วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2557

รสยา

        
รสของเครื่องยาแต่ละชนิด ตามคัมภีร์
  • รสยา รส (ตามคัมภีร์ธาตุวิภังค์)
  • รสยา รส (ตามคัมภีร์วรโยคสาร)
  • รสา รส (ตามคัมภีร์ธาตุวิวรณ์)
  • รสยา รส (ตามคัมภีร์เวชศึกษา) นิยมใช้รสยา รสเป็นหลัก
รสยา 4 รส ในคัมภีร์ธาตุวิภังค์
รสยาฝาด ชาบไปในผิวเนื้อ และเส้นเอ็น
รสยาเผ็ด ชาบไปในผิวหนังทุกเส้นขน
รสยาเค็ม ชาบไปในที่เส้นเอ็นและกระดูกทั่วสรรพางค์กาย
รสยาเปรี้ยว ชาบไปในเนเอ็นทั่วรรพางค์กาย

รสยา 6 รส (ในคัมภีร์วรโยคสาร)
ฤดู 6 ตามคัมภีร์วรโยคสารนี้เป็นฤดูอันแท้จริงของชาวเอเซียรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งในเมืองยุโรปไม่มี รสของผลไม้พันธุ์พฤษชาตินานาชนิด เมืองฝรั่งไม่มี โรคภัยไข้เจ็บตามฤดูเหล่านี้ก็ไม่มี ดังนั้นวิชาแพทย์อายุรเวทหรือแพทย์แผนโบราณของไทย จึงเป็นวิชาที่ควรศึกษาประการหนึ่ง จะเห็นได้ว่าพริกต่างๆอันเป็นรสเผ็ดเกิดมากในฤดูร้อน รสหวานและอาหารอันโอชาต่างๆเกิดในฤดูหนาว รสต่างๆของสิ่งต่างๆย่อมแปรไปบ้างตามการปรุงแต่งของคน เช่นหน้าแล้งรดน้ำ ร้อนมากใช้เครื่องกันแดด รสและผลไม้ย่อมเกิดรสผิดแผกเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามภูมิประเทศบางแห่ง เช่นในที่แจ้ง ที่ร่ม ที่ดอน ที่ลุ่ม
รสยา ๙ รส
      ในยาไทยนอกจากจะมียา 6 รส ตามฤดู 6 แล้วยังเพิ่มรสเมาเบื่อ รส มัน และรสหอมเย็นอีก 3 รส รวมรสของเครื่องยาตามตำราจึงมี 9 รส และ มีรสจืดอีก 1 รส รวมเป็น 10 รส แต่คณาจารย์ก็ยังนิยมเรียกว่ารสยา 9 รสอยู่เช่นเดิม

1. ยารสเค็ม (ลวณะรส) – ซึมซาบไปตามผิวหนัง
2. ยารสเผ็ดร้อน (กฏุกรส) แก้ลม
3. ยารสฝาด (กษายรส) ชอบสมาน
4. ยารสเปรี้ยว (อัมลรส) กัดเสมหะ ฟอกโลหิต
5. ยารสหวาน (มธุรส) ซึมซาบไปตามเนื้อ
6. ยารสขม (ติกตะรส) แก้ทางดีและโลหิต   
7. ยารสเมาเบื่อ แก้พิษ
8. ยารสมัน - แก้เส้นเอ็น
9. ยารสหอมเย็น - บำรุงหัวใจ

สรรพคุณของรสยา 9 รสและแสลงโรค  (ข้อห้าม)   
    1.ยารสเค็ม เช่น เกลือสินเธาว์  ดินประสิว (Sal Peter)  เบี้ยจั่น ตานดำ มะเกลือป่า เกลือสมุทร (เกลือแกง salt) เหงือกปลาหมอ   มักใช้ในตำรับยาแก้โรคทางผิวหนัง ชำระเมือกมันในลำไส้ ฟอกโลหิต ดับพิษร้อน แก้รำมะนาด แก้เสมหะเหนียว แก้น้ำเหลืองเสีย  -ห้ามใช้กับโรค ไตพิการ อุจจาระพิการ โรคบิดมูกเลือด
   2. ยารสเผ็ดร้อน เช่น  ดีปลี พริกไทย  ขมิ้นชัน  ขิง ข่า ไพล กระวาน กานพลู อบเชย สะค้าน ตะไคร้ กระชาย มีสารพวกเรซิน , น้ำมันหอมระเหย ใช้ในตำรับยาแก้โรคลม ขับระดู ขับเหงื่อ บำรุงไฟธาตุ แก้ปวดท้อง ท้องอืด จุกเสียด ช่วยย่อยอาหาร  -ห้ามใช้กับโรค : โรคไอ ไข้พิษ ไข้เพื่อโลหิต 
   3. ยารสฝาด  เช่น ใบฝรั่ง เปลือกผลมังคุด สีเสียดเทศ เปลือกทับทิม เบญกานี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพืชที่สาร แทนนิน (tannin) มักมีฤทธิ์ Antidiarrhea , Astringent  ส่วนใหญ่พบในตำรับยาที่ใช้รักษาอาการท้องร่วง แก้บิด สมานแผล แผลเปื่อย  -ห้ามใช้ในท้องอาการท้องผูก  
   4. ยารสเปรี้ยว   ฝักส้มป่อย มะขาม สมอไทย มะขามป้อม มะขามแขก ซึ่งเป็นพืชที่ประกอบด้วยกรดต่าง ๆ (organic acid)  มักใช้แก้ทางเสมหะ แก้กระหายน้ำ แก้ไอ กัดเสมหะ ฟอกโลหิตระดู สตรี บำรุงเลือด  -ห้ามใช้กับโรค ท้องเสีย แก้ไข้ต่างๆ
5.ยารสหวาน  เช่น ชะเอมเทศ   ชะเอมไทย   น้ำตาลกรวด  น้ำตาลทรายแดง  หญ้าหวาน อ้อยช้าง  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพืชที่สารกลุ่ม คาร์โบไฮเดรต (น้ำตาลกลูโคส) ส่วนใหญ่พบในตำรับยาบำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย  -ห้ามใช้กับโรค เบาหวาน, น้ำเหลืองเสีย ทำให้แผลชื้น
    6.ยารสขม เช่น   บอระเพ็ด  โกฐกะกลิ้ง ยาดำ ฟ้าทะลายโจร ดีบัว ขี้เหล็ก  ระย่อม บวบขม กะดอม มีสารในกลุ่มของกลัยโคไซด์ และอัลคาลอยด์  มีฤทธิ์Antipyretic มักใช้ในยา แก้ไข้ เจริญอาหาร แก้ร้อนใน บำรุงน้ำดี ช่วยย่อยอาหาร  -ห้ามใช้กับโรค โรคลมในลำไส้ จุกเสียดแน่น โรคหัวใจ

   7. ยารสเมาเบื่อ  เช่น สะแกนา สลอด มะเกลือ หัวข้าวเย็น กลอย ขันทองพยาบาท(มะดูก) หนอนตายอยาก ทองพันชั่ง  ส่วนใหญ่มีสารในกลุ่มของกลัยโคไซด์ และอัลคาลอยด์ ส่วนใหญ่มีฤทธิ์ Antidote , Anticancer, Anthelmentic มักใช้ในยาแก้พิษต่างๆ ขับพยาธิ แก้โรคมะเร็ง  -ห้ามใช้กับโรค ไอ หัวใจพิการ
   8.  ยารสมัน เช่น  เมล็ดบัว แห้วหมู หัวกระเทียม  ผักกะเฉด เมล็ดถั่วเขียว  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพืชที่สาร สารกลุ่ม ไขมัน (Lipid) น้ำมัน (Fixed oil) โปรตีน, กลัยโคไซด์ กลุ่ม saponin และ flavonoid บางชนิด มีฤทธิ์ Tonic มักนำมาใช้ในตำรับยายาบำรุงเส้นเอ็น, บำรุงข้อ เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ปวดเมื่อย  -ห้ามใช้กับโรค หอบ ไอ มีเสมหะ มีไข้ กระหายน้ำ
   9. ยารสหอมเย็น เช่น   มะลิ  สารภี พิกุล 4. บุนนาค เกสรบัวหลวง เปลือกชะลูด เตยหอม ส่วนใหญ่มีสารกลัยโคไซด์ ในกลุ่ม coumarin, cardiac glycosides ส่วนใหญ่มีฤทธิ์ Cardiotonic  มักใช้ในตำรับยาบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต แก้อ่อนเพลีย  -ห้ามใช้กับโรค ธาตุพิการ ลมป่วง ดีซ่าน ร้อนใน กระหายน้ำ
**ในตำรา เวชศึกษาจัดรสยาเพิ่มอีก 1 รส คือ ยารสจืด ใช้สำหรับ แก้ในทางเตโช ขับปัสสาวะ ดับพิษร้อน แก้ไข้

ขอขอบคุณข้อมูล - แพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น