วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เล็บ(นขา)

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาเบื้องต้นกับการเรียนแพทย์แผนไทย(ต่อ)

๓. นขา (เล็บ) คือส่วนที่งอกอยู่ที่ปลายนิ้วมือ และปลายนิ้วเท้า เป็นส่วนสุดท้ายที่กำเดาจะไปถึง เล็บมีหน้าที่ให้ความแข็งแรงและปกป้องปลายนิ้ว ช่วยหยิบจับสิ่งของจึงต้องได้รับการปกป้อง ที่สำคัญยังสามารถใช้ประกอบการวินิจฉัยได้ โบราณว่าหากเปลือกนอกดีหรือไม่ดีจะสำแดงถึงภายในได้ เล็บชายนั้นหนากว่าเล็บหญิง เล็บเท้าจะหนากว่าเล็บมือ เล็บเปราะเล็บแข็ง ดูภาวะความเสื่อมไปของกระดูกภายใน และสีของเล็บบอกความสมบูรณ์แห่งโลหิต ดอกเล็บบอกภาวะตะกรันภายใน
ลักษณะและสีเล็บช่วยในการวินิจฉัยโรคได้ เช่นเล็บมักเป็นรูปช้อนในผู้ป่วยโรคหัวใจเรื้อรังเป็นต้น(ไปดูที่เล็บมือกับสุขภาพ)
เล็บที่ปกติสมบูรณ์ต้องแข็งแรง ยืดหยุ่น มีสีชมพูอ่อนๆแสดงว่าโลหิตดี ผิวบนจะงามเรียบเกลี้ยงโค้งเล็กน้อย ปราศจากจุดด่างดำ ตำหนิใดๆ
หากเสียสมดุล :-
กำเริบ(ทำงานมากเกินไป) เล็บแข็งเปราะหักง่าย ไม่ยืดหยุ่น เป็นเล็บคุด
หย่อน(ทำงานน้อยเกินไป) เล็บบางเปราะ ฉีกขาดง่าย กระดูกอ่อนบางด้วย สีซีด
พิการ(สูญเสียหน้าที่)มีอาการ
1. เจ็บช้ำเลือดช้ำหนอง ให้เจ็บปวดเป็นกำลัง
2. เป็นหนองติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา
3. โคนเล็บฟกบวม เป็นตะมอยดาวหัวเดือน กลางเดือน บางทีให้ เขียว ดำ ห้อเลือด เจ็บที่โคนเล็บ เล็บหลุด

เล็บพิการในคัมภีร์ต่างๆ
คัมภีร์โรคนิทาน : ให้ต้นเล็บช้ำ เขียวดำ บางทีให้ฟกบวม เป็นหัวเดือนหัวดาว บางทีให้ขบเล็บช้ำ เป็นหนอง เจ็บปวด ยิ่งนัก
คัมภีร์สุมฏฐานวินิจฉัย : ให้ต้นเล็บเจ็บช้ำดำเขียว บางทีให้ฟกบวม คือเป็นตะมอยหัวดาวหัวเดือน กลางเดือน บางทีให้เจ็บช้ำเลือดช้ำหนอง ให้เจ็บปวดเป็นกำลัง
คัมภีร์ธาตุวิภังค์ : ให้เจ็บต้นเล็บ ให้เล็บเขียว เล็บดำช้ำโลหิต เจ็บเสียว ๆ นิ้วมือ นิ้วเท้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น