วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สรุปคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย





สรุปคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย   กล่าวถึง  การค้นหาสาเหตุของไข้  ตรวจ วินิจฉัย พยากรณ์โรค ด้วยสมุฏฐานต่างๆ ดังนี้  กองพิกัดสมุฏฐาน ๔ ประการ มี ๑. ธาตุสมุฏฐานทั้ง ๔  ๒. ฤดู๓และฤดู๖ วิเศษสมุฎฐาน(ล่าวโดยพิศดาร) ๓. อายุ และ๔. กาล ๓ มีกาลกลางวันและกลางคืน  รวมทั้งเรื่องสันนิบาตโทษ ๓ (มีเอกโทษ, ทุวันโทษ และตรีโทษ) และธาตุ๔ กำเริบ หย่อน พิการ ตามจักราศี
ผู้แต่งคาดว่าเป็นปู่ชีวกโกมารภัจจ์    คำว่า มิจฉาแปลว่า(ไม่รู้แจ้ง),เสฏฐญาณแพทย์(แพทย์ที่รู้แจ้ง)
        ตารางสรุปโดยย่อ
จตุกาลเตโช ๔ กอง
 (ชาติ,จลนะ,ภินนะ)
พัทธ,อพัทธ,กำเดา
ฉกาลวาโย ๖ กอง
(ชาติ,จลนะ,ภินนะ)
หทัยวาต,สัตถกะ,
สุมนา
ทวาทศอาโป ๑๒ กอง
(ชาติ,จลนะ,ภินนะ)
ศอ,อุระ,คูถ
วีสติปถวี ๒๐ กอง
(ชาติ,จลนะ,ภินนะ)
หทัยวัตถุ,อุทริยะ,กรีสะ
ธาตุสมุฏฐาน
๑.ร้อน(แรม๑/๔-ขึ้น๑๕/๘)
พัทธะ+เตโชระคน(๔๐)
อพัทธ(กึ่ง)+เตโช(กึ่ง) (๔๐)
กำเดา ไม่มีระคน(๔๐)
ฤดูสมุฏฐาน
ฤดู 3
๒.ฝน(แรม๑/๘-ขึ้น๑๕/๑๒)
หทัย+วาโยระคน(๔๐)
สัตถกะ(กึ่ง)+เตโช(กึ่ง)
(๔๐)
สุมนาไม่มีระคน(๔๐)
๓.หนาว(แรม๑/๑๒-ขึ้น๑๕/๔)
ศอ+อาโประคน(๔๐)
อุระ(กึ่ง)+อาโป(กึ่ง) (๔๐)
คูถไม่มีระคน(๔๐)
๑.คิมหันต์   ปิตตะ /เสมหะ ระคน (แรม๑/๔-ขึ้น๑๕/๖)
พัทธะ+เสมหะ+          อพัทธะ(๒๐)
อพัทธะ+เสมหะ+กำเดา(๒๐)
กำเดา+เสมหะ+อพัทธะ (๒๐)
ฤดูสมุฏฐาน
ฤดู 6
๒.วสันต์   ปิตตะ /วาตะ ระคน
(แรม๑/๖-ขึ้น๑๕/๘)
พัทธะ+วาตะ+อพัทธะ (๒๐)
อพัทธะ+วาตะ+กำเดา(๒๐)
กำเดา+วาตะ+อพัทธะ(๒๐)
๓.วัสสาน  วาตะ/ปิตตะ ระคน
(แรม๑/๘-ขึ้น๑๕/๑๐)
หทัย+ปิตะ+สัตถกะ (๒๐)
สัตถกะ+ปิตะ+สุมนา(๒๐)
สุมนา+ปิตะ+สัตถกะ(๒๐)
๔.สะระทะ   วาตะ/เสมหะ ระคน
(แรม๑/๑๐-ขึ้น๑๕/๑๒)
หทัย+เสมหะ+สัตถกะ (๒๐)
สัตถกะ+เสมห+สุมนา(๒๐)
สุมนา+เสมหะ+สัตถกะ(๒๐)
๕.เหมันต  เสมหะ/วาตะระคน
(แรม๑/๑๒-ขึ้น๑๕/๒)
ศอ+วาตะ+อุระ(๒๐)
อุระ+วาตะ+คูถ(๒๐)
คูถ+วาตะ+อุระ(๒๐)
๖.ศิศิระ เสมหะ/ปิตตะ ระคน
(แรม๑/๒-ขึ้น๑๕/๔
ศอ+ปิตตะ+อุระ(๒๐)
อุระ+ปิตตะ+คูถ(๒๐)
คูถ+ปิตะ+อุระ(๒๐)
ปฐม เสมหะ-ปิตตะ-วาตะ
๐-๑๖ ปี
เสมหะมีกำลัง  ๑๒  วัน
มัชฌิม  ปิตตะ-วาตะ-เสมหะ ๑๖-๓๐ ปี ปิตตะ   วัน
ปัจฉิม วาตะ-เสมหะ-ปิตตะ
๓๐ - สิ้นอายุ
วาตะ ๑๐ วัน
อายุสมุฏฐาน
๐๖-๑๐.กินอาหาร เช้า เสมหะ
๑๐-๑๔ เที่ยง     ปิตตะ
๑๔-๑๘ บ่าย     วาตะ
กาลสมุฏฐาน
๑๘-๒๒ พลบค่ำ  เสมหะ
๒๒-๐๒ ยังไม่ย่อย  ปิตตะ
๐๒-๐๖ อาหารย่อยแล้ว  วาตะ
ธาตุทั้ง ๔ ให้โทษตามจักราศี
ร้อน ดิน,น้ำ,ลม,ไฟ  กำเริบ
ฝน  ดิน,น้ำ,ลม,ไฟ หย่อน
หนาว ดิน,น้ำ,ลม,ไฟ พิการ
พิกัด 
จักราศรี
ไฟ
เมษา     พัทธะ    
สิงห์   อพัทธะ
ธนู     กำเดา
ดิน
พฤกษ    หทัยวัตถุ
กันย์    อุทริยะ
มังกร   กรีสะ
ลม
มิย.   หทัยวาตะ
ตุลย์     สัตถกะ
กุมภ์     สุมนา
น้ำ
กรก   ศอ
พิจิก    อุระ
มีน    คูถ


**เมื่อสมุฎฐานทั้ง ๓ มาประชุมพร้อมกัน ๒๙ วันแล้วยังไม่ถอยจึงเข้าสันนิบาตตรีโทษ โดยมีเสมหะ ปิตตะ วาตะ กำเริบ ในกาลสมุฎฐานให้แพทย์พึงจำกำหนดไว้ จะได้วางยาให้ควรแก่กาลสมุฏฐานเวลาอันกำเริบนั้นโดยในพิกัตกล่าวไว้ดังนี้ สันนิบาตโทษ ๓(เวลาของธาตุที่กระทำโทษ) ได้แก่ 


๑. กาลเอกโทษ คือ โทษของเสมหะ วาตะ หรือปิตตะ อย่างใดอย่างหนึ่งกระทำในเวลาของกาลนั้นๆ จะมีอย่างอื่นระคนก็เพียงส่วนน้อย
๒. กาลทุวันโทษ คือ โทษสองอย่างระคนกัน

๓. กาลตรีโทษ คือ โทษระคนสามอย่างไปตลอด จะได้มีช่องให้อย่างหนึ่งอย่างใดกระทำหามิได้ ย่อมระคนกันอยู่ตลอดไปทั้ง ๓ อย่าง 
กำลังไข้
**มีหน่วยนับเป็น องศา หมายถึง วัน กล่าวคือ โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 360 วัน 1 องศาคือ 1 วัน    
**โบราณว่า ระยะเวลากระทำโทษของธาตุทั้ง 4 ตายตัว เช่น ธาตุไฟกระทำโทษใช้เวลา 7 วันต่อเนื่อง หากไม่รักษาธาตุที่จะผิดปกติตามมาคือ ธาตุน้ำ กระทำ 12 วันแล้วต่อด้วยธาตุลม 10 วัน รวม 29 วัน พอย่างเข้าวันที่ 30 ครบสามธาตุเรียก สันนิบาต และหากกระทบถึงธาตุดิน คือ โครงสร้างสำคัญถูกทำลาย ครบ 4 ธาตุเรียก มหาสันนิบาต(สันนิบาตกองใหญ่)

อายุโรค อายุการดำเนินของโรคคือการที่ธาตุทั้ง ๔ ในร่างกายเมื่อเริ่มมีความผิดปกติที่ธาตุใดก่อน จะลุกลามเกี่ยวเนื่องไปยังธาตุอื่นตามลำดับ ความผิดปกติซึ่งเกิดกับธาตุเดียว เรียกว่า เอกโทษ เกิดสองธาตุเรียกว่า ทุวันโทษและเกิดสามธาตุ เรียกว่า ตรีโทษ ถ้าลุกลามจนเกินกำลังทั้งสามธาตุ เรียกว่าสันนิบาต ซึ่งปัถวีธาตุจะแปรปรวนทำให้ธาตุทั้งสามผิดปกติมากยิ่งขึ้น เพราะธาตุดินเป็นที่ตั้งแห่งภูมิโรคทั้งหลายและเมื่อการเจ็บป่วยทำให้ธาตุดินผิดปกติ (ผิดปกติครบทั้งสี่ธาตุ) เรียกว่ามหาสันนิบาต

ธาตุ ทั้ง 4 พิการ
                1. เตโชธาตุ 4 พิการ
               1.1 ปริณามัคคีพิการ ( ไฟย่อยอาหาร) อาการให้ร้อนในอกในใจ ให้ไอเป็นมองคร่อ ให้ท้องขึ้นท้องพอง ผะอืดผะอม
               1.2 ปรทัยหัคคีพิการ (ไฟร้อนระส่ำระสาย) อาการให้มือและเท้าเย็น แต่ร้อนภายใน ให้รดน้ำมิได้ขาด บางทีให้เย็น แต่เหงื่อ ตกเป็นดังเมล็ดข้าวโพด
               1.3 ชีรณัคคีพิการ (ไฟทำให้แก่ชรา) ให้หน้าผากตึง นัยน์ตาดูไม่รู้จักอะไร อาการเปลี่ยนไปเปลี่ยน มา ด้วยว่าพญามัจจุราชมาประเล้าประโลมสัตว์ทั้งหลาย
               1.4 สันตัปปัคคีพิการ ( ไฟอุ่นกาย ) ถ้าแตกเมื่อใด จะเยียวยามิได้เลย ตายเป็นเที่ยงแท้
ยาแก้เตโชธาตุพิการ
        •ชื่อยากาลาธิจร โกฐพุงปลา โกฐสอ / ขิง สะค้าน ดีปลี / หัวแห้วหมู เปลือกโมกมัน / ผลผักชี ผลเอ็น อำพัน อบเชย
ยาทั้งนี้ เอาส่วนเท่ากัน บดเป็นผงละลายน้ำร้อนหรือน้ำผึ้งก็ได้ กินแก้เตโชธาตุพิการ

                  2. วาโยธาตุ 6 พิการ
           2.1 อุทธังคมาวาตาพิการ (พัดจากปลายเท้าขึ้นศีรษะ) เมื่อพิการหรือแตก ทำให้มีอาการดิ้นรน มือเท้าขวักไขว่ ให้พลิกตัวไปมา ให้ทุรนทุราย ให้ หาวเรอบ่อยๆ
           2.2 อโธคมาวาตาพิการ (พัดลงจากศีรษะถึงเท้า) เมื่อพิการหรือแตก อาการให้เมื่อยขบขัดทุกข้อทุกกระดูก ให้ยกมือยกเท้าไม่ไหว เจ็บปวด เป็นกำลัง
           2.3 กุจฉิสยาวาตาพิการ (พัดในท้องนอกลำไส้) เมื่อพิการหรือแตก อาการให้ท้องขึ้นท้องพอง ให้ลั่นในท้องดังจ๊อกๆ ให้เจ็บในอก ให้ สวิงสวาย ให้เจ็บแดกขึ้นแดกลง
           2.4 โฎฐาสยาวาตาพิการ ( พัดในลำไส้,ในกระเพาะอาหาร) เมื่อพิการหรือแตก อาการให้เหม็นข้าว อาเจียน จุกอก ให้เสียดและแน่นหน้าอก
           2.5 อังคมังคานุสารีวาตาพิการ ( ลมพัดทั่วร่างกาย) เมื่อพิการหรือแตก อาการให้หูตึง เจรจาไม่ได้ยิน ให้เป็นหิ่งห้อยออกจากลูกตา ให้เมื่อย มือ และเท้าดังกระดูกจะแตก ให้ปวดในกระดูกสันหลังดังเป็นฝี ให้สะบัดร้อน สะท้านหนาว ให้คลื่นเหียนอาเจียนลมเปล่า
           2.6 อัสสาสะปัสสาสะวาตาพิการ ( ลมหายใจเข้าออก) จะแตกหรือพิการไม่ได้ ลมอันนี้คือลมอันพัดให้หายใจเข้าออก ถ้าสิ้นลมหายใจเข้า และออก หรือลมหายใจเข้าออกขาดแล้วเมื่อใด ก็ตายเมื่อนั้น เมื่อจะตาย ให้หายใจสั้นเข้าๆ จนไม่ออกไม่เข้า
ยาแก้วาโยธาตุพิการ
        •ชื่อยา ฤทธิจร ว่านน้ำ ดีปลี / แฝกหอม เปราะหอม / หัวแห้วหมู พริกไทย
ยาทั้งนี้เอาส่วนเท่ากัน รากกระเทียมเท่ายาทั้งหลาย บดเป็นผงละลายน้ำร้อนหรือน้ำผึ้งก็ได้

              3. อาโปธาตุ 12 พิการ
           3.1 ปิตตังพิการ (น้ำดี) ถ้าพิการหรือแตก มีอาการให้หาสติมิได้ คลุ้มคลั่งเป็นบ้า
           3.2 เสมหังพิการ (น้ำเสลด) ถ้าพิการหรือแตก ให้สะบัดร้อนสะท้านหนาว ให้จับไข้เป็นเวลา บางทีให้ลงเป็นโลหิตเสมหะ เน่า ให้ปวดมวน
           3.3 ปุพโพพิการ (น้ำหนอง) ถ้าพิการหรือแตก อาการให้ไอเป็นกำลัง ให้กายซูบผอมหนัก ให้กินอาหารไม่รู้รส มักให้เป็น ฝีในท้อง
           3.4 โลหิตังพิการ ( น้ำเลือด) ถ้าพิการหรือแตกมีอาการดังนี้ คือ ให้นัยน์ตาแดงดังสายโลหิต ให้งงและหนักหน้าผาก เพราะ โลหิตบางทีให้ผุดภายนอกเป็นวงแดง เขียวหรือเหลือง กระทำพิษต่างๆ ให้ลิ้นกระด้างคางแข็ง แพทย์สมมุติว่าเป็นไข้รากสาด หรือปานดำปานแดง ๆลๆ สมมุติเรียกชื่อต่างๆ เพราะโลหิตแตก กระจายซ่านออกตาผิวหนัง บางทีให้อาเจียน เป็นโลหิต หรือลงเป็นโลหิต บางทีให้โลหิตแล่น เข้าจับหัวใจ ทำให้คลุ่มคลั่งทุรนทุราย ให้ละเมอเพ้อพก หาสติมิได้ แพทย์สมมุติว่าสันนิบาต โลหิตก็ว่า บางทีให้ร้อนให้หนาว บางทีให้ชักเท้ากำมือ ให้ขัดหนักขัดเบา บางทีให้เบาออกมา เป็นสีต่างๆ โลหิตนี้ร้ายนัก แพทย์สมมุตุว่าเป็นไข้กำเดาโลหิต
           3.5 เสโทพิการ (น้ำเหงื่อ) มีอาการให้เหงื่อแตกและตกหนักให้ตัวเย็น และให้ตัวขาวซีด สากชา ไปทั้งตัว สวิงสวายหากำลัง มิได้
           3.6 อัสสุพิการ (น้าตา) มีอาการให้น้ำตาตกหนัก แล้วก็แห้งไป ให้ลูกตาเป็นดังเยื้อผลลำใย
           3.7 เมโทพิการ (มันข้น) มีอาการให้ผิวหนังผุดเป็นวง บางทีแตกเป็นน้ำเหลือง ให้ปวดแสบ ปวดร้อนเป็นกำลัง
           3.8 วสาพิการ (มันเหลว) มีอาการ ถ้าแตกกระจายออกทั่วตัว ให้ตัวเหลือง ตาเหลือง บางทีให้ลงและอาเจียนดังป่วงลม
           3.9 เขโฬพิการ (น้ำลาย) มีอาการให้ปากเปื่อย คอเปื่อย น้ำลายเหนียว บางทีเป็นเม็ดยอดขึ้นในคอ ในลิ้น ทำพิษต่างๆ
           3.10 สิงฆานิการพิการ (น้ำมูก)มีอาการให้ปวดในสมอง ให้น้ำมูกไหล ตามัว ให้ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ
           3.11 ลสิกาพิการ (ไขข้อ) มีอาการกระทำให้เมื่อยในข้อในกระดูก ดุจดังจะคลาดจากกัน ให้ขัดตึงทุกข้อ แก้ยาก เพราะอยู่ ในกระดูก
           3.12 มุตตังพิการ (น้ำปัสสาวะ) มีอาการให้ปัสสาวะวิปลาส ให้น้ำปัสสาวะสีแดง สีเหลืองดังขมิ้น บางทีขาวดังน้ำขาวเช็ด ให้ขัด เบา ขัดหัวเหน่า หัวเหน่าฟก บางทีเป็นมุตกิต มุตฆาต กาฬขึ้นในมูตร ให้มูตรแปรไปต่างๆ

ยาแก้อาโปธาตุพิการ
     •กกลังกา โกฐสอ สมุลแว้ง / ขิงแห้ง สะค้าน ดีปลี / ลูกผักชี ลูกมะตูมอ่อน ลูกพิลังกาสา / หัวแห้วหมู
เปลือกโมกมัน / ราก เจตมูลเพลิง รากคัดเค้า รากขัดมอน / ดอกพิกุล ดอกสารภี เกสรบัวหลวง ดอกบุนนาค
เอาส่วนเท่ากัน ต้ม 3 เอา 1

                 4. ปถวีธาตุ 20 พิการ
            4.1 เกศาพิการ (ผม) ให้เจ็บสมองศีรษะ ให้ชา ให้ผมร่วงหล่น
            4.2 โลมาพิการ (ขน) ให้เจ็บทุกเส้นขนทั่วสรรพางค์กาย
            4.3 นขาพิการ (เล็บ) ให้ต้นเล็บเจ็บช้ำดำเขียว บางทีให้ฟกบวม ช้ำ เลือดช้ำหนอง ให้เจ็บปวดเป็นกำลัง
            4.4 ทันตพิการ (ฟัน) ให้เจ็บปวด ถึงฟันหลุดแล้วก็ดี ให้เจ็บฟัน ไรฟัน ไรเหงือก ตลอดสมอง ก็ให้แก้รำมะนาดนั้น
            4.5 ตะโจพิการ (หนัง) ให้หนังสากชาทั้งตัว แม้แมลงวันจะจับหนือไต่ที่ตัวก็ไม่รู้สึก  ให้แสบร้อนเป็นกำลัง
            4.6 มังสังพิการ (เนื้อ) เนื้อประมาณ 500 ชิ้น พิการให้เสียวไปทั้งตัว ให้ฟกให้บวม  บางทีให้ ร้อนดังไฟลวก
            4.7 นหารูพิการ (เส้นเอ็น)เส้นประธาน 10 เส้น เส้นบริวาร 2,700 เส้นพิการ เส้นสุมนา ผูกดวงใจสวิงสวายทุรนทุราย หิวหาแรงมิได้ เส้นอัมพฤกษ์ให้ กระสับกระส่าย ให้ร้อนให้เย็น ให้เมื่อยให้เสียวไปทุกเส้นเอ็นทั่วตัว ตั้งแต่ศีรษะตลอดถึงเท้า
            4.8 อัฎฐิพิการ (กระดูก) กระดูก 300 ท่อน พิการก็ดี แตกก็ดี ให้เจ็บปวดกระดูก ดุจ ดังจะเคลื่อนคลาดออกจากกัน
            4.9 อัฎฐิมิฌชังพิการ (เยื่อในกระดูก) ให้ปวดตามแท่งกระดูก
            4.10 วักกังพิการ (ม้าม) ให้ม้ามหย่อน มักเป็นป้าง
            4.11 หทยังพิการ (หัวใจ) มักให้เป็นบ้า ถ้ายังอ่อนอยู่ให้คุ้มดีคุ้มร้าย มักขึ้งโกรธ ให้หิวโหยหาแรงมิได้
            4.12 ยกนังพิการ (ตับ) เมื่อพิการ ล่วงเข้าลักษณะอติสาร คือ กาฬผุดขึ้นในตับ ให้ตับหย่อน ตับทรุด บางทีเป็นฝีในตับ
            4.13 กิโลมกังพิการ (พังผืด) มักให้อกแห้ง กระหายน้ำ อันนี้คือโรคริดสีดวงแห้งนั้นเอง
            4.14 ปิหกังพิการ (ไต) ให้ขัดอก ท้องขึ้นท้องพอง ให้แน่นในอกในท้อง กินอาหารไม่ได้
            4.15 ปัปผาสังพิการ (ปอด) ดุจดังไข้พิษ กาฬขึ้นในปอด ให้ร้อนในอก กระหายน้ำ ให้กินน้ำจนปอดลอยจึงหาย
            4.16 อันตังพิการ (ลำไส้ใหญ่) วิงเวียนหน้าตา ให้หาวเรอ ขัดอก เสียดสีข้างให้เจ็บหลังเจ็บเอว ให้ตกเลือดตกหนอง
            4.17 อันตคุนัง (ลำไส้น้อย) ให้กินอาหารผิดสำแดง ให้ปวดท้อง ให้ขัดอก บางทีให้ลงให้อาเจียน อันนี้คือลมกัมมัชวาตพัดเอา แผ่นเสมหะให้เป็นดาน กลับเข้าในท้องในทรวงอก ก็ตัดอาหาร ท่านว่าไส้ตีบไป
            4.18 อุทริยังพิการ (อาหารใหม่)อาการกินข้าวอิ่มเมื่อใด มักให้ร้อนท้องนัก บางทีลงดุจกินยารุ บางทีให้สะอึก ขัดหัวอก ให้จุก เสียดตามชายโครง ผะอืดผะอม สมมุติว่าไฟธาตุนั้นหย่อน โรคทั้งนี้ย่อมให้โทษ เพราะอาหารไม่ควรกิน นั้นอย่างหนึ่ง กินอาหาร ดิบอย่างหนึ่ง ลมในท้องพัดไม่ตลอด มักให้แปรไปต่างๆ บางทีลง ท้อง บางทีผูกเป็นพรรดึก ให้แดกขึ้นแดกลง กินอาหารไม่ได้
            4.19 กริสังพิการ (อาหารเก่า) คือซางโขมยกินลำไส้ ถ้าพ้นกำหนดซางแล้ว ถือว่าเป็นริดสีดวง
            4.20 มัตเกมัตถลุงกังพิการ (มันสมอง) ให้เจ็บกระบาลศีรษะดังจะแตก ให้ตามัว หูตึง ปากและจมูกชึกขึ้นเป็นเฟ็ดไป ลิ้นกระด้าง คางแข็ง เดิมเป็นเพราะโทษแห่งลมปะกัง ให้ปวดหัวเป็นกำลัง ถ้าแก้มิฟังตาย
ยาแก้ปถวีธาตุพิการ ( สมอง กระดูก ม้าม)
     •เบญจกูล1 ตรีกฎุก1 / กระเทียม 1 ใบสะเดา1 ใบคนทีสอ1 / ลูกจันทน์1 ดอกจันทน์1 จันทน์ทั้ง2(1) / กระวาน1 กานพลู1 สมุลแว้ง3 / สมอทั้งสาม 1 เปลือกตีนเป็ด1 เปลือกกันเกรา(2)
     •ยาแก้หัวใจพิการ ชื่อยา มูลจิตใหญ่ ผลคนทีสอ ใบสหัศคุณ ผลตะลิงปลิง / จันทน์ทั้งสอง ดีปลี / เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน เทพทาโร
เอาส่วนเท่ากัน บดปั้นแท่ง ละลายน้ำดอกไม้ แทรกพิมเสน
( จากตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเวชกรรม เล่ม 1 โดยกองการประกอบโรคศิลปะ สำนักงานสาธารณสุข หน้า 31-44 )

*************************************************************

หมายเหตุ ในการอ่านสรุปคัมภีร์ ควรอ่านเนื้อหาในหนังสือทั้งหมดก่อนอย่างน้อย ๑ รอบ แล้วมาอ่านสรุปจะทำให้เข้าใจ ภาพรวมทั้งหมดยิ่งขึ้น

ตัวอย่างข้อสอบในคัมภีร์นี้


1.น้ำหนึ่งอายุ 25 ปี มีอาการเป็นไข้ ตัวร้อน กระสับกระส่าย จัดเป็นอายุสมุฏฐานช่วงใด
ก. มัชฉิมวัย ป่วยด้วยเสมหะเป็นต้นวาตะเป็นที่สุด      
ข.  มัชฉิมวัย ปิตตะเป็นเจ้าเรือน มีกำลัง 12
ค.  มัชฉิมวัย ป่วยด้วยปิตตะเป็นต้น เสมหะเป็นที่สุด
ง.  มัชฉิมวัย ปิตตะเป็นต้น วาตะะเป็นที่สุดกำลัง12
2. กาลสมุฏฐานวาโย พิกัดวาตะกระทำอยู่ในช่วงเวลาใด
ก.   06.00-10.00 น.  18.00-22.00 น.                                ข.   10.00-14.00 น.  22.00-02.00 น.
ค.   11.00-14.00 น . 23.00-02.00 น.                                ง.  14.00-18.00 น.  02.00-06.00 น.
3.สมุฏฐานอาโปธาตุพิกัด เป็นที่ตั้งแห่งทวาทศอาโป ประกอบด้วย
ก.  โลหิตตัง-เขโฬ-ศอเสมหะ                                           ข. ศอเสมหะ-อุระเสมหะ-เขโฬ
ค.  ศอเสมหะ-อุระเสมหะ-คูถเสมหะ                             ง. อุระเสมหะ-คูถเสมหะ-โลหิตตัง
4.กำลังไข้หรือองศาไข้ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ก.  ปิตตะ 7-เสมหะ-10-วาตะ 12                                      ข. ปิตตะ 12-เสมหะ 10-วาตะ 7
ค.  ปิตตะ 10-เสมหะ 12-วาตะ 7                                       ง. ปิตตะ 7-เสมหะ 12-วาตะ 10
5.มิจฉาญาณแพทย์หมายถึงอะไร
ก. แพทย์แผนไทย                                                                ข. แพทย์ชนบท
ค. แพทย์ที่รู้แจ้ง                                                                   ง. แพทย์ที่มิรู้แจ้ง
6. ข้อใดกล่าวถูก ในฤดู ๓ เหมันตฤดูมีสมุฏฐานใดเป็นเหตุ
ก. ปิตตะสมุฏฐาน                                                                ข.  วาตะสมุฏฐาน
ค. เสมหะสมุฏฐาน                                                             ง. เสมหะเจือปิตตะสมุฏฐาน
7. ธาตุ 42 อย่าง  หัวหน้าจะพิการบ่อย ย่อธาตุ 42 อย่าง เป็นสมุฎฐานธาตุ 3 กองกองไหนผิด
 ก. วาตะสมุฎฐานอาพาธา   อาพาธด้วยลม    
ข. ปิตตะสมุฎฐานอาพาธา   อาพาธด้วยดี
ค. โลหิตังสมุฎฐานอาพาธา อาพาธด้วยโลหิต
ง. เสมหะสมุฎฐานอาพาธ  อาพาธด้วยเสลด
8. ในช่วงแรม 1 ค่ำเดือน 12 ถึงขึ้น 5 ค่ำเดือน 1 จัดอยู่ในฤดูสมุฏฐานใด ในฤดู 6 และมีพิกัดธาตุสมุฏฐานใดเป็นเจ้าเรือน
ก.   สะระทะสมุฏฐาน  หทัยวาตะเป็นเจ้าเรือน                            
ข.   สะระทะสมุฏฐาน  สัตถวาตะเป็นเจ้าเรือน
ค.   เหมันตะสมุฏฐาน  ศอเสมหะเป็นเจ้าเรือน                            
ง.   เหมันตะสมุฏฐาน  คูถเสมหะเป็นเจ้าเรือน
9. สะระทะฤดู  เป็นพิกัดวาตะสมุฎฐาน  มีอะไรระคนให้เป็นเหตุ
ก. ปิตตะสมุฎฐาน                                                ข. ธาตุทั้ง 4 ขาดไป
ค. เสมหะสมุฎฐาน                                              ง. ถูกราชอาญาให้ประหารชีวิต
10.  ในฤดู 6 คิมหันตฤดู แบ่งออกดังนี้ ข้อใดที่ไม่ใช่
                  .   พัทธปิตตะ                          .   อพัทธปิตตะ
                  .   กำเดา                                   .   หทัยวาตะ
11. พัทธะปิตตะ หมายถึงข้อไหน
                   .   ดีนอกฝัก                             .   กำเดา
                   .   ดีในฝัก                                .   ถุงน้ำดี
12.     วาโยธาตุสมุฎฐานพิการ พระอาทิตย์สถิตในราศรีใด
                   .   มังกร                                   .   กุมภ์
                   .   มีน                                       .   กรกฎ
13. จากกองพิกัดสมุฏฐานมหาภูตรูป 4 สมุฏฐานกองใดได้นามว่า มหาสันนิบาต หรือ สันนิบาตกองใหญ่
ก. กองสมุฏฐานเตโช                                          ข.  กองสมุฏฐานวาโย
. กองสมุฏฐานปถวี                                            ง. กองสมุฏฐานอากาศ
14.  คัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย ข้อใดกล่าวผิด
                1.  การค้นหาสาเหตุ การวินิจฉัย  การตรวจโรคของแพทย์แผนไทย
                2.  กองพิกัดสมุฏฐาน  ได้แก่  กลุ่มที่ถูกกำหนดเป็นเหตุแห่งโรค
                3.  แบ่งออกเป็น  ธาตุ  ฤดู  อายุ  กาล  และประเทศสมุฏฐาน       
                4.  มิจฉาญาณแพทย์  คือ  แพทย์ไม่รู้ถึงสาเหตุแห่งโรค
15.  ข้อใดกล่าวถูกต้อง
                1.  ฤดู  3  ได้แก่  คิมหันตฤดู  วสันตฤดู  เหมันตฤดู
                2.  ฤดู  6  ได้แก่  คิมหันตฤดู  วสันตฤดู  วัสสานะฤดู  สาระทะฤดู  เหมันตฤดู  ศิศิระฤดู
                3.  คิมหันตฤดู  ในฤดู  3  และคิมหันตฤดู  ในฤดู  6  เริ่มที่  แรม  1  ค่ำ  เดือน  4  เหมือนกัน       
                4.  ถูกทุกข้อ
16.  ข้อใดสัมพันธ์กับธาตุสมุฏฐาน
                1.  เตโชธาตุ  มีธาตุไฟ  4  อย่าง       2. วาโยธาตุ มีตัวควบคุมธาตุ คือ หทัยวาตะ สัตถกวาตะ สุมนาวาตะ
                3.  ดิน น้ำ ลม  ไฟ  อากาศธาตุ มีกำเริบ หย่อน พิการ    4.  ข้อ    ถูก
17.  คำว่า  ตรีธาตุ”  หมายถึงอะไร
                1.  ตรีโทษ              2.  ปิตตะ  วาตะ  เสมหะ        3.  ธาตุไฟ  ธาตุลม  ธาตุน้ำ                    4.  ถูกทุกข้อ
18.  ปิตตะ  ในความหมายของการแพทย์แผนไทย  หมายถึง
                1.  ธาตุไฟ + ธาตุน้ำ               2.  ธาตุไฟ + ธาตุดิน              3.  ธาตุไฟ + ธาตุลม               4.  ธาตุไฟ
19.  มัชฌิมวัย  หมายถึง
                1.  เริ่มตั้งแต่อายุ  16  ปี  ถึง  30  ปี                                     2.  เริ่มตั้งแต่อายุ  16  ปี  ถึง  32  ปี
                3.  วัยกลางคน  มีปิตตะสมุฏฐาน                                  4.  ข้อ     ถูก
20.  สาเหตุการเกิดอาการไม่สบายด้วยธาตุไฟ  คือ
                1.  พัทธะปิตตะ  อพัทธะปิตตะ  กำเดา                           2.  กำเริบ  หย่อน  พิการ            
                3.  เอกโทษ  ทุวันโทษ  ตรีโทษ                                      4.  ปิตตะ  วาตะ  เสมหะ
21.  สมุฏฐานวาโยธาตุพิกัด  เป็นที่ตั้งแห่งลม  6  ประการ  เรียกว่า
                1.  ฉกาลวาโย                                                 2.  หทัยวาตะ  สัตถกวาตะ  สุมนาวาตะ        
              3.  ลมกองหยาบ  ลมกองละเอียด                     4.  ลมประจำที่  ลมไม่ประจำที่
22.  กำลังของโรคในปฐมวัย  ถ้าเป็นโรคให้ตั้งต้นที่ใด
                1.  ปิตตะ                              2.  วาตะ             3.  เสมหะ                      4.  ถูกทุกข้อ               
23.  กาลตรีโทษ  เวลา  06.00  น.  10.00  น.  คือ
                1.  เสมหะ  1  ปิตตะ  1  วาตะ  4    2.  เสมหะ  2  ปิตตะ  2  วาตะ  2  3.  เสมหะ  2  ปิตตะ  3  วาตะ 2     4.  ไม่มีข้อใดถูก
24.  สมุฏฐานวินิจฉัยไม่กล่าวถึง  การค้นหาสาเหตุแห่งโรคที่มาจากอะไร
                1.  กองพิกัดสมุฏฐาน  ทั้ง  4  กอง        2.  ประเทศสมุฏฐานและความประพฤติ  (พฤติกรรม)  ก่อโรค
                3.  ชาติ  จลนะ  ภินนะ  ของกองธาตุ   4.  การกำเริบ  หย่อน  พิการ  ของกองธาตุ
25.  ในกาลเมื่อบ่ายก็ดี  ในกาลเมื่ออาหารย่อยแล้ว  และในกาลเมื่อนอนหลับ  อะไรกำเริบ

                1.  เสมหะ                               2.  ปิตตะ                3.  วาตะ                                  4.  ดี                       



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น