วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

“ธรรมะพักใจ”

การปฏิบัติตนในเบื้องต้นของชาวพุทธ 

การฝึกปฏิบัติตามวัฒนธรรมชาวพุทธ คือ ฝึกเพื่อละจากความชั่ว แล้วตั้งอยู่ในคุณธรรมความดี ยังจิตของตนให้ผ่องใสอยู่เสมอ  และในท่ามกลางที่เศรษฐกิจและสังคมที่มีแต่ความตึงเครียด ธรรมะถือว่าเป็นที่พักใจได้...

ธรรมะพักใจ จะขอแนะนำการปฏิบัติตนในเบื้องต้นของชาวพุทธ ซึ่งควรมีการปฏิบัติตนให้เหมาะสม ดังนี้
          1.การให้ทาน
          2.การถือศิล
          3.การศึกษาธรรมะ



การให้ทาน
          การให้ทาน ได้แก่ การสละทรัพย์สิ่งของสมบัติของตนที่มีอยู่ให้แก่ผู้อื่น  โดยมุ่งหวังจะจุนเจือให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์ และความสุขด้วยความเมตตาจิตของตน ทานที่ได้ทำไปนั้น จะทำให้ผู้ทำทานได้บุญมากหรือน้อยเพียงใด  ย่อมสุดแล้วแต่องค์ประกอบ 3 ประการ ถ้าประกอบถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบทั้ง 3 ประการต่อไปนี้แล้ว ทานนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญบารมีมาก กล่าวคือ
       - องค์ประกอบข้อที่ 1 “วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์
         วัตถุทานที่ให้ ได้แก่ สิ่งของทรัพย์สมบัติที่ตนได้สละให้เป็นทานนั้นเอง  จะต้องเป็นของที่บริสุทธิ์ได้จะต้องเป็นสิ่งของที่ตนเองได้แสวงหา  ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ในการประกอบอาชีพ   ไม่ใช่ของที่ได้มาเพราะการเบียดเบียนผู้อื่น เช่น ได้มาโดยยักยอก ทุจริต ลักทรัพย์  ฉ้อโกง ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ฯลฯ ผู้อื่น
       - องค์ประกอบที่ข้อ 2 “เจตนาในการสร้างทานต้องบริสุทธิ์
         การให้ทานนั้น  โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงก็เพื่อเป็นการขจัดความโลภความตระหนี่เหนียวแน่น  ความหวงแหนลงใหลในทรัพย์สมบัติของตน   อันเป็นกิเลสหยาบ คือ โลภกิเลสและเพื่อเป็นการสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขด้วย  เมตตาธรรมของตน        อันเป็นบันไดก้าวแรกในการเจริญเมตตาพรหมวิหารธรรมในพรหมวิหาร 4 ให้เกิดขึ้น ถ้าได้ให้ทานด้วยเจตนาดังกล่าวแล้ว เรียกว่าเจตนาในการทำทานบรฺสุทธิ์
       - องค์ประกอบข้อที่ 3 “เนื้อนาบุญต้องบริสุทธิ์
         คำว่า เนื้อนาบุญในที่นี้ได้แก่ บุคคลผู้รับการทำทานของผู้ทำทานนั้นเอง นับว่าเป็นองค์ประกอบข้อที่สำคัญที่สุด แม้ว่าองค์ประกอบในการทำทานข้อที่ 1 และข้อที่ 2 จะงามบริสุทธิ์ครบถ้วนดีแล้ว  กล่าวคือวัตถุที่ทำทานนั้นเป็นของที่แสวงหาได้มาด้วยความบริสุทธิ์ เจตนาในการทำทานก็งามบริสุทธิ์  แต่ตัวผู้ที่ได้รับการทำทานเป็นคนที่ไม่ดี ไม่ใช่ผู้ที่เป็นเนื้อนาบุญที่บริสุทธิ์ เป็นเนื้อนาบุญที่เลว ทานที่ทำไปนั้นก็ไม่ผลิดอกออกผล


การถือศีล
       “ศิลนั้นแปลว่า ปกติคือ สิ่งหรือกติกาที่บุคคลจะต้องระวังรักษากาย วาจา ใจ ไม่ให้ทำร้ายผู้ใดหรือสัตว์ใด จนเกิดความลำบากเดือดร้อนหรือล้มตาย โดยรักษาตามเพศและฐานะ ศีลนั้นมีหลายระดับคือ ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีล 227 และศีล 311 การถือศิลนี้เป็นการเพียรพยายามเพื่อระงับกิเลสหยาบมิให้กำเริบขึ้น และเป็นการบำเพ็ญบุญบารมีที่สูงขึ้นกว่าการให้ทาน ในเบื้องต้นโดยทั่วไป เราควรมีศีล 5 ซึ่งเป็นคุณธรรมที่เป็นปกติของมุนษย์ที่จะต้องทรงไว้ให้ได้ตลอดไป ดังนั้นบุคคลที่ไม่มีศีล 5 ไม่เรียกว่ามนุษย์
             * ศีลข้อที่ 1 ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
             * ศีลข้อที่ 2 ไม่ฉ้อโกงลักขโมย
             * ศีลข้อที่ 3 ไม่ประพฤติผิดลูกเมีย-ผัว ผู้อื่น
             * ศีลข้อที่ 4 ไม่โกหกหลอกลวง
             * ศีลข้อที่ 5 ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดของมึนเมาให้โทษ
การรักษาศีลทำได้ 2 วิธี คือ
           การอธิษฐานศีล คือ การตั้งใจด้วยตัวเองว่าจะรักษาศีลให้บริสุทธิ์บริบรูณ์
           การสมาทานศีล คือ การรับศีลจากพระภิกษุสงฆ์
           การรักษาศีลควรเลือกปฏิบัติตามความหเมาะสม อย่าให้เกิด เป็นความยึดติดรูปแบบ จนชีวิตดูอึดอัดแปลกปยกจากครอบครัวและสังคมที่เราอยู๋ ให้สอดคล้องกลมกลืนไปกับธรรมชาติ การดำเนินชีวิต และการใช้ชีวิตในสังคมแต่ก็ไม่ควรปล่อยปละจนกลายเป็นไม่เห็นความสำคัญของศีลเลย


การศึกษาธรรมะ
           ธรรมะที่องค์พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงนั้น   มีทั้งธรรมะในเบื้องต้น  ธรรมะในระดับกลาง  และธรรมะขั้นสูงสุด  ซึ่งการที่เราจะเข้าใจธรรมะขั้นใดนั้น   ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง  โดยถึงแม้เรายังไม่สามารถเข้าใจธรรมะในขั้นสูงสุดได้  แต่เราก็สามารถเข้าใจธรรมะในขั้นกลางหรือเบื้องต้นได้ทั้งนั้น
           ดังนั้นเราจึงไม่สามารถที่จะอ้างได้ว่าเราไม่ทำการศึกษาธรรมะ  เพราะยังไม่เข้าใจธรรมะได้เลย
           ธรรมะที่เป็นหลักใหญ่ในพระพทธศาสนา คือ อริยสัจ 4 คือ ความจริง 4 ประการ ซึ่งได้แก่
             * ทุกข์   ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ซึ่งมีเป็นธรรมดาของชีวิตและความเศร้าโคก  ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย  ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ  ซึ่งมีแก่จิตใจและร่างกายเป็นครั้งคราว   ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักที่พอใจ           ความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ  มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น  ซึ่งก็คืออุปทานขันธ์ทั้ง 5 นั่นเอง
             * สมุทัย   เหตุให้เกิดทุกข์  ได้แก่ ตัณหา  ความดิ้นรน  ทะยานอยากของจิตใจ คือ ดิ้นรนทะยานอยาก  เพื่อที่จะได้สิ่งปรารถนาอยากได้  ดิ้นรนทะยานอยากเพื่อจะเป็นอะไรต่างๆ ดิ้นรนทะยานอยากที่จะไม่เป็นภาวะที่ไม่ชอบต่างๆ
             * นิโรธ   ความดับทุกข์  ได้แก่  ดับตัณหา  ความดิ้นรนทะยานอยากดังกล่าว
             * มรรค   ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์  ได้แก่  ทางมีองค์ 8 คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ เพียรพยายามชอบ สติชอบ ตั้งใจชอบ

        ดังนี้  จะเห็นได้ว่า  ธรรมะที่องค์พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสแสดงไว้นั้น เป็นความจริงทุกประการ  แต่การที่เราจะ   เข้าใจได้ทั้งหมดนั้น  ไม่ใช่เรื่องง่าย การที่เราศึกษาธรรมะ  ก็เป็นการทำเพื่อพัฒนาจิตใจของเราให้ดียิ่งขึ้นจนถึงกระทั่งสามารถที่จะเข้า ใจหลักธรรมะของพระองค์ได้จนกระทั่งเข้าสู่จุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนา นั่นก็คือ นิพพานนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น