วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สรุปคัมภีร์ธาตุวิวรณ์


คัมภีร์ธาตุวิวรณ์ กล่าวถึงสาเหตุการเกิดโรค โดยอาศัยปัจจัยแวดล้อม และปัจจัยภายใน ธาตุ ๔ พิการ วิปลาศ  ตรีโทษลักษณะของไข้ เวลาไข้ ข้อห้ามโลหิตฉวี โรคตามภูมิประเทศ รสยาประจำวัย ลักษณะไข้ รวมถึงรสยา ๘ รสและมูลเหตุ ๖
 และข้อห้าม ๑๑ ที่ไม่มีกล่าวในคัมภีร์อื่น

คิมหันต์ เตโชธาตุพิการ โลหิตเป็นต้นไข้ แรม๑ค่ำด.๔-ขึ้น๑๕ค่ำด.๘
วสันต์ วาโยพิการให้โทษกว่าทุกกอง แรม๑ค่ำด.๘-ขึ้น๑๕ค่ำด.๑๒
เหมันต์  อาโปพิการ แรม๑ค่ำด.๑๒-ขึ้น๑๕ค่ำด.๔

ฤดู๓ 
ให้ธาตุพิการ
คิมหันต์  ไฟสันตัป  ให้โลหิตพิการ อยากอาหารบ่อย ขัดอก แสบไส้ ลมร้าย๖
วสันต์ วาโย เพราะกินอาหาร
ท้องลั่น หาวเรอ กาฬเลือดออก ไม่รู้รส ปากเหม็น, หวานเดือน ๘-๑๐
วสันต์เหมันต์  อาโป กินอาหารผิดโกรธ ลงโลหิต เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ปวดท้อง ไอ ผอมเหลือง เดือน๑๑-๑
เหมันต์คิมหันต์   ปถวี  นอนไม่หลับ  รุ่มร้อนโกรธ เจ็บอก กระหาย เจ็บคอ ปากหวาน ท้องลั่น เดือน๒-๔
ฤดู๔
ให้ธาตุพิการ
๑.คิมหันต์  กำเดา ดี
แสบอก เมื่อยมือเท้า
๓.วัสสาน  ลม  เสมหะ แน่นอก หายใจขัด คันตัว
๕.เหมันต์  อาโป ปถวีแทรก ไข้เพื่อเสมหะ  กำเดา  โลหิต
คิมหันต์  ๕-๖  คิมหันต์วสันต์ ๗-๘
วัสสาน ๙-๑๐  สะระทะ  ๑๑-๑๒
เหมันต์ ๑-๒     ศิศิระ ๓-๔
ฤดู๖
ให้ธาตุพิการ
๒.คิมหันต์วสันต์
ไฟ ลม กำเดา โลหิต
๔.สะระทะ  เสมหะ  มูตร ไข้เพื่อลมและมูตร
๖.ศิศิระ ดิน เป็นมูลเหตุ 
โลหิต ลม  กำเดา  เจือเสลด
ฤดู ๓,๔,๖  คล้ายคัมภีร์เวชศึกษา


                                                                                                  ลักษณะธาตุทั้ง ๔
ธาตุ
พิการ
วิปลาส
ตรีโทษ
ดิน(ปถวี)
กายแข็ง,หนังแห้ง (กฎมุข)
เหา,เล็น,ตกเลือด ท้องขึ้น-พอง
แข็งเหมือนท่อนไม้,เจ็บอก,แสบท้องไม่รู้รส
น้ำ (อาโป)
พรุน,เปื่อย,ฝี,เม็ดคัน น้ำเหลืองไหล เหม็นเน่า (ปูติมุข)
จุกอก,ลงท้อง,กษัยกล่อน ตึงหัวเหน้า ขัดสีข้าง หญิงซ้าย.ชายขวา 
ผอม,เหงื่อมาก,ขัดอก,ปากชุ่ม,กระหายน้ำ,ขัดอก มักขึ้งโกธร ปากขม
ลม(วาโย)
เนื้อขาดเป็นชิ้น,เปื่อยพังดังมีดเชือด โทษกว่าทุกกอง(สัตถมุข)
ตะคริว,ตาพร่า วิงเวียน รากลมเปล่า เจ็บอก วิงเวียน หอบหืด
ผอมเหลือง,จุกอก,คันตัว,ตามัว,ราก,สะอึก,เรอ ปากหวาน คันตัว ผื่นแดง ไอดั่งเป็นหืด
ไฟ(เตโช)
ร้อนรุ่ม หนังไหม้ ด้าน ดำดั่งไฟลน (อัคคีมุข)
ร้อน,บวมหน้า หลัง ท้อง,ถ้าหลบในตกมูก,เป็นหนอง ผดทั่วตัว
มือเท้าตาย,ไอขลุกๆ,ผอม,ไส้พลุ่ง,พล่าน,ร้อนในท้อง,เสียว,วิงเวียนหน้าตา ร้อนรุ่ม
ยา๘รส
ฝา(ฝาด)
ขวด   (ขม)
ใคร(เค็ม)
ร้อย (ร้อน)
ไว้(หวาน)
ปา(เปรี้ยว)
หัว(หอม)
มัน(มัน)
เนื้อ
หนัง
เอ็น
  ดูก
ใหญ่
น้อย
ใจ
ข้อ
*ให้แพทย์แต่งยารักษาโรคตามนี้ โรคจะหาย
รสประจำวัย
เด็ก  (ขม,เปรี้ยว,หวาน)  ผู้ใหญ่(ขม,เปรี้ยวฝาด,เปรี้ยวเค็ม)  วัยชรา( ขม,เค็ม,ฝาด,ร้อน,หอม)
ผิวกาย/โลหิตรส/ใช้ยารส
(โลหิตฉวี)
ขาว /หวาน/ร้อน-ขม
เหลือง /เปรี้ยว/เค็ม        
ดำแดง /เค็ม/ไม่เค็ม
ดำ  /เค็มเย็นมาก/  หวาน
โรคตามสถานประเทศมี ๓ ประการ
กัณห์ น้ำ  เสมหะ,ลม   สาคร   กรวดทราย  โลหิต,กำเดา  สาธารณ  
น้ำ กรวด ทราย เสมหะ,ลม โลหิต,กำเดา
ลักษณะไข้
เอกโทษ
เสมหะ ขนลุก  แสยงขน
กำเดา ปากขม
ตาเหลือง ปัสสาวะแดง
โลหิต ปวดหัวมาก ตาแดง ปัสสาวะเหลือง
ลม  วิงเวียน เสียดแทง
ตาและเล็บเหลือง   ไอ
ทุวันโทษ
เสมหะลม เจ็บตัว ง่วงนอน หวัด ไอ เสมหะดี ไข้ ปากขม เพ้อ ไอ ดี โลหิต ให้หมองจิต สะดุ้ง ตกใจ
ตรีโทษ
ดี  เสมหะ  ลม  ให้เกิดมหาสันนิบาต  จะตายเพราะ ร้อนกระวนกระวาย เจ็บทั่วกาย เชื่อมซึม
ดี ลม กำเดา  อยากน้ำ  ยอกเสียว  วิงเวียน  ร้อนคอ
เวลาที่เป็นไข้
เวลาไข้
ย่ำรุ่ง-เที่ยง  เพื่อเสมหะ
เที่ยง-เย็น     โลหิต
ค่ำ-เที่ยงคืน   วาตะ
เที่ยงคืน-สว่าง ดี
เวลาการจับไข้
ย่ำรุ่ง-บ่ายสาม บรรเทาคลาย
บ่าย-สองทุ่ม สร่างเบาหาย
ไก่ขัน-สามยาม ไข้หนัก
ผิดจากนี้   ถึงตาย
**หมายเหตุ
เสมหะ ๑๒ วัน
ปิตตะ ๑๐ วัน
วาตะ ๗ วัน
ต่างจากคัมภีร์เวช
มูลของโรค ๖ ประการ    กินผิด   นอนกลางวัน  กลางคืนไม่หลับ  เสพ    โทสะ   กลั้นอุจ/ปัส

โทษห้ามผู้ไข้พึงเว้น ๑๑  อาบน้ำ  ทาของหอม  เสพเมถุน  ขัดสี  นอน(กลางวัน  ตากแดด)   ทำงาน  โลหิตออก   โกน  โกรธ   กิน(มันคาว)
  • ถ้าเว้น โรคจะรักษาให้หายได้ ถ้าทิฏฐิจะตาย โรคจะพูนทวีเป็นทุวันโทษ และตรีโทษ                                          
  • **จบคัมภีร์ทั้ง ๕ ที่เป็นคัมภีร์ที่เกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรคโดยทั่วไป มีคัมภีร์สมุฏฐาน, โรคนิทาน ธาตุวิภังค์ ธาตุวิวรณ์  และเวชศึกษา ต่อไปจะเป็นคัมภีร์ที่เกี่ยวกับไข้ต่างๆ อีก ๓ คัมภีร์ มีคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ตักศิลา และสิทธิสารสงเคราะห์ ติดตามสรุปคัมภีร์ตอนต่อไปนะคะ
หมายเหตุ ในการอ่านสรุปคัมภีร์ ควรอ่านในหนังสือทั้งหมดก่อนอย่างน้อย ๑ รอบ แล้วมาอ่านสรุปจะทำให้เข้าใจ ภาพรวมทั้งหมด
ตัวอย่างข้อสอบคัมภีร์ธาตุวิวรณ์
1. คนผิวเนื้อขาว มีโลหิตรสใด และควรใช้ยารสใด   ตามการพิเคราะห์ใช้ยารักษาโรคตามโลหิตฉวี
ก. โลหิตรสหวาน ใช้ยารสเผ็ด ร้อน ขม                  ข.โลหิตรสหวาน ใช้ ยารสหวาน
ค. โลหิตรสเปรี้ยว  ใช้ยารสเค็ม                               ง.โลหิตรสเค็มและเย็นมาก  ใช้ยารสหวาน
2. มูลเหตุให้โทษ  เกิดโรคต่างๆ มีกี่ประการ  บอกให้ทราบ
                       ก. 4 ประการ                                                     ข. 6 ประการ
                        ค. 8 ประการ                                                    ง. 10 ประการ
3.คนไข้ผิวขาว โลหิตรสหวาน ใช้ยารสเผ็ดร้อน และขม เป็นการวิเคราะห์โรคตามวิธีใด
                 1.   เป็นการวิเคราะห์ตามการสังเกตุผิวกาย       2.   เป็นการวิเคราะห์ตามโหงวเฮ้ง  
                 3.   เป็นการวิเคราะห์ตามโลหิตฉวี                    4.   เป็นการวิเคราะห์ตามกระแสเลือด
 4. ธาตุ 4 เป็นตรีโทษ อาการให้ผอมเหลือง ซูบ เศร้าหมอง จุกอกเป็นก้อนในทรวงและท้องให้ราก สะอึก เรอ ใจสั่น หวานปาก อาเจียน              ร้อนอก ปวดศีรษะ เจ็บอก คันตัว ผุดแดงดังสีเสียด ไอเป็นดังหืด ตามัว เกิดกับธาตุใด
                 1.   ปถวีธาตุ                2.   อาโปุธาตุ
                  3.   วาโยธาตุ               4.   เตโชธาตุ
5.  พระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์ กล่าวถึงลักษณะอาการของทุวันโทษนั้น ถ้ามีอาการ "เป็นไข้ ปากขม ตัวสั่น พูดพร่ำเพ้อ ให้หนาวๆร้อนๆ และไอ"  เป็นเหตุอะไร
                   1.   เสมหะ กับวาตะ                    2.   เสมหะ กับปิตตะ
                   3.   ปิตตะ กับวาตะ                      4.   ปิตตะ กับโลหิต
6.  ธาตุ 4 เป็นวิปลาศ อาการให้จุกอก ลงท้อง เป็นกษัยกล่อน  ขัดหนักขัดเบา ตึงหัวเหน่า ท้องน้อยเป็นก้อน ตกเลือดตกหนอง เหลืองซีดผอม มือเท้าเย็น ขัดสีข้าง เกิดกับธาตุใด
                 1.   ปถวีธาตุ                                    2.   อาโปุธาตุ
                3.   วาโยธาตุ                                     4.   เตโชธาตุ
7.  ลักษณะไข้เอกโทษตามคีมภีร์ธาตุวิวรณ์ ปวดหัวมาก ตาแดง ปัสสาวะเหลือง เป็นไข้เพื่อ
                  1.   เสมหะ                                        2.   โลหิต
                  3.   กำเดา                                           4.   ลม
8. พระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์ กล่าวถึงประเทศสมุฎฐานนั้น แบ่งประเทศที่เกิดออกเป็นกี่ประการ
                  1.   2 ประการ                                2.   3 ประการ                  
                 3.   4 ประการ                                 4.   5 ประการ
9.  ข้อใดไม่อยู่ในโทษห้ามผู้ไข้พึงเว้น  11  ประการ
                1.  อย่าอาบน้ำ                        2.  อย่าทาของหอม                3.  ห้ามกะทิน้ำมัน         4.  อย่าทำงานหนัก
10.  ยารสขม  ตามหัวข้อยา ๘  รส  มีคุณเช่นไร
                1.  ซาบเส้นเอ็น                      2.  ซาบหัวใจ                          3.  ซาบผิวหนัง                       4.  ซาบกระดูก
11.  คนไข้ผิวเนื้อขาวเหลือง มีโลหิตรสใด

                1.  รสเปรี้ยว                           2.  รสหวาน                            3.  รสเค็ม                                4.  รสเค็มเย็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น