วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สรุปคัมภีร์อติสาร


พระคัมภีร์อติสาร
โรคฝีภายใน  ว่าด้วยสาเหตุและการปฏิบัติตัวที่มีผลต่อการเกิดโรคฝี ลักษณะอาการของฝีที่จำแนกตามแหล่งที่เกิดฝีคัมภีร์อติสาร ว่าด้วยโรคฝีในช่องท้อง มีอาการให้อาเจียน ขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะลักษณะต่างๆ เหตุจากกองลมและกองธาตุ แบ่งเป็นปัจจุบันกรรมอติสาร และโบราณกรรมอติสาร เป็นโรคที่มีอาการหนักมากถึงระยะใกล้ตาย
อติสาร  มี  ๒ จำพวก คือ  ปัจจุบันกรรมอติสาร ๖ ประการ   โบราณกรรมอติสาร มี ๕ ประการ                                             





ปัจจุบันกรรมอติสาร
.อุทรวาตอติสาร     เพื่อขั้วสะดือพอง ให้ท้องขึ้นมิรู้วาย
. สุนทรวาตอติสาร  ลมพัดในกระหม่อม ยังไม่ปิด บังเกิดโทษให้ไส้พองท้องใหญ่ ลงกล่อนแล้วเป็นมูกเลือด  มักแปรเป็นมาน  ๕ ประการ มานเลือด    มานลม  มานหิน   มานน้ำเหลือง (มานน้ำ)   มานกษัย (มานน้ำ)
.ปัสสยาวาตอติสาร เกิดแต่กองอชิน ให้ลงดุจกินยารุ  อาเจียนเป็น สี เหลือง  เขียว  สมมุติ  ป่วง ๕  ประการมีป่วงน้ำ   ป่วงสุนัข   ป่วงลม   ป่วงหิน  ป่วงวานร
ป่วง ๗ ประการ
ป่วงลม ลงไม่มาก เสียดสีข้าง จุกอก รากออกแต่น้ำลาย
ป่วงหิน รักษายาก ให้ลง ให้ราก เมื่อยข้อ หนังเหี่ยว พูดไม่ชัด ให้สลบ
ป่วงวานร ให้ยิงฟัน หนาวคางสั่นแน่นหน้าอก ราก ลง ปกติ อย่างเดียว ริมฝีปากเขียว ขอบตาซีด
ป่วงงู ให้ราก ลง ไม่หยุด ให้บิดตัว ตาปรอย เข้าสี่ยามจะตาย หรือเป็นสันนิบาตสองครอง
ป่วงลูกนก ให้ลง ให้ขนลุก ปวดท้อง ท้องลั่น หาวเรอ อ้าปากคล้ายลูกนก
ป่วงเลือด ให้ลงไหล หอบ เหนื่อยเพ้อ ตาซึม กายเหลือง เหมือนเป็นไข้สันนิบาต เจ็ดวันตาย
ป่วงโกศ  เกิดเพราะโทษลมกษัยกร่อน ให้ลง  ราก ร้อนทั้งลำคอ มือ เท้าซีดเหี่ยว เหงื่อตก  ต้นเล็บเป็นโลหิตคล้ำ
.โกฏฐาสยาวาตอติสาร เกิดตามลำไส้ บริโภคสิ่งใดลงเป็นสิ่งนั้น
.กุจฉิสยาวาตอติสาร   เกิดนอกลำไส้ ให้ลงท้องเหม็นคาวไหลออกมาเอง
.อุตราวาตอติสาร  เกิดแต่ลม ๑๖ จำพวก ให้ลงเป็นมูกเลือด เป็นบิด
โบราณกรรมอติสาร  เกิดแต่กองอชิน มี๔ ประการ (โรคเรื้อรังเกิดจากการบริโภคอาหาร แสลงกับโรค, แสลงกับธาตุ / ธาตุอติสารมี ๕ประการ
กองอชิน ๔
เสมหะอชิน   ให้ลงเวลาเช้า  อุจจาระขาว   เหม็นคาว ระคนด้วยปะระเมหะ ให้ปวดคูถทวาร พ้นกำหนด  ๑๒ วัน กลายเป็น  อมุธาตุอติสาร    (เป็นปฐมอติสารชวร)
ธาตุอติสาร ๕
.อมุธาตุอติสาร  เกิดในกองเตโช ชื่อปรินา  หย่อนไม่เผาอาหาร    ให้ลงนับเวลามิได้ สิ้นอาหาร ลงเป็นน้ำล้างเนื้อ ให้ ปากแห้ง คอแห้ง
ปิตตะอชิน   ให้ลงเวลากลางวัน  อุจจาระแดง   กลิ่นดังปลาเน่า  ปากแห้ง คอแห้ง พ้นกำหนด  ๗ วัน กลายเป็น  รัตตธาตุอติสาร(เป็นทุติยะอติสารชวร)
.รัตตธาตุอติสาร  เกิดแต่กองปถวี   ให้ลงประมาณมิได้  แดงดังโลหิตเน่า มีเสมหะระคน  บางทีเขียวเป็นใบไม้ (ลงแดง,ลงเขียว)
วาตะอชิน ให้ลงเวลาพลบค่ำ  อุจจาระสีคล้ำ กลิ่นเปรี้ยว เหม็นยิ่งนัก   ให้แน่นอกคับใจคลื่นเหียนอาเจียนแต่ลม พ้นกำหนด  ๑๐ วัน กลายเป็น  ปฉัณณธาตุอติสาร(เป็นตะติยะอติสารชวร)
.ปฉัณณธาตุอติสาร  ให้ลงเป็นน้ำชานหมากและน้ำแตงโม ให้จุกแดกแน่นในลำคอ กินไม่ได้ อาเจียนลมเปล่า
สันนิปาตะอชิน ให้ลงเวลากลางคืน  ให้ลงไม่สะดวก  อุจจาระดำ  แดง  ขาว เหลือง  ระคนกัน  กลิ่นเปรี้ยว เหม็นยิ่งนัก   ให้สะบัดร้อน สะบัดหนาว เท้าเย็นตัวร้อน พ้นกำหนด  ๒๙ วัน กลายเป็น มุศกายธาตุอติสาร และกาฬธาตุอติสาร (เป็นจตุถะอติสารชวร)
.มุศกายธาตุอติสาร  เกิดแต่กอง อาโป  กินอาหารสำแลงธาตุให้เป็นโลหิต เสมหะ เน่าเหม็นดังกลิ่นศพ  กุจฉิแลโกฏฐา ปะทะกัน  ให้ท้องขึ้นปะทะหน้าอก  ให้แน่น หน้ามืด
 กาฬธาตุอติสาร  (กาฬทั้ง๕)  
กาฬพิพิธ  เกิดแต่ขั้วตับ  ให้ลงเป็นเลือดสดๆ ๕วันเป็นเสลดเน่า
กาฬพิพัธ  เกิดในขั้วหัวใจ  ให้ลงดุจน้ำล้างเนื้อ เมือกมันเน่าเหม็นเหมือนซากศพ
กาฬมูตร  เกิดอยู่ในตับ อุจจาระเน่า ดำ เป็นก้อน เป็นลิ่ม ดังถ่าน  กินปอดให้กระหาย กินม้ามให้หลับคล้ายปีศาจสิง
กาฬสูตร      ให้ลงสีดำ  สีคราม  สีเขียวคล้ำ กลิ่นดังดินปืน  
กาฬสิงคลี  เกิดแต่ดี  ให้ซึมรั่วล้นไป  อุจจาระ,ปัสสาวะ เนื้อตัว  กระดูก สีเหลืองใส ๓ วันตาย  

หมายเหตุ ในการอ่านสรุปคัมภีร์ ควรอ่านเนื้อหาในหนังสือทั้งหมดก่อนอย่างน้อย ๑ รอบ แล้วมาอ่านสรุปจะทำให้เข้าใจ ภาพรวมทั้งหมดยิ่งขึ้น

ตัวอย่างข้อสอบ

ข้อ 1.  ฝีที่เกิดในขั้วตับ ถ่ายออกมาเป็นเลือดสดๆได้ 4-5 วัน จึงกลับกลายเป็นเลือดและเสลดเน่าเรียกว่าอะไร
                 1.   กาฬพิพัธ                 2.   กาฬพิพิธ
                 3.   กาฬมูตร                  4.   กาฬสูตร
ข้อ 2.  ข้อใดจัดอยู่ในปัจจุบันกรรมอติสาร
              1.   อุตราวาตอติสาร                2.   อมุธาตุอติสาร
              3.   มุศกายธาตุอติสาร              4.   รัตตธาตุอติสาร
ข้อ 3.  คนไข้เมื่อพิการ ทำให้แข็งกระด้างตึงขา ผิวหนังเหี่ยวแห้งแข็งดังท่อนไม้ เปรียบดังอสรพิษขบกัดคือข้อใด
              1.   ปถวีธาตุ               2.   อาโปธาตุ
              3.   วาโยธาตุ               
4.  เตโชธาตุ  
ข้อ 4.  ถ้ากินปอดให้กระหายน้ำ ให้หอบ ถ้ากินม้าม ให้หลับอาการคล้ายปีศาจสิง หมายถึงอาการของอะไร
                1.   กาฬพิพัธ                2.   กาฬพิพิธ
               3.   กาฬมูตร                4.   กาฬสิงคลี  
ข้อ 5.  ฝีที่เกิดในขั้วตับ ถ่ายออกมาเป็นเลือดสดๆได้ 4-5 วัน จึงกลับกลายเป็นเลือดและเสลดเน่าเรียกว่าอะไร
                    กาฬพิพัธ                   2.   กาฬพิพิธ
                 3.   กาฬมูตร                  4.   กาฬสูตร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น