พระคัมภีร์วรโยคสาร
นอกจากจะมีเนื้อหาปรากฏการณ์รักษาโรคภัยไข้เจ็บตามแนวติกิจฉาแล้ว
เนื้อเรื่องยังประกอบด้วยแพทย์ที่มีลักษณะที่ดี เรื่องนิมิต โรค การรักษาโรค
การเก็บสมุนไพร และท้ายสุดเป็นเรื่องที่ว่าด้วยอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
ในด้านหมอยาไทย
ซึ่งอิงความเชื่อในพุทธศาสนาได้กล่าวถึงชีวิตไว้ว่า ธาตุทั้ง 4 มาอยู่รวมกันอย่างถูกส่วน ทำให้เกิดมนุษย์ สัตว์ และพืชขึ้น แม้ธาตุทั้ง 4
จะเที่ยงแท้และดำรงอยู่ชั่วนิรันดร แต่การประชุมกันของธาตุทั้ง 4
ทำให้เกิดการเจ็บป่วย การแยกตัวจากกันของธาตุทั้ง 4 ทำให้ชีวิตถึงแก่ความตาย
สาเหตุของการเจ็บป่วยในทฤษฎีการแพทย์แผนไทยนั้นมี
6 ประการ คือ มูลเหตุเกิดจากธาตุทั้ง 4 จากอิทธิพลของฤดูกาล เกิดจากธาตุที่เปลี่ยนไปตามวัย
จากดินที่อยู่อาศัยและจากอิทธิพลของกาลเวลาและสุริยจักรวาล
ประการสุดท้ายเกิดจากพฤติกรรมส่วนตัว
เบญจขันธ์หรือ
ขันธ์ 5 องค์ประกอบแห่งชีวิต 5 หมวด กองแห่งรูปธรรมและนามธรรมห้าหมวดที่ประชุมกันเข้าเป็นชีวิต ได้แก่ รูปขันธ์ ซึ่งเป็นส่วนกาย 1 หมวด
และนามขันธ์ ซึ่งเป็นส่วนใจอีก 4 หมวด ได้แก่
1. รูป เป็นส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด คือ ร่างกายและพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกายในพระอภิธรรมแบ่งรูปออกเป็น 28 อย่าง ได้แก่ มหาภูตรูป 4 และอุปาทายรูป * 24
2. เวทนา คือ ความรู้สึกสุข ทุกข์หรือเฉยๆ ซึ่งเกิดขึ้นจาก การกระทบสัมผัสบางประสาททั้ง 5 และทางใจ
3. สัญญา คือ ความกำหนดได้ จำได้
4. สังขาร คือ เครื่องปรุงแต่งจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ
ซึ่งแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือกลาง ๆ ปรุงแปรความนึกคิด การพูด การกระทำให้เกิดกรรมทางกาย วาจา และใจ
เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา โมหะ โลภะ โทสะ มานะ ทิฐิ เป็นต้น
5. วิญญาณ คือ
การรับรู้ทางประสาททั้ง 5 และทางใจ ได้แก่ การเห็น
การได้ยิน การได้กลิ่น การรับรส การรู้สัมผัสทางกาย และการรู้อารมณ์ทางใจ
มหาภูตรูป 4 หมายถึงรูปที่เป็นใหญ่และปรากฏชัดเจน เป็นที่อาศัยแก่รูปอื่นๆ
ทั้งหลายประกอบด้วยดิน น้ำ ลม ไฟ
1. ปถวี หรือ ธาตุดิน
ปถวีธาตุ เป็นธรรมชาติที่แข็ง กระด้าง มีลักษณะแข็ง หรืออ่อน เป็นที่ตั้งของธาตุที่เหลืออีก 3 ธาตุ ปถวีธาตุ ภายในร่างกายมี 20 อย่าง ได้แก่
ปถวีธาตุ เป็นธรรมชาติที่แข็ง กระด้าง มีลักษณะแข็ง หรืออ่อน เป็นที่ตั้งของธาตุที่เหลืออีก 3 ธาตุ ปถวีธาตุ ภายในร่างกายมี 20 อย่าง ได้แก่
1. เกสา (ผม)
|
6. มังสัง (เนื้อ)
|
11. หทยัง(หัวใจ)
|
16. อันตัง (ไส้ใหญ่)
|
2. โลมา (ขน)
|
7. นหารู (เอ็น)
|
12. ยกนัง (ตับ)
|
17. อันตคุณัง (ไส้น้อย)
|
3. นขา (เล็บ)
|
8. อัฏฐี (กระดูก)
|
13. กิโลมกัง(พังผืด)
|
18. อุทริยัง(อาหารใหม่)
|
4. ทันตา (ฟัน)
|
9.อัฏฐิมิญชัง(เยื่อในกระดูก)
|
14. ปิหกัง (ม้าม)
|
19. กรีสัง(อาหารเก่า)
|
5. ตโจ (หนัง)
|
10. วักกัง(ไต)
|
15. ปัปผาสัง (ปอด)
|
20. มัตถลุงคัง(มันสมอง)
|
2. อาโป หรือธาตุน้ำ
อาโปธาตุ เป็นธรรมชาติที่เอิบอาบ เหนียว มีลักษณะหลั่งไหลหรือเกาะกุม
อาโปธาตุ ภายในร่างกายมี 12 อย่างได้แก่
1. ปิตตัง (น้ำดี)
|
4. โลหิตัง (เลือด)
|
7. อัสสุ (น้ำตา)
|
10. สังฆานิกา (น้ำมูก)
|
2. เสมหัง(เสลด)
|
5. เสโท (เหงื่อ)
|
8. วสา (มันเหลว)
|
11. ลสิกา(ไขข้อ)
|
3. ปุพโพ (น้ำหนอง)
|
6. เมโท (มันข้น)
|
9. เขโฬ (น้ำลาย)
|
12. มูตตัง (น้ำปัสสาวะ)
|
เตโชธาตุ เป็นธรรมชาติที่ร้อน อบอุ่น มีลักษณะร้อนหรือเย็น
ทำให้เกิดการสุกงอม อ่อนนิ่ม เตโชธาตุ ภายในร่างกายมี 4 อย่าง ได้แก่
3. เตโช หรือธาตุไฟ
1. สันตัปปัคคี (ไฟสำหรับอุ่นกาย)
2. ปริทัยมัคคี (ไฟสำหรับร้อนระส่ำระสาย)
3. ชิรณัคคี (ไฟสำหรับเผาให้แก่คร่ำคร่า)
4. ปริณามัคคี (ไฟสำหรับย่อยอาหาร)
4. วาโย หรือ ธาตุลม
วาโยธาตุ เป็นธรรมชาติที่พัดไปมา
มีลักษณะเคร่งตึง หรือเคลื่อนไหว
วาโยธาตุ ภายในร่างกายมี 6 อย่าง ได้แก่
1. อุทธังคมาวาตา (ลมพัดขึ้นเบื้องบน) ทำให้หาว เรอ ไอ จาม อาเจียน สะอึก เป็นต้น
2. อโธคมาวาตา (ลมพัดลงเบื้องต่ำ) ทำให้ผายลม เบ่ง ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้น
3. กุจฉิสยาวาตา (ลมในท้องนอกไส้) ทำให้ปวดท้อง เสียดท้อง เป็นต้น
4. โกฏฐาสยาวาตา (ลมในไส้) ทำให้ท้องลั่น ท้องร่วง เป็นต้น
5. อังคมังคานุสารีวาตา (ลมพัดไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ โดยพัดไปตามช่องของเส้นเอ็น) ทำให้งอมือและเหยียดมือ เป็นต้น
6. อัสสาสะปัสสาสวาตา (ลมหายใจเข้า และออก)
ตรีโทษะ การที่ธาตุทั้ง 4 ภายในร่างกาย ซึ่งได้แก่ ธาตุดิน 20 ธาตุน้ำ 12 ธาตุลม 6 ธาตุไฟ 4 ดังที่กล่าวมา
จะทำงานเป็นปกติได้ ก็ด้วยการควบคุมของตรีโทษะซึ่ง
ได้แก่
1. วาตะ ควบคุมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย อวัยวะต่าง ๆ การหายใจ
การไหลเวียนของเลือด ควบคุมลมปราณ จิตใจ
และเบญจอินทรีย์
2. ปิตตะ ควบคุมเกี่ยวกับ การย่อยอาหาร การเผาผลาญพลังงานในร่างกาย
ความร้อนของร่างกาย รวมทั้งสติปัญญา
3. เสมหะ(กผะ) ควบคุมเกี่ยวกับการหล่อลื่น ยึดเหนี่ยวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
หากตรีโทษะทำงานไม่สมดุล การควบคุมร่างกายในส่วนต่าง ๆ ผิดปกติ
ทำให้เกิดความเจ็บป่วยต่าง ๆ ตามมาได้
เจ้าเรือน มนุษย์ทุกคนต้องมีตรีโทษะ
ทำงานร่วมกันจึงจะทำให้มีชีวิตอยู่ได้ ตรีโทษะในแต่ละคนมีสัดส่วนที่ไม่เหมือนกัน
การที่แต่ละคนมีธรรมชาติพื้นฐานแตกต่างกัน ท่านอธิบายว่าเป็นเรื่องของ
เจ้าเรือนหรือที่ภาษาสันสกฤตเรียกว่า ปรกฤติ(prakiti)
การรู้ถึงเจ้าเรือนหรือปรกฤติ(ปะ-กิต-ติ)ของแต่ละคนนั้นมีความสำคัญต่อการตรวจวินิจฉัย
การรักษา การปรับอาหาร พฤติกรรม
และการปรับตำรับยาให้เหมาะสมกับคนแต่ละคน
ในห้องซึ่งมีอากาศสม่ำเสมอกันทั้งห้อง คนบางคนอาจอาจรู้สึกว่าสบาย บางคนอาจรู้สึกร้อน
บางคนอาจรู้สึกว่าหนาว
ความแตกต่างนี้ไม่ใช่เป็นเพราะการนุ่งห่มเสื้อผ้าที่แตกต่างกันเท่านั้น
แต่ขึ้นกับเจ้าเรือนของแต่ละคนด้วย บางคนกินของเผ็ดร้อนแล้วจะรู้สึกสบาย
บางคนกินแล้วท้องไส้ปั่นป่วน ปวดท้อง หรือท้องเสียได้ง่าย ๆ ในขณะที่บางคนกินกล้วยหอมแล้วอึดอัด ท้องขึ้นท้องเฟ้อ นี่เป็นผลจากการที่แต่ละคนมีเจ้าเรือนแตกต่างกัน คำว่า “ลางเนื้อชอบลางยา” ซึ่งคนโบราณมักพูดอยู่เสมอๆ นั้น มิได้หมายความว่า
ให้หมอลองยากับผู้ป่วยไปเรื่อย ๆ จนกว่า จะพบยาที่ถูกกับโรคของผู้ป่วย แต่
ลางเนื้อชอบลางยา เตือนให้หมอตระหนักอยู่เสมอว่า
ยาตำรับเดียวกันใช่ว่าจะรักษาโรคเดียวกัน ได้กับผู้ป่วยทุก ๆ ราย
เพราะนอกจากอาการของโรคอาจจะแตกต่างกันแล้ว
ผู้ป่วยแต่ละรายยังมีเจ้าเรือนแตกต่างกันด้วย
ในคัมภีร์วรโยคสาร กล่าวถึง
ปรกฤติลักษณะว่า คือ ความเป็นปรกติของคนเรา ซึ่งมี 5 ประการคือ
1. วาตะปรกติบุรุษ คือ ผู้ที่มีวาตะเป็นเจ้าเรือน
2. ปิตตะปรกติบุรุษ คือ ผู้ที่มีปิตตะเป็นเจ้าเรือน
3. เสมหะปรกติบุรุษ คือ ผู้ที่มีเสมหะเป็นเจ้าเรือน
4. ทุวันทะปรกติบุรุษ คือ ผู้ที่มีธาตุ 2 ธาตุ เป็นเจ้าเรือน แบ่งเป็น
4.1 ผู้ที่มี วาตะ-ปิตตะ เป็นเจ้าเรือน
4.2 ผู้ที่มี วาตะ-เสมหะ เป็นเจ้าเรือน
4.3 ผู้ที่มี ปิตตะ-วาตะ เป็นเจ้าเรือน
4.4 ผู้ที่มี ปิตตะ-เสมหะ เป็นเจ้าเรือน
4.5 ผู้ที่มีเสมหะ-วาตะ เป็นเจ้าเรือน
4.6 ผู้ที่มีเสมหะ-ปิตตะ เป็นเจ้าเรือน
5. สันนิปาตะปรกติบุรุษ คือ ผู้ที่มีทั้ง วาตะ-ปิตตะ – เสมหะ เป็นเจ้าเรือน
มนุษย์ส่วนใหญ่มีเจ้าเรือนแบบ ทุวันทะปรกติบุรุษ คือ มีธาตุ 2 ธาตุ อยู่ในสัดส่วนที่สูง ในขณะที่อีกธาตุมีน้อยกว่า
การวินิจฉัยแต่ละคนมีธาตุใดเป็นเจ้าเรือนนั้น ท่านให้พิจารณา
ลักษณะของร่างกาย พฤติกรรมรวมทั้งอารมณ์ และจิตใจ ดังนี้
สิ่งที่ต้องพิจารณา
|
เจ้าเรือน
|
|||
|
1. ลักษณะของร่างกาย
1.1 รูปร่าง
1.2 น้ำหนักตัว
1.3 ผัวหนัง
1.4 ขน,ผม
1.5 ตา
1.6 ริมฝีปาก
1.7 ฟัน
1.8 ข้อต่อ
|
ผอมบาง
น้อย
แห้ง,หยาบ
เย็น,สีน้ำตาล
ดำ,แห้ง
เล็ก,แห้ง
สีน้ำตาล,ดำ
กลอกไปมา
บาง เล็ก แห้ง ดำ
ยื่น,ห่าง
เล็ก บาง แห้ง
|
ปานกลาง
ปานกลาง
นุ่ม,เป็นมัน
อุ่น,เป็นมัน
นุ่ม,เป็นมัน
ผมแดง หงอกเร็ว
ขนาดปานกลาง
สายตาดี
ปานกลาง แดง
ขนาดปานกลาง
ปานกลาง
|
ใหญ่
มาก
หนา, เป็นมัน
เย็น,ซีดขาว
หนา,เป็นมัน
หยัก,ดกดำ
ตาโต สวย
ขนตาหนา คิ้วดก
ใหญ่,หนา เป็นมัน
แข็งแรง ขาว
ใหญ่ หนา มั่นคง
|
2. พฤติกรรม
2.1 การพูด
2.2 การเดิน
2.3 การกิน
2.4 การเคลื่อนไหว
2.5 การนอน
2.6 การฝัน
2.7 การมีเพศสัมพันธ์
2.8 การใช้จ่าย
|
พูดเร็ว ช่างพูด
พูดสับสน
เดินเร็ว เบา
หิวไม่แน่นอน
กินน้อย
เร็ว
หลับยาก นอนน้อย
นอนกรน
ฝันว่าเหาะ กระโดด
วิ่งหนี มีความกลัว
มีลูกน้อย
ใช้จ่ายเก่ง
|
พูดชัด เสียงดัง
ปานกลาง
หัวบ่อย กินจุ
ปานกลาง
นอนน้อยแต่หลับสนิท
ฝันรุนแรง,มีความโกรธ
ฝันเห็นแสงสี
ปานกลาง
ปานกลาง
|
พูดช้า เสียงราบเรียบ
เสียงไพเราะ
เดินช้า หนัก
กินช้า เป็นเวลา
ช้า
นอนมาก
ฝันเห็นน้ำมหาสมุทร
ว่ายน้ำ ฝันซึ้ง ๆ
ความต้องการทางเพศ
สูง ลูกดก
ประหยัด
|
3. อารมณ์และจิตใจ
3.1 อารมณ์
3.2 ความคิด ความจำ
3.3 ความเชื่อ
|
หวั่นไหวง่าย
อารมณ์เปลี่ยนเร็ว
ขี้กลัว วิตกกังวัล
อยากรู้ อยากเห็น
เรียนรู้เร็ว ลืมง่าย
เปลี่ยนแปลงง่าย
|
ขี้หงุดหงิด
โกรธง่าย หายเร็ว ขี้อิจฉา
ฉลาดหลักแหลม
แน่วแน่
|
ใจเย็น จิตใจมั่นคง
เป็นมิตรกับคนง่าย
เรียนรู้ช้า แต่จำได้นาน
มั่นคง จงรักภักดี
|
สมุฏฐาน หมายถึง ที่ตั้งที่แรกเกิดของโรค ซึ่งหมายถึงสาเหตุที่เป็นรากฐานของความเจ็บป่วยภายในร่างกาย ในทางการแพทย์แผนดั้งเดิม สมุฏฐานจะถูกจำแนกออกตามตรีโทษะเป็น
1. วาตะสมุฏฐาน หมายถึง
เหตุที่เป็นรากฐานของความเจ็บป่วยเกิดจาก
วาตะ
มักจะมีอาการดังต่อไปนี้
ปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ได้แก่ สะโพก เอว กระดูก ปวดข้อ
ปวดเลื่อนไปทั่วร่างกาย ปวดเกร็ง ตะคริว ปวดประจำเดือน หนาวสั่น หาวบ่อย
ถอนหายใจบ่อย มีลมในท้อง ท้องขึ้น ท้องผูก ผิวแห้ง ชัก กระตุก น้ำหนักลด ซูบผอม นอนไม่หลับ ตึงเครียด อ่อนล้า วิตกกังวล ตื่นเต้นง่าย
2. เสมหะะสมุฏฐาน
หมายถึง เหตุที่รากฐานของความเจ็บป่วย
เกิดจากเสมหะ มักจะมีอาการ ดังต่อไปนี้
น้ำมูกไหล ไอมีเสมหะ เสมหะคั่ง หอบหืด หลอดอักเสบ แน่นหน้าอก หนักเนื้อตัว บวม เชื่องซึม
ขี้เกียจ นอนมาก เบื่ออาหาร รู้สึกอิ่มทั้งที่ท้องว่าง
3. ปิตตะสมุฏฐาน หมายถึง เหตุที่เป็นรากฐานของความเจ็บป่วยเกิดจากปิตตะ มักจะมีอาการดังนี้
ไข้ อักเสบ ขมในปาก ปวดหัว ปวดแสบหน้าอก ปวดท้องหลังอาหาร ปัสสาวะเหลือง อุจจาระเหลือง ผื่นคัน สิว ฝี แสบก้น ริดสีดวงทวาร ร้อนวูบวาบตามตัว
3. ปิตตะสมุฏฐาน หมายถึง เหตุที่เป็นรากฐานของความเจ็บป่วยเกิดจากปิตตะ มักจะมีอาการดังนี้
ไข้ อักเสบ ขมในปาก ปวดหัว ปวดแสบหน้าอก ปวดท้องหลังอาหาร ปัสสาวะเหลือง อุจจาระเหลือง ผื่นคัน สิว ฝี แสบก้น ริดสีดวงทวาร ร้อนวูบวาบตามตัว
ความสัมพันธ์ระหว่างฤดูกาลกับสมุฏฐาน
ฤดู
|
วัน เดือน
|
สมุฏฐาน
|
1. ฤดูร้อน
2. ฤดูฝน
3. ฤดูหนาว
|
แรม 1 ค่ำ เดือน 4 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8
แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
แรม 1 คำ เดือน 12 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4
|
ปิตตะสมุฏฐาน
วาตะสมุฏฐาน
เสมหะสมุฏฐาน
|
ความสัมพันธ์ระหว่างอายุกับสมุฏฐาน
วัย
|
อายุ
|
สมุฏฐาน
|
1. ปฐมวัย
2. มัชฌิมวัย
3. ปัจฉิมวัย
|
แรกเกิด -
16 ปี
16-32 ปี
32 ปี - สิ้นอายุขัย
|
เสมหะสมุฏฐาน
ปิตติสมุฏฐาน
วาตะสมุฏฐาน
|
ความสัมพันธ์ระหว่างเวลากับสมุฏฐาน
ยาม
|
เวลา
|
สมุฏฐาน
|
1
2
3
|
06.00 – 10.00 น. , 18.00
- 22.00 น.
10.00 – 14.00 น. , 22.00
– 02.00 น.
14.00 – 18.00 น. , 02.00
– 06.00 น.
|
เสมหะสมุฏฐาน
ปิตตะสมุฏฐาน
วาตะสมุฏฐาน
|
ความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับสมุฏฐาน
อาหาร
|
สมุฏฐาน
|
1. อาหารรส หวาน เปรี้ยว เค็ม -อาหารเย็น หนัก มัน อาหารที่มีเมือก
2. อาหารรส เผ็ด เปรี้ยว เค็ม -อาหารทอด มัน ร้อน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
3. อาหารรส เผ็ด ขม ฝาด -อาหารดิบ แห้ง เย็น
|
เสมหะสมุฏฐาน
ปิตตะสมุฏฐาน
วาตะสมุฏฐาน
|
ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับสมุฏฐาน
พฤติกรรม
|
สมุฏฐาน
|
1. อิริยาบถที่ไม่เหมาะสม
2. อยู่ในที่อากาศร้อนเกินไป ถูกแดดจัด
อยู่ในที่อากาศหนาว ชื้น แฉะ
อยู่ในที่อากาศเย็น แห้ง ลม
3. อดนอน
นอนกลางวัน
4. อดข้าว อดน้ำ
5. กลั้นอุจจาระ ปัสสาวะ
6. ทำงานหนักเกินกำลัง
7. เศร้าโศก กลัว
โกรธ
เครียด
โลภ
8. พูดมาก
9. เสพกามมากเกินไป
|
วาตะสมุฏฐาน
ปิตตะสมุฏฐาน
เสมหะสมุฏฐาน
วาตะสมุฏฐาน
วาตะสมุฏฐาน
เสมหะสมุฏฐาน
วาตะสมุฏฐาน
วาตะสมุฏฐาน
วาตะสมุฏฐาน
วาตะสมุฏฐาน
ปิตตะสมุฏฐาน
เสมหะสมุฏฐาน
วาตะสมุฏฐาน
วาตะสมุฏฐาน
|
ในองคลักษณะนั้นมีเนื้อความว่า
เมื่อหมอไปถึงคนไข้แล้ว ให้ไปยืนอยู่ตรงหน้าคนไข้ แล้วให้เศกด้วยมนต์นี้ “โอมนะมะอิงคินิตกรัณ
ณมังฑะสิทธิเอสวาหะ” ครั้นเศกแล้วให้พิจารณา
ดูว่าคนไข้นั้นจะลูบคลำจับต้องอวัยวะอันใด
ถ้าลูบคลำที่ข้อเท้ากำหนด ๖ เดือนจะตาย
ถ้าลูบคลำแก้มกำหนด ๓ เดือนจะตาย
ถ้าลูบหน้าผากกำหนดเดือนครึ่งจะตาย
ถ้าลูบคิ้ว ๙ วันจะตาย
ถ้าลูบหู ๗ วันจะตาย
ถ้าลูบตา ๕ วันจะตาย
ถ้าลูบจมูก ๓ วันจะตาย
ถ้าลูบ(แลบ)ลิ้นจะตายในวันนั้น
ถ้าแพทย์เห็นอาการดังนี้แล้ว
ให้กลับไปเสียเถิด
การปรับสมดุลตรีโทษะ
ในคัมภีร์วรโยคสาร กล่าวถึง โทสะสมนะลักษณะ หรือ การระงับโทษะ
(โทษ)ทั้ง 3 ประการ มีดังนี้
(โทษ)ทั้ง 3 ประการ มีดังนี้
1. วาตะสมนะ (การระงับลม) กินอาหารลดวาตะ ได้แก่ อาหารรสหวาน เปรี้ยว เค็ม น้ำมันงา แอลกอฮอล์ เป็นต้น ดื่มน้ำอุ่นในปริมาณมาก อาบน้ำ ทาและนวดตัวด้วยน้ำมันงา อาบแดด สวนทวาร
2. ปิตตะสมนะ (การระงับปิตตะ) กินอาหารลดปิตตะ ได้แก่ อาหารรสขม หวาน ฝาด เย็น เป็นต้น อยู่ในที่ร่ม มีลมพัดถ่ายเท อาบแสงจันทร์ อาบน้ำเย็น ทาน้ำอบ เครื่องหอม กินนม เนย ทาน้ำมันเนย ทำให้ถ่ายหรือเอาโลหิตออก
3. เสมหะสมนะ (การระงับเสมหะ) กินอาหารลดเสมหะ ได้แก่ อาหารรสเผ็ด ขม อาหารหยาบ(เนื้อสัตว์ย่อยยาก) หนัก
ร้อน(ให้พลังงานความร้อนเช่นไขมัน) เป็นต้น อดอาหาร ออกกำลังกายโดยเดินเท้าเปล่า เล่นน้ำ อดนอน ประคบ
การระงับโทษทั้ง 3 เป็นการปรับสมดุลเนื่องจากธาตุนั้นกำเริบ(มากเกินไป)ในธาตุนั้นๆ
ในเรื่องธาตุเจ้าเรือนที่กล่าวมาทั้ง 2 ตอน เพื่อให้รู้จักลักษณะธาตุของตนเอง การเจ็บป่วย และดูแลตนเองค่ะ
****************************************************************
ตัวอย่างข้อสอบ
1.
ว่าด้วยองคลักษณะ ในคัมภีร์วรโยคสาร
เมื่อหมอยืนอยู่ตรงหน้าคนไข้ แล้วคนไข้ลูบคลำจับต้องอวัยวะใด จะตายในวันนั้น
ก. ตา ข. จมูก
ค. หู ง. ลิ้น
2.
ว่าด้วยองคลักษณะ ในคัมภีร์วรโยคสาร
เมื่อหมอยืนอยู่ตรงหน้าคนไข้ แล้วคนไข้ลูบคลำจับต้องอวัยวะใด กำหนด 3 เดือน จะตาย
ก. ตา ข.
คิ้ว
ค. แก้ม ง.
ข้อเท้า
3.
ข้อใดเป็นอโรคยะสุบินลักษณะดี
ก. ฝันว่าได้นุ่งห่มผ้าแดง ข.
ฝันว่าขึ้นบนจอมปลวก
ค. ฝันว่าได้ขี่ช้าง ขี่ม้า ง.
ฝันเห็นคนขี่สุกร ขี่กระบือ
4.
ข้อใดคือ ปริจาริกสัมปัตติลักษณะ หรือ องค์แห่งผู้พยาบาล
ก.
มีสติ กำลัง ปัญญา ข.
มีความเพียร เอาใจใส่ดูแล
ค. มีใจรัก สนิทในคนไข้ ง.
ถูกทุกข้อ
5. ผู้ใดมีศีล
ตั้งมั่นในองคาพยพ
ผิวเนื้ออ่อน น่ารัก ผมละเอียด
มักฝันเห็นน้ำและผ้าขาว
จัดอยู่ในปกติลักษณะข้อใด
ก. ปิตตะปกติบุรุษ ข. วาตะปกติบุรุษ
ค. สันนิปาตะปกติบุรุษ ง.
เสมหะปกติบุรุษ
6. ธาตุ 42 อย่าง
หัวหน้าจะพิการบ่อย ย่อธาตุ 42 อย่าง เป็นสมุฎฐานธาตุ 3 กองกองไหนผิด
ก. วาตะสมุฎฐานอาพาธา อาพาธด้วยลม
ข.
ปิตตะสมุฎฐานอาพาธา อาพาธด้วยดี
ค.
โลหิตังสมุฎฐานอาพาธา อาพาธด้วยโลหิต
ง.
เสมหะสมุฎฐานอาพาธ อาพาธด้วยเสลด
7.มักให้เป็นบ้า ถ้ายังอ่อนอยู่ให้คุ้มดี คุ้มร้าย มัดขี้งโกรธ บางทีให้ระส่ำระสาย ให้หิวโหยหาแรงมิได้คือ
ก.
ม้ามพิการ ข.
ดวงหทัยพิการ
ค.
ตับพิการ ง.ไตพิการ
8. ในช่วงแรม 1 ค่ำเดือน 12 ถึงขึ้น 5 ค่ำเดือน 1
จัดอยู่ในฤดูสมุฏฐานใด ในฤดู 6 และมีพิกัดธาตุสมุฏฐานใดเป็นเจ้าเรือน
ก. สะระทะสมุฏฐาน หทัยวาตะเป็นเจ้าเรือน
ข. สะระทะสมุฏฐาน สัตถวาตะเป็นเจ้าเรือน
ค. เหมันตะสมุฏฐาน ศอเสมหะเป็นเจ้าเรือน
ง. เหมันตะสมุฏฐาน คูถเสมหะเป็นเจ้าเรือน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น