วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สรุปคัมภีร์กษัย

กระษัย     หมายถึง   โรคที่ทำให้ร่างกายเกิดความสึกหรอ  ( สึกกร่อน )  
               กระษัยโรค  เป็นโรคระยะกลางหรือระยะสุดท้าย (มัชฌิมโรค หรือ ปัจฉิมโรค)   เกิดจากวิวัฒนาการของโรคต่าง ๆ ไม่ได้รับการเยียวยารักษาให้ถูกกับโรค  ทั้งเรื้อรังมานาน  กษัยบางชนิดสิ้นสุดที่การสิ้นอายุ  บางชนิด กลายเป็นมาน
ลักษณะของโรคกระษัย
               ๑. ต้องมีประวัติการป่วยอย่างน้อย    เดือนจนตกถึง   มหาสันนิบาต 
               ๒. คนไข้ป่วยเรื้อรังจนซูบผอม
               ๓. สาเหตุการป่วยจากเหตุใด ๆ  ก็ได้
               ๔. เป็นได้ทั้งอาการหนักและอาการเบา  แม้อาการไม่รุนแรงแต่รักษายาก
               ๕. ระยะสุดท้าย  มักมีอาการหนัก  เช่น  มะเร็ง  ถุงน้ำ  รังไข่  มดลูก  ตับอักเสบและอื่น ๆ
โรคต่าง ๆ ในคัมภีร์กระษัย 
๑.  โรคทางระบบทางเดินอาหาร
๒. ไข้เรื้อรัง
๓.  มดลูกอักเสบ
๔.  ตับ  ม้ามย้อย โต, ไต                     
๕.  พยาธิ                 
 ๖.ไส้เลื่อน
อาการต่าง ๆ ของโรคกระษัย
               ๑.  ผอมแห้ง  โลหิตจาง
               ๒.  ผิวหนังซีดเหลือง   ปวดเมื่อยร่างกาย
               ๓.  แน่นและหนักตัว
               ๔.  กินไม่ได้ นอนไม่หลับ
               ๕.  ไอ หรือ ไอมีโลหิต
               ๖.  ปัสสาวะขัดมีสีเหลือง  ไม่มีกำลัง
               ๗.  ไม่มีแรง  มือเท้าชา
               ๘.  เหงื่อออกตามฝ่ามือ  เหงื่อออกตอนกลางคืน
               ๙.  ยอกเสียวตามหัวอกและชายโครง
               ๑๐.  ผิวหนังตกกระตามร่างกาย
               ๑๑.  กล้ามเนื้อชักหดและลีบ
               ๑๒.  สะท้านร้อนสะท้านหนาวเป็นคราว ๆ
               ๑๓.  ท้องผูกเป็นประจำ

คัมภีร์กระษัย หรือ กษัย ว่าด้วยโรคที่ทำให้เกิดความสึกหรอ,ความเสื่อมของร่างกาย ให้เกิดอาการเจ็บป่วยต่างๆแบ่งเป็น ๒ จำพวก คือ กษัยเกิดเป็นอุปปาติกะโรค ๑๘ จำพวก และกษัยเกิดแต่กองธาตุสมุฎฐาน ๘ จำพวก
.กษัยล้น  ให้ท้องลั่นขึ้นลงข้างขึ้น แดกอกข้างแรม ถ่วงหัวเหน่า  
กษัยรากเพื่อลมร้อง ให้ท้องลั่นให้ตึงทั้งกาย  ร้องครางทั้งวันคืน
กษัยเหล็ก  ให้หัวเหน่าและท้องน้อยแข็งเหมือนหิน   ลามแข็งถึงยอดอก
กษัยดาน ยอดอกแข็งดังศิลา ถูกเย็นไม่ได้ ร้อนค่อยสงบลาม ถึงหัวเหน่า เป็น อติสัย  
กษัยเชือก ตั้งขึ้นแต่หัวเหน่าถึงหัวใจ แข็งดุจเหล็ก ขัดอุจจาระ ปัสสาวะ ดำเป็นมัน(นวดแล้วคลาย)  
. กษัยปลาไหล
หางแทงที่หัวเหน่า   ทวาร หัวแทงตับ,กะเพาะให้ขัดอุจ/ปัส เหลือง แดง  กัดชายตับ ม้าม
กษัยปลาหมอ          มีจิต เกิดลำไส้ ข้างขึ้นกัดชายตับ  ม้าม  ปอด ให้จุกแดก ข้างแรม ลงท้องน้อย หัวเหน่าให้ขัดอุจ

กษัยเต่า เกิดดานเสมหะที่ ชายโครง ซ้าย ขวา(ตับ,ม้าม) เท่าฟองไข่ให้ผิวเนื้อเหลืองเหมือนขมิ้น(คล้ายป้าง)
กษัยปลวก เกิดเพื่อสัณฑะฆาต ในตับ กลับเป็นอีกหลายครั้งให้ผิวเนื้อขาวซีด ผอมแห้ง  คล้ายฝีปลวกแต่ไม่มีหนอง   
๑๐.ลิ้นกระบือ ให้ตับแข็งครั้นแก่เข้า ตัวกษัย   แตกเป็นโลหิต น้ำเหลืองซึมในไส้น้อย,ใหญ่ กลายเป็น มานกษัย แตกแล้วแก้ไม่ได้
๑๑กษัยเสียด เป็นลมตะคริวขึ้นมาแต่แม่เท้า  ปวด   เสียดชายโครงสองข้าง (นวดให้คลายเสียก่อน จึงให้ยากิน)
๑๒. กษัยปู โลหิตคุมกันเหมือนปู ในกะเพาะให้ปวดท้องน้อย กินแล้วหายปวด
๑๓กษัยท้น เกิดเพื่อบริโภคอาหาร  ท้องว่างให้สงบได้อาหารท้นขึ้นยอดอกอาเจียน  แน่นอก ชักกระเพาะข้าวแขวนขึ้น
๑๔. กษัยปลาดุกเกิดที่กระเพาะข้าว สตรีเกิดที่มดลูกให้ท้องใหญ่เหมือนหญิงมีครรภ์
๑๕.กษัยจุก ลมแทงเข้าในเส้นเอ็นจุกแดกนอนคว่ำร้องนอนหงายไม่ได้
๑๖กษัยน้ำ เกิดเพื่อโลหิต  น้ำเหลือง เสมหะ (เรียกกษัยโลหิต)   เกิดกับสตรีใต้สะดือ กับบุรุษเหนือสะดือ ๓ นิ้วปวดถึงยอดอก (คัมภีร์โชตรัต,มุจฉา) ดังฝีปลวก  ผีมะเร็งทรวง(ถ่ายเป็นมูกเลือด
๑๗กษัยเพลิง (เกิดเพื่อ ไฟ สันตัป,ชิร,ปริทัย) บ่าย ให้ตาแดง เจ็บยอดอก มักเป็น ผีมะเร็งทรวง(ถ่ายเป็นมูกเลือด) บวมหน้า,ท้อง  ให้ตัวเย็นร้อนในเหนือสะดือ ๓ นิ้วจับเส้นปัตคาด ปวดขบ เหงื่อตก
๑๘กษัยลม  เกิดเพื่อลม  ๖ จำพวก     ๑.ลมในไส้  เป็นดานกลมเท่าลูกตาล จุกเสียด  แน่นอก   ๒.ลมนอกไส้  ให้เมื่อยขบ แล่นเข้าในกระดูก ๓.ลมทั่วกาย  เหนือสะดือเท่าลูกมะเดื่อ ให้จุก ๔.ลมอุทรวาต   ลมอุธังพัดแค่ยอดอกให้เป็นเม็ดในลำไส้  ให้เป็นผีรวงผึ้ง  ๕.ลมอโธ ลมจากกระหม่อม ถึงปลายเท้า ตันแค่ไหนเจ็บแค่นั้น   เพื่อลม อยู่รอบสะดือ ๔ แห่ง คือเหนือ ใต้ ซ้าย ขวา
กษัยเกิดแต่อุปปาติกะ  ๑๘  จำพวก (ล้น,ราก  ให้ท้องลั่น) (เหล็ก  ดาน เชือก  ให้ท้องแข็ง) (ปลาไหล,ปลาหมอ,เต่า, ปลวก,ลิ้นกระบือ,เสียด  กัด ตับ ม้าม ปอด) (ปู , ปลาดุก  ,ท้น , จุก  กระเพาะข้าวให้ปวดจุก) (น้ำ,ลม,ไฟ  อยู่รอบสะดือ) 
กษัยเกิดแต่กองธาตุสมุฏฐาน    จำพวก(กล่อนดิน  อัณฑะ)(  กล่อนน้ำ  สะดือ)(กล่อนลม  ทรวงอก  )(กล่อนไฟ  ใน
นาภีและทรวงอก)(กล่อนเถา  ในเส้น)
.กล่อนดิน    ให้เป็นก้อนที่หัวเหน่า เลื่อนมาอัณฑะให้ฟกบวม กระทบไม่ได้  เสียวตลอดถึงหัวใจและราวข้าง
.กล่อนน้ำ เกิดเพื่อโลหิต  น้ำเหลือง เสมหะ (เรียกกษัยโลหิต)      เกิดกับสตรีใต้สะดือ กับบุรุษเหนือสะดือให้เจ็บปวดยอดอกดังจะขาดใจ (อาการเหมือนกษัยน้ำ)
.กล่อนลม  เช้าคลาย บ่ายจุก
ขึ้นมาให้ปวดในทรวงอก  
ให้ร้อนในแต่ตัวเย็น กินของ
ร้อนค่อยคลายลง
.กล่อนไฟ  ไฟทั้ง๔ พิการ ตั้งในนาภี,ทรวงอก ให้แน่นอก  ปวดตา  ให้ตาแดง เหงื่อตก บ่ายให้บวมหน้า,หลัง,เท้า  ถ้าบวม ๓ อย่างรักษาไม้ได้
.กล่อนเถา  เพื่อ ลมสัณฑฆาตและปัตคาดหญิงขึ้นซ้าย  ชายขึ้นขวา เข้าในไส้  ให้แข็งขวางอยู่   เสียดชายโครงถึงยอดอก ถ้าอาเจียนอาการค่อยทุเลา ดังฝีปลวก  ผีมะเร็งทรวง เป็นกษัย มูตรแดงติดเหลือง  เกิดเพราะกิน คาวหวานนัก เป็นๆหายๆ ๑๒-๑๓ ปี เป็นมานกษัย
กษัยน้ำ 
.กษัยลม  
.กษัยไฟอาการเหมือนกษัย
ที่เกิดแต่อุปปาติกะ


ยารักษา นารายณ์พังค่าย บดผงละลายน้ำร้อนกิน หนัก ๑ สลึง แก้กษัยดาน กษัยทั้งปวงหายวิเศษนัก

หมายเหตุ ในการอ่านสรุปคัมภีร์ ควรอ่านเนื้อหาในหนังสือทั้งหมดก่อนอย่างน้อย ๑ รอบ แล้วมาอ่านสรุปจะทำให้เข้าใจ 
ภาพรวมทั้งหมดยิ่งขึ้น
ตัวอย่างข้อสอบในคัมภีร์กษัย

1. โรคกระษัยที่เกิดเป็นอุปปาติกะโรค  มีกี่จำพวก
                ก.  8         จำพวก                                                     ข. 18   จำพวก
                ค. 26        จำพวก                                                     ง.ไม่มีข้อใดถูก
2. ข้อใดจัดเป็นกระษัยที่เป็นอุปปาติกะ
                ก. กระษัยลิ้นกระบือ                                               ข. กระษัยจุก
                ค. กระษัยเชือก                                                        ง. ถูกทุกข้อ
3. กระษัยในข้อใด  กระทำให้หัวเหน่าและท้องน้อย แข็งดุจดังแผ่นศิลา  ไว้ไหวตัวไปมามิได้  ครั้นแก่เข้าแข็งลามขึ้นไปถึงยอดอก  ให้บริโภคอาหารมิได้  ปวดขบดังจะขาดใจตาย
                ก. กระษัยจุก                                                           ข. กระษัยเหล็ก
                ค. กระษัยเชือก                                                        ง. กระษัยดาน
4. กระษัยในข้อใด  เกิดเพื่อลมตะคริว  ขึ้นมาแต่หัวแม่เท้า  ให้ปวดขบสะดุ้งทั้งตัว  แล้วขึ้นเสียดที่ชายโครงทั้ง 2 ข้าง ให้ร้องดังจะขาดใจ บางทีให้ขบไปทั่วทั้งตัว  ถ้าจะรักษาให้นวดเสียก่อน  แล้วจึงแต่งยาให้กิน
                ก. กระษัยจุก                                           ข. กระษัยลม
                ค. กระษัยเสียด                                       ง. กระษัยดาน
5.  กระษัยน้ำ  เกิดเพื่ออะไรบ้าง
                ก.  โลหิต                                                 ข.  น้ำเหลือง
                ค.  เสมหะ                                               ง.  ถูกทุกข้อ
6. กระษัยลม  เกิดเพื่อลม 6 จำพวก  คือลมข้อใดบ้าง
                ก.  ลมอโธคมาวาตา                              ข.  ลมอุทรวาต
                ค.  ลมกุจฉิสยาวาตา                                ง.  ถูกทุกข้อ
7. ที่ตั้งของลม  อยู่ที่ใดบ้าง
                ก. ใต้สะดือ                                              ข. เหนือสะดือ
                ค. บนสะดือ                                            ง. ข้อ ก. และ ข้อ ข. ถูก
8. กระษัยในข้อใด  เกิดเพื่อโลหิตลิ่ม  ครั้นแก่ตัวเข้า  แตกออกเป็นโลหิตและน้ำเหลือง  ไหลซึมไปในลำไส้ใหญ่  ไส้น้อย  ให้ไส้พองท้องใหญ่  ได้ชื่อว่า  มานกระษัย  รักษายาก
                ก. กระษัยลิ้นกระบือ                               ข. กระษัยน้ำ
                ค. กระษัยท้น                                          ง. กระษัยล้น
9. กระษัยในข้อใด  มีจิตวิญญาณ  เกิดขึ้นในลำไส้  ข้างขึ้นตัวกระษัยกัดเอาชายตับ  ชายม้าม  และปอด  ให้จุกแดก  ข้างแรม ตัวกระษัยลงท้องน้อยและหัวเหน่า  ให้ขัดอุจจาระ ปัสสาวะ  เจ็บปวด  ร้องครวญคราง ดังจะขาดใจตาย
                ก. กระษัยเต่า                                           ข. กระษัยปลาดุก
                ค. กระษัยปลาหมอ                                 ง. กระษัยปลาไหล
10. กระษัยในข้อใด  เกิดเพื่อสัณฑฆาต  ให้ปวดขบทรวงอก ดังจะขาดใจตาย  เป็นแล้วหายไป 1 เดือน 2 เดือน 3  เดือน  ก็กลับเป็นอีก  ครั้นแก่เข้าให้ผิวขาวซีด  ผอมแห้งลง
                ก. กระษัยเต่า                                           ข. กระษัยปลาดุก
                ค. กระษัยปลาหมอ                                 ง. กระษัยปลวก
11. กระษัยเพลิง  เกิดเพื่อเตโชธาตุ 3 ประการ  มักให้เป็นฝีมะเร็งชนิดใด
                ก. ฝีรวงผึ้ง                                                               ข. ฝีมะเร็งทรวง
                ค. ฝีธนูธรวาต                                                          ง. ฝีปลวก
12. กระษัยอันเกิดแต่กองสมุฏฐานธาตุ 8 จำพวก  จำพวกใดเกิดเพื่อลมสัณฑฆาตและปัตฆาต  แล่นเข้าในลำเส้น  ให้เส้นพองแข็ง  ขวางอยู่หัวเหน่า  มาบรรจบเกลียวข้าง ถ้าผู้ชายขึ้นข้างขวา  ผู้หญิงขึ้นข้างซ้าย
                ก. กระษัยกล่อนดิน                                 ข. กระษัยกล่อนน้ำ
                ค. กระษัยกล่อนลม                                  ง. กระษัยกล่อนเถา
13. ยาแก้กระษัยดาน  และกระษัยทั้งปวง  ใช้ยาตำรับใด
                ก. ยาธรณีสัณฑะฆาต                                             ข. ยาประสะการบูร
                . ยานารายณ์พังค่าย                                              ง. ยาประจุวาโย
ข้อ 14.   กระษัย เป็นกลุ่มอาการของโรคอะไร?
               1.   กลุ่มอาการของโรคมะเร็ง                              2.   กลุ่มอาการของโรคริดสีดวง
               3.   กลุ่มอาการของโรคกระเพาะอาหาร               4.   กลุ่มโรคเรื้อรังเนื่องจากความเสื่อมของร่างกาย
ข้อ
 15.   กระษัยในข้อใดเกิดในลำไส้
               1.   กระษัยเต่า                     2.   กระษัยปลาหมอ
               3.   กระษัยปลาดุก               4.   กระษัยลิ้นกระบือ
ข้อ
 16.   กษัยลม เกิดเพื่อลม 6 จำพวก ตั้งอยู่ 4 แห่ง อยู่อย่างไร ข้อไหนที่ตั้งไม่ถูก
                1.   ใต้สะดือ 1 แห่ง                       2.   เหนือสะดือ 1 แห่ง
                3.   ริมสะดือซ้าย 1 แห่ง                4.   ริมฝีปากขวา 1 แห่ง
ข้อ
 17.   อาการที่ท้องน้อยและหัวเหน่าแข็งดุจแผ่นศิลา เคลื่อนไหวตัวไม่ได้ นานเข้าลามมาถึงยอดอก บริโภคอาหารไม่ได้ ปวดขบดังจะขาด ใจตาย เป็นอาการของกระษัยอะไร
                1.   กระษัยราก                2.   กระษัยเหล็ก
                3.   กระษัยศิลา                4.   กระษัยดาน
ข้อ
 18.    กาฬต่อไปนี้เป็นกาฬอะไร เป็นตั้งแต่ดีลงมาอุจจาระปัสสาวะ เนื้อตัวเหลืองดังขมิ้นทา กระหายน้ำ หอบหายใจขัด ละเมอเพ้อพก 3 วัน จักอาสัญ
                1.   กาฬสิงคลี                2.   กาฬมูตร
                3.   กาฬสูตร                  4.   กาฬพิพิธ
ข้อ
 19.    ตรีสัณฑะฆาต ถ้าบังเกิดแก่ผุ้ใด มักให้มีอาการต่างๆ ถ้าเกิดขึ้นในปอด จะมีอาการอย่างไร
                1.   เจรจาด้วยผี พูดเพ้อเจ้อ คลั่งเพ้อต่างๆ                2.   ลงเป็นโลหิต แล้วเป็นผีเข้าสิง เข้าจำอยู่
                3.   ให้จุกเสียด ท้องเฟ้อ เป็นมาน                            4.   ทำให้กระหายน้ำเป็นอันมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น