วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ตำรายาไทย

ตำรายาไทย
          สมัยสมเด็จพระนารายณ์มีการติดต่อค้าขายกับฝรั่งในทวีปยุโรป และมีการบันทึกสูตรยาไว้ใน ตำรับพระโอสถพระนารายณ์ นับเป็นตำรายาเล่มแรก กล่าวถึงยา 81 ตำรับ ไม่เผยแพร่สู่ประชาชน ใช้เฉพาะในราชสำนักเท่านั้น
    




พับ สา เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้บันทึกเรื่องราวต่างๆ เช่นเดียวกับใบลาน พับสาบางคนเรียกว่า พับหนังสา ทำจากกระดาษสา นำมาตัดให้เท่ากันแล้วนำพับซ้อนกันเป็นเล่ม ส่วนปกบางครั้งทำด้วยกระดาษสา หรือแผ่นหนัง พับสาจะนิยมใช้เขียนเรื่องราว หรือบันทึกเรื่องทางโลก เช่น คำโคลงต่าง ๆ คาถา ตำรายา ตำราโหราศาสตร์ ฯลฯ ในขณะที่ใบลานนิยมใช้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับ พุทธศาสนา หรือเรื่องทางธรรม
การบันทึกพับสาจะใช้ปากกาและหมึกบันทึกด้วยอักษรธรรมล้านนา หรือตัวเมืองบางครั้งพับสาอาจจะบันทึกด้วยอักษรฝักขามด้วย



อ้างอิง
·         ภก.วิษณุ ทรัพย์วิบูลย์ชัย , "ตำรายาไทย" , เอกสารประกอบการสอนคณะเภสัชมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ,ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ,สมุทรปราการ ปี2546

 ที่มา : http://job.haii.or.th/vtl/index.php?option=com_content&task=view&id=77&Itemid=42




  • สมัยกรุงศรีอยุธยา จารึก ลงในใบลานและสมุดข่อย เรียก คัมภีร์ยา หรือ ตำรายา กล่าวถึงอาการของโรค วิธีรักษา ส่วนประกอบของยา สรรพคุณยา ถ้าเป็นสมุนไพร เรียก พืชวัตถุ อวัยวะของสัตว์ต่างๆ เรียก สัตว์วัตถุ แร่ธาตุที่นำมาผสมยา เรียก ธาตุวัตถุ
  • สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระ พงศนรินทรราชนิกุล ( พระโอรสของพระเจ้ากรุงธนบุรี ) เป็นผู้รวบรวมตำรายาจากข้าราชการและราษฎร เขียน ตำราในโรงพระโอสถ หรือตำราพระโอสถ เป็นตำรายาเล่มที่ 2 โดยแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นยาที่ใช้กันทั่วไป ตอนที่ 2 เป็นตำรายาที่ประกอบถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีทั้งสิ้น 84 ขนาน
  • สมัยรัชกาลที่ 2 เป็นสมัยแห่งการฟื้นฟูตำรายา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ( ดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ ) ได้ทรงบูรณะวัดจอมทอง รัชกาลที่ 2 จึง พระราชทานนามว่า วัดโอรสาราม หรือ วัดราชโอรส และทรงจารึกตำราในแผ่นหินฝังไว้ในเสาระเบียงที่วิหารพระพุทธไสยาสน์ นับเป็นตำรายาเล่มที่ 3
  • สมัยรัชกลาที่ 4 โปรด เกล้าให้ตั้งโรงเรียน ราชแพทยาลัย ขึ้นในโรงพยาบาลศิริราช และท่านเจ้าคุณประเสริฐธำรง ได้เรียบเรียงตำราเวชศาสตร์วรรณนา เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ ต่อมาได้จัดทำ แพทยศาสตร์สงเคราะห์ขึ้นอีกเล่ม
  • สมัยรัชกาลที่ 5 ทรง โปรดให้มีการรวบรวมและแปลจากภาษาของแล้วคัดลอกลงในสมุดข่อยจัดทำเป็นตำรา แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง เป็นเภสัชแห่งชาติตำรับแรก จัดสร้างใน พ.ศ. 2413 และยังคงใช้เป็นตำราแห่งชาติมาจนทุกวันนี้
         พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงวงษาธิราชสนิท ทรงสนพระทัยศึกษายาฝรั่งที่คณะมิชชันนารีอเมริกัน ซึ่งมีหมอบรัดเลย์ เข้ามาทำการเผยแผ่ศาสนาและรักษาคนไข้ ทรงบันทึกรายการยาฝรั่งไว้ 42 ชนิด พร้อมข้อสรรพคุณยาแผนปัจจุบันเล่มแรก
            ตำรายา หรือ เภสัชตำรับ
         ตำราที่ระบุถึงสารที่ใช้ในการบำบัด บรรเทา ป้องกัน หรือรักษาโรค จัดทำขึ้นโดย นางปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา ซึ่งเป็นผู้อำนวยการกองวิเคราะห์ยา ในปี พ.ศ. 2522 และได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2522
ปัจจุบันตำรายาเล่มแรกของไทยได้พิมพ์เผยแพร่ มีชื่อว่า Thai Pharmacopoeia , first edition , volume 1, part 1 ซี่งรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2531 สำหรับ Part 2 จัดทำเสร็จแล้วเมื่อ พ.ศ. 2535 และประกาศใช้เป็นทางการในปี 2536
วัตถุประสงค์ของการจัดทำตำรายาของประเทศไทย
  1. เพื่อเป็นมาตรฐานที่ใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินคุณภาพของยาที่ผลิต และจำหน่ายในประเทศ
  2. เพื่อปรับปรุงวิธีการวิเคราะห์ให้เหมาะสมกับสภาวะของประเทศไทย และศักยภาพของโรงงานผลิตในประเทศไทย
  3. เพื่อเป็นตำรายาที่เชื่อถือ มีกฎหมายรับรองและยอมรับทั้งในประเมทศและต่างประเทศ
  4. เพื่อเป็นคู่มือสำหรับแพทย์ เภสัชกร ร้านขายยา ผู้ใช้กฎหมาย ตลอดจนผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยาทุกประเภท
ตำรายาอื่นๆที่ทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 9
ตำรายาพิเศษ ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงรวบรวมและ นิพนธ์ ไว้ ซึ่งเคย มีผู้นำมา พิมพ์ แล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2435 ( ร.ศ. 129) กล่าวถึง ยาทั่วๆไป และยาอายุวัฒนะ
หนังสือวิชาแพทย์แผนยาไทย เรียบเรียงโดย พันโท หม่อมเจ้า กำมสิทธิ์ ผู้ช่วยกรมแพทย์ ในปี พ.ศ. 2450 ร.ศ. 126) ซึ่งอธิบายอาการโรค โดยย่อ และรส ของยาที่เหมาะสมกับโรค และกล่าวถึงน้ำกระสายยา
ตำราโรคนิทานคำฉันท์ พระยาวิชายาบดี ( กล่อม) เรียบ เรียง และนายพันโท หม่อมเจ้า กำมสิทธิ์ ทรงรวบรวม ขึ้นเป็นฉบับใบลาน ไว้ได้โดยสมบูรณื ทรงตรวจแก้และ นิพนธ์ แต่งเติม เนื้อความ แล้วพิมพ์ ไว้เมื่อปี พ.ศ. 2456แม้จะ อ่านง่าย แต่เข้าใจยาก ลักษณะ ตำราก็คล้ายกับที่กล่าวมาข้างต้น คือ มีลักษณะโรคและยา ที่ใช้เช่น เดียว กัน
ตำราแพทย์สำหรับบ้าน พ.ศ. 2464 โดย นาย รอด บุตรี ได้คัดเลือกจาก คัมภีร์แพทย์ แต่ไม่บอกว่า จากที่ใดมาพิมพ์ แจกในงานทำศพท่านขุนสุพรรณรัศมี การคัดเลือก ก็มักคัดที่ว่า ดี เช่น ยาขางแท่งทอง ยาหอม ๆลๆ
ตำรายาพฤฒาแถลง ของพระยาเกษตร หิรัญรักษ์ พ.ศ. 2464 เป็นตำราสั้นๆ แต่ว่ามีสิ่งที่น่าสนใจ
ประการหนึ่งก็ คือมีตำรา ยาแก้โรคภาค และสุนัขบ้ากัด ซึ่งได้อธิบายอาการโรคภาค ไว้ว่า เป็นโรคร้ายแรง ตายได้ภายใน 12 ชม. ถึง 7 วัน ยาแก้ โรคภาค ใช้ เปลือกต้นสมอพิเภกตัวเมีย ชนิดที่ถูกสุรา ไม่ดำ เอามา
ตาก แห้ง ทำผงรับประทาน หรือทา ส่วน ยาแก้สุนัขบ้ากัด ใช้ ทองคำเปลว และ น้ำมะนาว ที่ว่าน่าสนใจ นั้นเพราะ ในทางตะวันตก ท่านที่มีความรู้ควรพิจารณา ว่า การรักษา ตามแบบ แผนไทย นั้น จะเป็นไปได้หรือไม่เพียงใด ซึ่งถ้าเป็นไปไม่ได้ อย่างแน่นอน ต้องเตือน ชาวบ้าน ให้รู้ไว้ เพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อชีวิต
หนังสือตำรายาไทย พิมพ์ พ.ศ. 2473 ได้คัดเลือกตำรับยา ต่างๆ รวม 53 ขนาน มาลงไว้ เช่นยากำลังราชสีห์ ยาธาตุบรรจบ และอื่นๆ
ยา ตำรับที่ชื่อเดียวกัน เช่น ยากำลังราชสีห์ ที่ปรากฎในตำรา เล่มต่างๆ เมื่อ เปรียบเทียบ ด้วยยา ในตำรับ พบว่ามี แตกต่างกันบ้าง จะเป็นเพราะมีการปรับปรุงตำรับยาดดย ตัดทอนตัวยาที่ไม่จำเป็นหรือตัวยาที่หายากออก หรือจะเป็นเพราะ การคัดลอก ต่อๆ กัน มา อาจคลาเดลื่อน
หนังสือสุภาษิตวิจิตรยิ่ง และตำรายาประจำบ้าน ที่พระอุตตมมงคล ชยมงคลโล พิมพ์ เป็นที่ระลึก ในการเลื่อน สมณศักดิ์ พ.ศ. 2474 ก็ นำ ตำรายา อายุวัฒนะ ของ สมเด็จ พระบรมวงศ์ เธอ พระยาปวเรศ วริยาลงกรณ์ พระมหาสมณเจ้า ซึ่งได้นนำมาฉันเอง แล้วได้ผลดี จึงนำมาพิมพ์ไว้
ตำนานและสรรพคุณ ของพืชบางชนิด ผู้เรียบเรียง คือท่านเจ้าคุณ สีหศักดิ์สนิทวงษ์ พ.ศ. 2481 เป็นตำราที่รวบรวม ยาเกร็ด ที่น่าสนใจ โดยพลิกแพลงใช้เอง แล้วได้ผล อาศัยที่เป็นหลานตา ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวง วงษาธิราชสนิท และ พระวรวงศ์ เธอพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ จึงได้รับการถ่ายทอด โดยการบอกเล่า ให้ทราบถึงสรรพคุณและตำนานของพืช บางชนิด เช่น เรื่องที่ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ซึ่งเป็นแพทย์ประจำพระองค์ ในรัชกาลที่ 4 เป็นผู้ใช้เปลือก ซินโคนา ก่อนผู้อื่น ในสยาม ในสมัยนั้น มียาฝรั่ง คือควินิน ใช้อยู่ แต่คนไทยไม่นิยมยาฝรั่ง แพทย์ชาวต่างประเทศ จึงทูลแนะนำให้สั่งเปลือก ซินโคนา มาบดเป็นผงแล้วก็ใช้เหมือนยาไทย จึงนับว่าเปลือก ซินโคนา เข้ามาสู่ประเทศสยาม เป็น ครั้งแรก เมื่อปลายรัชกาล ที่ 4 และมีตำนาน ว่า ต้นยูคาลิปตัส และน้ำมันระกำ เข้ามาแพร่หลาย ในประเทศสยาม เมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 การ ใช้ผักโหมจีน รักษาโรคเบาหวาน ของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสานสนิทวงศ์ ตามคำแนะนำ ของจีนผู้หนึ่ง โดยปรุงเป็นอาหารรับประทาน ก็ได้ผลดี ส่วน สรรพคุณ ของพืชบางชนิด เช่น การใช้เนื้อในของว่านหางจรเข้ ต้มน้ำตาลกรวดกิน แทนรังนก ทำให้ชุ่มชื่น และมีกำลังดีกว่ารังนก ใช้ถั่วลิสง เป็นยาแก้ไอ จากหวัดธรรมดา และ แก้พิษกลอย เป็นต้น
  • ตำรายาไทย เป็นอีกเล่มหนึ่งที่พิมพ์อุทิศ ในงาน ฌาปนกิจศพ หมื่นชำนาญแพทยา ( พลอย แพทยานนท์) ในปี พ.ศ. 2482 ได้ คัดเลือก ตำรายา เป็นจำนวนมากมาลงไว้ เช่น ยาเขียวหอม ยาอินทรจักร ( บางเล่มเขียน อินทจักร) บางเล่ม เขียนอินทจักร์) ยาสุขไสยาศน์ ยาแก้ไข้ ยาแก้มูกเลือด ยาดอง และอื่นๆ
    ในปี พ.ศ. 2492 ศาสตราจารย์ นายแพทย์สำราญ วังศพ่าห์ ได้รวบรวม คัดลอกตำรายา จากจารึก บนแผ่นหินอ่อน ตาม ผนัง ศาลาราย ของวัดราชโอรส เว้นบางแผ่นที่ ชำรุด หรือ เลอะเลือน จนไม่สามารถจะอ่านได้ รวมคัดลอกไว้จำนวน 55 แผ่น เรียกว่า " ตำรายาจารึกวัดราชโอรส " เนื้อหา ในเล่มกล่าวถึง ลักษณะ โรคและ บอกยาแก้ซึ่งมีหลายขนาน ให้เลือกใช้ บางขนาน มีชื่อตำรับ เช่นยา สังข์รัศมี ยาสมุทรเกลื่อน ๆลๆ ยาแต่ละขนาน มีตัวยา ตั้งแต่ 4 อย่าง ถึง กว่า 40 อย่าง บางขนาน บอก ปริมาณไว้ด้วย และ บอกวิธีปรุง วิธีใช้ ไว้ทุกขนาน
  • หนังสือ บทความบางเรื่องเกี่ยวกับสมุนไพร ของท่านศาสตราจารย์ นายแพทย์ อวย เกตุสิงห์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ยา กลางบ้าน ที่ท่านเคยใช้เอง และใช้ได้ผลดี โดยแบ่งตามอาการของโรค มี 47 ข้อ รวมมียา 118 ขนาน
    มี บางขนาน ที่ผู้ อื่นบอกให้ ซึ่งชื่อถือได้ เกือบทุกขนาน เป็นยาตัวเดี่ยวๆ ได้แก่ ยาแก้เจ็บคอ ให้ใช้หญ้างวงช้าง หรือไพล หรือเกลือ หรือกำยาน นอกจากความนำ ที่น่าสนใจ แล้ว ยังมี คำเตือน เรื่องอันตราย จากการใช้ยาไทยไว้ ด้วย โดยนายแพทย์ กรุงไกร เจนพาณิชย์ ได้คัดเลือกหรือเพิ่มเติม รวมเป็น เป็น 49 ขนาน พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2522
ตำรา ยากลางบ้าน รวบรวมโดยพระเทพวิมลโมลี ท่านได้เชิญชวนให้ พระสงฆ์ และประชาชนบริจาค ตำรายา กลางบ้าน ที่มีสรรพคุณชงัด ซึ่งทุกขนาน มีนามเจ้าของ ยากำกับไว้ และรับรองสรรพคุณ ด้วยความมั่นใจ เพราะเคยใช้กับ ตนเอง หรือใช้รักษา ได้ผลดี มาแล้ว พร้อมทั้ง บอกข้อแนะนำ ในการใช้ ( ลักษณะาการวบรวมเช่นนี้ เหมือนเมื่อครั้งรรัชกาล ที่ 3 และรัชกาลที่ 5 ที่โปรดๆ ให้รวบรวม พระคัมภีร์) ตำรายากลางบ้านนี้
พิมพ์ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2524 มี 244 ขนาน พิมพ์ ครั้งที่ 2 มี 299 ขนาน โดยได้รวบรวมยา หลายๆขนาน ที่บำบัดโรคเดียวกันไว้ด้วยกัน เช่น ยาแก้โรคบิด มี 8 ขนาน ยาแก้ไข้ ทับระดู มี 1 ขนาน ยาแก้ไข้มาลาเรีย มี 1 ขนาน ๆลๆ การที่มีหลายขนาน เพื่อให้เลือกใช้ ได้เหมาะสม กับท้องถิ่น ใน ตอน ท้ายเล่ม มี นามานุกรมสมุนไพร ( ตำรายากลางบ้าน) โดยบอกชื่อ พืช ที่เรียกกันทั้ง 4 ภาคของไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น