วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556

มหาภูตรูป๔

ธาตุที่ต้องอาศัยซึ่งกันและกันรวมตัวกันเป็นปัจจัยให้เกิดมหาภูตรูป๔

ความเข้าใจในเรื่องมหาภูตรูป๔ โดยการแสดงความสัมพันธ์กันเป็นปัจจัยให้เกิดโดยอาศัยซึ่งกันและกัน
คัมภีร์ปัฏฐาน อธิบายปัจจัย ๒๔ โดยพิสดาร แสดงความสัมพันธ์อิงอาศัยเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแง่ด้านต่างๆ
มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม(ธรรมทั้งหลายที่ทรงไว้ซึ่งธรรมชาติอันเป็นเครื่องกำหนดในอุปทาน) เกิดขึ้น...ความหมาย เช่น 
เพราะ ดิน เป็นปัจจัย <—> จึงเกิด น้ำ-ไฟ-ลม
ขณะเดียวกัน น้ำ-ไฟ-ลม ก็เป็นปัจจัยให้เกิด ดิน ด้วย

มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น...
ในที่นี้ เช่น ดิน-น้ำ เป็นปัจจัย <—> ไฟ-ลม จึงเกิดขึ้น เป็นต้น
ดิน จะคู่กับ น้ำ , ไฟ จะคู่กับ ลม ได้


กฏัตตารูป
(รูปที่เกิดขึ้น)ที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูป เกิดขึ้น...
เช่น อสัญญสัตตาพรหม ในปฏิสนธิกาลมีกัมมชรูป(รูปที่เกิดจากกรรม) ๙ รูป คือ อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑
อวินิพโภครูป ๘ 
ประกอบด้วย มหาภูตรูป ๔ และ อุปทายรูป ๔
มหาภูตรูป (รูปที่เป็นใหญ่เป็นประธาน) ๔ ได้แก่
ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) เป็นรูปที่อ่อนหรือแข็ง
อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) เป็นรูปที่เอิบอาบหรือเกาะกุม 
เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) เป็นรูปที่ร้อนหรือเย็น
วาโยธาตุ 
(ธาตุลม) เป็นรูปที่ไหวหรือตึง
มหาภูตรูป ๔ นี้ ต้องอาศัยกันเกิดขึ้น จึงแยกกันไม่ได้เลย  และมหาภูตรูป ๔ นี้เป็นปัจจัยโดยเป็นที่อาศัยเกิดของรูปอีก ๔ รูปที่เกิดร่วมกับมหาภูตรูปในกลาปเดียวกัน  คือ อุปาทายรูป ๔  ได้แก่
วัณณะ  (แสงสี)  เป็นรูปที่ปรากฏทางตา
คันธะ ( กลิ่น)  เป็นรูปที่ปรากฏทางจมูก  
รสะ  (รส)  เป็นรูปที่ปรากฏทางลิ้น
โอชะ (
าหาร)  เป็นรูปที่เป็นปัจจัยให้เกิดรูป

อวินิพโภครูป ๘  นี้แยกกันไม่ได้เลย เป็นกลุ่มของรูปที่เล็กที่สุดที่เกิดพร้อมกันและดับพร้อมกันอย่างรวดเร็ว จะมีแต่มหาภูตรูป ๔โดยไม่มีอุปาทายรูป (รูปที่อาศัยมหาภูตรูปเกิด)๔ รูปนี้ไม่ได้เลย
ดังนั้น เพราะมหาภูตรูป ๔(ดิน-น้ำ-ไฟ-ลม) เป็นปัจจัย —> จึงเกิดอุปทายรูป ๔ (วัณณะ-คันธะ-รสะ-โอชะ) ชีวิตรูป๑ จึงเกิดขึ้น

อุปาทายรูป ๔ มี (สี กลิ่น รส และอาหาร)  ต้องอาศัยทั้ง ดิน-น้ำ-ไฟ-ลม จึงเกิดขึ้นได้
ทั้งนี้ มหาภูตรูปเป็นปัจจัยให้เกิด อุปาทายรูปได้ แต่อุปาทายรูป เป็นปัจจัยให้เกิด มหาภูตรูป ไม่ได้ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น