วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

"หมอ"


ผู้ที่จะเป็นหมอ   


ว่ากันว่าศัลยแพทย์มือหนึ่ง เขาไม่กลัวที่จะผ่าไส้ติ่ง แต่เขากลัวแค่ว่าไอ้ที่จะผ่าอยู่น่ะ ไม่ใช่ไส้ติ่ง
ดังนั้นเรื่องของเรื่องคือ ขั้นตอนการรักษาไม่ใช่ประเด็น แต่การวินิจฉัยให้ถูกต้องต่างหากที่ยาก"


ไม่ใช่ว่าแค่ท่องจำได้เก่ง ก็จบหมอได้ ... เปิดหนังสือก็รักษาคนไข้ได้  คนไข้ หลายคนมาด้วยอาการเดียวกัน แต่ป่วยกันคนละโรคก็เป็นได้  ฉะนั้นเรื่องที่ยากที่สุดของหมอก็คือการวินิจฉัยโรคนั่นเอง
ส่วนทักษะในการตรวจร่างกายนั้น ก็คงต้องขึ้นกับประสบการณ์ และความใฝ่รู้ของหมอคนนั้นเอง  ฐานความรู้ที่ดี จะทำให้ตั้งคำถามที่ดี และนำไปสู่การประมวลข้อสรุปที่แม่นยำได้ 
พอได้ข้อมูลจากการฟังที่ถี่ถ้วนแล้ว ก็ต้องมาถึงเวลาตั้งคำถาม กับคนป่วย คำถามที่หมอถามจะเป็นแนวทางสำหรับการสืบหาว่า คนป่วยเป็นโรคอะไร
ดูๆไปมันก็เหมือนง่าย...หมอก็ซักถาม แล้วก็ฟัง จากนั้นตรวจร่างกาย แล้วก็ใช้ความรู้ที่พอจะมีอยู่ในสมอง ประมวลข้อมูลเพื่อหาจุดบกพร่องของสุขภาพ หรืออาการเจ็บป่วยที่เป็น
ประสบการณ์ หรืออายุการทำงาน ไม่ได้สัมพันธ์กับทักษะในการตรวจร่างกาย เช่นการฟังเสียงเต้นของหัวใจ หรือจับชีพจรแล้วบอกได้ว่ามีโรคอะไรซ่อนอยู่นั้น ก็ไม่ใช่ว่าจะเที่ยงตรงเสมอไป แต่อาจเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่า การเจ็บป่วยนั้นไปในแนวทางใด
....เนื่องจากการให้ประวัติอย่างแม่นยำนั้น มันจำเป็นต้องอาศัยความสามารถในการสื่อสารจากตัวคนป่วยด้วย เพื่อที่เขาจะได้บอกได้ถูกต้องว่าตัวเองมีอาการอะไรให้ชัดเจน แต่บางครั้ง คนป่วยเองก็มีทักษะในการใช้ภาษา เพื่อจะสื่อความได้ไม่ดีเท่าไรนัก ซึ่งแน่นอนว่ามันทำให้การซักถามประวัติอาการ เกิดความไขว้เขวได้มาก
หลังจากซักประวัติการป่วยเสร็จ ก็มาถึงการตรวจร่างกายคนป่วย ซึ่งก็ไม่ใช่จะมานั่งตรวจกันตั้งแต่เส้นผม ยังเล็บเท้า แต่ตรวจหาสิ่งผิดปกติ จากประสาทสัมผัส ที่เห็น ได้กลิ่น ได้ยิน ได้สัมผัส ซึ่งก็ต้องมาจากการประมวลข้อมูลจากการพูดคุยนั่นแหละ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น