วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

สมุนไพรถอนพิษฟื้นฟูสู่สุขภาพ

คนรุ่นปู่ย่าตายายเราเคยมีชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สะอาดปราศจากมลพิษ โดยเฉพาะมลพิษจากสารเคมีสังเคราะห์ซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นมาในชั่วอายุคนรุ่นเรา นี่เอง ลองมาดูเฉพาะผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีทางการเกษตร ไทยเราจัดเป็นตลาดสารเคมีทางการเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในโลกทีเดียว สารพิษเหล่านี้ ได้แก่ สารพิษฆ่าแมลง สารกำจัดเชื้อรา สารกำจัดวัชพืชและศัตรูพืชอื่นๆ มีถึง 35,000 สูตร จะต้องใช้สารประกอบเพื่อผลิตสารพิษดังกล่าวกว่า 15,000 ชนิด ประเทศไทยตัวเลขนำเข้าสารพิษทางการเกษตร ปี 2532 ถึง 80,879 ตัน ฉะนั้นในปีนี้ก็คงไม่หนีกว่าแสนตันเป็นแน่

ที่น่าวิตก ก็คือ สารพิษฆ่าแมลงในกลุ่ม ออร์กาโนคลอรีน” (Organochlorine) และ ออร์กาโนฟอสเฟต” (Organophosphate) และตัวเก่งของกลุ่มนี้ คือ พาราไทออนแต่ สารพิษในกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มสารพิษทางการเกษตรที่มีพิษร้ายแรงที่สุดและตกค้างในสิ่งแวดล้อมได้ นานนับ 10 ปี สารพิษที่มักตรวจพบอยู่เสมอในดิน น้ำ อาหาร และในตัวคน เพราะสารนี้สามารถสะสมในเนื้อเยื้อของพืชผักและในระบบชีววิทยาของมนุษย์และ สัตว์ได้ ส่วนพิษทั้งมีทั้งเฉียบพลันและสะสมเรื้อรัง พิษเฉียบพลัน คือ ทำลายระบบประสาทส่วนกลาง ปวดหัวอย่างแรง ชักกระตุก และตายในที่สุด ส่วนพิษเรื้อรังตายผ่อนส่งนั้น คือ ก่อให้เกิดความผิดปกติในเซลล์ของตับ ปอด และไต จนถึงขั้นเป็น มะเร็งกันเลยทีเดียว ยิ่งกว่านั้นยังมีพิษแบบส่งต่อ คือ หญิงมีครรภ์คนใดได้รับสารตัวนี้ก็จะส่งพิษไปถึงทารก ซึ่งอาจจะคลอดออกมาพิการ หรือมิฉะนั้นก็เลี้ยงไม่โตมิหนำซ้ำยังสะสมในน้ำนมอีกต่างหาก
ส่วนเรื่องการถอนพิษนั้น อันที่จริงมีตัวยาแผนปัจจุบันหลายขนานที่สามารถบำบัดถอนพิษได้ โดยเฉพาะในรายที่ได้รับพิษอย่างเฉียบพลัน แต่เนื่องจากยาถอดพิษแผนปัจจุบันดังกล่าวเป็นยาที่ซับซ้อนยากแก่การใช้มีแต่ แพทย์เท่านั้นที่จะควบคุมการใช้ยาเหล่านี้ได้ ในที่นี้จึงใครขอเสนอวิธีถอนพิษด้วยยาสมุนไพร โดยเฉพาะในกรณีที่ได้รับพิษแบบสะสมจากสิ่งแวดล้อมหรือแม้แต่ได้รับพิษ เฉียบพลันในบางระดับก็ตาม
ตำรับยาของไทยใช้ยาแก้เบื่อมีอยู่มากมายที่เป็นตัวหลักๆ เช่น รางจืด ย่านางแดง โลดทะนงแดง ก้างปลาแดง สั้นเตี้ย เป็นต้น ปัจจุบันที่มีรายงานศึกษาวิจัย มีเฉพาะรางจืดดอกม่วง (Thubregua Laurifolia Linn.)ซึ่งเป็นรางจืดที่มีโอสถสารแรงกว่าชนิดอื่น และในช่วงของรางจืดดอกม่วงนั้น ดอกสีม่วงแก่จะแรงกว่าดอกสีม่วงอ่อน
สรรพคุณทางยา
รางจืด มีรสเย็น หมอพื้นบ้านใช้ปรุงเป็นยาเขียว ถอนพิษไข้ รากและเถาใช้กินเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ที่สำคัญ คือ ยังใช้รักษาผู้ป่วยที่ถูกยาพิษต่างๆ เช่น สตริกนิน (strychnine) สารหนู สารปรอท สารพิษฆ่าแมลงต่างๆ แก้อาการเบื่อเมาเนื่องจากเห็ดพิษ ผักหวาน ว่านพิษ หรือพิษจากสัตว์กัดต่อย รวมทั้งรักษาโรคพิษสุรา กัญชา ฝิ่น และบุหรี่ด้วย จากการทดลองพบว่า ใบรางจืดสามารถลดอัตราการตายของหนูจากพิษขอโฟลิดอล (Folidol) ซึ่งเป็นสารพิษฆ่าแมลงชนิดออร์กาโนฟอสเฟต โดยการให้กินทางปาก ใบรางจืดแห้งมีสรรพคุณเช่นเดียวกับใบรางจืดสด ดื่มน้ำต้มใบรางจืดอุ่นๆ จะให้ผลดีกว่าเมื่อทิ้งไว้ให้เย็นแล้ว และไม่พบว่ามีผลข้างเคียงจากการดื่มน้ำต้มใบรางจืด
จากข้อมูลสังเขปที่กล่าวมาจะเห็นว่า รางจืดมีสรรพคุณในการกำจัดพิษที่เราต้องรับเข้าไปทุกวัน โดยไม่ต้องรอให้เกิดอาการพิษขึ้น โดยอาจดื่มในรูปของชาใบรางจืด หรือลูกกลอนใบรางจืดที่บดละเอียด ซึ่งจากประสบการณ์ตรงที่ได้ให้เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลที่ต้องอาบน้ำใน แม่น้ำแล้วเกิดมีผื่นคันขึ้นมากทั้งตัว โดยเฉพาะในหน้าแล้งซึ่งมีของเสียเข้มข้นมากในน้ำ โดยให้ใช้ใบรางจืดทั้งต้ม กินและอาบน้ำ หลังอาบน้ำอาการผื่นแพ้ก็ทุเลา รวมทั้งประสบการณ์ตรงที่สุนัขถูกยาเบื่อ เมื่อใช้เถารางจืดฝนกับน้ำซาวข้าวกรอกปาก อาการก็หายอย่างชัดเจน และนอกจากนี้โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราชได้ทดลองใช้น้ำต้มใบรางจืดแก้พิษสารฆ่า หญ้า พาราควอต ร่วมกับยาแผนปัจจุบันซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
กระเทียม (Alliumsaturum Linn.)
นอกจากนี้ยังมีรายงานการศึกษาสมุนไพรถอนพิษตัวอื่นๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ กระเทียม ซึ่งคนไทยรู้จักกันดี เพราะเป็นเครื่องเทศสำคัญในการประกอบอาหาร นอกจากจะพบว่า กระเทียมเป็นพนักงานทำความสะอาดหลอดเลือดให้ปลอดพ้นจากโคเลสเตอรอลแล้ว ยังมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนอีกด้วยว่า กระเทียมสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งและช่วยกำจัดพิษโลหะหนัก เช่น พิษตะกั่วได้
มะขามป้อม
เมื่อเร็วๆ นี้อีกเช่นกันที่มีรายงานการศึกษาเกี่ยวกับการกำจัดพิษตะกั่วของมะขามป้อม ซึ่งเป็นสมุนไพรเก่าแก่ตัวหนึ่งของไทย และตามทฤษฎีการป้องกันมะเร็งด้วยวิตามินซี จะแนะนำให้กินมะขามป้อมซึ่งเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีมากที่สุด และสามารถรักษาสภาพวิตามินซีให้คงสภาพได้นานที่สุดด้วย สมุนไพรทั้ง 3 ชนิดที่กล่าวมานี้เชื่อว่าเหมาะกับสภาวะมลพิษทุกด้านที่พบอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด เช่น โรคภูมิแพ้ ปวดศีรษะ โรคหลอดเลือดตีบ และโรคมะเร็ง เป็นต้น
ที่มา : http://semamoe.com/node/4472

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น