วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สรุปคัมภีร์ชวดาร

คัมภีร์ที่เกี่ยวกับโรคลม        มีอยู่ ๒ คัมภีร์
1. คัมภีร์ชวดาร กล่าวเกี่ยวกับโรคลมอันมีพิษ ซึ่งอธิบายโดยทฤษฎีการแพทย์แผนไทย
2. คัมภีร์มัญชุสาระวิเชียร กล่าวถึงลมที่ทำให้เกิดโรค และมีอาการต่างๆ ตามลักษณะที่ตั้งของลม 10 ประการ 

คัมภีร์ชวดาร นี้ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งกล่าวถึง ลมที่บังเกิดโทษแก่มนุษย์ เพราะโลหิตและลมเป็นเหตุ เมื่อลมระคนกันทำให้โลหิตถูกพัดให้ร้อนเป็นฟอง จนธาตุทั้ง ๓๒ แปรไป เพราะกำลังของโลหิตที่เกิดแต่ลม มิใช่จากพิษของโลหิตนั้น

ในคัมภีร์นี้ยังกล่าวถึงอาการและการใช้ยารักษาโทษจากลมนั้นๆ

มนุษย์ทั้งหลายจะเกิดสรรพโรคต่างๆ  ตั้งแต่คลอด-หมดอายุขัยต้องอาศัย   โลหิต และ ลม
ลมที่ให้โทษถึงพินาศคือ ลมอุทธังคมาวาตา  และลมอโธคมาวาตา พัดผิดปกติย้อนไปกระทบกับลมอื่น ระคนกันทำให้เตโชกำเริบ โลหิตถูกพัดเป็นฟองและร้อนเป็นไฟจนเกิดลมมีพิษ
สาเหตุ จากบริโภคอาหารมิได้เสมอ     ทานอาหาร ที่ไม่เคยบริโภคคือ มาก-น้อยเกินไป   ดิบ เน่า บูด หยาบ ผิดเวลา อยากเนื้อสัตว์มากเกิน(โทษ๘ประการ) ต้องร้อนต้องเย็นยิ่งนัก   เกิดได้วันละ ๑๐๐ วันละ ๑๐๐๐ หน ลมนี้รักษายาก  เพราะเกิดขึ้นในน้ำเลี้ยงหัวใจ  ชื่อลมหทัยวาตะ
ลมอัมพฤกษ์อัมพาต   เกิดแต่ปลายแม่เท้าตราบเท่าเบื้องบน เป็นที่ตั้งแห่งลมทั้งหลาย ทำให้หวาดหวั่นไหว ทั่วกายไปกระทบกับ ลมหทัยวาตะ คือน้ำเลี้ยงหัวใจ ให้บุคคลถึงแก่ชีวิต 
โลหิตกระทำพิษให้โทษแก่หญิงคลอดบุตร หรือผู้มีบาดแผล ถึงแก่พินาศเป็นอันมาก เพราะกำลังลม พัดเอาโลหิตขึ้นไป  บังเกิดลมสัตถกวาต ลมหทัยวาตกำเริบ
ยารักษาลมที่สำคัญ   ยาจิตรารมณ์   ยากล่อมอารมณ์    ยาวาตาพินาศ   ยาเขียวประทานพิษ ยาชุมนุมวาโย
ยานัตถุ์ธนูกากะ
ลมที่พัดย้อนทางไปกระทบกับลมอื่น ให้กำลังของโลหิตแปรไปจนเกิดโทษ (เป็นลมมีพิษมาก ๖ และลมมีพิษ ๖ จำพวก) อันได้แก่ลมอุทธังคมาวาตา และลมอโธคมาวาตา

ส่วนลมในทิศเบื้องต่ำ คือลมอัมพฤกษ์และลมอัมพาต เกิดแต่ปลายเท้าถึงเบื้องบน เป็นที่ตั้งแห่งฐานลมทั้งหลาย เมื่อระคนกันก็ให้หวาดหวั่นไปทั่ว มีลักษณะดุจปืน  เป็นที่ตั้งแห่งดินประสิว  ลูกกระสุน  เพลิงจึงแล่นออกจากลำกล้อง  ประหารชีวิตสรรพสัตว์ทั้งปวง
เมื่อลมระคนกันให้กำลังโลหิตแปรไป อาการที่ปรากฎจึงเป็นอาการทางระบบประสาท  ให้จุกแน่น ชักมือกำ เท้างอ ดิ้นไป ให้ลิ้นกระด้างคางแข็ง ขากรรไกรแข็ง เจรจาไม่ได้ บ้างสิ้นสติ หรือลมนั้นมีกำลังขับโลหิต ให้คั่งเป็นวงเป็นสีตามร่างกาย (ลมมีพิษ ๖ จำพวก)
ลมมีพิษมาก
๖ พวก
ลมกาฬสิงคลี  ให้จับหน้าเขียว ผุดเป็นวงเขียว เหลือง(๓วัน)เท่าใบพุทรา เท่าแว่นน้ำอ้อยงบ บางทีใจสั่น หรือถอนใจ บ้างดิ้นดังปลาถูกตี
.ลมชิวหาสดมภ์ ให้หาวเรอ อยากอาเจียนขากรรไกรแข็ง หุบไม่ลง แน่นิ่ง(-๗วัน)
.ลมมหาสดมภ์  ให้หาวนอน หวั่นไหวในใจ นอนแน่นิ่งไป
.ลมทักขินโรธ เกิดจากเป็นไข้ใดๆก่อนจับให้มือเท้าเย็น ตามัว ดิ้นรนไม่หยุด ลิ้นกระด้างคางแข็ง   (ห้ามวางยาผาย)
.ลมตติยาวิโรธ ให้เป็นลูกกลิ้งอยู่ในท้อง สัตว์ตอดกัด จุกท้อง ปวดแต่แม่เท้าขึ้นหัวใจ แน่นิ่ง
.ลมอีงุ้มอีแอ่น ให้งุ้ม ให้แอ่นถ้าลั่นเสียงดังเผาะ ตาย
 ลมทั้ง๖ ประการนี้เกิดเพราะเส้นอัษฎากาศ พิการ
ลมมีพิษ(ลมร้าย)อีก
๖ พวก

.ลมอินทรธนู  ให้จับเหมือนไข้รากสาด ล้อมสะดือ เท่าวงน้ำอ้อย ชายโครงถึงหน้า ผาก หญิงซ้าย ชายขวา
.ลมกุมภัณฑ์ยักษ์ ให้ชักมือกำเท้างอ (๑๑วัน)ไม่รู้สึกตัว
.ลมอัศมุขี เป็นทั้งเด็กและผู้ใหญ่ให้ดิ้นชักแน่นิ่ง
.ลมราทยักษ์ให้ชักมือกำเท้ากำ(๑๑วัน)ลิ้นกระด้าง
.ลมบาดทะจิต จับให้ละเมอเพ้อพก(๑๑วัน)ดุจผีสิง
.ลมพุทยักษ์ ให้ปากเบี้ยว ตาแหก แยกแข้งขา  
ให้ดูทวารหนัก ยังอุ่นอยู่ ให้แก้ต่อไป  ลมทั้ง๖ ประการนี้เพราะเส้นสุมนาพิการ เมื่อเอานิ้วกดเนื้อ เขียวซีดหาโลหิตไม่ได้ เป็นอาการตัด
ลมพิเศษ(ลม
ทั่วไป)
๑๐ จำพวก
.ลมปถวีธาตุกำเริบ  ให้บวมทุกสถาน
.ลมพัดในลำไส้ ให้เป็นลูกกลิ้งในท้อง
.ลมเข้าในลำไส้ใหญ่,ลำไส้น้อย ให้เป็นตะคริว
.ลมบาทาทึบ ทั้งสลบ ทั้งลง ทั้งอาเจียนสองคลองเหมือนป่วง
.ลมพานไส้ เป็นถึง ๗ เดือนเป็นตัวเสียดชายโครง
.ลมสูบพิษในลำไส้ ให้เวียนหัวอาเจียน
จุกอก
.ลมตุลาราก เกิดที่คอหอย  เสียตาแล้วจึงหาย(๕เดือน)
.ลมกษัยจุกอก มักกลายเป็นบิด ลงเป็นโลหิตเสมหะ
.ลมกำเดา ให้หนักศีรษะ วิงเวียน เจ็บตาฝ้าขาว ลาย เจ็บศรีษะ
๑๐.ลมผูกธาตุให้เป็นพรรดึก  ให้กลายเป็นหอบ ไอ
ถ้าลมเกิดในเส้น  ชอบนวดและประคบ กินยาแก้ลมในเส้น จึงหาย     
ถ้าลมเกิดในโลหิต  ให้ปล่อยหมอน้อยกอกศีรษะ กินยาในทางลมทางโลหิต จึงหาย   
ถ้าลมเกิดในผิวหนัง  ชอบ ยาทาแลรม แลกลอกลม กินยาในทางลมแลรักษาผิวหนังให้บริบูรณ์ จึงหาย 
มีคำกล่าวว่า

.......สิทธิการิยะ อาจารย์กล่าวไว้ว่า มนุษย์ทั้งหลายจะเกิดสรรพโรคต่าง ๆ ตั้งแต่คลอดจากครรภ์มารดาตราบเท่าจนอายุขัยอาศรัยโลหิตแลลม.....
“ ลม ” หมายถึง ธาตุอย่างหนึ่งในธาตุทั้ง 4 และ “ ลม ” ยังใช้แทนคำว่าโรคได้ “ ลม ” ยังหมายถึงทิศทางการเคลื่อนไหว เคร่งตึง ระบบไหลเวียนของโลหิต ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท ส่วน “ เลือด ” ก็เช่นกัน ใช้ในความหมายอื่นๆ ด้วยคือ ใช้เรียกอาการไม่ปรกติของร่างกาย 
เลือดลมไม่ปรกติ ก็ทำให้ร่างกายไม่ปรกติไปด้วย
หมายเหตุ ในการอ่านสรุปคัมภีร์ ควรอ่านในหนังสือทั้งหมดก่อนอย่างน้อย ๑ รอบ แล้วมาอ่านสรุปจะทำให้เข้าใจ ภาพรวมทั้งหมด
ข้อสอบในคัมภีร์ชวดาร
1.ในคัมภีร์ชวดาร  กล่าวไว้ว่า  มนุษย์ทั้งหลายจะเกิดโรคต่างๆ ได้  ตั้งแต่คลอดจนอายุขัย  นั้นอาศัยสิ่งใด
                ก. อาศัยโลหิต                           ข.อาศัยลม
                ค. อาศัยโลหิตและลม                    ง.ผิดทุกข้อ
2. ลมที่เกิดในทิศเบื้องต่ำ   คือลมชนิดใด
                ก. ลมอุทธังคมาวาตา                    ข. ลมอโธคมาวาตา
                ค. ลมโกฏฐาสยาวาตา                   ง. ลมอัมพฤกษ์  อัมพาต
3.สาเหตุที่ทำให้ลมอุทธังคมาวาตา และลมอโธคมาวาตา  ระคนกันแล้วบังเกิดโทษแก่มนุษย์นั้น  คือข้อใด
                ก.บริโภคอาหารมากหรือน้อยเกินไป     ข. บริโภคอาหารผิดเวลา
                ค.ต้องร้อน  ต้องเย็น  ยิ่งนัก             ง. ถูกทุกข้อ
4.ลมในข้อใดเป็นฐานที่ตั้งแห่งลมทั้งหลาย  มีลักษณะดุจปืน  เป็นที่ตั้งแห่งดินประสิว  ลูกกระสุน  เพลิงจึงแล่นออกจากลำกล้อง  ประหารชีวิตสรรพสัตว์ทั้งปวง
                ก. ลมกุจฉิสยาวาตา                         ข. ลมโกฏฐาสยาวาตา
                ค. ลมอุทรวาต                              ง. ลมอัมพฤกษ์  อัมพาต
5. ลมมีพิษ 6 จำพวกแรก  คือข้อใด
                ก.ลมราธยักษ์                              ข. ลมชิวหาสดมภ์
                ค.ลมพุทธยักษ์                             ง. ลมบาดทะจิต
6.ลมมีพิษ 6 จำพวกหลัง  คือข้อใด
                ก.  ลมทักขิณโรธ                          ข.   ลมตะติยาวิโรธ
                ค.  ลมกาฬสิงคลี                           ง.  ลมกุมภัณฑ์ยักษ์
7.ลมในข้อใด  ที่มีลักษณะอาการท้องเดิน  อาเจียน  สลบ  ไม่รู้ก็ว่าเป็นสันนิบาตสองคลอง  มือเท้าเขียว  ทำให้ชัก  ไม่รู้ก็ว่าป่วง  กำหนด 3 วัน
                ก. ลมพานไส้                            ข. ลมพัดในไส้
                ค. ลมบาทาทึก                            ง. ลมสูบพิษขึ้นในลำไส้
8. ลมในข้อใด  มีลักษณะอาการ  ให้เหม็นคาวคอ  ถ่มน้ำลายบ่อยๆ  หายใจขัดอก   ถ้าเกิดแก่ผู้ใด  ได้ 5 เดือน  เสียจักษุจึงหาย
                ก. ลมปัถวีธาตุกำเริบ                      ข. ลมบาทาทึก
                ค. ลมตุลาราก                             ง. ลมพัดในลำไส้
9.  ลักษณะอาการ ให้มือเท้าเย็น  เป็นลูกกลิ้งอยู่ในท้อง  ให้จุกร้องดังสัตว์ตอดกัด  ปวดแต่หัวแม่เท้าขึ้นมาถึงหัวใจ  แน่นิ่งไป  ดุจดังพิษงูเห่า  คือลมในข้อใด
                ก. ลมทักขิณโรธ                           ข. ลมตติยาวิโรธ
                ค. อินทรธนู                               ง. ลมอัศมุขี
10. ข้อใดคือลักษณะอาการของลมอินทรธนู
ก. ลักษณะเหมือนไข้รากสาด                                              ข.จับให้ดิ้นร้อง แล้วแน่นิ่งไป
ค. เป็นวงล้อมสะดือ สีดำ  แดง  เขียว  เหลือง  เท่าวงน้ำอ้อยงบ            ง. ข้อ ก. และ ข้อ ค. ถูก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น