เส้นทางการนำส่งผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง Stroke Fast Track เรื่องต้องรู้สำหรับแพทย์แผนไทย และบุคลากรทางการแพทย์
ภาวะฉุกเฉิน 180 นาทีทอง (180 นาทีหลีกหนีอัมพาต) ที่จะตัดสินว่าจะเป็นอัมพาตหรือหายขาด กับยาละลายลิ่มเลือด
รู้หรือไม่ว่า “โรคหลอดเลือดสมอง” หรือที่รู้จักกันในนามของ “อัมพฤกษ์-อัมพาต” เป็นสาเหตุให้คนไทยเสียชีวิตสูงถึงปีละประมาณ 30,000 คน และจากสถิติล่าสุด พบว่า ด้วยรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปของคนไทย ทำให้อุบัติการณ์การเกิดผู้ป่วยใหม่ด้วยโรคหลอดเลือดสมอง
พุ่งสูงขึ้นเป็นเท่าตัว แต่หากผู้ป่วยถูกนำส่งโรงพยาบาลทันภายใน 180 นาที หรือ 3 ชั่วโมง และได้รับการรักษาทัน โอกาสรอดชีวิตโดยไม่เป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาตก็มีอยู่เช่นกัน
เนื่องจากโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุหนึ่งในการเสียชีวิตของคนไทยอันดับต้นๆ โดยตัวเลขสถิติที่เก็บได้ คือ ประมาณ 30,000 รายต่อปี กระทรวงสาธารณสุขจึงกำหนดยุทธศาสตร์สุขภาพด้านโรคหลอดเลือดสมอง ในทิศทางของการพัฒนาการบริการการรักษาและเพิ่มมาตรการการนำส่งผู้ป่วยให้รวดเร็วขึ้นเป็นระดับมาตรฐานสากล
เนื่องจากโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุหนึ่งในการเสียชีวิตของคนไทยอันดับต้นๆ โดยตัวเลขสถิติที่เก็บได้ คือ ประมาณ 30,000 รายต่อปี กระทรวงสาธารณสุขจึงกำหนดยุทธศาสตร์สุขภาพด้านโรคหลอดเลือดสมอง ในทิศทางของการพัฒนาการบริการการรักษาและเพิ่มมาตรการการนำส่งผู้ป่วยให้รวดเร็วขึ้นเป็นระดับมาตรฐานสากล
“เส้นทางการนำส่งผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนี้เรียกว่า Stroke Fast Track”
คือ การนำส่งผู้ป่วยที่มีอาการของโรคหลอดเลือดสมองนับตั้งแต่เกิดอาการให้ทันภายใน
3 ชั่วโมง ซึ่งหากทันก็จะลดอัตราการเป็นอัมพาต-อัมพฤกษ์ และลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยด้วย
โดยศูนย์ Stroke Fast Track เพื่อรองรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนี้
มีต้นแบบอยู่ที่สถาบันประสาทวิทยา ซึ่งเมื่อโรงพยาบาลเหล่านี้รับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
ก็จะให้ยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งจะช่วยผู้ป่วยไม่ให้เสียชีวิต และลดอัตราเกิดอัมพฤกษ์-อัมพาต
โดยกระทรวงได้สนับสนุนงบประมาณการรักษาแก่โรงพยาบาลเครือข่ายเหล่านี้ในงบราวๆ
70,000-200,000 บาทต่อคนไข้ 1 ราย”
ในปีแรกๆ มี14 โรงพยาบาลเครือข่าย Stroke Fast Track ปัจจุบันขยายไปเกือบทั่วประเทศแล้ว
ในปีแรกๆ มี14 โรงพยาบาลเครือข่าย Stroke Fast Track ปัจจุบันขยายไปเกือบทั่วประเทศแล้ว
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=860868
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://pni.go.th/cpg/stroke-nurse2007.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น