วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เภสัชกรรมภาคปฎิบัติ

การสอบในสาขาเภสัชกรรมไทยนั้นแบ่งการสอบเป็น ๒ ส่วน ส่วนที่ ๑ เป็นการสอบภาคทฤษฎี เป็นการสอบแบบปรนัย มีข้อสอบทั้งหมด ๑๐๐ ข้อ ให้เวลาสอบ ๓ ชั่วโมง หลังจากสอบผ่านทฤษฎีแล้ว จึงมีสิทธิสอบในภาคปฏิบัติต่อ ในวันนี้ จะนำเสนอในส่วนของการปฏิบัติ การทำยาในส่วนของการสะตุ

การสะตุ
การสะตุ  หมายถึง
        
การทำให้ตัวยามีฤทธิ์อ่อนลง หรือ ทำให้พิษของตัวยาน้อยลง หรือทำให้ตัวยานั้นสะอาดขึ้น หรือทำให้ตัวยานั้นสะอาดปราศจากเชื้อโรค หรือ ทำให้ตัวยานั้นสลายตัวลง เช่น เกลือเมื่อสะตุแล้ว จะละเอียดลง ผสมยาง่ายขึ้น และฤทธิ์อ่อนลง ดินสอพอง เมื่อสะตุแล้ว ดินสอพองจะแห้งขึ้น สะอาดขึ้น เป็นต้น
1.
การสะตุดินสอพอง นำดินสอพองใส่หม้อดิน ปิดฝาสุมไฟจนสุกดี เมื่อสะตุแล้วดินสอพองจะแห้งขึ้น สุกและปราศจากเชื้อโรค
ดูวิธีการทำ สะตุดินสอพอง คล๊กไปที่ลิงค์ข้างล่างนี้ได้เลย 
http://www.youtube.com/watch?v=y4vmd_ET79M



2. การสะตุเกลือ จะทำให้เกลือละเอียดขึ้น ผสมยาง่ายขึ้น และมีฤทธิ์อ่อนลง
ดูวิธีการสะตุเกลือ คลิกที่ลิ้งค์ข้างล่างนี้ 
http://youtu.be/Ke-Tsxa9NZI


3. การสะตุยาดำ นำยาดำใส่ในหม้อดินหรือกระทะเหล็ก เติมน้ำเล็กน้อย ยกขึ้นตั้งไฟจนยาดำนั้นกรอบดี  ยกลงจากเตาทิ้งไว้ให้เย็น นำมาใช้ปรุงยาได้
ดูวิธีการสะตุยาดำ


4. การสะตุน้ำประสานทองหรือสารบอแรกซ์ หรือผงแซ หรือโซเดียมบอเรต เอาหม้อดินตั้งบนเตาไฟให้ร้อนจัด นำน้ำประสานทองมาตำให้ละเอียด แล้วเทใส่หม้อดิน  ปิดฝาไว้ เมื่อน้ำประสานทองละลายฟูขาวดีแล้ว  ยกลงจากเตา   จึงนำมาใช้ปรุงยาได้
** น้ำประสานทอง  เป็นพิษต่อเซลล์ทุกชนิด การบริโภคติดต่อกันนาน จะทำให้ทางเดินอาหารอักเสบ เกิดการทำลายเนื้อเยื่อของตับและไต ทำให้มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาเจียน ท้องเดิน ผมร่วง โลหิตจางและชัก
วัตถุส่วนประกอบและอุปกรณ์
1.  
น้ำประสานทอง
2.  
กระทะเหล็กหรือดินเผา
3.  
ตะหลิว
4.  
เตาถ่าน
5.  
ขวดโหลแก้ว
ขั้นตอนการทำ
1.  
เอากระทะเหล็ก (หรือหม้อดินเผา)  ตั้งไฟให้ร้อนจัด
2.  
นำน้ำประสานทองมาตำให้ละเอียด แล้วโรยลงในกระทะบาง ๆ ให้ทั่วกระทะ จนน้ำประสานทองฟูเป็นแผ่นขาว มีลักษณะคล้ายแผ่นข้าวเกรียบ
3.   
ตักออกมาใส่ขวดโหลแก้ว ทิ้งไว้ให้เย็นก่อนปิดฝาขวดโหล
หม้อดินจะต้องให้ร้อนที่สุด

 เมื่อโดนความร้อน น้ำประสานทองเริ่มละลายเป็นน้ำ และ เริ่มฟูขึ้นเรื่อย ๆ จนเกือบเต็มหม้อดิน ต้องคอยระวังอย่าให้ไฟแรงจะทำให้ไหม้ 


 เมื่อน้ำประสานทองฟูเต็มที่และแห้งดีแล้ว ยกลงจากเตา ตั้งทิ้งไว้ให้เย็นและนำไปชั่งน้ำหนักหลังการสะตุ น้ำประสานทองที่ได้จากการสะตุ จะเป็นแผ่น และผงเนื้อเบา สีขาวขุ่น
5. การสะตุรงทอง
วัตถุส่วนประกอบและอุปกรณ์

1.   รงค์ทอง
2.   น้ำมะนาว
3.   ใบตอง (ใบพลู ใบบัวหลวง ใบข่า อย่างใดอย่างหนึ่ง)
4.   เตาถ่าน
5.   ตะแกรง
6.   ขวดโหลแก้ว

ขั้นตอนการทำ
1   นำรงค์ทองมาบดให้ละเอียด บดกับน้ำมะนาว ปั้นเป็นก้อน แล้วห่อด้วยใบตอง 7 ชั้น
2.  นำไปปิ้งไฟให้กรอบ
3.  ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น เก็บใส่ไว้ในขวด ปิดฝา
    
หรือ นำรงค์ทอง มาบดให้ละเอียด ใส่ลงในกะทะ คั่วไฟจนกรอบ อย่าให้ไหม้ ก็ใช้ได้เช่นกัน


1.   ทำความสะอาดใบข่าเช็ดให้แห้ง


2.   ทำความสะอาดใบบัวเช็ดให้แห้ง 


3.   ชั่งรงค์ทองจำนวน 100 กรัม
นำรงค์ทองมาตำให้ละเอียด  


5.   เอาใบข่าวางบนใบบัว เรียงให้เป็นระเบียบ


6.   นำรงค์ทองที่ตำละเอียด มาใส่บนใบข่าที่จัดวางเรียบร้อยแล้ว


7.  ห่อรงค์ทอง เป็นรูปสี่เหลี่ยม


8.   ใช้ไม้กลัดเพื่อยึดขอบให้เรียบร้อย


9.  นำรงค์ทองที่ห่อไว้แล้ว ย่างไฟบนตะแกรง ประมาณ 1 ชั่วโมง


10.   เมื่อย่างได้ที่ นำลงจากตะแกรง


11.   แกะใบบัวและใบข่าออกผึ่งไว้ให้เย็นและแห้ง


12.   จะได้รงค์ทองสีน้ าตาลแดงเป็นแผ่นเนื้อเดียวกัน

ข้อมูลอ้างอิง
ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม โดยกองการประกอบโรคศิลปะ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
เอกสารและภาพประกอบจาก www.samunpri.com
http://herbaltibbosodh.blogspot.com/2012/08/blog-post_27.html
ขอบคุณ วีดีโอจาก yayathaithai



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น