต่การเจ็บบั้นเอวบ่อยๆ
ข้อ 2. พระคัมภีร์มหาโชตรัต ว่าด้วยสตรีภาพ ตั้งแต่คลอดจากครรภ์มารดา มีกายแตกต่างจากชายอย่างไร
1. มีระดู เป็นประจำทุกเดือน 2. มีประจำเดือนครั้งละ 3-5 วัน
3. มี ถัน จริต ที่ประเวณี และต่อมโลหิตระดู 4. มีกำลังกายอ่อนแอกว่าชาย มีความอ่อนหวาน
ข้อ 3. เมื่อจะมีระดูมาให้มีอาการ กระทำให้ท้องขึ้นท้องพองจุกเสียด ตัวร้อน คลื่นเหียนอาเจียนลมเปล่า เป็นลักษณะโลหิตอันบังเกิด
1. โลหิตระดูเกิดเมื่ออายุ 15 ปี 2. โลหิตระดูเกิดเมื่อร้อนตามผิวหน้า
3. โลหิตระดูบังเกิดแต่เส้นเอ็น 4. โลหิตระดูบังเกิดแต่การเจ็บบั้นเอวบ่อยๆ
ข้อ 2. พระคัมภีร์มหาโชตรัต ว่าด้วยสตรีภาพ ตั้งแต่คลอดจากครรภ์มารดา มีกายแตกต่างจากชายอย่างไร
1. มีระดู เป็นประจำทุกเดือน 2. มีประจำเดือนครั้งละ 3-5 วัน
3. มี ถัน จริต ที่ประเวณี และต่อมโลหิตระดู 4. มีกำลังกายอ่อนแอกว่าชาย มีความอ่อนหวาน
ข้อ 3. เมื่อจะมีระดูมาให้มีอาการ กระทำให้ท้องขึ้นท้องพองจุกเสียด ตัวร้อน คลื่นเหียนอาเจียนลมเปล่า เป็นลักษณะโลหิตอันบังเกิด
จาก กองธาตุใด
1. ปถวีธาตุ 2. อาโปธาตุ
3. วาโยธาตุ 4. เตโชธาตุ
ข้อ 4. อาการปรากฎ เมื่อจะใกล้มีระดูมา ให้เป็นไข้จับ ให้สบัดร้อนสบัดหนาว ปวดศีรษะเป็นกำลัง ครั้นมีระดูออกมาแล้ว อาการก็หายไป เป็นโลหิตระดูในข้อใด
1. เกิดแต่หัวใจ 2. เกิดแต่ขั้วดี
3. เกิดแต่เส้นเอ็น 4. เกิดแต่กระดูก
1. ปถวีธาตุ 2. อาโปธาตุ
3. วาโยธาตุ 4. เตโชธาตุ
ข้อ 4. อาการปรากฎ เมื่อจะใกล้มีระดูมา ให้เป็นไข้จับ ให้สบัดร้อนสบัดหนาว ปวดศีรษะเป็นกำลัง ครั้นมีระดูออกมาแล้ว อาการก็หายไป เป็นโลหิตระดูในข้อใด
1. เกิดแต่หัวใจ 2. เกิดแต่ขั้วดี
3. เกิดแต่เส้นเอ็น 4. เกิดแต่กระดูก
ข้อ 5. คัมภีร์ปฐมจินดากำหนดโลหิตระดูสตรีที่เป็นปกติโทษ
5 ประการ คือ
1. โลหิตบังเกิดมาแต่หัวใจ ดี เนื้อ เอ็นและกระดูก
2. โลหิตบังเกิดมาแต่หทัย มังสัง ดี เส้นเอ็น และกระดูก
3. โลหิตบังเกิดมาแต่หทัย ดี เนื้อ เอ็น และนหารู
4. ไม่มีข้อใดถูก
6.ในคัมภีร์มหาโชตรัต ว่าด้วยที่เกิดของโลหิตระดูสตรี ข้อใดกล่าวผิด
1. โลหิตบังเกิดมาแต่หัวใจ ดี เนื้อ เอ็นและกระดูก
2. โลหิตบังเกิดมาแต่หทัย มังสัง ดี เส้นเอ็น และกระดูก
3. โลหิตบังเกิดมาแต่หทัย ดี เนื้อ เอ็น และนหารู
4. ไม่มีข้อใดถูก
6.ในคัมภีร์มหาโชตรัต ว่าด้วยที่เกิดของโลหิตระดูสตรี ข้อใดกล่าวผิด
ก.โลหิตัง หทยัง
ชาตัง ข. ปิตตัง ชาตัง
ค.มังสัง ชาตัง ง. อัฏฐิมิญชัง ชาตัง
7.
น.ส.นิด อายุ 16 ปี ยังไม่ได้แต่งงาน เมื่อโลหิตระดูจะมีมา ให้คลั่งเพ้อ ผวา สะดุ้ง ครั้น
โลหิตระดูมีมาแล้ว อาการดังกล่าวก็หายไป ถือเป็นโลหิตปกติโทษอันเกิดแต่ที่ใด
ก. หัวใจ ข.ขั้วดี
ค.ผิวเนื้อ ง.เส้นเอ็น
8.ข้อใดคือสาเหตุที่ทำให้หญิงที่เคยมีโลหิตระดูมาแล้วกลับแห้งไป
ก. มีกามราคะจัด ข.มีโลภะเป็นนิจ
ค. บริโภคอาหารรสเปรี้ยวหวานมากไป ง.ออกกำลังกายมากเกินไป
9.ข้อใดไม่ใช่โลหิตทุจริตโทษ
5 ประการ
ก.โลหิตระดูร้าง ข.โลหิตระดูทะลวง
ค.โลหิตตกหมกช้ำ ง. โลหิตเน่า
10.
ลักษณะอาการ เมื่อจะบังเกิด
ให้โลหิตนั้นคั่ง เดินไม่สะดวก แล้วตั้งขึ้นเป็นลิ่มเป็นก้อน ให้แดกขึ้นแดกลง บางทีให้คลั่ง
ตาเหลือกตาช้อน ขอบตาเขียว
ริมฝีปากเขียว
เล็บมือเล็บเท้าเขียว
สมมุติว่าปีศาจเข้าสิง
จัดเป็นโลหิตทุจริตโทษประเภทใด
ก.โลหิตต้องพิฆาต ข. โลหิตคลอดบุตร
ค.โลหิตเน่า ง. โลหิตตกหมกช้ำ
11.ลักษณะอาการ
ถ้าเกิดแก่สตรีผู้ใด มีสามีแล้วหรือไม่มีสามีก็ดี
เมื่อระดูจะมีมานั้น
ให้ตึงตัว ช่องครรภ์ร้อนดุจถูกพริก
โลหิตออกมาสีเหมือนน้ำฝางเอาน้ำส้มมะนาวบีบลง
สีนั้นเหลืองไป จัดอยู่ในโลหิตเกิดแต่กองธาตุใด
ก. เกิดแต่กองปัถวีธาตุ ข. เกิดแต่กองเตโชธาตุ
ค. เกิดแต่กองอาโปธาตุ ง. เกิดแต่กองวาโยธาตุ
12.ในคัมภีร์มหาโชตรัต ว่าด้วยเรื่องริดสีดวงมหากาฬ เกิดที่ใดได้บ้าง
ก. คอ อก
ลำไส้ ทวาร ข.จมูก อก
ลำไส้ ทวาร
ค.ปาก อก ท้องน้อย ทวาร ง.คอ อก
ท้องน้อย ทวาร
13.
ลักษณะโลหิตระดู บางทีดำเหม็นเน่าโขง
บางทีจางดุจน้ำชานหมาก
บางทีใสดุจน้ำคาวปลา
บางทีดุจน้ำซาวข้าว
ครั้นแก่เข้ามักกลายเป็นมานโลหิต จัดอยู่ในโลหิตทุจริตโทษประเภทใด
ก. โลหิตระดูร้าง ข. โลหิตระดูทะลวง
ค. โลหิตตกหมกช้ำ ง. โลหิตเน่า
14.
สตรีที่ไม่ได้แต่งงาน
โลหิตบริบูรณ์ดี
ครั้นแต่งงานมีสามีแล้ว โลหิตจางซีดไป
จัดอยู่ในโทษข้อใด
ก.โลหิตปกติโทษ ข. โลหิตทุจริตโทษ
ค.โลหิตระดูร้าง ง. โลหิตชาติโทษ
15. จากข้อ 14 มีวิธีการรักษาอย่างไร
ก.ให้ยาประจุโลหิต ข. ให้ยาบำรุงธาตุ
ค.ให้ยาบำรุงโลหิต ง. ถูกทุกข้อ
ข้อ 16. ปกติโลหิต หมายความว่าอย่างไร?
1. โลหิตบริบูรณ์ 2. โลหิตแล่นสะดวก
3. โลหิต กำเดา ดี 4. โลหิตประจำเดือน
ข้อ 17. โลหิตคลอดบุตร เมื่อบังเกิดทำให้โลหิตคั่ง
เดินไม่สะดวก แล้วตั้งขึ้นเป็นลิ่ม เป็นก้อน สมมุติไว้ว่าอย่างไร
1. เป็นบ้า แยกเขี้ยว 2. ให้แดกขึ้นแดกลง
3. บางทีให้คลั่งเพ้อ 4. ปีศาจเข้าสิง
ข้อ 18. โลหิตต้องพิฆาต หมายถึงข้อใด?
1. ตกต้นไม้ ถูกทุบถอง โลหิตกระทบช้ำ ระคนกับโลหิตระดู
2. โลหิตกระทบช้ำ โลหิตแห้งกรัง โลหิตพิการ คลอดบุตร
3. ถูกทุบถอง โลหิตคลอดบุตร โลหิตเน่า
4. โลหิตตกหมกซ้ำ ถูกทุบถอง โลหิตกระทบช้ำ ระดูพิการ
ข้อ 19. ว่าด้วยริดสีดวงมหากาฬ 4 จำพวก ว่าเกิดที่ใดบ้าง
1. เกิดที่ลิ้น 2. เกิดที่กระเพาะอาหาร
3. เกิดที่ตับ 4. ผิดทุกข้อ
ข้อ 20. สตรีผู้ใดที่มีสามีแล้วมิได้มีสามีก็ดี
เมื่อระดูจะมานั้น มีอาการกระทำให้ท้องขึ้นท้องพอง ให้จุกเสียดเป็นกำลัง
ให้ตัวร้อนจับเป็นเวลา ให้คลื่นไส้ ให้อาเจียนลมเปล่า ระดูไม่ทำงาน
มีสีดังดอกคำจาง เป็นโลหิตเกิดจากกองธาตุใด
1. โลหิตระดูเกิด 2. โลหิตระดูเกิดแต่กองวาโยธาตุ
3. โลหิตระดูเกิดแต่กองวาโยธาตุ 4. โลหิตระดูเกิดแต่กองปถวี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น