วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

หลักสูตรเวชกรรมไทย


หลักสูตร เวชกรรมไทย    เป็นหลักสูตรเพื่อผู้ที่ต้องการมีความรู้ในด้านการรักษาโรค (เวชกรรม) เพราะถ้าไม่รู้จักโรค ก็ไม่สามารถจ่ายยาให้ถูกกับโรคได้ ด้วยการรู้จักคัมภีร์ของโรคต่างๆ และรู้ถึงสาเหตุการเจ็บป่วย การพัฒนาหรือการดำเนินไปของโรค เพื่อทำการรักษาได้ทันและถูกต้อง ซึ่งวิธีการรักษาแผนไทยนั้นมีทั้ง การใช้ยา นวด ประคบ อบ และอื่นๆ ฉะนั้นการเรียนเวชกรรมไทยนั้นจึงมีความสำคัญ และเมื่อท่านสามารถสอบได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเวชกรรมไทยแล้ว ท่านสามารถที่จะประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์แผนไทยได้อย่างถูกต้องตามกฏหมายอีกด้วย


              คัมภีร์ที่เกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรคโดยทั่วไป
  • 1. คัมภีร์สมุฎฐานวินิจฉัย กล่าวถึง การค้นหาสาเหตุแห่งไข้ การวินิจฉัยโรค การตรวจโรค การพยากรณ์โรคและไข้ต่างๆ กองพิกัดสมุฏฐาน 4 ประการ ธาตุ อุตุ อายุ และกาล 
  • 2. คัมภีร์เวชศึกษา กล่าวถึงความมรณะ และ วิธีการตรวจโรคต่างๆ
  • 3. คัมภีร์โรคนิทาน กล่าวถึงสาเหตุของโรค และ ลักษณะพิการและแตกของธาตุทั้ง 4 ความผิดปกติของธาตุต่างๆ
  • 4. คัมภีร์ธาตุวิภังค์ คล้ายกับคัมภีร์โรคนิทาน แต่มีรายละเอียดแตกต่างกัน ยารักษา และรสยา 4 รส
  • 5. คัมภีร์ธาตุวิวรณ์ กล่าวถึงสาเหตุการเกิดโรค โดยอาศัยปัจจัยแวดล้อม และปัจจัยภายใน ธาตุทั้ง 4 พิการ ฤดู 3 ฤดู 4  ฤดู 6 ให้ธาตุพิการ วิปลาส และ เป็นตรีโทษรวมถึงรสยา 8 รส รสยาประจำวัย และโลหิตฉวี                                                                                                                                                                                                                        คัมภีร์ที่กล่าวถึงไข้
  • 6. คัมภีร์ฉันศาสตร์ กล่าวถึง จรรยาแพทย์ ทับ 8 ประการ ประเภทไข้ต่างๆ ลักษณะน้ำนมดีและชั่ว ป่วง 8 ประการ มรณะญาณสูตร และโรคแห่งกุมาร 
  • 7. คัมภีร์ตักศิลา กล่าวถึง ลักษณะอาการ การรักษาไข้พิษ ไข้กาฬ ต่างๆ ยาแก้ไข้ต่างๆ 
  • 8. คัมภีร์สิทธิสารสงเคราะห์ กล่าวถึง ลักษณะลำบองราหูอันบังเกิดใน 12 เดือน กาฬโรคและสันนิบาต                                                                                                                                                                                                                        คัมภีร์ที่เกี่ยวกับโรคในช่องปากและทางเดินอาหาร
  • 9. คัมภีร์มุขโรค กล่าวถึงโรคในช่องปาก เกิดเพราะโลหิตมี 19 ประการ 
  • 10. คัมภีร์ธาตุบรรจบ กล่าวถึงโรคในระบบทางเดินอาหาร (โรคอุจจาระธาตุ) และมหาภุตรูป โดยใช้ทฤษฎีธาตุ
  • 11. คัมภีร์อุทรโรค กล่าวถึงโรคในช่องท้อง ทางเดินอาหาร มาน 18 ประการ (ท้องมาน)                                                                                                                                                                                                                                                  คัมภีร์ที่เกี่ยวกับโรคของมารดาและเด็ก และโรคสตรี
  • 12. คัมภีร์ปฐมจินดา กล่าวถึง การปฏิสนธิและการตั้งครรภ์ ลักษณะน้ำนมต่างๆ โรคในเด็กแรกเกิด โลหิตระดูสตรี ลักษณะครรภ์ต่างๆ รูปลักษณะกุมาร และซาง 
  • 13. คัมภีร์มหาโชติรัตน์ กล่าวถึงโรคสตรี โรคโลหิตระดูสตรีปกติโทษ และระดูทุจริตโทษ                                                                                                                                                                                                                                               คัมภีร์ที่กล่าวถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และทางเดินปัสสาวะ
  • 14. คัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา กล่าวถึงโรคที่เกิดกับทางเดินปัสสาวะ 
  • คัมภีร์ที่เกี่ยวกับโรคลม
  • 15. คัมภีร์ชวดาร กล่าวเกี่ยวกับโรคลมอันมีพิษ โรคทางเดินปัสสาวะ หัวใจ และไต ซึ่งอธิบายโดยทฤษฎีลม
  • 16. คัมภีร์มัญชุสาระวิเชียร กล่าวถึงลมที่ทำให้เกิดโรค และมีอาการต่างๆ ตามลักษณะที่ตั้งของลม 10 ประการคัมภีร์ที่เกี่ยวกับความเจ็บป่วยเรื้อรัง/ ความสึกหรอของร่างกาย
  • 17. คัมภีร์กษัย กล่าวถึง กษัยเกิดเป็นอุปปาติกะโรค 18 จำพวก และกษัยเกิดแก่กองธาตุสมุฏฐาน อีก 8 จำพวก                                                                                                                                                                                                                      คัมภีร์ที่เกี่ยวกับโรคที่เกิดขึ้นที่เยื่อบุผิว และฝีทั้งภายนอกและภายใน
  • 18. คัมภีร์อติสาร เกี่ยวกับฝีภายใน ปัจจุบันกรรมอติสาร 6 จำพวก และโบราณกรรมอติสาร 5 จำพวก  
  • 19. คัมภีร์ทิพยมาลา เกี่ยวกับฝีภายในร่างกายรวมถึงวัณโรคและผิวหนัง
  • 20. คัมภีร์ไพจิตร์มหาวงศ์ กล่าวถึงฝีทั้งภายนอกและภายใน ลักษณะและประเภทต่างๆ ของฝี 
  • 21. คัมภีร์วิถีกุฏโรค กล่าวถึงโรคที่เกิดกับผิวหนังและกระดูก                                                                                                                                                                                                                                                                                                     คัมภีร์ที่เกี่ยวกับโรคตา
  • 22. คัมภีร์อภัยสันตา กล่าวถึง โรคที่เกี่ยวกับตา                                                                                                                  อื่นๆ
  • 23. คัมภีร์วรโยคสาร
นอกจากศึกษาตามคัมภีร์ดังกล่าวมาแล้ว ในหลักสูตรเวชกรรมไทยของสมาคมฯยังต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกดังต่อไปนี้
-          พื้นฐานการนวดไทย
-          ธรรมชาติบำบัด  
-          การซักประวัติ
-          วิธีการตรวจโรค
-          การใช้ยาเฉพาะโรค
-          การเปิดคลีนิก
-          ฝึกภาคปฏิบัติโดยการออกหน่วยแพทย์

เวชกรรมไทย เป็นการแพทย์แผนไทยแบบองค์รวม มีองค์ความรู้ ครอบคลุมการบำบัดรักษาโรคอย่างครบถ้วน คือ
·         รู้การเกิดของโรค รู้สาเหตุของโรคจากปัจจัยต่างๆ
·         รู้จักโรค ทราบถึงอาการโรค และชื่อสมมติของโรคตามอาการ
·         รู้จักยารักษาโรค ทราบถึงสรรพคุณและวิธีปรุงยา
·         รู้วิธีรักษาโรค ทราบว่ายาชนิดใด วิธีรักษาแบบใด เหมาะสำหรับโรคใดๆ
ความรู้ทั้ง จึงเป็น หลักปฏิบัติในการวิเคราะห์ และบำบัดรักษาโรคแบบแผนไทย และต้องฝึกตรวจและวินิจฉัยโรคโดยการออกหน่วยแพทย์เพื่อเป็นการฝึกปฏิบัติจริง และเพิ่มพูนประสบการณ์
สาขาเวชกรรมไทย ใช้ระยะเวลาในการศึกษา 3 ปี หลังจากมอบตัวศิษย์ จึงจะมีสิทธิ์สอบใบประกอบโรคศิลปะ
เปิดอบรมในวันอาทิตย์ เวลา 9.00 น. - 16.00 น.
หลังจากจบหลักสูตรนักศึกษาของสมาคมฯทุกท่าน สามารถทำการสอบเพื่อรับใบประกาศของสมาคมฯได้อีกด้วย
สามารถติดต่อสมาคมเภสัชและอายุรเวชโบราณแห่งประเทศไทย อยู่ภายในวัดธาตุทอง (สถานีรถไฟฟ้าเอกมัย) หรือ
เข้าเยี่ยมชมเว็ปไซด์ได้ที่  www.ayurvedicthai.com


1 ความคิดเห็น:

  1. สวัสดีค่ะ
    รบกวนสอบถาม เปิดรับสมัครนักศึกษาปี 2562 เมื่อไหร่ค่ะ?

    ตอบลบ