วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การตรวจโรคแบบแผนไทย


บทว่าด้วยการตรวจโรคโดยทั่วไป
เพื่อหาสมุหฐานวินิจฉัย(ที่ตั้งแรกเกิดและการดำเนินของโรค) 
การตรวจปิตตะ การเปลี่ยนแปลงของความร้อนโลหิต ทำให้ความร้อนนั้นแผ่ซ่านไปทั่วร่างกาย ให้จับสัมผัสผู้ป่วยในบริเวณหน้าผาก ข้างลำคอ รักแร้  ปลายมือ  ปลายเท้า เป็นต้น  หรือให้ผู้ป่วยถอดเสื้อแล้วนอนราบกับพื้นห้องสักประมาณ ห้านาที พลิกตัวผู้ป่วยแล้วจับพื้นห้องสัมผัสความร้อน   หากแพทย์ตรวจพบปิตตะ ให้รุปิตตะนั้นเสียก่อนจึงรักษาอาการอื่นๆต่อไป
การตรวจชีพจร ถ้าปฐมวัย หัวใจจะต้องเต้นเร็วกว่าวัยผู้ใหญ่  เพศหญิงเต้นเร็วกว่าเพศชาย  ให้แบ่งการเต้นของขีพจรออกเป็น ๓ ระดับดังนี้
ถ้าชีพจรเต้นลักษณะ แรงและเร็ว                        มักเกิดจากอาการพิษต่างๆ
ถ้าชีพจรเต้นลักษณะ ช้าแต่แรง                          มักเกิดอาการอ่อนเพลียระเหี่ยใจ
ถ้าชีพจรเต้นลักษณะ เร็วแต่อ่อน                         มักเกิดอาการอ่อนระโหยโรยแรง
การตรวจจากสีผิวหนัง หากผู้ป่วยมีสีผิวซีดเหลือง ตาเหลืองออกเขียว  ระบบน้ำดีจะพิการ  หากผิวหนังเหลืองแต่แห้งกรัง ริมฝีปากก็แห้ง เหตุเพราะเลือดพิการ  หากผิวหนังมีผื่นแดง  เหตุด้วยเลือดเป็นพิษ
การตรวจจากเส้นโลหิตในตา หากผู้ป่วยมีเส้นเลือดในตาน้อย  เปลือกตาซีด  ตาออกโรยๆ เกิดแต่เส้นประสาทพิการ  หรือนอนไม่หลับ หรือมักจะเป็นลมเนืองๆ หรือท้องผูกประจำ  หากตาซีดขาวโรย  เปลือกตาเผือดดำหรือตาเขียวขุ่น  เลือดน้อย  ดีพิการ ประสาทพิการ  นอนไม่พอนอนไม่หลับ  หรือไข้จับ
การตรวจตามอวัยวะภายนอก หากผู้ป่วย มีอาการมือ/เท้า/ริมฝีปาก สั่น เหตุเพราะเส้นประสาทพิการ
การตรวจจากอุจจาระ หากผู้ป่วยถ่ายเป็นสีดำ/แดง/ขาว/เขียว
การตรวจจากปัสสาวะ ถ้าสีแดง  ดีและโลหิตพิการ   ถ้าสีเหลืองแก่  ดีพิการ  ถ้าสีขุ่นสีชาแก่ ไตพิการ เบาหวาน
การตรวจจากลิ้น ถ้าลิ้นเป็นฝ้าละออง  ไข้ธรรมดา/โรคลำไส้กระเพาะอาหาร/ไข้พิษ  ถ้าลิ้นแตกแห้งเป็นเม็ด  แสดงออกถึงอาการไข้ทุกชนิด
การตรวจจากปาก หากปากเหม็น โรคฟัน โรคกระเพาะอาหาร ท้องอืดเฟ้อเรอเหม็นเปรี้ยว  หากปากแตกระแหง  เลือดร้อนเป็นไข้


                                                      การตรวจวินิจฉัย 

รูปร่างเป็นอย่างไร 
มีกำลังเป็นอย่างไร
                                       มีสติ อารมณ์อย่างไร
มีอาการกระวนกระวายเพียงไร   
ตรวจชีพจร
ตรวจการหายใจ
ตรวจสีผิว/ตา/ลิ้น/
ปิตตะที่กายภายนอก
ตรวจเหงื่อ  
                                  ตรวจอุจาระ/ปัสสาวะ  
ตรวจเสียงที่เปล่ง 
ตรวจกลิ่นปากกลิ่นกาย  
ตรวจการทานอาหาร
ตรวจการใช้ชีวิต 
ตรวจจากอริยาบทในการทำงาน
ตรวจจากธาตุจุติ 
ตรวจจากธาตุปัจจุบัน

ตรวจจากอายุสมุหฐาน  
เมื่อเทียบกับลักษณะประจำธาตุจุติ เพื่อดูกำเริบ/หย่อน
อ่อนเปลี้ยเพลียแรง/อ่อนระโหยโรงแรง/อ่อนอกอ่อนใจ/อ่อนเพลียระเหี่ยใจ
เพื่อดูอาการทางใจประกอบการวินิจฉัย
เพื่อดูอาการทางใจประกอบการวินิจฉัย
เพื่อหาสมุหฐานวินิจฉัย หทัยวาตะ ณ.ปัจจุบันขณะ
เพื่อหาสมุหฐานวินิจฉัย อุระเสมหะ
เพื่อหาอาการทางปิตตะ
                                                                                       
เพื่อดูความใส ความหนืดของเหงื่อ แสดงออกถึงปิตตะ       และเสมหะ
เพื่อสมุหฐานว่าเกิดแต่ ปิตตะ วาตะ หรือเสมหะ
เพื่อหาอาการทางศอเสมหะ
เพื่อดูอาการทางคูถเสมหะ  ลมกองหยาบ
เพื่อหาแนวโน้มการเจ็บป่วย
เพื่อหาแนวโน้มการเจ็บป่วย
เพื่อหาแนวโน้มการเจ็บป่วย
เพื่อหากำเริบ หย่อน เมื่อเทียบกับธาตุจุติ
เพื่อหาอาการป่วยว่าน่าจะมาจาก ปิตตะ/วาตะ/เสมหะ
เพื่อดูการเจ็บป่วยกำเริบจากอายุเป็นเหตุ
          เมื่อตรวจวินิจฉัยแล้ว ให้สรุปหาสมุหฐาน ปิตตะ/วาตะ/เสมหะ  ว่ามีการกำเริบ/หย่อน/พิการหรือไม่   เมื่อทราบสมุหฐานให้หาอาการแยกเป็นอาการหลัก อาการล้อม  แล้วจึงวางแผนการรักษาแบบรุ/ล้อม/รักษา  จากนั้นจึงวางยาเริ่มจากรสของยาเสียก่อน จึงนำตำรับยาเข้าไปใส่ ตามรสของยาที่วางไว้นั้น

รุ คือ การขับเอาพิษออกไปหรือการถ่ายของเสียออก คล้ายอย่างที่ธรรมชาติบำบัดใช้คำว่า ล้างพิษ
ล้อม คือ การล้อมเพื่อถนอมกล่อมเกลี้ยงให้โรคตกเข้ามาในสภาพแวดล้อมที่เราต้องการเสียก่อน(การ     จัดการกับอาการข้างเคียงของโรคให้ตกไป) และใช้ยาเพื่อการรักษาจึงจะเกิดผลให้ผู้ป่วยหายจากโรค
ซึ่งการรุ/ล้อม/รักษา เป็นศิลปะของการรักษาแบบแผนไทยที่มีมาแต่โบราณ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.yahomthai.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น