วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ทันตะ(ฟัน)

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาเบื้องต้น กับการเรียนแพทย์แผนไทย(ทันตะ)




๔. ทันตะ คือฟันอย่างหนึ่ง เขี้ยวอย่างหนึ่ง กรามอย่างหนึ่ง รวมเรียกว่าฟัน เป็นฟันน้ำนม 20 ซี่ พอหมดฟันน้ำนมก็เป็นฟันแท้ 32 ซี่ มีหน้าที่ ใช้บดอาหารใหม่หรืออุทริยังให้เข้าไปสู่อันตัง(ระบบทางเดินอาหาร) จัดอยู่ในระบบการย่อยอาหาร
หากฟันแข็งแรงกระดูกแข็งแรง หากฟันอ่อนบางกระดูกอ่อนบาง ฟันดีท้องดี ฟันเสียท้องผูก เหงือกแดงฟันสวยเลือดนั้นดีนัก เหงือกซีดฟันซีดเลือดน้อยไม่ดียิ่ง ฟันดี อันตังทำงานดี กายแข็งแรง กรีสัง(อาหารเก่า)เหลือน้อย ฟันไม่ดี 
อันตัง(ลำไส้ใหญ่)สกปรกตะกรัน(สิ่งสกปรก)มาก กายป่วยด้วยกรีสังมากนัก
ฟันนั้นจัดเป็นปราการด่านแรกที่ตั้งมั่นอยู่ในช่องปากมีน้ำลายเป็นสิ่งที่ให้ความชุ่มชื้นแพทย์ไทยว่าไว้ฟันแลช่องปากครบองค์ตรีธาตุ ๓ ประการ ปิตตะ วาตะ เสมหะ ปิตตะ(ไฟ)คือความร้อนในช่องปาก วาตะ(ลม)เกิดแต่ไฟวิ่งวนในช่องปากส่วนที่เป็นช่องโพรงว่างนั้น เสมหะ(น้ำ)คือน้ำลายให้ความชุ่มชื้นไม่แห้งเหือด หากไฟมากเกิน ลมก็มากเกินตาม น้ำลายจักแห้งเหือด หากไฟน้อยลง ลมก็น้อยลงตาม น้ำลายจักเฟื่องขึ้นมาก ไฟมากฟันแห้งฟันกรอบ ไฟน้อยฟันชุ่มฟันชื้น น้ำลายมากช่องปากชุ่มไป สกปรกเฉกน้ำเสียขังแฉะ น้ำลายน้อยช่องปากแห้งเชื้อเข้าง่าย จะเห็นได้ว่าไฟมากไปน้อยไป น้ำมากไปน้อยไปล้วนไม่ดีทั้งสิ้น
หากช่องปากร้อนหมอไทยให้กินยาเขียวยาขมช่วยทำให้ปากชุ่มชื้นขึ้นน้ำลายจักบังเกิด เป็นแผลร้อนในแลกระหายน้ำบ่อย กินน้ำเท่าใดก็มิอิ่มควรทำดั่งนี้ หากปากเย็นปากชื้นน้ำลายมาก หมอไทยให้กินเครื่องยารสร้อน ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด เครื่องแกงไทยเป็นต้น ร้อนมาเย็นไป เย็นมาร้อนไป เป็นการรักษาสมดุลภาวะในช่องปาก
หากฟันเสียสมดุล :-
กำเริบ (ทำงานมากเกินไป) หินปูนเกาะ ฟันเก เลือดออกตามไรฟัน
หย่อน (ทำงานน้อยเกินไป) เคลือบฟันบาง เสียวฟัน ฟันเปราะ หัก
พิการ (สูญเสียหน้าที่)มีอาการ
1. รำมะนาด เหงือกบวม เหงือกร่น
2. ปวดฟัน แมงกินฟัน ฟันผุ
3. ปวดรากฟัน ฟันตาย ฟันคุด
4. ฟันโยกคลอน ฟันหลุด

ฟันพิการในคัมภีร์ต่างๆ
คัมภีร์โรคนิทาน : หักถอนแล้วก็ดี ยังอยู่ก็ดี ย่อมเป้นประเพณีสืบกันมา ถ้าเจ็บในไรฟัน ในรากฟัน ในเหงือก ก็ให้แก้ในทางรำมะนาดนั้นเถิด
คัมภีร์สุมฏฐานวินิจฉัย : ให้เจ็บปวดฟกบวมเป็นกำลัง ถึงฟันหลุดแล้วก็ดี มักเป็นไปตามประเพณีสังสารวัฏ ให้เจ็บฟันและไรฟัน เหงือก ตลอดสมอง ถ้าฟันยังมิหลุดมิถอน ก็ให้แก้ตามกระบวนรำมะนาดนั้นเถิด
คัมภีร์ธาตุวิภังค์ : ให้เจ็บไรฟัน บางทีให้เป็นรำมะนาด บางทีให้เป็นโลหิตออกตามไรฟัน ให้ฟันหลุด ฟันคลอน

 (4 photos)
ขอบคุณข้อมูลจาก อ.คมสัน ทินกร ณ อยุธยา
หนังสือประกอบการเรียนเวชกรรมไทยของกระทรวงสาธารณสุข
            #########################################

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น