วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2557

กำเนิดรสยา 6 รส

ในการใช้ยารักษาโรคของแพทย์แผนไทยนั้น รสชาติของตัวยาถือเป็นหลักการสำคัญอันดับแรกในการพิจารณาตัวยามาใช้รักษาโรค ต่างๆ 

โดยในทางการแพทย์ของอินเดียหรืออยุรเวทซึ่งความความเกี่ยวโยงกับแพทย์แผนไทย ผ่านพระพุทธศาสนา กล่าวไว้ว่า ทุกสิ่งไม่มีสิ่งใดเป็นธาตุแท้ เป็นธาตุผสมทั้งสิ้น ธาตุทั้ง 4 เราเรียกว่า , มหาภูตรูป 4 (มีอากาศธาตุซึ่งหมายถึงที่ว่างอีกธาตุหนึ่งรวมเป็น 5 ธาตุตามแบบอายุรเวท) มาผสมผูกกันทำให้ทรวยะหรือทรัพย์ มีรสต่างๆกัน 6 รสตามกาลเวลา ซึ่งเป็นอนาล็อก  คือฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว จะมีฤดูที่คาบเกี่ยวกันอีก เช่น ร้อนต่อฝน ฝนต่อหนาว หนาวต่อร้อน  รวมแล้วเป็น 6 ฤดู แต่ละฤดูมีอิทธิพลทำให้ธาตุผูกพันกัน เกิดเป็นรส 6 รสและฤดูกาลของโลกเกิดจากการหมุนเวียนของโลกรอบดวงอาทิตย์และการสถิตของ อาทิตย์ในราศีต่างๆ รสทั้งหลายบริโภคแต่พอดีก็เป็นสุข ถ้าไม่เหมาะสมก็จะเกิดโทษ ในคัมภีร์วรโยคสารได้กล่าวถึงยา 6 รสไว้ด้วย

การเกิดรส 6 อย่าง
        1. อาโป กับ เตโช ผูกพันเกิดเป็นทรัพย์ ลวณะ (รสเค็ม)
        2. เตโช กับวาโย ผูกพันเกิดเป็นทรัพย์ กฏุกรส (รสเผ็ด)
        3. ปัถวี กับอากาศ ผูกพันเกิดเป็นทรัพย์ กษายรส (รสฝาด)

4. ปัถวีธาตุ กับเตโช ผูกพันเกิดเป็นทรัพย์ อัมลรส (รสเปรี้ยว)
 5. ปัถวีธาตุ กับอาโป ผูกพันเกิดเป็นทรัพย์ มธุรส (รสหวาน)
 6. วาโย กับอากาศ ผูกพันเกิดเป็นทรัพย์ ติกตะรส (รสขม)

อธิบายได้ดังนี้
ช่วงฤดูศศิระ(ฤดูหนาว)  ลมหนาวพัดมา นำความแห้งมา เกิดความกดอากาศสูง อากาศแห้ง  ธาตุที่ผูกพันกันคือ วาโยกับอากาศธาตุ เกิดเป็นรสขม เป็นรสเบา 
ช่วงฤดูศารทะ (หนาวต่อร้อน )น้ำระเหยขึ้นไปและไอร้อนเริ่มเข้ามา ธาตุที่เกี่ยวเนื่องกันคือ อาโปกับเตโช เกิดเป็นรสเค็ม 
ช่วงฤดูคิมหันต์ (ฤดูร้อน) ความร้อนเข้ามาไอความร้อนลอยขึ้นสู่ข้างบนลมก็พัดเข้ามาแทนที่ ธาตุที่เกี่ยวเนื่องกันคือ เตโชกับวาโย เกิดเป็น รสเผ็ด 
ช่วงฤดูวสันต์ (ร้อนต่อฝน) ลมพัดความร้อนเข้ามา ความชื้นหายไป ดินเริ่มแห้ง เกิดความฝาด ฝืด ธาตุที่เกี่ยวเนื่องกันคือ ปถวีกับอากาศ  ทำให้เกิดรสฝาดซึ่งเป็นรสแห้งรสฝาดจึงช่วยสมาน เป็นต้น

รส 6 อย่างเกิดขึ้นใน 6 ฤดู (ฤดูละ 60 วัน)
       1.รสเค็ม (ลวณะรส) เกิดเด่นในฤดูเริ่มร้อน, ศารท,ฤดูข้าวใหม่ (มกราคม-มีนาคม แรม1ค่ำเดือน2 - ขึ้น 15 ค่ำเดือน4)
       2.รสเผ็ด (กฏุรส) เกิดเด่นในฤดูร้อน, ครีษมฤดู,คิมหันตฤดู  (มีนาคม-พฤษภาคม แรม1ค่ำเดือน4 - ขึ้น 15 ค่ำเดือน6)
       3.รสฝาด (กษายรส) เกิดเด่นในตอนเริ่มฤดูฝน,วสันตฤดู (พฤษภาคม-กรกฎาคม แรม1ค่ำเดือน6 - ขึ้น 15 ค่ำเดือน8)
       4.รสเปรี้ยว (อัมลรส) เกิดเด่นในฤดูฝน,วรษฤดู,วัสสาน, (กรกฎาคม-กันยายน แรม1ค่ำเดือน8 - ขึ้น 15 ค่ำเดือน10)
       5.รสหวาน (มธุรส) เกิดเด่นในฤดูเริ่มหนาว, เหมันตฤดู (กันยายน-พฤศจิกายน แรม1ค่ำเดือน10 - ขึ้น 15 ค่ำเดือน12)
       6.รสขม (ติกตะรส) เกิดเด่นในฤดูหนาว, ศศิรฤดู (พฤศจิกายน-มกราคม แรม1ค่ำเดือน12 - ขึ้น 15 ค่ำเดือน2)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น