วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2557

สรุปประวัติการแพทย์แผนไทย


ประวัติการแพทย์แผนโบราณ
เริ่มมีการบันทึกตั้งแต่สมัยพุทธกาล มีชายผู้หนึ่งสนใจวิชาแพทย์ ชื่อ ชีวกโกมารภัจจ์ จึงได้ไปศึกษาวิชาแพทย์ที่สำนักทิศาปาโมกข์ในเมืองตักศิลาจนจบได้อย่างรวดเร็วและสามารถผู้ป่วยครั้งเดียวหาย ครั้งหนึ่งพระเจ้าพิมพิสาร ทรงพระประชวรเป็นโรคพระคันทละ(ริดสีดวง) ทรงโปรดให้หมอชีวกมารภัจจ์ถวายการรักษา ซึ่งรักษาครั้งเดียวหาย พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงโปรดให้เป็นแพทย์หลวง
ประวัติการแพทย์แผนไทย
ประมาณปี พ.ศ. ๑๗๒๕ ๑๗๒๙ - สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงสร้างสถานพยาบาล เรียกว่า อโรคยาศาลา มีผู้ทำหน้าที่ในสถานพยาบาลรวม 92 คน มีพิธีกรรมบวงสรวง พระไภสัชยคุรุไวทูรย์ ด้วยยาและอาหารก่อนแจกจ่ายให้ผู้ป่วย
-ในสมัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงสร้างสวนสมุนไพรบนเขาหลวงหรือ เขาสรรพยา เพื่อให้ประชาชนได้เก็บสมุนไพรไปใช้รักษาโรคยามเจ็บป่วย
-สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีการรวบรวมตำรับยาต่างๆขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกว่า ตำราพระโอสถพระนารายณ์
สมัยต้นรัตนโกสินทร์
สมัยรัชกาลที่ ๑  ทรงให้รวบรวมและจารึกตำรายาและฤาษีดัดตน ตำราการนวดไทยไว้ตาม ศาลาราย มีการจัดตั้งกรมหมอ หมอหลวง หมอราษฎร หรือหมอเชลยศักดิ์
สมัยรัชกาลที่ ๒ ในปี พ.ศ. ๒๓๕๙ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎหมายชื่อว่า ?กฎหมายพนักงานพระโอสถถวาย?
สมัยรัชกาลที่ ๓  ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดตั้ง โรงเรียนวิทยาลัยการแพทย์แผนโบราณวัดโพธิ์ มีการบันทึกตำรับยาต่างๆ บนหินอ่อนประดับไว้ตามผนังโบสถ์ ศาลา บนผนังเสาและกำแพงวิหารคด ทรงให้ปั้นรูปฤๅษีดัดตนในท่าต่างๆ
สมัยรัชกาลที่ ๔  นำการแพทย์แผนตะวันตกมาใช้
สมัยรัชกาลที่ ๕ ปี พ.ศ. ๒๔๓๑ จัดตั้งศิริราชพยาบาล พระยาพิษณะประสาทเวชได้จัดทำตำราชื่อแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม ๑ ๔ 
                   - ปี พ.ศ. ๒๔๓๑ จัดตั้งศิริราชพยาบาล มีการเรียนการสอน การรักษา ทั้งการแพทย์แผนไทยและแผนตะวันตกร่วมกัน
                   - มีการพิมพ์ตำราแพทย์สำหรับใช้ในโรงเรียนแพทย์ เป็นครั้งแรก ในปี?พ.ศ. ๒๔๓๘ ชื่อตำรา แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม ๑ – ๔ เป็นตำราแห่งชาติฉบับแรก
                   - ต่อมาพระยาพิษณุประสาทเวช เห็นว่าตำรานี้ยากแก่ผู้ศึกษา จึงพิมพ์ตำราขึ้นใหม่ ได้แก่ ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับหลวง ๒ เล่ม และตำราแพทย์ศาสตร์สังเขป(เวชศึกษา) ๓ เล่ม
สมัยรัชกาลที่ ๖  สั่งยกเลิกวิชาการแพทย์แผนไทย ประกาศให้ใช้พระราชบัญญัติการแพทย์ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ
สมัยรัชกาลที่ ๗  ตรากฎหมายเสนาบดี การประกอบโรคศิลปะแบ่งออกเป็นแผนปัจจุบันและแผนโบราณ
สมัยรัชกาลที่ ๘  มีการตั้งกระทรวงสาธารณสุข ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๕
สมัยรัชกาลที่   ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ จัดตั้งสมาคมของโรงเรียนแพทย์แผนโบราณที่วัดโพธิ์ ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ก่อตั้งโรงเรียนอายุรเวทวิทยาลัย



****การสรุปเป็นการย่อคัมภีร์ซึ่งมีเนื้อหาจำนวนมาก ให้กระชับใจความ เพื่อง่ายต่อการจดจำและนำไปสอบฉะนั้น ควรอ่านเนื้อหาทั้งหมดในหนังสือก่อน จะทำให้ง่ายต่อการเข้าใจและจดจำ****

หมายเหตุ ในการอ่านสรุป ควรอ่านเนื้อหาในหนังสือทั้งหมดก่อนอย่างน้อย ๑ รอบ แล้วมาอ่านสรุปจะทำให้เข้าใจ ภาพรวมทั้งหมดยิ่งขึ้น
ตัวอย่างข้อสอบประวัติการแพทย์แผนไทย
1.  ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล โดยการสร้างสถานพยาบาล เรียกว่า อโรคยาศาลา และมีผู้ทำ หน้าที่รักษาพยาบาล ได้แก่ หมอ พยาบาล เภสัชกร รวมกี่คน
                1.  90                                       2.  91                                       3.  92                                       4.  93
2.  ผู้ที่ได้ทรงตรากฎหมายเสนาบดี แบ่งการประกอบโรคศิลปะออกเป็นแบบปัจจุบัน และโบราณคือ
                1.  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว          2.  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
                3.  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว        4. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
3.  ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับเหตุการณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ยกเว้น...
1.   มีการจัดตั้งกรมหมอโดยเรียกหมอที่รับราชการว่าหมอหลวง
2.   มีการจัดตั้งวิทยาลัยแพทย์แผนโบราณวัดโพธิ์
3.   นำตำรับยาต่างๆ ที่มีสรรพคุณดีและเชื่อถือได้มาบันทึกไว้บนหินอ่อน ณวัดโพธิ์
4.   ทรงให้ปั้นรูปฤาษีดัดตนในท่าทางต่างๆ เพื่อเป็นนิทรรศการแก่ผู้ประสงค์จะฝึกตนเป็นแพทย์
4.  พระยาพิษณุประสาทเวช เห็นว่าตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 1-4 ยากแก่ผู้ศึกษา  จึงได้พิมพ์ตำราขึ้นใหม่ได้แก่ตำราใดบ้างต่อไปนี้...
1.   ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง 1 เล่ม และตำราแพทย์ศาสตร์สังเขป 3 เล่ม
2.   ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง 2 เล่ม และตำราแพทย์ศาสตร์สังเขป 2 เล่ม
3.   ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง 2 เล่ม และตำราแพทย์ศาสตร์สังเขป 3 เล่ม
4.   ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง 3 เล่ม และตำราแพทย์ศาสตร์สังเขป 1 เล่ม
5.   ข้อใดกล่าวผิด ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมี  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (ยกเว้น)
1.   มีการจัดตั้งศิริราชพยาบาล
2.   มีการจัดพิมพ์ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
3.   มีการสั่งยกเลิกวิชาการแพทย์แผนไทย
4.   มีการตรากฎหมายเสนาบดีเกิดขึ้น
6.  ข้อใดผิดเกี่ยวกับกฎหมายเสนาบดี   ยกเว้น.....
1.  ให้เรียกหมอที่รับราชการว่าหมอหลวง  เรียกหมอที่ไม่ได้รับราชการว่าหมอราษฎร
2.  ตราขึ้นเพื่อควบคุมการประกอบโรคศิลปะในสาขาต่างๆ
3.  เป็นกฎหมายที่แบ่งการประกอบโรคศิลปะออกเป็นแผนปัจจุบันและแผนโบราณ

4  เป็นกฎหมายที่สั่งให้ยกเลิกวิชาการแพทย์แผนไทยในปีพ.ศ.2546
7.   บรมครูชีวกโกมารภัจจ์จึงมีความสนใจในวิชาแพทย์เพราะ
1.  เพราะเป็นศาสตร์ระดับสูงสุดในประเทศอินเดีย             
2.   เพราะเป็นวิชาที่ประกอบอาชีพไม่เบียดเบียนผู้ใด
3.   เพราะมีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับสมุนไพรอยู่ก่อนแล้ว
4.   เพราะเห็นผู้ที่ทุกข์ทรมานจากการเป็นโรคต่างๆ มามาก
8.  ข้อใดกล่าวถูก   เหตุการณ์สำคัญในที่เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่คือ
1. ทรงสร้างสถานพยาบาลที่เรียกว่าอโรคยศาลา              
2.   มีพิธีกรรมบวงสรวงพระไภสัชยคุรุไวทูรย์ด้วยน้ำและยาก่อนแจกจ่ายให้ผู้ป่วย
3.   การแพทย์แผนไทยรุ่งเรืองมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเภสัชกรรมไทย
4.   มีการรวบรวมตำรับยาต่างๆ ขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การแพทย์แผนไทย
9.  ข้อใด  ถูก  เกี่ยวกับเหตุการณ์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ยกเว้น.....
1.   มีการค้นพบหินบดยาสมัยทวาราวดีและหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช           
2.   มีระบบการจัดหายาที่ชัดเจนสำหรับประชาชน
3.   มีการรวบรวมตำรับยาต่างๆ ขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การแพทย์แผนไทย
4.   การแพทย์แผนไทยรุ่งเรืองมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการนวดไทย
10.  ในรัชสมัยรัชการใดที่มีการจารึกตำรายาและภาพ  ฤาษีดัดตน  และตำราการนวดไทยไว้ตามศาลาราย
ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
1.   พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช    
2.  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
3.   พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
4.   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
11.    เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
                1.   โปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎหมายชื่อว่ากฎหมายพนักงานพระโอสถถวาย        
                2.   มีการจัดตั้งกรมหมอ  และเรียกหมอที่รับราชการว่าหมอหลวง
                3.   มีการจัดตั้งวิทยาลัยแพทย์แผนโบราณวัดโพธิ์
                4.   ได้นำการแพทย์แผนตะวันตกมาใช้มากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น