วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

กินเป็น..ไม่ป่วย

กินอย่างไรจะไม่ป่วย? ในภูมิปัญญาแห่งแพทย์แผนไทย
ฉบับย่อ เหมาะสำหรับแพทย์แผนไทย หรือผู้กำลังศึกษาวิชาแพทย์แผนไทยนำไปใช้แนะนำผู้ป่วย เมื่อป่วยไข้ ไม่ให้กินผิดสำแดง หรือแนะนำทั่วไปเพื่อสุขภาพที่ดี

ทำไมเราต้องกิน เพราะร่างกายต้องการอาหารใหม่ นำไปสร้างพลังงานเพื่อเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ นั่นคือความรู้แต่สมัยเรียนชั้นประถมของเราทุกคน และในทางการแพทย์แผนไทยก็ได้กล่าวถึงเรื่องอาหารไว้ว่า เครื่องอาหาร (ส่วนประกอบ และส่วนปรุงรส) บอกสรรพประโยชน์
รสอาหารบอกสรรพคุณ ถ้ากินถูกส่วนถูกรส ก็จะไม่ป่วยไข้ ถ้ากินผิด เรียกกินอาหารผิดสำแดง ด้วยไปขัดกับโรคหรืออาการที่เป็นอยู่ ทั้งที่รู้และยังไม่รู้ว่าเป็น 
สรรพรสของพืชผัก บอกสรรพประโยชน์
พืชผักรส ฝาด,หวาน,มัน,เค็ม,เปรี้ยว,ขม,ร้อน,เย็น แต่ละรสบอกแต่ละสรรพประโยชน์
ฝาด/สมาน,หวาน/บำรุงเนื้อ,มัน/บำรุงเส้น,เค็ม/รักษาเนื้อ,เปรี้ยว/ลดเสลด/บำรุงโลหิต,ขม/บำรุงน้ำดี/ตับ,
ร้อน/ช่วยขับลม,เย็น/ไปดับร้อนภายใน

สรรพรสของอาหารบอกสรรพคุณ
อาหารรสร้อน ช่วยขับลม/อาหารรสเย็น ช่วยดับร้อน/อาหารรสกลมกล่อม กินได้ทั้งร้อนและเย็น

สรรพรสขัดกับโรค (พืชผักที่มีรสแสลงกับโรค)
1. รสเปรี้ยว,หวาน,มัน,เค็มแสลงกับ  - ผู้ป่วยโรคทางน้ำ เช่นเลือดมีตะกันน้ำตาล ตะกันไขมันมาก   

2. แสลง รสร้อน - ผู้ป่วยโรคทางไฟ เช่น โรคทางต่อมไร้ท่อ (อพัทธะปิตตะ) โรคทางตับ (พัทธะปิตตะ) ตัวร้อน  
3. แสลงรสขม,รสเย็น - ผู้ป่วยโรคทางลม เช่น ท้องอืดเฟ้อ เรอเหม็นเปรี้ยว ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว หทัยวาตะ

สรรพรสที่เหมาะกับเวลา
อาหารรสเปรี้ยวร้อน กินมื้อเช้า ถึง มื้อสาย   

อาหารรสเย็น/ขม/กลมกล่อม เหมาะกินมื้อกลางวัน ถึง มื้อบ่าย 
อาหารรสร้อน หรือเผ็ดร้อน กินมื้อเย็น ถึง มื้อค่ำจะดี
สรรพรสที่เหมาะกับอากาศ
  ลมร้อนมา ให้กินเย็น/ขม/กลมกล่อม

  ลมฝนมา ให้กินร้อน/เผ็ดร้อน   
  ลมหนาวมา ให้กินเปรี้ยวร้อน
ยามเช้าสาย กินเปรี้ยวร้อน ยามกลางวันถึงบ่าย กินเย็น ขม กลมกล่อม ยามเย็นค่ำ กินร้อนเผ็ดร้อน

พืชผักรสร้อน ส่วนใหญ่มีกลิ่นฉุน มักมีน้ำมันหอมระเหย เหมาะทำอาหารรสร้อน เหมาะทางลม
พืชผักรสเย็น ส่วนใหญ่เติบโตริมน้ำชายคลอง หรือมีลักษณะชุ่มฉ่ำน้ำ เหมาะทำอาหารรสเย็น เหมาะทางร้อน
พืชผักรสเปรี้ยว ปรุงอาหารเปรี้ยวนำ เหมาะทางน้ำ แต่ไม่ป่วยด้วยโรคทางน้ำ

อาหารรส เปรี้ยว,หวาน,มัน,เค็ม เหมาะกับอาการอ่อนเพลีย ผอมแห้งแรงน้อย ผู้ป่วยฟื้นไข้
อาหารรสร้อน เหมาะกับผู้สูงวัย วาตะหรือลมกำเริบ กินดียามแดดร่มลมตก หรือ ยามฟ้าฝนมา
อาหารเย็น กลมกล่อม เหมาะกับอาการร้อนใน เป็นไข้กำเดาทุกชนิด กินดียามเข้าร้อน

อาหารดิบ อาหารคาวมาก อาหารหมักดอง (หมายรวมถึง หน่อไม้ดองผักดองกิมจินมเปรี้ยวปลาร้าน้ำปลาซีอิ้วทุกชนิดเต้าหู้ยี้ขนมปังทุกชนิด,ฯลฯ) ไม่ควรกินยามป่วยไข้ไม่สบาย ไม่เหมาะกับประเทศสมุหฐานร้อนชื้นอย่างประเทศไทย กินไข่เป็ดรสเย็นชุ่ม ดีกว่าไข่ไก่รสอุ่นร้อน ไม่เหมาะกับประเทศสมุหฐานของเรา เนื้อสัตว์ทุกชนิด โดยเฉพาะเนื้อหมู/เนื้อไก่ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ทุกชนิดที่ทำแบบอุตสาหกรรมอาหารผลิตปริมาณมากๆ เลี้ยงด้วยอาหารสัตว์ที่ทำมาจากกากถั่วเหลือง GMO ยาปฎิชีวนะที่ฉีดให้กับสัตว์เลี้ยงในโรงเรือนแบบปิด เลี้ยงมากๆ ล้วนไม่ดีต่อร่างกาย อาหารกึ่งสำเร็จรูป/ขนมถุงขบเคี้ยวทุกชนิดที่ทำปริมาณมากๆแบบอุตสาหกรรม ควรงดบริโภค กลับไปหาบรรพบุรุษกันเถอะ กินแบบท่าน อย่ารักความสบายจนเจ็บป่วย อย่าอ้างเรื่องไม่มีเวลา อย่าอ้างเรื่องทำอาหารไม่เป็นไม่อร่อย อย่าอ้างเรื่องความสะดวกสบาย กินอาหารไทยแท้ ต้ม ยำ ตำ แกง ไม่กินของผัด ของทอด อาหารต่างชาติทุกประเทศ กินไม่มีมื้อ หิวแล้วถึงกิน ถ้ากินเช้า เวลาอาหารจะลงตัวพอดี เช้า กลางวัน เย็น ถ้าไม่กินเช้า ให้กินเมื่อหิวเท่านั้น ไม่กินน้ำเมื่อกินข้าว ให้เพียงจิบนิดหน่อยหลังอาหารแล้วเท่านั้น กระหายถึงดื่มน้ำ ตามความต้องการของร่างกาย ไม่ดื่มน้ำเย็น ไอศครีม เครื่องดื่มเย็นทุกชนิด ชาเขียว น้ำอัดลม กาแฟเย็น เอาน้ำเย็นออกจากตู้เย็น ใช้แค่แช่อาหารพืชผักเท่านั้น 
ปู่ย่าตายาย ของเราไม่มีอาหารแบบเรา มีแต่อาหารแบบท่าน กลับไปหาท่านทำอย่างท่าน อายุยืนแบบท่านไม่ป่วยด้วยโรคแบบเรา 

ขอกราบเคารพบูชา บรรพชนแพทย์แผนไทยทุกๆท่าน กราบบูชาด้วยบทความนี้
บทความรู้แห่งบรรพชนโดย นายคมสัน ทินกร ณ อยุธยา (แพทย์แผนไทย)
สำหรับเผยแพร่ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ด้วยอยากให้คนไทยไม่ป่วยไข้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น