วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สรุปคัมภีร์วิถีกุฏฐโรค


พระคัมภีร์วิถีกุฏฐโรค
โรคที่เกิดขึ้นกับผิวหนัง ได้แก่ ฝี,โรคเรื้อน และกุฏฐโรค อันเป็นโรคพยาธิ คือ
ตัวกิมิชาติเบียดเบียนในร่างกาย ในกระดูกในชิ้นเนื้อ ให้ปรากฎอาการแสดงออกต่างกัน
เกิดในชิ้นเนื้อ เรียก โรคเรื้อน รักษายากนัก แต่พอมีโอกาสหาย หากเกิดในกระดูกเรียก กุฏฐัง
เป็นอติสัยโรครักษายากนัก กล่าวถึงแหล่งที่เกิดและลักษณะของโรค
สาเหตุ
แหล่งที่เกิดมี ๗ ประการ เกิดจากกองธาตุทั้ง ๔  และเกิดจาก  สัมพันธ์ชาติตระกูล, สามัคคีหลับนอน, เกิดเป็นอุปปาติกะ
กุฏฐโรคบังเกิดแต่กองธาตุ
๑.เกิดแต่กองปถวีธาตุให้เมื่อยกระดูก เส้นเอ็นหนังสากชาดุจมดต่อยหนาดังแรดได้ ๑ เสีย ๓
๒.เกิดแต่กองอาโปธาตุ  ให้เสียวในเนื้อ เส้นเอ็น เริ่มผุดคล้ายเกลื้อน ให้ผิวขาวนวลดุจน้ำเต้า
๓.เกิดแต่กองเตโชธาตุ  ให้ผุดแดงเป็นเม็ดเหมือนประดงเพลิง ลามไปหู แก้ม  หน้าผาก ให้หนาขึ้น
๔.เกิดแต่กองวาโยธาตุ  ให้เนื้อแข็งเป็นข้อขอดเป็นเม็ด  ให้ชา  ให้ผิวหนังเหมือนผิวมะกรูดเป็น อสาทิยโรค ได้ ๑ เสีย ๑๐
ระยะท้ายให้แตกเป็นน้ำเหลือง  บวมทุกข้อกระดูก นิ้วมือนิ้วเท้า
๕. เกิดแต่สัมพันธ์ตระกูล คือเกิดแต่กรรมพันธุ์
๖. เกิดด้วยสามัคคีรส คือเกิดจากผู้ที่กินอยู่หลับนอนด้วย
๗. บังเกิดเป็นอุปปาติกะ เกิดขึ้นเอง โดยหาสาเหตุไม่ได้ และธาตุต่างๆก็ไมได้วิปริตแปรปรวน
ลักษณะโรคเรื้อนต่างๆ ๙จำพวก
.เรื้อนกวาง เกิดที่ ข้อมือ  ข้อเท้า กำด้นต้นคอ  ให้เป็นน้ำเหลืองลามออกไป
๒.เรื้อนมูลนก ผุดเป็นวงตามผิวหนังสัณฐานคล้ายกลากพรรนัย คันทั่วตัว
๓.เรื้อนวิมาลา  เกิดที่  หู กำด้น ต้นคอ ให้คันดุจมะเร็งไร ยิ่งเกายิ่งคัน
.เรื้อนหูด ผุดเป็นตุ่ม ทั่วทั้งตัว แล้วแตกออกเปื่อยเน่าดังซากศพ  เป็นพยาธิกามโรค
๕.เรื้อนเกล็ดปลา หน้าลามต้นคอลามเป็นเกล็ดไปทั่วทั้งตัว ผิวดำ
๖.เรื้อนบอน ผุดเป็นรูปรุ มองไม่ค่อยเห็น ขาวๆแดงๆในเนื้อรำไร
๗.เรื้อนหิด มักขึ้นทั้งตัวดุจเป็นกลาก
๘.เรื้อนดอกหมาก ผุดขาวๆคล้ายดอก หมากเหงื่อออกคันน้ำเหลืองซึม
๙.เรื้อนมะไฟ ผุดเป็นเกล็ดแดงขอบขาวเท่าผลมะไฟ

หมายเหตุ ในการอ่านสรุปคัมภีร์ ควรอ่านเนื้อหาในหนังสือทั้งหมดก่อนอย่างน้อย ๑ รอบ แล้วมาอ่านสรุปจะทำให้เข้าใจ ภาพรวมทั้งหมดยิ่งขึ้น

ตัวอย่างข้อสอบในคัมภีร์วิถีกุฏโรค

ข้อ 1.   ชื่อของโรคเรื้อนที่เรียกตามลักษณะอาการของโรค คัมภีร์วิถีกุฎโรคมีหลายชื่อได้แก่ข้อใด
                 1.   เรื้อนวิมาลา เรื้อนหูด เรื้อนบอน เรื้อนดอกหมาก เรื้อนมะไฟๆ เป็นต้น
                 2.   เรื้อนกุฎฐัง เรื้อนกวาง เรื้อนกระดูก เรื้อนหูหนาตาเล่อ เรื้อนหิดๆ เป็นต้น
                 3.   เรื้อนเกล็ดปลา เรื้อนมะเฟือง เรื้อนมะไฟ เรื้อนมูลนก เรื้อนดอกหมากๆ เป็นต้น
                 4.   ไม่มีข้อใดถูก
ข้อ 2.   ลักษณะกุฎโรคที่เกิดขึ้นแล้วมีผิวนวลดุจน้ำผิวน้ำเต้า ซึ่งชาวโลกสมมุติว่า เรื้อนน้ำเต้า เกิดจากกองธาตุอะไร
              1.   ปถวีธาตุ               2.   อาโปธาตุ
              3.   วาโยธาตุ              4.   เตโชธาตุ
ข้อ 3. 
 ให้เนื้อแข็งเป็นข้อขอดเป็นเม็ด  ให้ชา  ให้ผิวหนังเหมือนผิวมะกรูด เท่าผลพุทรา ผลมะกรูด สมมุติว่าเป็นเรื้อนมะกรูด  ตาย 10 ส่วน ได้ 1 ส่วนเกิดจาก
                 1.   เกิดแต่กองปถวี                                    2.   เกิดแต่กองอาโป
                 3.   เกิดแต่กองวาโย                                   4.   เกิดแต่กองเตโช           
4. โรคเรื้อน  มีแหล่งที่เกิดที่ใดได้บ้าง
             ก. ชิ้นเนื้อ                                               ข. กระดูก
                ค. เลือด                                                 ง. ข้อ ก. และข้อ ข. ถูก
5. กุฏฐัง  คือโรคที่เกิดในส่วนใด
             ก. ชิ้นเนื้อ                                              ข. กระดูก
                ค. เลือด                                               ง. ข้อ ก. และข้อ ข. ถูก
6.  สาเหตุการเกิดของโรคเรื้อน  คือข้อใด
             ก. บังเกิดแต่ชาติสัมพันธ์ตระกูล                 ข. บังเกิดด้วยสามัคคีรส
             ค. บังเกิดเป็นอุปปาติกะ                               ง. ถูกทุกข้อ
7.  ลักษณะอาการเมื่อแรกผุดขึ้นมานั้น เป็นรูปรุๆ  มิใคร่จะมองเห็น  ถึงแม้จะเห็นก็เห็นแต่ขาวๆ แดงๆ  อยู่ในเนื้อรำไร   เป็นอาการของเรื้อนชนิดใด
             ก. เรื้อนบอน                                               ข. เรื้อนหิด
             ค. เรื้อนมะไฟ                                             ง. เรื้อนกวาง
8.  ลักษณะอาการเมื่อแรกผุดขึ้นมานั้น เป็นแว่นเป็นวงตามผิวหนัง  สีขาวนุงๆ ขอบนูน  มีสัณฐานดังกลากพรรนัย  ทำให้คัน  ถ้าแก่เข้าลามไปทั้งตัว   หายบ้าง  ไม่หายบ้าง
             ก. เรื้อนกวาง                                                    ข. เรื้อนมูลนก
             ค. เรื้อนวิมาลา                                                 ง. เรื้อนเกล็ดปลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น