วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สรุปคัมภีร์สิทธิสารสงเคราะห์


คัมภีร์สิทธิสารสงเคราะห์ ว่าด้วยลักษณะลำบองราหู กาฬโรคและสันนิบาต (อาการซางจรตามเดือน อาการซางขึ้นเป็นเม็ด
ในเด็กอ่อน) ลำบองราหู ๑.การอักเสบ ปวดบวม  แดง ร้อน   ๒.โรคปวดที่ข้อต่อกระดูก


ลำบองราหู อาการของโรคมีลักษณะแตกต่างกันตามอายุของเด็ก กำหนดตั้งแต่เด็กมีอายุได้ 1 เดือน จนถึง 12 เดือน อาการโรคมีต่างๆกันดังนี้
ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ 1 เดือน อาการเมื่อแรกจับ มีผื่นขึ้นทั้งตัวนั้น พิษของเม็ดผื่นนั้น ทำให้เจ็บไปทุกขุมขน ขนชูชัน นอนสะดุ้ง ร้องไห้หาน้ำตามิได้ เป็นต้น
ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ 2 เดือน อาการเมื่อแรกจับ ทำให้เจ็บคอ อ้าปากร้อง กลืนอาหารไม่ได้ เป็นต้น
ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ 3 เดือน อาการเมื่อแรกจับ ทำให้ท้องขึ้น ท้องพองเหลือกำหนด อึดอัด หายใจไม่สะดวก ร้องไห้ดิ้นรนอยู่ดังจะขาดใจ เป็นต้น
ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ 4 เดือน อาการเมื่อแรกจับ นัยน์ตาจะเหลือง ให้กำมือเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ แข็งกระด้างเกร็งไปทั้งตัว เป็นต้น
ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ 5 เดือน อาการเมื่อแรกจับ มีไข้ ตัวร้อน ท้องขึ้น ท้องพอง เป็นต้น
ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ 6 เดือน อาการเมื่อแรกจับ มือเท้าเย็น ท้องขึ้น ตาเหลือง หลังแข็ง เป็นต้น
ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ 7 เดือน อาการเมื่อแรกจับ จะบิดตัว นัยน์ตาเหลือกขึ้นบน มือกำ เท้างอ เป็นต้น
ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ 8 เดือน อาการเมื่อแรกจับ มีไข้ ปากเปื่อย ยิงฟันเป็นนิจ เบื่ออาหาร เป็นต้น
ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ 9 เดือน อาการเมื่อแรกจับ หนาวสะท้าน หดมือ หดเท้า เป็นต้น
ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ 10 เดือน อาการเมื่อแรกจับ มีไข้ ตัวร้อนจัด นอนสะดุ้งผวา ร้องไห้ไม่หยุด เป็นต้น
ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ 11 เดือน อาการเมื่อแรกจับ มีไข้ ตัวร้อน มีเม็ดพิษขึ้นที่ราวนม และรักแร้ ทำให้ร้องไห้ดิ้นรน กางแขนอ้ารักแร้อยู่ตลอดเวลา เป็นต้น
ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ 12 เดือน อาการเมื่อแรกจับ เป็นไข้ชัก ตัวเย็น เป็นเหน็บ ร้องไห้ไม่ออก หมดสติ เป็นต้น
ลำบองราหู
เดือน 5 ให้ร้อน  ท้องขึ้น
ท้องพอง   
เดือน 6 ให้เท้าเย็น ท้องขึ้น 
ตาเหลือง    
เดือน 7 ให้บิดตัว กำมือ ตาเหลือก  
เดือน  8 ให้ปากเปื่อย ยิงฟัน 
เดือน 9 ให้สะท้านหนาว
หดมือหดเท้า 
เดือน 10 ให้ตัวร้อนเป็นเปลว ให้สะดุ้ง  
เกิดเดือน 11  ให้อ้ารักแร้ แล้วเอามือลูบอก 
เดือน  12 ให้ชัก หาสติมิได้ 
เดือน 1 ให้ขนชูชัน  ผื่นขึ้น
เดือน 2 จับลำคอ ให้กลืนน้ำไม่ได้
เดือน3 ให้ท้องขึ้น ท้องพอง  
เดือน 4 ให้ตาเหลือก กำมือ
ขยับตัวไม่ได
จับข้างขึ้นตาย    จับข้างแรมไม่ตาย
                                                                                                                                        
ลักษณะกาฬโรค และสันนิบาต
.กาฬเสตระ   ผุดเป็นยอดขาว ฟกบวมไปทั้งตัว  
.สันนิบาตกะตัดศีรษะด้วน 
 เกิดที่ชายตับ ให้ตับโต
.สันนิบาตทุวันโทษ   ให้เล็บและผิวเหลือง  กลิ่นดังสาบม้า
.สันนิบาตเจรียงอากาศ  ให้ผิวหน้าเหลืองดุจทาขมิ้น 
.สันนิบาตเจรียงพระสมุทร  
ทำให้ผิวเนื้อขาวซีด
.สันนิบาตบังเกิดเพื่อเสมหะ
 จับเป็นเวลาให้คอแห้งถึงทรวงอก
.สันนิบาตบังเกิดเพื่อวาตะ
ทำให้จับแน่นิ่งไป
.สันนิบาตเพื่อโลหิต   เกิดแต่รากขวัญถึงใบหูแล้วจับแก้วตาให้ตามืด

เบญจกาฬสันนิบาต
.อภิฆาตสันนิบาต  ด้วยอำนาจผู้อื่นเบียดเบียน  ให้ปวดหัว ลงท้อง โกรธ สลบ
.อภิวาราภัยสันนิบาต  ด้วยเพียรกระทำการงาน ลาด โศก โกรธ ดลั่ง
.อภิสังคสันนิบาต   ด้วยขัดแค้นเคืองขุ่น อาเจียนเป็นโลหิต
.วิสมสันนิบาต   ด้วยบริโภคอาหารที่มีพิษ เป็นอชิน (ผิดสำแดง) จิตฟุ้งซ่าน   กินไม่ได้
   .อาคันตุกสันนิบาต  บังเกิดในที่สุด พ้น ๒๙ วัน
สันนิบาตบังเกิดในกองสมุฏฐาน
สันนิบาต
เพื่อปิตตะ 
.เพื่อดีซึม  ให้ซึมไป หาสติไม่ได้  
.เพื่อดีพลุ่ง  ให้คลั่งเป็นคราว   
.เพื่อดีล้น  ให้โลดโผนไปทั้งตัว
.เพื่อดีรั่ว  ให้ลงดุจกินยารุ 
อภิญญาณธาตุ  
.ชาติธาตุปถวี   เกิดแต่กองปถวี กำเริบ หย่อน พิการให้เป็นกษัย ป้าง  ช้ำใน เล็บมือ เท้า เขียว 
.ชาติธาตุอาโป    เกิดแต่กองอาโป กำเริบ หย่อน พิการ     เจ็บหน้าอก เป็นกษัยกล่อน ขัดสีข้าง 
.ชาติธาตุเตโชเกิดแต่กองเตโช กำเริบ หย่อน พิการ  ให้ร้อนปลายมือ เท้า ผื่นขึ้นดังผดและหัด 
.ชาติธาตุวาโย เกิดแต่กองวาโย กำเริบ หย่อน พิการ ให้หนักตา เป็นตะคริว  ลมจับโปง
อสุรินธัญญาณธาตุ
.สมธาตุ  เสมหะ ปิตตะ วาตะ  ประชุมกันในกองปถวี
.วิสมธาตุเกิดแต่กองวาโยเดินไม่สะดวก ให้ท้องลั่น
.กติกธาตุ(ติกขธาตุ)เกิดแต่กองเตโช เผาอาหารยิ่งนัก
.มันทธาตุเกิดแต่กองเสมหะ(อาโป)มีกำลังกล้า

หมายเหตุ ในการอ่านสรุปคัมภีร์ ควรอ่านในหนังสือทั้งหมดก่อนอย่างน้อย ๑ รอบ แล้วมาอ่านสรุปจะทำให้เข้าใจ ภาพรวมทั้งหมด
ตัวอย่างข้อสอบของคัมภีร์นี้
1. ข้อสำคัญของลำบองราหูอันบังเกิดใน 12 เดือน คือข้อใด
             ก.จับข้างขึ้นไม่ตาย                                 ข. จับข้างแรมตาย
             ค.จับข้างขึ้นไม่ตายจับข้างแรมตาย      ง. จับข้างขึ้นตายจับข้างแรมไม่ตาย
2. เมื่อแรกจับกระทำพิษให้เจ็บไปทั่วทุกขุมขน  ให้ขนชูชัน  ผื่นขึ้นทั้งตัว  ให้สะดุ้ง  ร้องไห้ไม่มีน้ำตา  คืออาการของลำบองราหูที่เกิดในเดือนใด
             ก. เดือน 1                                        ข. เดือน 9
             ค. เดือน 5                                        ง. เดือน 4
3.  สันนิบาตในข้อใด  มักเกิดขึ้นที่ชายตับ  ให้ตับโต  ออกมาจนคับโครง  บางทีให้ตับหย่อนลงถึงหัวตะคาก  ให้เย็นทั้งตัว   ท้องขึ้นท้องพอง  พะอืดพะอม
             ก. สันนิบาตทุวันโทษ                                    ข. สันนิบาตกะตัดศีรษะด้วน
             ค. สันนิบาตเกิดเพื่อปิตตะ                            ง. สันนิบาตเกิดเพื่อโลหิต
4.  ข้อใดไม่จัดอยู่ในเบญจกาฬสันนิบาต
             ก. อภิฆาตสันนิบาต                      ข. อภิสังคสันนิบาต
             ค. อภิวาราภัยสันนิบาต                ง. สมสันนิบาต
5.  ข้อใดคือสันนิบาตเกิดเพื่อปิตตะสมุฏฐาน
                ก. เกิดเพื่อดีซึม                                                  ข. เกิดเพื่อดีล้น
                ค. เกิดเพื่อดีรั่ว                                                   ง. ถูกทุกข้อ

1 ความคิดเห็น: