ริดสีดวงทวาร (Hemorrhoid) เป็นภาวะที่มีการอักเสบของเส้นเลือดดำที่ไส้ตรง(ส้วงทวารหรือลำไส้ใหญ่ตอนปลายสุด)
จนทำให้เส้นเลือดบริเวณนี้โป่งหรือพองออกมา ซึ่งถ้าเป็นมากๆ
จะเห็นเหมือนเป็นติ่งเนื้อโผล่ออกมาทางทวารหนัก ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บๆคันๆ
ในระยะแรกและจะเพิ่มอาการเจ็บปวดมากขึ้น การโป่งของเส้นเลือดนี้จะทำให้เกิดการเสียดสีกับอุจจาระ
ในที่สุดก็จะเกิดเป็นแผลและมีเลือดออกขณะเบ่งหรือถ่ายอุจจาระ
สาเหตุของริดสีดวงทวารหนัก มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลให้เกิดก้อนริดสีดวงทวาร
อาทิ ลักษณะนิสัยการถ่ายผิดปกติ (ท้องผูก หรือ ท้องเสียที่เป็นมานานเรื้อรัง)
รับประทานอาหารที่มีเส้นใยน้อย การเพิ่มของความดันภายในช่องท้อง เช่นยกของหนัก
ตั้งครรภ์ กรรมพันธุ์ ไม่มีลิ้นในเส้นเลือดบริเวณทวารหนัก อายุ และความอ้วน
การนั่งถ่ายเป็นเวลานานๆ ชอบนั่งอ่านหนังสือเวลาถ่าย ห้าม กลั้นอุจจาระ
และไม่ควรนั่งหรือเบ่งอุจจาระโดยไม่รู้สึกปวดท้องอยากถ่าย
โรคริดสีดวงทวารนี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.ริดสีดวงทวารภายใน (Internal Hemorrhoids) เกิดจากเส้นเลือดที่ใต้เยื่อบุผิวโป่งพองออก ขึ้นอยู่ภายในทวารหนัก
ไม่สามารถ สัมผัสได้ โดยมากมักไม่มีอาการเจ็บปวด แต่สังเกตได้จากอาการเลือดสดๆ
ไหลออกพร้อมๆ กับอุจจาระ ริดสีดวงชนิดนี้จะไม่เจ็บปวดมาก
เพราะที่ใต้เยื่อเมือกไม่มีเส้นประสาทรับความรู้สึกปวด
2.ริดสีดวงทวารภายนอก (External Hemorrhoids) เป็นริดสีดวงทวารอีกชนิดหนึ่ง ที่คนเป็นกันมาก ซึ่งจะมีการโป่งพองของเส้นเลือดที่ผิวหนังบริเวณรอบทวารหนัก ซึ่งริดสีดวงทวารอย่างหลังนี้ผู้ที่เป็นจะเจ็บมากเวลาที่มีการอักเสบ และภาวะเส้นเลือดอุดตันอาจมีเลือดออกเวลาเบ่งอุจจาระเพราะตรงบริเวณรอบทวารหนักจะมีเส้นประสาทรับความรู้สึกอยู่เต็มไปหมด อุจจาระแข็งๆ หรือการเพิ่มระดับแรงดันในช่องท้องขึ้น ก็จะทำให้เกิดการปริแตกหรือฉีกขาดของหลอดเลือดดำ ทำให้เกิดเลือดออกมาเป็นเลือดสดๆ ได้
2.ริดสีดวงทวารภายนอก (External Hemorrhoids) เป็นริดสีดวงทวารอีกชนิดหนึ่ง ที่คนเป็นกันมาก ซึ่งจะมีการโป่งพองของเส้นเลือดที่ผิวหนังบริเวณรอบทวารหนัก ซึ่งริดสีดวงทวารอย่างหลังนี้ผู้ที่เป็นจะเจ็บมากเวลาที่มีการอักเสบ และภาวะเส้นเลือดอุดตันอาจมีเลือดออกเวลาเบ่งอุจจาระเพราะตรงบริเวณรอบทวารหนักจะมีเส้นประสาทรับความรู้สึกอยู่เต็มไปหมด อุจจาระแข็งๆ หรือการเพิ่มระดับแรงดันในช่องท้องขึ้น ก็จะทำให้เกิดการปริแตกหรือฉีกขาดของหลอดเลือดดำ ทำให้เกิดเลือดออกมาเป็นเลือดสดๆ ได้
ริดสีดวงแบ่งตามความรุนแรงของโรคเป็น 4 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 – มีอาการถ่ายเป็นเลือด อุจจาระออกมาพร้อมเลือด (บางคนก็ไม่มีอาการนี้)
แต่คลำที่ทวารหนักแล้วเจอก้อน แต่ไม่มีการยื่นออกมานอกขอบทวาร
ระยะที่ 2 -- ริดสีดวงยื่นออกมานอกขอบทวาร ขณะถ่ายอุจจาระและเลื่อนกลับเข้าไปในทวารหนัก
หลังถ่ายอุจจาระ
ระยะที่ 3 -- ริดสีดวงยื่นออกนอกขอบทวาร ขณะถ่ายอุจจาระ
และหลังถ่ายอุจจาระต้องดันกลับเข้าไปในทวารหนัก
ระยะที่ 4 – ริดสีดวงทวารยื่นออกนอกทวารหนักตลอดเวลาไม่สามารถดันกลับเข้าไปได้
อาหารแสลง ที่ควรงด ของหมักดอง หน่อไม้ เนื้อวัว อาหารทะเล ข้าวเหนียว
ของเค็ม ของเผ็ด หอม กระเทียม ขิงสด พริกไทย พริก เหล่านี้อาจทำให้ท้องผูก ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
และคาเฟอีน เช่น สุรา เบียร์ ไวน์ กาแฟ ชา น้ำอัดลม เพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ
อุจจาระแข็ง และถ่ายลำบาก
การดูแลปฏิบัติตนเพื่อบรรเทาอาการโรคริดสีดวงทวารหนัก
1. ควรนั่งแช่น้ำอุ่น 10-15 นาที วันละ 3 ครั้ง เพื่อช่วยลดอาการปวด
การอักเสบ และช่วยทำความสะอาดบริเวณที่เป็นโรค
2. ควรหลีกเลี่ยงอาการท้องผูก
หรือท้องเสียเรื้อรัง
ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งของริดสีดวงทวารหนักทั้งเป็น สาเหตุของการเบ่ง
และทำให้อุจจาระแข็ง ซึ่งมีวิธีแก้ไขอาการท้องผูกดังนี้ กินอาหารที่มีเส้นใยสูง
เช่น ผัก ผลไม้ และเมล็ดธัญพืช เพื่อช่วยให้อุจจาระนุ่มขึ้น ควรดื่มน้ำ
อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว หรือ 2 ลิตรอย่าสม่ำเสมอ ละเว้นของแสลง
3. ควรหลีกเลี่ยงการขัดถูบริเวณทวารหนักอย่างรุนแรง
เพราะจะยิ่งระคายเคืองริดสีดวงทวาร
4. ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ
เพราะจะช่วยเพิ่มกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ ทำให้ถ่ายอุจจาระได้ง่าย
นอก จากนี้ ผู้ป่วยควรสำรวจและสังเกต ตนเองว่าตนเองมีพฤติกรรมที่เสี่ยงในการส่งเสริมทำให้ท้องผูกหรือปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคริดสีดวงทวารหนัก เช่น ชอบอ่านหนังสือในห้องสุขา การถ่ายอุจจาระบนส้วมชักโครก การยกของหนักๆ การนั่งหรือยืนท่าใดท่าหนึ่งติดต่อกันนานๆ การกลั้นอุจจาระ เป็นต้น ซึ่งถ้าพบและแก้ไขสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ก็จะช่วยให้อาการดีขึ้นอย่างมาก
นอก จากนี้ ผู้ป่วยควรสำรวจและสังเกต ตนเองว่าตนเองมีพฤติกรรมที่เสี่ยงในการส่งเสริมทำให้ท้องผูกหรือปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคริดสีดวงทวารหนัก เช่น ชอบอ่านหนังสือในห้องสุขา การถ่ายอุจจาระบนส้วมชักโครก การยกของหนักๆ การนั่งหรือยืนท่าใดท่าหนึ่งติดต่อกันนานๆ การกลั้นอุจจาระ เป็นต้น ซึ่งถ้าพบและแก้ไขสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ก็จะช่วยให้อาการดีขึ้นอย่างมาก
การป้องกัน ขับถ่ายให้เป็นเวลา
ไม่ทำให้ท้องผูก กินอาหารที่มีกาก เช่นผักและผลไม้ ดื่มน้ำมากๆ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
www.healthdd.info/โรคริดสีดวงทวารหนักคือ/
http://dpc10.ddc.moph.go.th/nana/doc06.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น