วันอังคารที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2557

บริโภคอาหารไทยตามรสยา 9 รส

บริโภคอาหารไทยตามรสยา 9 รส
ในการใช้ยาและสมุนไพรเพื่อรักษาโรค แพทย์แผนไทยจะจัดยาตามรสของยาซึ่งมี 9 รส แต่ละรสมีสรรพคุณเฉพาะตัว ผักพื้นบ้านหรือสมุนไพรไทยต่าง ๆ อาศัยความรู้จากรสยาทั้ง 9 นี้สำหรับแยกแยะสรรพคุณ รสยาทั้ง 9 รสได้แก่

1.1 รสฝาด มีสรรพคุณในการสมานและปิดธาตุ รับประทานมากจะฝืดคอ ทำให้ท้องผูก ผักพื้นบ้านในรสนี้ได้แก่ ยอดมะม่วงหิมพานต์ กระโดน กล้วยดิบ มะตูมอ่อน เป็นต้น
1.2 รสหวาน มีสรรพคุณทำให้ชุ่มชื่น บำรุงกำลัง รับประทานมากทำให้ง่วง เกียจคร้าน ลมกำเริบ ตัวอย่างได้แก่ กระหล่ำปลี ผักกาด ผักหวานป่า มะเขือเครือ บวบ แค เห็ด และย่านาง เป็นต้น
1.3 รสขม สรรพคุณแก้พิษดี และโลหิต ดีพิการ รับประทานมากทำให้กำลังตก อ่อนเพลีย เช่น สะเดา มะระขี้นก ใบยอ ผักโขม ขี้เหล็ก เป็นต้น
1.4 รสเผ็ดร้อน สรรพคุณแก้ลม จุกเสียด แน่นท้อง ปวดท้อง รับประทานมากทำให้อ่อนเพลีย เช่น พริก กระเทียม พริกไทย ดีปลี ขิง ข่า โหระพา และสะระแหน่ เป็นต้น
1.5 รสมัน สรรพคุณแก้เส้นเอ็นกระตุก ขัดยอด ปวดเสียว เช่น ถัวพู ฟักทอง กลอย กระถิน สะตอ และเนียง เป็นต้น 
1.6 รสเปรี้ยว สรรพคุณแก้เสมหะ กัดเสลด ฟอกโลหิต รับประทานมากทำให้ท้องอืด แสลงแผล เช่น ส้ม สมอ มะมาว มะกรูด และมะเฟือง เป็นต้น
1.7  รสเค็ม สรรพคุณซึมซาบตามผิวหนัง แก้ประดง ชา และคัน รับประทานมากจะกระหายน้ำ ได้แก่ เกลือต่าง ๆ
1.8 รสหอมเย็น สรรพคุณทำให้ชื่นใจ ได้แก่ ดอกกุหลาบ ดอกโสน ดอกดาวเรือง
1.9 รสเบื่อเมา สรรพคุณแก้พิษ ไม่เป็นที่นิยมนำมาประกอบอาหารตามปกติ แต่อาจจะมีผู้นำมาใส่เพื่อวัตถุประสงค์อื่นได้แก่ กัญชา ใบกระท่อม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น