วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ไตรสิกขา



ไตรสิกขา ประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา
หลังจากมีการให้ทาน ถือศีล และศึกษาธรรมะเป็นรากฐานแล้ว ขั้นต่อไปคือไตรสิกขานี้มีไว้เพื่อดับทุกข์
ท่านพุทธทาสภิกขุกล่าวไว้ในหนังสือ คู่มือมนุษย์ (สนพ.สุขภาพใจ, ๒๕๔๙ หน้า ๑๓ ๔๔ และ ๑๐๑ ๑๓๐) ว่า เมื่อมีศีลธรรมดีแล้ว ปัญหายังคงมีเหลืออยู่ว่า คนนั้นยังไม่พ้นทุกข์ ไม่พ้นจากการเบียดเบียนของกิเลสโดยเฉพาะคือ   โลภะ โทสะ โมหะเรื่อง ศีล และ ธรรม ทั้งหมดนี้ มีความมุ่งหมายให้เกิดผลเพียงเป็นอยู่อย่างสงบเรียบร้อยของสังคมทั่วไป และเป็นความผาสุกขั้นต้นๆ อันเป็นวิสัยของปุถุชน   มิได้หมายสูงพ้นขึ้นไปถึงการดับทุกข์ หรือตัดกิเลสเด็ดขาดสิ้นเชิง จนเป็นพระอริยเจ้าพระพุทธศาสนามีหลักปฏิบัติให้คนไปไกลกว่าเรื่องศีลธรรม ไปไกลจนถึงกับสามารถกำจัดความหม่นหมองทุกชนิด ที่เหลือวิสัยที่ศีลธรรมจะกำจัดได้ เช่น ความยุ่งยากใจเป็นส่วนตัว ความทุกข์ในใจอันเกิดจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย และกิเลสชั้นละเอียด ซึ่งไม่อยู่ในวิสัยที่ศีลธรรมทั้งหลายจะช่วยกำจัดให้ได้ จะพ้นทุกข์ได้ก็ต้องปฏิบัติตามหลัก ไตรสิกขา อันประกอบด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งสรุปโดยย่อได้ดังนี้
               คำ สิกขา เป็นภาษาบาลี เป็นคำเดียวกับคำ ศึกษา ในภาษาสันสกฤต คำ ศึกษา ในทางธรรม ไม่ได้หมายถึงการเล่าเรียน ท่องตำราความรู้อย่างที่เข้าใจกันในทางโลก แต่หมายถึงการลงมือปฏิบัติที่เป็นการอบรมกาย วาจา ใจ โดยตรง คือ อบรมตนเองให้เปลี่ยนจากลักษณะหนึ่งไปสู่อีกลักษณะหนึ่ง ตามที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ยิ่งขึ้นไป
               คำ ไตร แปลว่า สาม ไตรสิกขา ประกอบด้วย สิกขา ๓ ได้แก่ สีลสิกขา สมาธิสิกขา และปัญญาสิกขา  บางทีก็ใช้คำว่า ศีล-สมาธิ-ปัญญา   ไตรสิกขานี้มีไว้เพื่อดับทุกข์
               สีลสิกขา เป็นสิกขาชั้นแรกสุด สีลสิกขา แปลว่า สิ่งที่ควรศึกษาหรือควรอบรมที่เป็นชั้นศีล  แม้จะมีการจำแนกไว้เป็น  ศีล ๕  ศีล ๘  หรือ ศีล ๒๒๗  และอื่น ๆ อีกเป็นอันมากก็ตาม  แต่รวมใจความแล้ว  ก็อยู่ตรงที่เป็นการปฏิบัติเพื่อความปรกติสงบเรียบร้อย  ปราศจากโทษชั้นต้นๆ  ที่เป็นไปทางกาย ทางวาจา ทั้งที่เกี่ยวกับสังคม หรือส่วนตัว หรือสิ่งของต่างๆ  ที่จำเป็นแก่การเป็นอยู่   ศีลช่วยให้คนอยู่อย่างผาสุก ไม่มีเรื่องรบกวน แต่อานิสงส์ที่สำคัญที่สุดของศีลอยู่ที่การเป็นบาทฐานที่งอก ที่เกิด ที่เจริญสมาธิ   สีลสิกขาจึงเป็นการตระเตรียมเบื้องต้นให้เป็นผู้อยู่ในโลกด้วยลักษณะที่สะอาดบริสุทธิ์ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดสมาธิในขั้นต่อไปได้ง่าย ถ้ามีเรื่องรบกวนมากก็ยากที่จะเกิดสมาธิ
               สมาธิสิกขา เป็นสิกขาชั้นที่ ๒ ที่สูงขึ้นไปอีก  ได้แก่การที่ผู้นั้นสามารถบังคับจิตใจของตัวไว้ได้ ในสภาพที่จะใช้ให้เป็นประโยชน์มากที่สุดตามที่ตนต้องการ   คำ สมาธิ ที่เข้าใจกันโดยทั่วไป คือ ความตั้งใจมั่นแน่วแน่  เป็นจิตที่สงบ  แต่สมาธิโดยสมบูรณ์หมายถึง การทำจิตนั้นให้เหมาะสมแก่การงานของจิต เป็นการฝึกฝนอบรมจิตให้อยู่ในลักษณะที่พร้อม  ที่มีสมรรถภาพถึงที่สุดในการที่จะปฏิบัติหน้าที่ทางจิต  ข้อหลังนี้เป็นความมุ่งหมายอันแท้จริงของสิ่งที่เรียกว่าสมาธิ   ดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงลักษณะของจิตด้วยคำอีกคำหนึ่งซึ่งเป็นคำสำคัญที่สุด  คือคำว่า  กมฺมนิโย  แปลว่า  สมควรแก่การทำงาน   คำนี้เป็นคำสุดท้ายที่ทรงแสดงลักษณะของจิตที่เป็นสมาธิ    คำว่า  สมาธิ  แปลว่าจิตตั้งมั่นก็จริง  แต่ต้องหมายถึงตั้งมั่นในลักษณะที่พร้อมที่จะปฏิบัติงาน  ไม่ใช่ตั้งมั่นในลักษณะที่ไม่ปฏิบัติงานใดๆ  คือสงบนิ่งเงียบอยู่เฉยๆ   ผู้ที่พอใจที่จะยึดถือความหมายเป็นความสงบเงียบนั้น ก็เพราะเมื่อจิตเป็นสมาธิสงบเงียบ  ไม่มีอะไรรบกวนแล้ว  ในขณะนั้นย่อมรู้สึกเป็นความสุขอย่างยิ่ง ก็เลยเกิดชอบความสุขชนิดนั้น  เลยรักการทำสมาธิในทางนั้น   ไม่ได้พอใจสมาธิในลักษณะที่จะปรับปรุงจิตให้เหมาะสมที่จะทำการพิจารณาหรือค้นคว้าสืบไป ด้วยเหตุนี้  นักสมาธิส่วนใหญ่  จึงตกอยู่ภายใต้อำนาจของความสุขอันเกิดจากความสงบของจิต  แล้วก็หยุดอยู่เพียงแค่นั้น  ไม่สามารถทำสมาธิของตนให้สูงขึ้นไป  จนถึงกับเป็นพื้นฐานหรือเป็นบาทฐานของการเจริญปัญญา  อันจะทำให้เข้าถึงความดับทุกข์อย่างสิ้นเชิง(พระนิพพาน)ได้  มิหนำซ้ำ  ยังจะตกอยู่ในลักษณะของความหลง  คือหลงเอารสแห่งความสุขที่เกิดจากสมาธินั้น  ทำให้ไม่ก้าวหน้าไปจนถึงปัญญาชนิดที่จะตัดตัณหาหรืออุปาทานได้   สมาธิสิกขานี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า จิตตสิกขา”  แปลว่า  สิ่งที่ควรศึกษาหรืออบรมในทางจิต
               ปัญญาสิกขา  เป็นสิกขาชั้นที่ ๓ เป็นการฝึกฝนอบรมให้เกิดความรู้ความเข้าใจอันถูกต้องและสมบูรณ์ถึงที่สุด   คนเราตามปรกติรู้อะไรตามที่เข้าใจเอาเอง  ไม่ใช่ตามที่เป็นจริง พุทธศาสนาจึงมีระเบียบปฏิบัติที่เรียกว่าปัญญาสิกขา เป็นส่วนสุดท้ายสำหรับจะได้ฝึกฝนอบรมให้เกิดความเห็นแจ้งในสิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามที่เป็นจริง   “ความเห็นแจ้งนี้หมายถึงสิ่งที่บุคคลได้ซึมซาบมาแล้วด้วยการผ่านสิ่งนั้นๆ มาแล้วด้วยตนเอง หรือมีประสบการณ์ตรงกับสิ่งนั้น  ไม่ใช่ด้วยเหตุผล   คำปัญญาสิกขาในพระพุทธศาสนาจึงไม่ได้หมายถึงปัญญาที่เป็นไปตามอำนาจเหตุผล อย่างที่ใช้กันในวงการศึกษา   การพิจารณาทางปัญญาตามสิกขาข้อนี้จึงจำเป็นต้องใช้สิ่งต่างๆ ที่ได้ผ่านมาแล้วแต่หนหลัง หรืออย่างน้อยที่สุดก็ต้องใช้เรื่องที่มีน้ำหนักมากพอที่จะทำให้จิตใจของเราเกิดความสลด สังเวช เบื่อหน่าย คลายกำหนัด ในสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ได้จริง   หากใช้หลักเหตุผลมาวินิจฉัย ก็จะได้แต่ ความเข้าใจอยู่นั่นเอง   คำ ความเข้าใจ จึงต่างจากคำ ความเห็นแจ้ง   ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่ปฏิบัติในทางปัญญาตามหลักพระพุทธศาสนาจึงไม่ค่อยใส่ใจเรื่องการใช้เหตุผลมากเหมือนกับการศึกษาในศาสตร์ต่างๆ แต่อาศัยความรู้สึกในใจจริงๆ ที่เคยมี เคยเป็น เคยผ่านมาแล้วแต่หนหลังเป็นสำคัญ   หากแม้จะมีการเทียบเคียงด้วยเหตุผลบ้าง ก็ใช้เหตุผลโดยเอาสิ่งที่ได้ผ่านมาแล้วแต่หนหลังนั้นมาเป็นเหตุผล ไม่ใช่เหตุผลจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์   การเห็นแจ้งจึงเป็นปัญญาที่ออกผลแก่จิตใจในขณะนั้นๆ ไม่ใช่ความรู้ความเข้าใจที่จะต้องเก็บสะสมไว้มากๆ เรื่อยๆไป  คนจึงไม่อาจพ้นทุกข์ด้วยลำพังความเข้าใจ จะพ้นทุกข์ได้ก็ด้วยความเห็นแจ้ง
               อนึ่ง ปัญญา กับ สมาธิ นั้นสัมพันธ์กัน นั่นคือ สมาธิช่วยให้เกิดปัญญา ขณะเดียวกันปัญญาก็ช่วยให้เกิดสมาธิ. สาธุ
ที่มา:http://www.gotoknow.org/blogs/posts/480353

“ธรรมะพักใจ”

การปฏิบัติตนในเบื้องต้นของชาวพุทธ 

การฝึกปฏิบัติตามวัฒนธรรมชาวพุทธ คือ ฝึกเพื่อละจากความชั่ว แล้วตั้งอยู่ในคุณธรรมความดี ยังจิตของตนให้ผ่องใสอยู่เสมอ  และในท่ามกลางที่เศรษฐกิจและสังคมที่มีแต่ความตึงเครียด ธรรมะถือว่าเป็นที่พักใจได้...

ธรรมะพักใจ จะขอแนะนำการปฏิบัติตนในเบื้องต้นของชาวพุทธ ซึ่งควรมีการปฏิบัติตนให้เหมาะสม ดังนี้
          1.การให้ทาน
          2.การถือศิล
          3.การศึกษาธรรมะ



การให้ทาน
          การให้ทาน ได้แก่ การสละทรัพย์สิ่งของสมบัติของตนที่มีอยู่ให้แก่ผู้อื่น  โดยมุ่งหวังจะจุนเจือให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์ และความสุขด้วยความเมตตาจิตของตน ทานที่ได้ทำไปนั้น จะทำให้ผู้ทำทานได้บุญมากหรือน้อยเพียงใด  ย่อมสุดแล้วแต่องค์ประกอบ 3 ประการ ถ้าประกอบถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบทั้ง 3 ประการต่อไปนี้แล้ว ทานนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญบารมีมาก กล่าวคือ
       - องค์ประกอบข้อที่ 1 “วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์
         วัตถุทานที่ให้ ได้แก่ สิ่งของทรัพย์สมบัติที่ตนได้สละให้เป็นทานนั้นเอง  จะต้องเป็นของที่บริสุทธิ์ได้จะต้องเป็นสิ่งของที่ตนเองได้แสวงหา  ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ในการประกอบอาชีพ   ไม่ใช่ของที่ได้มาเพราะการเบียดเบียนผู้อื่น เช่น ได้มาโดยยักยอก ทุจริต ลักทรัพย์  ฉ้อโกง ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ฯลฯ ผู้อื่น
       - องค์ประกอบที่ข้อ 2 “เจตนาในการสร้างทานต้องบริสุทธิ์
         การให้ทานนั้น  โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงก็เพื่อเป็นการขจัดความโลภความตระหนี่เหนียวแน่น  ความหวงแหนลงใหลในทรัพย์สมบัติของตน   อันเป็นกิเลสหยาบ คือ โลภกิเลสและเพื่อเป็นการสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขด้วย  เมตตาธรรมของตน        อันเป็นบันไดก้าวแรกในการเจริญเมตตาพรหมวิหารธรรมในพรหมวิหาร 4 ให้เกิดขึ้น ถ้าได้ให้ทานด้วยเจตนาดังกล่าวแล้ว เรียกว่าเจตนาในการทำทานบรฺสุทธิ์
       - องค์ประกอบข้อที่ 3 “เนื้อนาบุญต้องบริสุทธิ์
         คำว่า เนื้อนาบุญในที่นี้ได้แก่ บุคคลผู้รับการทำทานของผู้ทำทานนั้นเอง นับว่าเป็นองค์ประกอบข้อที่สำคัญที่สุด แม้ว่าองค์ประกอบในการทำทานข้อที่ 1 และข้อที่ 2 จะงามบริสุทธิ์ครบถ้วนดีแล้ว  กล่าวคือวัตถุที่ทำทานนั้นเป็นของที่แสวงหาได้มาด้วยความบริสุทธิ์ เจตนาในการทำทานก็งามบริสุทธิ์  แต่ตัวผู้ที่ได้รับการทำทานเป็นคนที่ไม่ดี ไม่ใช่ผู้ที่เป็นเนื้อนาบุญที่บริสุทธิ์ เป็นเนื้อนาบุญที่เลว ทานที่ทำไปนั้นก็ไม่ผลิดอกออกผล


การถือศีล
       “ศิลนั้นแปลว่า ปกติคือ สิ่งหรือกติกาที่บุคคลจะต้องระวังรักษากาย วาจา ใจ ไม่ให้ทำร้ายผู้ใดหรือสัตว์ใด จนเกิดความลำบากเดือดร้อนหรือล้มตาย โดยรักษาตามเพศและฐานะ ศีลนั้นมีหลายระดับคือ ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีล 227 และศีล 311 การถือศิลนี้เป็นการเพียรพยายามเพื่อระงับกิเลสหยาบมิให้กำเริบขึ้น และเป็นการบำเพ็ญบุญบารมีที่สูงขึ้นกว่าการให้ทาน ในเบื้องต้นโดยทั่วไป เราควรมีศีล 5 ซึ่งเป็นคุณธรรมที่เป็นปกติของมุนษย์ที่จะต้องทรงไว้ให้ได้ตลอดไป ดังนั้นบุคคลที่ไม่มีศีล 5 ไม่เรียกว่ามนุษย์
             * ศีลข้อที่ 1 ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
             * ศีลข้อที่ 2 ไม่ฉ้อโกงลักขโมย
             * ศีลข้อที่ 3 ไม่ประพฤติผิดลูกเมีย-ผัว ผู้อื่น
             * ศีลข้อที่ 4 ไม่โกหกหลอกลวง
             * ศีลข้อที่ 5 ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดของมึนเมาให้โทษ
การรักษาศีลทำได้ 2 วิธี คือ
           การอธิษฐานศีล คือ การตั้งใจด้วยตัวเองว่าจะรักษาศีลให้บริสุทธิ์บริบรูณ์
           การสมาทานศีล คือ การรับศีลจากพระภิกษุสงฆ์
           การรักษาศีลควรเลือกปฏิบัติตามความหเมาะสม อย่าให้เกิด เป็นความยึดติดรูปแบบ จนชีวิตดูอึดอัดแปลกปยกจากครอบครัวและสังคมที่เราอยู๋ ให้สอดคล้องกลมกลืนไปกับธรรมชาติ การดำเนินชีวิต และการใช้ชีวิตในสังคมแต่ก็ไม่ควรปล่อยปละจนกลายเป็นไม่เห็นความสำคัญของศีลเลย


การศึกษาธรรมะ
           ธรรมะที่องค์พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงนั้น   มีทั้งธรรมะในเบื้องต้น  ธรรมะในระดับกลาง  และธรรมะขั้นสูงสุด  ซึ่งการที่เราจะเข้าใจธรรมะขั้นใดนั้น   ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง  โดยถึงแม้เรายังไม่สามารถเข้าใจธรรมะในขั้นสูงสุดได้  แต่เราก็สามารถเข้าใจธรรมะในขั้นกลางหรือเบื้องต้นได้ทั้งนั้น
           ดังนั้นเราจึงไม่สามารถที่จะอ้างได้ว่าเราไม่ทำการศึกษาธรรมะ  เพราะยังไม่เข้าใจธรรมะได้เลย
           ธรรมะที่เป็นหลักใหญ่ในพระพทธศาสนา คือ อริยสัจ 4 คือ ความจริง 4 ประการ ซึ่งได้แก่
             * ทุกข์   ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ซึ่งมีเป็นธรรมดาของชีวิตและความเศร้าโคก  ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย  ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ  ซึ่งมีแก่จิตใจและร่างกายเป็นครั้งคราว   ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักที่พอใจ           ความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ  มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น  ซึ่งก็คืออุปทานขันธ์ทั้ง 5 นั่นเอง
             * สมุทัย   เหตุให้เกิดทุกข์  ได้แก่ ตัณหา  ความดิ้นรน  ทะยานอยากของจิตใจ คือ ดิ้นรนทะยานอยาก  เพื่อที่จะได้สิ่งปรารถนาอยากได้  ดิ้นรนทะยานอยากเพื่อจะเป็นอะไรต่างๆ ดิ้นรนทะยานอยากที่จะไม่เป็นภาวะที่ไม่ชอบต่างๆ
             * นิโรธ   ความดับทุกข์  ได้แก่  ดับตัณหา  ความดิ้นรนทะยานอยากดังกล่าว
             * มรรค   ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์  ได้แก่  ทางมีองค์ 8 คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ เพียรพยายามชอบ สติชอบ ตั้งใจชอบ

        ดังนี้  จะเห็นได้ว่า  ธรรมะที่องค์พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสแสดงไว้นั้น เป็นความจริงทุกประการ  แต่การที่เราจะ   เข้าใจได้ทั้งหมดนั้น  ไม่ใช่เรื่องง่าย การที่เราศึกษาธรรมะ  ก็เป็นการทำเพื่อพัฒนาจิตใจของเราให้ดียิ่งขึ้นจนถึงกระทั่งสามารถที่จะเข้า ใจหลักธรรมะของพระองค์ได้จนกระทั่งเข้าสู่จุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนา นั่นก็คือ นิพพานนั่นเอง

วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

รู้จักร่างกาย

     รู้จักร่างกายใน บอดี้โชว์งานศิลป์ผ่านศพ
 นิทรรศการ บอดี้โชว์ได้ใช้เทคนิคพิเศษในการเก็บรักษาร่างกายไว้ไม่ให้เน่าเปื่อยและเน่าเหม็น ซึ่งช่วยให้เห็นร่างกายของเราในมุมที่ไม่เคยเห็น และช่วยให้เราได้รู้จักร่างกายของเราดียิ่งขึ้น
     
       นิทรรศการเดอะบอดี้โชว์ เอเชียทัวร์ แบงกอก” (The Body Show Asia Tour Bangkok)     
       โดยร่างกายที่จัดแสดงนั้นถูกเก็บรักษาไว้โดยการดึงน้ำออกจากร่างกายแล้วใส่พอลิเมอร์เข้าไปแทนที่ ทำให้เหมือนเป็นพลาสติกมากขึ้น ดูแลง่าย แต่ก็ยังไม่ใช่พลาสติกเพราะยังมีอวัยวะจริงอยู่
หลักการพื้นฐานของกระบวนการรักษาศพเช่นนี้คือการทำให้เซลล์ในร่างกายไม่ยุบ โดยต้องดึงน้ำออกจากเซลล์แล้วใส่อะไรเข้าไป จากนั้นร่างกายจะไม่เน่า แต่การเก็บรักษาร่างกายไว้ได้นานแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับวิธีการเก็บรักษา และขึ้นอยู่กับปริมาณไขมันในร่างกาย หากอ้วนมากจะมีไขมันมากและเก็บไว้ได้ไม่นาน
                   
       ในส่วนของนิทรรศการด้านสมองซึ่งใช้ร่างกายของเด็กจัดแสดงนั้น ร่องและรอยหยักของสมองที่จัดแสดงนั้นแสดงให้เห็นถึงความฉลาด ซึ่งในกรณีของสมองสัตว์นั้นรอยหยักจะไม่ลึกและไม่ยึกยักมาก และสมองนี้จะไปสั่งการให้เส้นประสาททำงาน
กะโหลกศรีษะและสมองเด็กน้อย ที่แสดงให้เห็นรอยหยักและร่องลึกซึ่งมากกว่าสมองสัตว์ (ภาพโดย ศิวกร แสนสอน)

โดยในส่วนของนิทรรศการท่าตีกอล์ฟนั้นแสดงให้เห็นถึงการทำงานของกล้ามเนื้อซึ่งทำหน้าที่บังคับให้กระดูกเคลื่อนที่ โดยกล้ามเนื้อนั้นทำงานได้จากการบังคับของสมองและเส้นประสาท โดยลักษณะการทำงานทั้งหมดเป็นแบบ ไปด้วยกัน” (Synchronize) 
การออกท่าทางต่างๆ ซึ่งอาศัยกล้ามเนื้อควบคุมการเคลื่อนที่ของกระดูก โดยการสั่งงานของสมองและเส้นประสาท

ส่วนแสดงกล้ามเนื้อทั้งหมดในร่างกาย ซึ่งแผ่ออกให้เป็นชิ้นๆ ในส่วนของแขน-ขาจะเห็น กล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่ชัดเจน แต่ยังมีกล้ามเนื้ออีกประเภทคือ กล้ามเนื้อมัดเล็กที่มีอยู่ตรงใบหน้ามากที่สุด ซึ่งการยิ้มอย่างมีความสุขนั้นจะใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กทั้งหมด 110 มัด
                                                        ภาพแสดงให้เห็นกล้ามเนื้อทั้งหมดในร่างกายมนุษย์
                                      กล้ามเนื้อมัดเล็กและเส้นประสาทควบคุมใบหน้า (ภาพโดยศิวกร แสนสอน)
ส่วนร่างกายที่แสดงในท่าเล่นฟุตบอลนั้นเป็นร่างกาย ใช้เทคนิคการเก็บรักษาสุดยอดมากเพราะมีอวัยวะภายในครบ ซึ่งอวัยวะภายในนี้เป็นส่วนที่เน่าเร็วที่สุดในร่างกาย
                 ร่างกายนี้ใช้เทคนิคพิเศษที่รักษาอวัยวะภายในซึ่งเป็นส่วนที่เน่าเร็วที่สุดไว้ได้ (ภาพโดยศิวกร แสนสอน)
ในส่วนของทางเดินอาาหารที่แสดงให้เห็นตั้งแต่ศรีษะ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลงไปถึงลำไส้นั้น ระบบประสาทจะควบคุมได้ถึงการทำงานของหลอดอาหารให้กลืนหรือไม่กลืนเท่านั้น เมื่ออาหารลงไปถึงกระเพาะแล้วการทำงานของอวัยวะที่เหลือจะเป็นแบบอัตโนมัติโดยการควบคุมของประสาทอัตโนมัติ ไม่เช่นนั้นอาหารจะค้างในระบบและเน่าเสีย
                                                                ส่วนแสดงทางเดินอาหารและกระเพาะอาหาร
       นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการการแสดงร่างกายที่ผ่าออกเป็นแผ่นบางๆ ให้เห็นคล้ายๆ ภาพจากเครื่อง ทีซี แสกน” (CT Scan) ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องภาพซีทีแกนและภาพเอ็กซเรย์จะบอกได้ว่าเจ้าของร่างกายมีโรคหรือความผิดปกติใดหรือไม่ จากการแปรความเข้มของภาพ                     

                         ภาพตัดตามยาวของร่างกายผู้ชาย คล้ายภาพจากเครื่องซีทีสแกน (ภาพโดยศิวกร แสนสอน)

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สมุนไพรสามัญประจำบ้าน

รู้ไว้ใช่ว่า... จะต้องเอาไปใส่บ่าแบกหาม.
--------------------------------------------
สมุนไพรสามัญประจำบ้า
กะเพรา
รสและสรรพคุณ รสเผ็ดร้อน เป็นยาตั้งธาตุ แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น จุกเสียด ใช้แต่งกลิ่น แต่งรสได้

ไพล
รสและสรรพคุณ แก้ฟกช้ำ บวบ เคล็ดขัดยอก ขับลม ท้องเดิน และช่วยขับระดูประจำเดือนสตรี นิยมใช้เป็นยาหลังคลอดบุตร
            
                                                      
  ลูกมะแว้งเครือและมะแว้งต้น
รสและสรรพคุณ รสขม เป็นยากัดเสมหะ
                   
ผักเป็ดแดง
รสและสรรพคุณ บำรุงโลหิต ฟอกโลหิตระดู
พริกไทอ่อน
สและสรรพคุณ รสเผ็ดร้อน เป็นยาขับลม แก้อาการท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ช่วยแต่งกลิ่นรส และถนอมอาหาร

          
     ขมิ้นชัน
รสและสรรพคุณ รสฝาด กลิ่นหอม แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน ขับลม ท้องร่วง

บอระเพ็ด
รสและสรรพคุณ รสขมจัด เย็น ช่วยระงับความร้อน แก้ไข้ทุกชนิด ช่วยให้เจริญอาหาร
                   

             ทองพันชั่ง
รสและสรรพคุณ ใบรสเบื่อเมา เป็นยาเย็นดับพิษไข้ ราก ป่นละเอียด แช่เหล้า 7 วัน ทาแก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน  
บัวสัตตบงกช
รสและสรรพคุณเกสรปรุงเป็นยาหอม ทำให้ชื่นใจ เป็นยาชูกำลัง ราก รสหวาน มีกลิ่นหอม เหง้าและเม็ด รสหวานมันเล็กน้อย เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงไขข้อ รักษาอาการร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไข้ตัวร้อน
เสลดพังพอนตัวผู้และตัวเมีย
รสและสรรพคุณเสลดพังพอนตัวเมีย รสจืด ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย โรคผิวหนัง เสลดพังพอนตัวผู้ รสขม สรรพคุณเช่นเดียวกัน

ตะไคร้
รสและสรรพคุณ รสปร่า กลิ่นหอม บำรุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ เจริญอาหาร แก้คาว
--------------------------------------------------------------------

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

ท่าบริหารมือง่ายๆ


 บริหารอวัยวะภายในร่างกาย
เป็นท่าการบริหารมือ 8 ท่าที่ช่วยให้อวัยวะภายในทำงานได้ดีขึ้น เหมาะสำหรับหนุ่มสาวออฟฟิศ ที่ไม่มีเวลาขยับเขยื้อนร่างกาย เพราะต้องนั่งทำงานทั้งวัน บริหารทุกครั้งที่มีเวลาว่าง เพียงลุกขึ้นยืนแล้วปฎิบัติตามภาพข้างล่าง

ท่าที่ 1 บริหารลำไส้ใหญ่แก้ท้องผูก 
คว่ำมือใช้แนวนิ้วชี้ถึงนิ้วโป้ง โค้งเป็นรูปตัว C ทั้งสองข้าง กระทบกันเบาๆ 36 ครั้ง  



   

ท่าที่ 2 บริหารลำไส้เล็ก 
หงายมือให้แนวนิ้วก้อยถึงสันมือกระทบกันเบา ๆ 36 ครั้ง 

      

ท่าที่ 3 บริหารเหยื่อหุ้มหัวใจ
ตั้งมือทั้งสองข้างขึ้น หงายมืออกเป็นรูปดอกบัวแล้วใช้อุ้งมือตีกันนับ 36 ครั้ง

      

ท่าที่ 4 สร้างภูมิต้านทานโรค 
กางนิ้วมือทั้งสองข้างออกแล้วสอดเข้าหกันให้มีเสียดังฉับ บีบนิ้วมือทั้งสองข้างเล็กน้อยแล้วดึงออก ทำ 36 ครั้ง 

      

ท่าที่ 5 บริหารปอดซ้ายขวา 
กางมือซ้ายออกไม่ต้องเกร็ง แล้วใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือขวาหนีบแล้ว ดึงตรงกลางระหว่างนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือของมือซ้าย นับ36 ครั้งและสลับข้างทำอีก 36 ครั้ง 

      


ท่าที่ 6 บริหารกล้ามเนื้อหัวใจ 
ให้กำมือขวาและกางมือซ้ายออก จากนั้นให้เอาสันหมัดต่อยอุ้งมือซ้าย ไม่ให้มีเสียง นับ 36 ครั้ง และ สลับข้างทำ นับ 36 ครั้งเช่นเดียวกัน 

      

ท่าที่ 7 การบริหารไตขวาและไตซ้าย 
ให้หงายมือขวาขึ้น มือซ้ายคว่ำลง ใช้หลังมือขวาตีบนหลังมือซ้าย ทำ 36 ครั้ง และสลับข้างทำนับ 36 ครั้งเช่นเดียวกัน 

      

ท่าที่ 8 กระตุ้นเส้นลมปราณ (เปิดจุดรับพลังซ้าย-ขวา) 
ให้กางมือซ้ายออก จากนั้นใช้นิ้วหัวแม่มือขวาหมุนตามเข็มนาฬิกา รอบจุดเล่ากง คือบริเวณเหนือกลางฝ่ามือขึ้นไป ค่อนไปทางนิ้วโป้ง นับ 36 รอบ และสลั้บข้างทำ นับ 36 รอบเช่นเดียวกัน 

   


ขอบคุณ :http://saisampan.net/index.php?topic=6845.0 

พิกัดสมุฎฐาน(กาล๓)

เทคนิคการดูแลสุขภาพตามกาลเวลา The health care over time
รูปภาพที่เราเห็นนั้นเป็นการบอกเวลาตั้งแต่เวลา 06.00- 10.00 น พิกัดเสมหะ .
เวลาเช้าอิทธิพลของอากาศเย็น และ เป็นช่วงที่เชื้อไวรัสบางชนิดเติบโตได้ดี ในช่วงเวลาในพิกัดนี้ ดังนั้นคนเรามักป่วยด้วยโรคเสลด เสมหะเหนียว มาติดช่องทางเดินการหายใจ ทำให้เกิดโรคเช่นโรคภูมิแพ้ หวัด โรคปอด เป็นต้น การช่วยปรับสมดุลของร่างกายช่วงนี้คือ รับประทานอาหารที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะนาว มะปราง แกงส้ม ต้มยำเปรี้ยว มะยม ส้ม มะกอก มะขามป้อม ผักคาวตอง ผักผลไม้ที่รสเปรี้ยวเป็นต้น
ควรงดเว้นของหมัก น้ำส้มสายชู สารปรุงรสที่ใช้สารเคมี หรือ อาหารที่ผ่านการหมักดอง สิ่งที่ควรงดต่างๆเหล่านี้ไม่มีสรรพคุณในการปรับสมดุลต่อร่างกาย แต่กลับกันเมื่อได้รับประทานสารอาหารเหล่านี้  ในปริมาณมากเกินกว่าที่ร่างกายจะรับได้จะทำให้เกิดโทษต่อร่างกายอย่างมาก จะเกิดโรคร้ายหลายชนิดตามมา
รูปภาพที่เราเห็นนั้นเป็นการบอกเวลาตั้งแต่เวลา 10.00- 12.00 น พิกัดปิตตะ
ช่วงเวลานี้เป็นช่วงของอิทธิพลของอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป จากอุณหภูมิที่เย็น มาเป็นอบอุ่นจนถึงร้อนมาก ส่งผลทำให้อวัยวะภายในร่างกายอ่อนแอ อ่อนล้า ม้ามเป็นอวัยวะที่ควบคุมไฟธาตุที่เป็นตัวควบคุมร่างกายให้อบอุ่นไม่สามารถควบคุมความร้อนที่สะสมปริมาณมากในร่างกาย ทำให้ขาดความสมดุลได้จึงทำให้ระบบธาตุในร่างกายแปรปรวนไปด้วย และส่งผลทำให้เป็นไข้ ขาดความต้านทานโรค ติดเชื้อต่างๆได้ง่าย การรักษาความสมดุล ให้เกิดผลดีต่อกองธาตุในร่างกาย คือรับประทานยาสมุนไพร หรือ อาหารสมุนไพร ที่แก้ในทางปิตตะ เช่นสมุนไพรที่มีรสจืด ขม เย็น ได้แก่ มะระขี้นก มะระจีน ผักกาดขาว แตงกวา ผักทอดยอด ผักสะระเเหน่ บวบ ฟักเขียว เป็นต้น
 รูปภาพที่เราเห็นนั้นเป็นการบอกเวลาตั้งแต่เวลา 14.00- 18.00 น พิกัดวาตะ
ช่วงนี้เป็นของอิทธิพลของอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงจากร้อน กลับมาเย็นอีกครั้ง แต่ช่วงนี้ผลจากหมักหมมของอาหารในแต่ละวันที่สะสม ตั้งแต่อาหารมื้อเช้า จนถึงอาหารมื้อเย็นทำให้เกิดลมพิษ ( แก๊สที่เกิดจากหมักหมม และการย่อยอาหาร)จะมีลมขังอยู่ในท้องปริมาณมาก ทำให้เกิดอาการของโรคในช่องท้อง ทำให้เกิดแผลในลำไส้ง่าย อาจทำให้ลำไส้แปรปรวน แก๊สพิษ มักมีสภาพเป็นกรด มีผลเสียต่อร่างกายทำให้ เกิดอาการปวดเมื่อยตามข้อได้ง่าย การไหลเวียนของโลหิต ติดขัด
การแก้ปัญหาสุขภาพแบบวิชาแพทย์โบราณ ให้รับประทานยาสมุนไพร หรืออาหารสมุนไพรที่ฤทธิ์ในการขับลม ช่วยกระตุ้นลำไส้ บีบตัว ขับลมพิษ และยังช่วยให้เส้นเลือดขยายตัว โลหิตไหลเวียนดีขึ้น เป็นสมุนไพรที่มีรสเผ็ดร้อน เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ พริกไทย ไพล เป็นต้น
การดูแลสุขภาพตามกาลเวลาด้วยหลักทฤษฎีการแพทย์แผนไทย ช่วยทำให้สุขภาพแข็งแรงอายุยืนยาว ปรับสมดุลย์ของธาตุในร่างกายสามารถนำหลักการนี้มาใช้ในปัจจุบันและอนาคตได้ เป็นอย่างดียิ่ง ผู้ที่สนใจดูแลสุขภาพสามารถนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติได้