“อายุรเวท” มาจากภาษาสันสกฤต คือ
อายุส หมายถึง ชีวิต การมีชีวิตหรือช่วงเวลาแห่งการมีชีวิต เวท
หมายถึง ศาสตร์แห่งชีวิตที่สืบต่อดังกระแสธารแห่งความรู้ รวมกันจึงเป็น ศาสตร์ของการมีชีวิตที่ยืนยาว
อายุเวท เป็นอิทธิพลที่มาจากศาสนาฮินดู ซึ่งเชื่อว่าร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยธาตุ 5 หรือที่เรียกว่า ปัญจมหาภูตะ ได้แก่ ลม ไฟ น้ำ ดิน อากาศ
การเกิดขึ้นของธาตุทั้ง 5 ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู อธิบายว่า “เอกภาพนั้นประกอบด้วยจิตสำนึกที่ไร้รูป เป็นจุดรวมของจิตสำนึกทั้งมวล จากนั้นคลื่นความสั่นที่ละเอียดมากของเสียงที่ใช้โอมหรืออาค (Aum,Ak) ปรากฏขึ้น จากการสั่นสะเทือนอันนั้นมีความว่างเปล่าเกิดขึ้น คือ อากาศ เป็นสิ่งพื้นฐานลำดับแรก จากนั้นความว่างก็เริ่มเคลื่อนไหวอย่างละเอียดและเพิ่มมากขึ้น เกิดภาวะของลม เป็นพื้นฐานเพิ่มขึ้นอีกลำดับหนึ่ง นั่นก็คือความว่างหรืออากาศ ในขณะที่มีการกระทำจากการเคลื่อนไหวของอากาศ เกิดมีการเสียดสีกันขึ้นทำให้เกิดความร้อน ความร้อนที่เกิดขึ้นแสดงออกมาเป็นไฟ เป็นสิ่งพื้นฐานขึ้นมาอีก จากความร้อนของไฟฟ้าทำให้ส่วนประกอบบางอย่างในอากาศได้ถูกทำลาย และกลายเป็นของเหลวปรากฏเป็นน้ำ เป็นสิ่งพื้นฐานขึ้นมาอีก เมื่อน้ำเกิดมีการเปลี่ยนแปลงคือแข็งตัวขึ้น เกิดเป็นอณูของดิน เป็นสิ่งพื้นฐานขึ้นมาอีก จากพื้นฐานดินและสิ่งมีชีวิตทั้งหลายก็บังเกิดขึ้นเป็นอาณาจักรพืช สัตว์ และมนุษย์ ดินยังมีสิ่งที่ไร้ชีวิตต่างๆ เช่น แร่ธาตุประกอบอยู่มากมาย ฉะนั้นครรภ์ของสิ่งพื้นฐานทั้ง 5 จึงมีอยู่ในสรรพสิ่งในเอกภาพนี้ และเป็นปฐมกำเนิดจากจิตสำนึกแห่งเอกภาพ ฉะนั้นวัตถุและพลังงานเป็นสิ่งเดียวกันนั่นเอง”
อายุเวท เป็นอิทธิพลที่มาจากศาสนาฮินดู ซึ่งเชื่อว่าร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยธาตุ 5 หรือที่เรียกว่า ปัญจมหาภูตะ ได้แก่ ลม ไฟ น้ำ ดิน อากาศ
การเกิดขึ้นของธาตุทั้ง 5 ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู อธิบายว่า “เอกภาพนั้นประกอบด้วยจิตสำนึกที่ไร้รูป เป็นจุดรวมของจิตสำนึกทั้งมวล จากนั้นคลื่นความสั่นที่ละเอียดมากของเสียงที่ใช้โอมหรืออาค (Aum,Ak) ปรากฏขึ้น จากการสั่นสะเทือนอันนั้นมีความว่างเปล่าเกิดขึ้น คือ อากาศ เป็นสิ่งพื้นฐานลำดับแรก จากนั้นความว่างก็เริ่มเคลื่อนไหวอย่างละเอียดและเพิ่มมากขึ้น เกิดภาวะของลม เป็นพื้นฐานเพิ่มขึ้นอีกลำดับหนึ่ง นั่นก็คือความว่างหรืออากาศ ในขณะที่มีการกระทำจากการเคลื่อนไหวของอากาศ เกิดมีการเสียดสีกันขึ้นทำให้เกิดความร้อน ความร้อนที่เกิดขึ้นแสดงออกมาเป็นไฟ เป็นสิ่งพื้นฐานขึ้นมาอีก จากความร้อนของไฟฟ้าทำให้ส่วนประกอบบางอย่างในอากาศได้ถูกทำลาย และกลายเป็นของเหลวปรากฏเป็นน้ำ เป็นสิ่งพื้นฐานขึ้นมาอีก เมื่อน้ำเกิดมีการเปลี่ยนแปลงคือแข็งตัวขึ้น เกิดเป็นอณูของดิน เป็นสิ่งพื้นฐานขึ้นมาอีก จากพื้นฐานดินและสิ่งมีชีวิตทั้งหลายก็บังเกิดขึ้นเป็นอาณาจักรพืช สัตว์ และมนุษย์ ดินยังมีสิ่งที่ไร้ชีวิตต่างๆ เช่น แร่ธาตุประกอบอยู่มากมาย ฉะนั้นครรภ์ของสิ่งพื้นฐานทั้ง 5 จึงมีอยู่ในสรรพสิ่งในเอกภาพนี้ และเป็นปฐมกำเนิดจากจิตสำนึกแห่งเอกภาพ ฉะนั้นวัตถุและพลังงานเป็นสิ่งเดียวกันนั่นเอง”
“ติกิจฉา”
มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลี หมายถึงการเยียวยา การรักษา การบำบัดโรคและเวชกรรม
ในพุทธศาสนา เชื่อว่าร่างกายประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 คือ
ดิน น้ำ ลม ไฟ ดังในพระไตรปิฎกทีฆนิกาย มหาวรรค สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุย่อมพิจารณาการตั้งอยู่ตามที่ตั้งอยู่ตามปกตินี่แล โดยความเป็นธาตุว่า อยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม”
เมื่อธาตุทั้ง 4 มาประชุมกันอย่างถูกสัดส่วนก็เกิดพันธุ์มนุษย์ สัตว์ และต้นไม้ขึ้นมา ธาตุดังกล่าวนั้นมีการเกิดขึ้น การเปลี่ยนแปรและการเสื่อมสลายในที่สุด
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุย่อมพิจารณาการตั้งอยู่ตามที่ตั้งอยู่ตามปกตินี่แล โดยความเป็นธาตุว่า อยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม”
เมื่อธาตุทั้ง 4 มาประชุมกันอย่างถูกสัดส่วนก็เกิดพันธุ์มนุษย์ สัตว์ และต้นไม้ขึ้นมา ธาตุดังกล่าวนั้นมีการเกิดขึ้น การเปลี่ยนแปรและการเสื่อมสลายในที่สุด
ในตำราการแพทย์แผนไทยดั้งเดิมนั้น ไม่มีคำว่าอายุรเวทปรากฏอยู่เลย
และกล่าวถึงธาตุว่ามีเพียง 4 ธาตุเท่านั้น
ซึ่งตำราแพทย์แผนไทยนำปรัชญาและแนวคิดมาจากพระไตรปิฎกในพุทธศาสนา
และพระคัมภีร์วรโยคสารมีกล่าวถึงคำว่า ติกิจฉา เช่น
“...กล่าวมาด้วยสรรพคุณติกิจฉาวิธี” หรือ “...ลำดับนี้จะกล่าวด้วยอันนะปานะวิธีติกิจฉา...” เป็นต้น
กล่าวได้ว่าพระคัมภีร์วรโยคสาร เป็นบทไขปริศนาปรัชญาการแพทย์แผนไทย ว่ามาจากความเชื่อในพุทธศาสนา และเป็นแนวคิดแบบติกิจฉา ซึ่งมีรายละเอียดจากเรื่องเภสัชชขันธกะ และเรื่องพรรณนาวังติสาการ
“...กล่าวมาด้วยสรรพคุณติกิจฉาวิธี” หรือ “...ลำดับนี้จะกล่าวด้วยอันนะปานะวิธีติกิจฉา...” เป็นต้น
กล่าวได้ว่าพระคัมภีร์วรโยคสาร เป็นบทไขปริศนาปรัชญาการแพทย์แผนไทย ว่ามาจากความเชื่อในพุทธศาสนา และเป็นแนวคิดแบบติกิจฉา ซึ่งมีรายละเอียดจากเรื่องเภสัชชขันธกะ และเรื่องพรรณนาวังติสาการ
ที่มา :ประทีป ชุมพล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น